[go: up one dir, main page]

ข้ามไปเนื้อหา

หนังสือโยเอล

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

หนังสือโยเอล (อังกฤษ: Book of Joel) เป็นหนังสือเผยพระวจนะที่ประกอบด้วยชุดของ "คำประกาศของพระเจ้า" วรรคแรกของหนังสือระบุว่า "โยเอล บุตรของเปธุเอล" เป็นผู้เขียน[1] หนังสือโยเอลเป็นส่วนหนึ่งในหนังสือสิบสองผู้เผยพระวจนะน้อยของหมวดเนวีอีม ("ผู้เผยพระวจนะ") ในคัมภีร์ฮีบรู และแยกมาเป็นหนังสือของตนเองในพันธสัญญาเดิมของศาสนาคริสต์ ในพันธสัญญาใหม่ คำเผยพระวจนะของโยเอลเรื่องการเทพระวิญญาณบริสุทธิ์ลงมาเหนือทุกคนนั้นได้รับการกล่าวถึงโดยนักบุญเปโตรระหว่างการเทศนาในเทศกาลเพนเทคอสต์

สำเนาต้นฉบับยุคต้นที่หลงเหลือ

[แก้]
ฉบับเลนินกราด (Leningrad Codex; ค.ศ. 1008) มีสำเนาโดยสมบูรณ์ของหนังสือโยเอลในภาษาฮีบรู

ต้นฉบับดั้งเดิมเขียนในภาษาฮีบรู

บางสำเนาต้นฉบับในยุคต้นที่มีเนื้อหาของหนังสือโยเอลเป็นภาษาฮีบรู มีลักษณะทางประเพณีนิยมของต้นฉบับเมโซเรติก ได้แก่ ฉบับไคโร (Codex Cairensis; ค.ศ. 895) หนังสือผู้เผยพระวจนะฉบับปีเตอส์เบิร์ก (Petersburg Codex of the Prophets; ค.ศ. 916) ฉบับอะเลปโป (Aleppo Codex; ศตวรรษที่ 10) และฉบับเลนินกราด (Leningrad Codex; ค.ศ. 1008)[2] ชิ้นส่วนที่มีข้อความบางส่วนของบทนี้ในภาษาฮีบรูถูกพบในม้วนหนังสือเดดซี ได้แก่ 4Q78 (4QXIIc; 75–50 ปีก่อนคริสตกาล) โดยมีวรรคที่หลงเหลือคือ 1:10–20, 2:1, 2:8–23, และ 3:6–21;[3][4][5][6] และ 4Q82 (4QXIIg; 25 ปีก่อนคริสตกาล) โดยมีวรรคที่หลงเหลือคือ 1:12–14, 2:2–13, 3:4–9, 3:11–14, 3:17, 3:19–2;[3][4][7][8] Schøyen MS 4612/1 (DSS F.117; DSS F.Joel1; ค.ศ. 50–68) โดยมีวรรคที่หลงเหลือคือ 3:1–4);[4][9] และ Wadi Murabba'at Minor Prophets (Mur88; MurXIIProph; ค.ศ. 75–100) โดยมีวรรคที่หลงเหลือคือ 2:20, 2:26–27, 2:28–32 และ 3:1–16[4][10]

สำเนาต้นฉบับโบราณเป็นภาษากรีกคอยนีที่มีเนื้อหาหนังสือโยเอลเป็นของฉบับเซปทัวจินต์เป็นหลัก ได้แก่ ฉบับวาติกัน (Codex Vaticanus; B; B; ศตวรรษที่ 4) ฉบับซีนาย (Codex Sinaiticus; S; BHK: S; ศตวรรษที่ 4) ฉบับอะเล็กซานเดรีย (Codex Alexandrinus; A; A; ศตวรรษที่ 5) และฉบับมาร์ชาล (Codex Marchalianus; Q; Q; ศตวรรษที่ 6)[11]

เนื้อหา

[แก้]

หลังการระบุชื่อผู้เขียนหนังสือในช่วงต้น เนื้อหาหนังสือสามารถแบ่งเป็นส่วนได้ดังนี้:

  • การคร่ำครวญถึงการระบาดครั้งใหญ่ของตั๊กแตน และภัยแล้งที่รุนแรง (1:1–2:17).
    • ผลกระทับของเหตุการณ์เหล่านี้ต่อเกษตรกรรม เกษตรกร และผลผลิตของเกษตรกรรมที่ใช้เป็นเครื่องถวายสำหรับพระวิหารในเยรูซาเล็ม แทรกด้วยการเรียกร้องให้คนทั้งชาติคร่ำครวญ (1:1–20).
    • ข้อเขียนเชิงพยากรณ์เปรียบเทียบฝูงตั๊กแตนกับกองทัพ และเผยว่าฝูงตั๊กแตนเป็นกองทัพของพระเจ้า (2:1–11)
    • การเรียกร้องให้คนทั้งชาติกลับใจเพื่อเผชิญหน้ากับการพิพากษาของพระเจ้า (2:12–17)[12]
  • พระสัญญาถึงพระพรในอนาคต (2:18–32 or 2:18–3:5).
    • การขับไล่ฝูงตั๊กแตนและฟื้นฟูผลผลิตทางการเกษตรในฐานะการตอบสนองของพระเจ้าต่อการกลับใจของคนทั้งชาติ (2:18–27)
    • ของประทานแก่ประชาชนของพระเจ้าในคำเผยพระวจนะถึงอนาคต และความปลอดภัยของประชาชนของพระเจ้าเมื่อเผชิญหน้ากับหายนะครั้งใหญ่ (2:28–32 หรือ 3:1–5).
  • การพิพากษาที่กำลังจะเกิดขึ้นกับศัตรูของราชอาณาจักรยูดาห์ ได้แก่ ฟีลิสเตีย เอโดม และอียิปต์ (3:1–21 หรือ 4:1–21)

