ราเม็ง
ราเม็ง (ญี่ปุ่น: ラーメン หรือ らーめん; โรมาจิ: rāmen) เป็นบะหมี่น้ำของญี่ปุ่น ซึ่งมีต้นกำเนิดมาจากประเทศจีน ราเม็งมักจะทานกับเนื้อหมู สาหร่าย คามาโบโกะ ต้นหอม และบางครั้งจะมีข้าวโพด ราเม็งมีการปรุงรสแตกต่างกันตามแต่ละจังหวัดในญี่ปุ่น เช่นในเกาะคีวชู ต้นกำเนิดของราเม็งทงกตสึ (ราเม็งซุปกระดูกหมู) หรือในเกาะฮกไกโด ต้นกำเนิดของราเม็งมิโซะ (ราเม็งเต้าเจี้ยว)
ในประเทศตะวันตก คำว่า Ramen ยังเป็นคำที่ใช้เรียกบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปด้วย
ประวัติ
[แก้]ในประวัติศาสตร์เท่าที่ทราบ ราเม็ง เดิมมีที่มาจากประเทศจีนและถูกนำเข้ามาในประเทศญี่ปุ่นโดยชาวจีนอพยพในศตวรรษที่ 19[1][2] หรือช่วงต้นศตวรรษที่ 20[3][4] คำว่า "ราเม็ง" มาจากภาษาจีน "ลาเมี่ยน" (拉麺)[5][6] ที่มีความหมายถึง เส้นบะหมี่ที่ใช้มือนวดให้มีความเหนียวนุ่ม ที่ได้รับความนิยมบริโภคไปทั่วเอเชียตะวันออก แต่อาจจะมีที่มาจากคำอื่น ๆ ที่ออกเสียงใกล้กัน เช่น 拉麺 老麺 鹵麺 撈麵. จากบันทึกของพิพิธภัณฑ์ราเม็งแห่งโยโกฮาม่า ราเม็งถูกนำเข้ามาในประเทศญี่ปุ่นในราวปี ค.ศ. 1859 และโทกูงาวะ มิตสึกูนิ ขุนนางใหญ่ในยุคเมจิได้รับประทานราเม็ง
ราเม็งเริ่มได้รับความนิยมแพร่หลายในญี่ปุ่นเมื่อต้นศตวรรษที่ 20 ในระยะแรก ราเม็งถูกเรียกว่า "ชินาโซบะ" (支那そば) ซึ่งแปลว่า "โซบะเจ๊ก" ("ชินา" เป็นคำเรียกเชิงดูหมิ่นชนชาติจีนในภาษาญี่ปุ่น)[7] ต่อมาชาวจีนได้เริ่มมีการขายราเม็งตามรถเข็นพร้อมกับขายเกี๊ยวซ่าพร้อมกัน และมีการเป่าชารูเมระเพื่อเรียกลูกค้า ซึ่งในปัจจุบันได้มีการอัดเป็นเทปเปิดแทน
ชนิดของราเม็ง
[แก้]ราเม็งมีหลากหลายชนิดแตกต่างกันตามภูมิภาค โดยชนิดของราเม็งจะแบ่งตาม เส้นก๋วยเตี๋ยว เนื้อ และซุป สามอย่างนี้เป็นหลัก ตัวอย่างของราเม็ง ได้แก่
- ราเม็งโชยุ (ราเม็งซีอิ๊ว)
- ราเม็งมิโซะ (ราเม็งซุปเต้าเจี้ยว)
- ราเม็งชิโอะ (ราเม็งซุปเกลือ)
- ราเม็งบันชู
- ราเม็งทากายามะ
- ราเม็งโอโนมิจิ
- ราเม็งชาชู
รวมภาพ
[แก้]-
ราเม็งโชยุ (醤油)
-
ราเม็งแบบโตเกียว
-
ราเม็งอาซาฮิกาวะ (旭川)
-
ราเม็งฮาโกดาเตะ (函館)
-
ราเม็งคิตากาตะ (喜多方)
-
ราเม็งซัมมะ (サンマ)
-
ราเม็งฮากาตะ (博多) กับ ทงกตสึ (ซุปกระดูกหมู)
-
ราเม็งนางาฮามะ (長浜) กับ ทงกตสึ
-
ราเม็งคูมาโมโตะ (熊本) กับ ทงกตสึ
-
ราเม็งคาโงชิมะ (鹿児島) กับ ทงกตสึ
-
ซุปทงกตสึแบบโตเกียว
-
สึเกเม็ง แบบที่ 1 (つけめん)
-
สึเกเม็ง แบบที่ 2 (つけめん)
-
อาบูราโซบะ (油そば)
-
ราเม็งบันชู (播州)
-
ราเม็งทากายามะ (高山)
-
ราเม็งโอกายามะ (岡山)
-
ราเม็งโทกูชิมะ (徳島)
-
ราเม็งวากายามะ (和歌山)
-
ราเม็งโอโนมิจิ (尾道)
-
ราเม็งเซอาบูราโนเซะ (背脂乗せ)
-
ทังตังเม็ง (坦々麺)
-
ราเม็งเกี๊ยว
-
ราเม็งฮิยาชิ (冷やし, "เย็น")
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- ↑ Shin-Yokohama Raumen Museum
- ↑ อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อao2018
- ↑ Okuyama, Tadamasa (2003). 文化麺類学・ラーメン篇 [Cultural Noodle-logy;Ramen] (ภาษาญี่ปุ่น). Akashi Shoten. ISBN 4750317926.
- ↑ Kosuge, Keiko (1998). にっぽんラーメン物語 [Japanese Ramen Story] (ภาษาญี่ปุ่น). Kodansha. ISBN 4062563029.
- ↑ "Unearth the secrets of ramen at Japan's ramen museum". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-06-28. สืบค้นเมื่อ 2018-11-05.
- ↑ Kodansha encyclopedia of Japan, Volume 6 (1st ed.). Tokyo: Kodansha. 1983. p. 283. ISBN 978-0-87011-626-1.
- ↑ Cwiertka, Katarzyna Joanna (2006). Modern Japanese cuisine: food, power and national identity. Reaktion Books. p. 144. ISBN 1-86189-298-5.
However, Shina soba acquired the status of 'national' dish in Japan under a different name - rāmen. The change of name from Shina soba to rāmen took place during the 1950s and '60s. The word Shina, used historically in reference to China, acquired a pejorative connotation through its association with Japanese imperialist association in Asia and was replaced with the word Chūka, which derived from the Chinese name for the People's Republic. For a while, the term Chūka soba was used, but ultimately the name rāmen caught on, inspired by the chicken-flavored instant version of the dish that went on sale in 1958 and spread nationwide in no time.