เอะ
ฮิรางานะ |
คาตากานะ | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
การถอดอักษร | e | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
มังโยงานะ ของฮิรางานะ |
衣 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
มังโยงานะ ของคาตากานะ |
江 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
รหัสเรียกขาน | 英語のエ (เอโงะ โนะ เอะ) | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
รหัสมอร์ส | -・--- | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
อักษรเบรลล์ | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ยูนิโคด | U+3048, U+30A8 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
|
เอะ เป็นคะนะของภาษาญี่ปุ่นตัวหนึ่ง ฮิระงะนะเขียนว่า え มีที่มาจากตัวเขียนหวัดของมันโยงะนะ 衣 และคะตะกะนะเขียนว่า エ มีที่มาจากส่วนขวาของมันโยงะนะ 江 ออกเสียงว่า แต่ในการพูดจริงอาจแปรเป็น [ɛ], [e̞], [ɛ̝] (คล้ายสระ แอ) เมื่อเอะขึ้นต้นคำหรืออยู่หลังเสียง /i/ หรือ /n/ จะเกิดการแปรเสียงเป็น [ʲe] ดังจะเห็นได้จาก 円 (えん, เย็ง) คือสกุลเงินของประเทศญี่ปุ่น
え เป็นอักษรลำดับที่ 4 อยู่ระหว่าง う (อุ) กับ お (โอะ) ในการจัดลำดับอักษรปัจจุบัน ส่วนการจัดลำดับแบบอิโระฮะ え เป็นอักษรลำดับที่ 34 อยู่ระหว่าง こ (โคะ) กับ て (เทะ)
รูปแบบ | โรมะจิ | ฮิระงะนะ | คะตะกะนะ | เสียงอ่าน |
---|---|---|---|---|
ธรรมดา | e | え | エ | เอะ |
ei ē |
えい, えぃ ええ, えぇ えー, え~ |
エイ, エィ エエ, エェ エー, エ~ |
เอ |
อักษรแบบอื่น
[แก้]อักษรแบบอื่นของเอะคือคะนะขนาดเล็ก ぇ, ェ ใช้สำหรับแสดงเสียงภาษาต่างประเทศของญี่ปุ่นเช่น イェ (เยะ), ヴェ (เวะ หรือ ve) หรือใช้สำหรับลากเสียงสระเอะให้ยาวขึ้นเป็น เอ
อักษรโอะกินะวะบางแบบใช้ ぇ ควบคู่กับ く (คุ) กลายเป็นทวิอักษร くぇ (เควะ)
อักษรโบราณของเอะมีอีกสองรูปได้แก่
- คะตะกะนะ 𛀀 (U+1B000) มีที่มาจากส่วนบนของมันโยงะนะ 衣 เป็นคะตะกะนะดั้งเดิมของ え ใช้แทนเสียง เอะ [1]
- ฮิระงะนะ 𛀁 (U+1B001) มีที่มาจากตัวเขียนหวัดของมันโยงะนะ 江 เป็นฮิระงะนะดั้งเดิมของ エ ใช้แทนเสียง เยะ [1] เช่นคำว่า 江戸 (เอะโดะ) เดิมอ่านว่า 𛀁ど (เยะโดะ) [2]
ซึ่งในเวลาต่อมา エ กลายมาเป็นคะตะกะนะของ え ซึ่งใช้แทนเสียงเอะและเยะได้ทั้งคู่ [3]
นอกจากนี้ ยุคเมจิตอนต้นมีการเสนอให้ใช้คะตะกะนะ ซึ่งมาจากการผสม イ กับ エ เพื่อใช้แทนเสียง เยะ หรือ ye แต่การเสนอก็ตกไป [4]
อักขระ | ยูนิโคด | จิส เอกซ์ 0213[5] | ความหมาย |
---|---|---|---|
ぇ | U+3047 | 1-4-7 | ฮิระงะนะ เอะ ตัวเล็ก |
え | U+3048 | 1-4-8 | ฮิระงะนะ เอะ |
ェ | U+30A7 | 1-5-7 | คะตะกะนะ เอะ ตัวเล็ก |
エ | U+30A8 | 1-5-8 | คะตะกะนะ เอะ |
㋓ | U+32D3 | 1-12-62 | คะตะกะนะ เอะ ในวงกลม |
ェ | U+FF6A | ไม่มี | คะตะกะนะ เอะ ตัวเล็ก ครึ่งความกว้าง |
エ | U+FF74 | ไม่มี | คะตะกะนะ เอะ ครึ่งความกว้าง |
𛀀 | U+1B000 | ไม่มี | คะตะกะนะ เอะ โบราณ |
𛀁 | U+1B001 | ไม่มี | ฮิระงะนะ เยะ โบราณ |
ลำดับขีด
[แก้]ฮิระงะนะ え มีลำดับขีด 2 ขีดดังนี้
- ขีดเฉียงด้านบนไปทางขวาเล็กน้อย อาจมีตวัดมาทางซ้ายหรือไม่ก็ได้
- ขีดเส้นนอนในตำแหน่งที่ต่ำกว่า ขีดไปจนสุดแล้วหักเฉียงลงทางซ้าย จากนั้นเขียนลูกคลื่นไปทางขวาคล้ายทิลเดอ (~)
คะตะกะนะ エ มีลำดับขีด 3 ขีดดังนี้
- ขีดเส้นนอนด้านบนจากซ้ายไปขวา
- ขีดเส้นตั้งโดยลากจากกึ่งกลางของเส้นแรกลงมา
- ขีดเส้นนอนด้านล่างจากซ้ายไปขวา โดยให้เชื่อมกับปลายเส้นที่สอง ด้วยขนาดยาวกว่าเส้นแรกเล็กน้อย
คันจิ
[แก้]ตัวอย่างคันจิที่อ่านว่าเอะ และขึ้นต้นด้วยเอะ มีดังนี้
- 荏 餌 叡 営 嬰 影 映 曳 栄 永 泳 洩 瑛 盈 穎 頴 英 衛 詠 鋭
- 液 疫 益 駅 悦 謁 越 閲 榎 厭 円 園 堰 奄 宴 延 怨 掩 援 沿
- 演 炎 焔 煙 燕 猿 縁 艶 苑 薗 遠 鉛 鴛 塩
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 ตัวอย่างรูปร่างของ 𛀀 และ 𛀁
- ↑ ตัวอย่างคำศัพท์ที่ใช้ เยะ
- ↑ 片仮名, 大辞林
- ↑ 「いろは と アイウエオ」 (ญี่ปุ่น)
- ↑ JIS拡張漢字(JIS X 0213:2004)(全コード表) (ญี่ปุ่น)