[go: up one dir, main page]

ข้ามไปเนื้อหา

คาทอลิกตะวันออก

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

พระศาสนจักรคาทอลิกตะวันออก หรือ ศาสนจักรคาทอลิกจารีตตะวันออก (อังกฤษ: Eastern Catholic Churches) เป็นคริสตจักรตะวันออก 23 คริสตจักรที่ร่วมเอกภาพสมบูรณ์กับพระสันตะปาปาแห่งโรมโดยยอมรับพระองค์เป็นประมุขสูงสุดของศาสนจักร จึงเป็นส่วนหนึ่งของนิกายโรมันคาทอลิกทั่วโลก แต่มีอำนาจปกครองตนเอง มีจารีตธรรมประเพณีเป็นของตนเอง

สถานะพิเศษของศาสนจักรคาทอลิกจารีตตะวันออกได้รับการรับรองโดยกฤษฎีกาจากสภาสังคายนาวาติกันครั้งที่สอง ใน Orientalium ecclesiarum (กฤษฎีกาว่าด้วยพระศาสนจักรคาทอลิกตะวันออก)[1] จากข้อมูลหนังสือ Annuario Pontificio ฉบับปี 2016 ได้ให้ข้อมูลว่ามีคริสตศาสนิกชนนิกายคาทอลิกที่เป็นคาทอลิกตะวันออกเกือบ 18 ล้านคน (จำนวนทั้งสิ้น 17,881,222 คน) คิดเป็นประมาณ 1.4-1.5% ของจำนวนคริสตศาสนิกชนคาทอลิกทั้งหมดและกระจายออกไปทั่วโลก[2]

ตราอาร์มของเมเจอร์อาร์ชบิชอปสวีอาโตสลาฟ เชฟชุค แห่งศาสนจักรยูเครนกรีกคาทอลิก

ประวัติ

[แก้]

เบื้องหลัง

[แก้]

เอกภาพของแต่ละศาสนจักรที่เคยมีมาอย่างยาวนานได้แตกสลายลงด้วยเรื่องความเชื่อและการเมืองซึ่งต่างฝ่ายต่างกล่าวหากันเองว่านอกรีตหรือหันเหออกจากความเชื่อที่ถูกต้องและการแก่งแย่งชิงอำนาจศาสนจักรเหนือดินแดนต่าง ๆ โดยเฉพาะในยุโรป นอกจากนี้ยังรวมไปถึงการไม่เห็นด้วยเรื่องความชอบธรรมในการแต่งตั้งมุขนายกบางองค์ด้วย แต่อย่างหลังเป็นเรื่องของการแตกแยกศาสนจักร ไม่ใช่เรื่องความเชื่อนอกรีต

เหตุการณ์หลักที่นำไปสู่ความแตกแยกของศาสนจักร:

สังคายนาเอเฟซัสครั้งที่หนึ่ง (ค.ศ. 431)

[แก้]

ในปีค.ศ. 431 พระศาสนจักรกระแสหลักได้ยอมรับคำสอนที่ได้รับการรับรองจากสภาสังคายนาแห่งเอเฟซัส (ซึ่งประณามเนสตอริอุส ผู้นำลัทธิเนสตอเรียน) และประกาศว่าผู้ใดปฏิเสธถ้อยแถลงดังกล่าว จะถือว่าเป็นพวกนอกรีต ศาสนจักรแห่งตะวันออกซึ่งส่วนใหญ่อยู่ในจักรวรรดิซาเซเนียนไม่ยอมรับคำสอนที่รับรองจากสภานี้และตัดขาดจากพระศาสนจักรกระแสหลักไป ซึ่งต่อมาศาสนจักรนี้ได้เติบโตและแผ่ขยายไปทั่วเอเชียก่อนจะถึงคราวล่มสลายหลังมองโกลเข้ารุกรานตะวันออกกลางช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 14

ยังคงมีหลักฐานที่แสดงถึงความยิ่งใหญ่ของศาสนจักรแห่งตะวันออกหลงเหลืออยู่พอสมควรเช่น ศิลาจารึกของพวกเนสตอเรียนในจีน[3] ซึ่งในปัจจุบันยังคงมีศาสนจักรที่มีประวัติศาสตร์สืบย้อนไปถึงศาสนจักรแห่งตะวันออกอยู่ 4 ศาสนจักรทั้งศาสนจักรคาลเดียนคาทอลิกซึ่งร่วมเอกภาพกับโรม ในขณะที่อินเดียซึ่งมีคริสตชนกลุ่มนี้มากที่สุด ส่วนใหญ่หันมาร่วมเอกภาพกับโรมโดยอยู่ใต้อำนาจพระสันตะปาปาโดยตรงแต่ต่อมาได้รับอำนาจให้ปกครองโดยอิสระได้จึงเกิดเป็นศาสนจักรซีโร-มาลาบาร์คาทอลิก ส่วนกลุ่มที่ไม่ได้ร่วมเอกภาพกับโรมได้แก่ ศาสนจักรอัสซีเรียแห่งตะวันออกและอีกศาสนจักรหนึ่งซึ่งแยกจากศาสนจักรอัสซีเรียแห่งตะวันออกเพราะมีปัญหาภายในเรื่องการปฏิรูปจึงแยกออกไปอีกเป็นศาสนจักรเก่าแห่งตะวันออก