บท

[แก้]
หนังสือโยเอลในฉบับแปลภาษาละตินในสำเนาต้นฉบับของฝรั่งเศสในคริสต์ศตวรรษที่ 13

การแบ่งบทและวรรคของหนังสือโยเอลมีความแตกต่างกันไปในคัมภีร์ไบเบิลแต่ละฉบับ บางฉบับมี 3 บท ฉบับอื่น ๆ มี 4 บท[13] ฉบับแปลที่มี 4 บท ได้แก่ คัมภีร์ฮีบรูฉบับสมาคมสิ่งพิมพ์ชาวยิว (ค.ศ. 1917),[14] Jerusalem Bible (ค.ศ. 1966), New American Bible (ฉบับปรับปรุงใหม่, ค.ศ. 1970), Complete Jewish Bible (ค.ศ. 1998) และ Tree of Life Version (ค.ศ. 2015)[15]

ในคัมภีร์ไบเบิลฉบับพระเจ้าเจมส์ หนังสือโยเอลประกอบด้วย 3 บท โดยบทที่ 2 มี 32 วรรค เทียบเท่ากับการนำบทที่ 2 (ที่มี 26 วรรค) กับบทที่ 3 (ที่มี 5 วรรค) ของคัมภีร์ไบเบิลฉบับอื่นเข้ารวมเป็นบทเดียวกัน[16]

ในคัมภีร์ไบเบิลที่แปลเป็นภาษาไทยฉบับต่าง ๆ หนังสือโยเอลประกอบด้วย 3 บท ยกเว้นพระคัมภีร์คาทอลิกที่ประกอบด้วย 4 บท[17]

ข้อแตกต่างของการแบ่งเป็นดังนี้:[18]

อังกฤษ/กรีก/ไทย ฮีบรู
โยเอล 1 โยเอล 1
โยเอล 2:1–27 โยเอล 2
โยเอล 2:28–32 โยเอล 3
โยเอล 3 โยเอล 4

อ้างอิง

[แก้]
  1. Keller, C. A., 28. Joel, in Barton, J. and Muddiman, J. (2001), The Oxford Bible Commentary เก็บถาวร 2017-11-22 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, p. 578
  2. Würthwein 1995, pp. 35–37.
  3. 3.0 3.1 Ulrich 2010, p. 598.
  4. 4.0 4.1 4.2 4.3 Dead sea scrolls - Joel
  5. Fitzmyer 2008, p. 38.
  6. 4Q78 at the Leon Levy Dead Sea Scrolls Digital Library
  7. Fitzmyer 2008, p. 39.
  8. 4Q82 at the Leon Levy Dead Sea Scrolls Digital Library
  9. 12 Minor Prophets Dead Sea Scroll MS 4612/1. Schøyen Collection. Accessed February 5, 2020.
  10. Fitzmyer 2008, pp. 140–141.
  11. Würthwein 1995, pp. 73–74.
  12. Pradas, Joseph. "Convertimini ad me". Seu Valentina. สืบค้นเมื่อ 26 Jan 2019.
  13. Hayes, Christine (2006). "Introduction to the Old Testament (Hebrew Bible) – Lecture 23 – Visions of the End: Daniel and Apocalyptic Literature". Open Yale Courses. Yale University.
  14. "Joel 4 – JPS Version" – โดยทาง mechon-mamre.org.
  15. "Joel 4:1". BibleGateway.com. Zondervan Corporation. สืบค้นเมื่อ 28 March 2023.
  16. "1611 King James Bible. book of Joel". King James Bible Online (ภาษาอังกฤษ). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ February 9, 2013. สืบค้นเมื่อ February 23, 2019.
  17. "หนังสือประกาศกโยเอล". คณะกรรมการคาทอลิกเพื่อคริสตศาสนธรรม แผนกพระคัมภีร์. สืบค้นเมื่อ September 10, 2024.
  18. Kee, Howard Clark; Meyers, Eric M.; Rogerson, John; Levine, Amy-Jill; Saldarini, Anthony J. (2008). Chilton, Bruce (บ.ก.). The Cambridge Companion to the Bible (2, revised ed.). Cambridge University Press. p. 217. ISBN 978-0521691406.

