[go: up one dir, main page]

ข้ามไปเนื้อหา

เสือดำ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เสือจากัวร์ที่เป็นเสือดำ
เสือดำตัวผู้ในอุทยานแห่งชาตินาการาโฮเล ประเทศอินเดีย

เสือดำ เป็นชื่อสามัญเรียกโดยรวมของสัตว์กินเนื้อประเภทเสือและแมว (Felidae) ที่มีลักษณะลำตัวรวมถึงลวดลายเป็นสีดำตลอดทั้งลำตัว ซึ่งเกิดขึ้นได้ในเสือหลายชนิด

จากการเป็นเสือดำ เกิดจากความผิดปกติในเม็ดสีที่เรียกว่าเมลานิซึม ส่งผลให้เสือที่เกิดมานั้นเป็นสีดำตลอดทั้งลำตัว โดยที่ยังมีลายหรือลายจุดคงอยู่ แต่จะสังเกตเห็นได้ยาก จะเห็นได้ชัดเจนเมื่ออยู่ในแสงแดด[1]

เสือดำในเสือดาว มักพบได้มากในป่าดิบชื้นในทวีปเอเชีย เช่น อินเดีย, เนปาล, เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยเฉพาะในเบงกอลหรือชวา ใต้ท้องของเสือดำมีสีจางเล็กน้อย ผิวสีดำของเสือดำไม่ได้มีสีดำสนิท และยังคงมีลายแบบเสือดาวอยู่ด้วยซึ่งจะเห็นชัดเวลาต้องแสงแดด[2] ซึ่งในภาษาลาวเรียกว่า "เสือแมลงภู่" หรือ "เสือลายจ้ำหลอด" เสือดำในประเทศไทยพบได้มากในป่าภาคใต้ โดยแม่เสือดาวหนึ่งตัวจะให้ลูกที่เป็นเสือดำในอัตรา 3/1 แต่ทั้งนี้ลูกเสือที่เป็นเสือดำมักจะอยู่อย่างโดดเดี่ยว ไม่รวมกลุ่มหรือรวมฝูงหรือเดินร่วมกับเสือดาว จึงทำให้อ่อนแอและเป็นจุดอ่อนเพราะมีอัตราการรอดตายน้อยกว่าเสือดาว เสือดำจึงเป็นเสือที่พบได้น้อยกว่าเสือดาว[3] และจากประสบการณ์ของผู้ที่เลี้ยงดูแลเสือในสวนสัตว์มีความเห็นว่า เสือดำนั้นมีความดุร้ายกว่าเสือดาว[1]

เมื่อราว พ.ศ. 2527 เรื่องของเสือดำเคยปรากฏเป็นข่าวทางหนังสือพิมพ์ว่า มีเสือดำตัวหนึ่งเพ่นพ่านอยู่แถวมักกะสัน ในเขตกรุงเทพมหานคร จนเป็นที่หวาดกลัวของผู้ที่อาศัยอยู่บริเวณนั้น ซึ่งในข่าวว่า "เสือดำมักกะสัน" และได้ถูกจับไปปล่อยในป่าห้วยขาแข้ง[4] ซึ่งในภายหลังเป็นที่ทราบว่าเป็นเรื่องของการกุข่าวของสื่อเพื่อเขียนข่าวเท่านั้น

ในเสือจากัวร์ ที่พบในทวีปอเมริกาใต้ก็มีเสือดำเช่นเดียวกัน โดยมีลักษณะการเกิดเช่นเดียวกับเสือดำ[5]