บรรณานุกรม

[แก้]

อ่านเพิ่มเติม

[แก้]

ดูเพิ่มเกี่ยวกับงานเขียนของผู้เผยพระวจนะน้อยโดยรวม

  • Achtemeier, Elizabeth. Minor Prophets I. New International Biblical Commentary. (Hendrickson, 1999)
  • Ahlström, Gösta W. Joel and the Temple Cult of Jerusalem. Supplements to Vetus Testamentum 21. (Brill, 1971)
  • Allen, Leslie C. The Books of Joel, Obadiah, Jonah & Micah. New International Commentary on the Old Testament. (Eerdmans, 1976)
  • Anders, Max E. & Butler, Trent C. Hosea–Micah. Holman Old Testament Commentary. (B&H Publishing, 2005)
  • Assis, Elie. Joel: A Prophet Between Calamity and Hope (LHBOTS, 581), New York: Bloomsbury, 2013
  • Baker, David W. Joel, Obadiah, Malachi. NIV Application Commentary. (Zondervan, 2006)
  • Barton, John. Joel & Obadiah: a Commentary. Old Testament Library. (Westminster John Knox, 2001)
  • Birch, Bruce C. Hosea, Joel & Amos. Westminster Bible Companion. (Westminster John Knox, 1997)
  • Busenitz, Irvin A. Commentary on Joel and Obadiah. Mentor Commentary. (Mentor, 2003)
  • Calvin, John. Joel, Amos, Obadiah. Calvin's Bible Commentaries. (Forgotten Books, 2007)
  • Coggins, Richard. Joel and Amos. New Century Bible Commentary. (Sheffield Academic Press, 2000)
  • Crenshaw, James L. Joel: a New Translation with Introduction and Commentary. The Anchor Bible. (Yale University Press, 1995)
  • Finley, Thomas J. Joel, Amos, Obadiah: an Exegetical Commentary. (Biblical Studies Press, 2003)
  • Gæbelein, Frank E. (ed) Daniel and the Minor Prophets. The Expositor's Bible Commentary, Volume 7. (Zondervan, 1985)
  • Garrett, Duane A. Hosea, Joel. The New American Commentary. (B&H Publishing, 1997)
  • Hubbard, David Allen. Joel and Amos: an Introduction and Commentary. Tyndale Old Testament Commentary. (Inter-Varsity Press, 1990)
  • Limburg, James. Hosea–Micah. Interpretation – a Bible Commentary for Teaching & Preaching. (Westminster John Knox, 1988)
  • Mason, Rex. Zephaniah, Habakkuk, Joel. Old Testament Guides. (JSOT Press, 1994)
  • McQueen, Larry R.M. Joel and the Spirit: the Cry of a Prophetic Hermeneutic. (CTP, 2009)
  • Ogden, Graham S. & Deutsch, Richard R. A Promise of Hope – a Call to Obedience: a Commentary on the Books of Joel & Malachi. International Theological Commentary (Eerdmans/ Hansel, 1987)
  • Ogilvie, John Lloyd. Hosea, Joel, Amos, Obadiah, Jonah. Communicator's Commentary 20. (Word, 1990)
  • Price, Walter K. The Prophet Joel and the Day of the Lord. (Moody, 1976)
  • Prior, David. The Message of Joel, Micah, and Habakkuk: Listening to the Voice of God. The Bible Speaks Today. (Inter-Varsity Press, 1999)
  • Pohlig, James N. An Exegetical Summary of Joel. (SIL International, 2003)
  • Roberts, Matis (ed). Trei asar : The Twelve Prophets: a New Translation with a Commentary Anthologized from Talmudic, Midrashic, and Rabbinic Sources. Vol. 1: Hosea. Joel. Amos. Obadiah. (Mesorah, 1995)
  • Robertson, O. Palmer. Prophet of the Coming Day of the Lord: the Message of Joel. Welwyn Commentary. (Evangelical Press, 1995)
  • Simkins, Ronald. Yahweh's Activity in History and Nature in the Book of Joel. Ancient Near Eastern Texts & Studies 10 (Lewiston, New York: Edwin Mellen Press, 1991)
  • Simundson, Daniel J. Hosea–Micah. Abingdon Old Testament Commentaries. (Abingdon, 2005)
  • Stuart, Douglas. Hosea–Jonah. Word Biblical Commentary 31. (Word, 1987)
  • Sweeney, Marvin A. The Twelve Prophets, Vol. 1: Hosea–Jonah. Berit Olam – Studies in Hebrew Narrative & Poetry. (Liturgical Press, 2000)
  • Wolff, Hans Walter. A Commentary on the Books of the Prophets Joel & Amos. Hermeneia – a Critical and Historical Commentary on the Bible. (Augsburg Fortress, 1977)

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]
ก่อนหน้า
โฮเชยา
หนังสือโยเอล
คัมภีร์ฮีบรูและ
พันธสัญญาเดิมของศาสนาคริสต์
(หมวดผู้เผยพระวจนะน้อย)
ถัดไป
อาโมส