นอกจากนั้นแล้ว เสือดำยังมีพบในเสือหรือแมวประเภทอื่น ๆ เช่น เสือพูมา ในทวีปอเมริกาเหนือแต่ไม่มีหลักฐานที่เป็นการถ่ายภาพหรือเจอซากศพในป่าและไม่เคยได้รับการผสมพันธุ์ในสวนสัตว์ มีรายงานเกี่ยวกับเสือดำในอเมริกาเหนือที่ไม่ได้รับการยืนยัน เป็นที่รู้จักกันในชื่อเสือดำอเมริกาเหนือ (North American Black Panther, NABP) อาจเป็นผลมาจากการผสมพันธุ์ในสายเลือดเดียวกันในประชากรของเสือพูมาตะวันออกซึ่งเป็นชนิดย่อยของเสือพูมา ในปัจจุบันมีสาเหตุมาจากความผิดพลาดในการจำแนกโดยผู้ที่ไม่เชี่ยวชาญ[6][7], เสือไฟ ซึ่งเป็นเสือขนาดเล็กในทวีปเอเชีย[8], เซอร์วัล ซึ่งเป็นแมวป่าที่พบในทวีปแอฟริกา โดยเฉพาะที่อาศัยในเทือกเขาอาร์เบอร์แดร์ ของเคนยา เชื่อว่าอาจเป็นเพราะสภาพแวดล้อมบนที่สูงมีคู่แข่งในการแย่งชิงอาหารน้อย ทำให้ไม่ต้องมีลายจุดช่วยในการพรางตัวเหมือนที่ราบ[9] และสีดำยังช่วยดูดซับความอบอุ่นให้แก่ร่างกาย เนื่องจากสภาพอุณหภูมิบนภูเขาสูงหนาวเย็นกว่าที่ราบ[10]

รวมถึงเสือโคร่ง ที่มีการบันทึกรวมถึงเสียงเล่าลือจากอินเดีย ที่มีการพบเห็นเป็นระยะ ๆ แต่ทว่าก็ยังไม่มีหลักฐานที่ชัดเจน[11]

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 หน้า 201-213, สัตว์ป่าน่ารู้ โดย พัชรินทร์ ธรรมรส. นิตยสาร SM@RTPET ปีที่ 1 ฉบับที่ 7: มิถุนายน 2545
  2. Kawanishi, K. (May 2010). "Near fixation of melanism in panthers of the Malay Peninsula". Journal of Zoology. 282: 201–206. doi:10.1111/j.1469-7998.2010.00731.x. {{cite journal}}: ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |coauthors= ถูกละเว้น แนะนำ (|author=) (help)
  3. หน้า 14 ต่างประเทศ, เปรมชัย: เผยเสือดำตัวนี้นักท่องเที่ยวเห็นประจำ. "ที่แท้คลิปเสียงคนขับรถ'เปรมชัย'หยั่งเชิงปล่อยตัว สาวสินบนนักล่า". คมชัดลึกปีที่ 17 ฉบับที่ 5929: วันศุกร์ที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561
  4. เสือดำในดวงแด เก็บถาวร 2022-08-13 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน จากโอเคเนชั่น. สืบค้นเมื่อ 16 ตุลาคม 2556.
  5. "Bear Creek Sanctuary – Jaglions". Bear Creek Sanctuary. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-07-07. สืบค้นเมื่อ 10 March 2012.
  6. Buffon, Georges-Louis Leclerc (1801) Histoire Naturelle, Paris : Hacquart, an VIII.
  7. Pennant, Thomas (1771) Synopsis of Quadrupeds, J. Monk, p. 180
  8. ข่าวภาคเที่ยง, ช่อง 7: พฤหัสบดีที่ 11 ตุลาคม 2555
  9. "สารคดีบันลือโลก 07 มิถุนายน 2559 Wild Africa ตะลุยแอฟริกา ตอน มนต์ป่าแอฟริกา". นาว26. 7 June 2016. สืบค้นเมื่อ 8 June 2016.[ลิงก์เสีย]
  10. "สารคดีบันลือโลก 20 มิถุนายน 2559 Wild Africa ส่องไพร: หุบเขาแห่งแอฟริกา". นาว26. 20 June 2016. สืบค้นเมื่อ 21 June 2016.
  11. Shuker, Karl P N (1989). Mystery Cats of the World. Robert Hale. ISBN 0-7090-3706-6.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]