สังคายนาแห่งแคลซีดัน (ค.ศ. 451)

[แก้]

ในปีค.ศ. 451 ทำนองเดียวกันกับสภาสังคายนาเอเฟซัสคือศาสนจักรที่ยอมรับสภาสังคายนาแห่งแคลซีดันประกาศว่าศาสนจักรที่ปฏิเสธมติสภานี้จะถือว่าเป็นพวกนอกรีตโดยในครั้งนี้คือลัทธิโมโนฟีไซต์ (เชื่อว่าพระคริสต์มีธรรมชาติของความเป็นพระเจ้าเท่านั้น แต่ไม่มีธรรมชาติของความเป็นมนุษย์) บรรดาศาสนจักรต่าง ๆ ที่ปฏิเสธต่างถือว่าตนเองมีความเชื่อที่ถูกต้องและปฏิเสธว่าตนเองไม่ใช่พวกโมโนฟีไซต์หากแต่เป็น "มีอาฟีไซต์" ศาสนจักรเหล่านี้มักมีชื่อเรียกว่าออเรียนทัลออร์ทอดอกซ์ เพื่อจำแนกพวกเขาออกจากศาสนจักรอีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์

อันที่จริงแล้วคำว่า "ออเรียนทัล" และ "อีสเทิร์น" ต่างก็แปลว่า "ตะวันออก" เหมือนกันแต่นำมาใช้เพื่อจำแนกศาสนจักรเหล่านี้ออกจากกันเพราะไม่ใช่ศาสนจักรในเครือเดียวกันนั่นเอง บางคนอาจให้ชื่อศาสนจักรเหล่านี้ว่าศาสนจักร "ก่อนแคลซีดัน" (Pre-Chalcedonian) "อแคลซีดัน" (Non-Chalcedonian) หรือ "ต่อต้านแคลซีดัน (Anti-Chalcedonian) ศาสนจักรเหล่านี้มีผู้นับถือส่วนใหญ่อยู่ในอียิปต์ ตะวันออกกลาง เอธิโอเปีย เอริเทรียและชายฝั่งมาลาบาร์ของอินเดีย

ศาสนเภทตะวันออก-ตะวันตก (ค.ศ.1054)

[แก้]

รายชื่อศาสนจักรคาทอลิกตะวันออก

[แก้]
ประเทศที่มีสำนักงานใหญ่ของคริสตจักรคาทอลิกภาคตะวันออก (สีแดง: พิธีกรรมไบแซนไทน์ สีเขียว: พิธีอเล็กซานเดรีย สีเหลือง: อื่นๆ)
สถิติศาสนจักรคาทอลิกตะวันออก ค.ศ. 2016; ข้อมูลจาก CNEWA (ยกเว้นศาสนจักรแอลเบเนีย เบลารุสและรัสเซียกรีกคาทอลิก)[4]
สัญลักษณ์ ชื่อศาสนจักร ปีที่รวมกับคาทอลิกหรือจัดตั้งขึ้น จารีต ที่ประทับผู้นำศาสนจักร โครงสร้างปกครองศาสนจักร เขตปกครอง มุขนายก ศาสนิกชน
ศาสนจักรแอลเบเนียกรีกคาทอลิก 1628 ไบแซนไทน์ Vlorë, แอลเบเนีย เขตปกครองของสันตะสำนัก - - -
ศาสนจักรอาร์เมเนียคาทอลิก 1742 อาร์เมเนีย เบรุต, เลบานอน เขตอัครบิดร 17 16 736,134
ศาสนจักรเบลารุสกรีกคาทอลิก 1596 ไบแซนไทน์ ไม่มี ไม่มี [note 1] 0 0 -
ศาสนจักรบัลแกเรียกรีกคาทอลิก 1861 ไบแซนไทน์ โซเฟีย, บัลแกเรีย เขตปกครองศาสนจักร 1 1 10,000
ศาสนจักรคาลเดียนคาทอลิก 1552 / 1830 ซีเรียตะวันออก แบกแดด, อิรัก เขตอัครบิดร 21 20 640,828
ศาสนจักรคอปติกคาทอลิก 1741 อเล็กซานเดรีย ไคโร, อียิปต์ เขตอัครบิดร 7 7 174,902
ศาสนจักรเอริเทรียคาทอลิก[5] 2015 อเล็กซานเดรีย แอสมารา, เอริเทรีย มุขมณฑลมหานคร 4 4 155,480[5]
ศาสนจักรเอธิโอเปียคาทอลิก 1846 อเล็กซานเดรีย อาดดิสอาบาบา, เอธิโอเปีย มุขมณฑลมหานคร 4 4 70,755
ศาสนจักรกรีกไบแซนไทน์คาทอลิก 1829 ไบแซนไทน์ หลายแห่ง [note 2] ไม่มีโครงสร้างเป็นหนึ่งเดียว [note 2] 2 1 6,020
ศาสนจักรกรีกคาทอลิกในโครเอเชียและเซอร์เบีย[6]: 1140  1611 ไบแซนไทน์ หลายแห่ง [note 3] ไม่มีโครงสร้างเป็นหนึ่งเดียว [note 3] 2 2 43,245
ศาสนจักรฮังการีกรีกคาทอลิก 1646 ไบแซนไทน์ แดแบร็ตแซ็น, ฮังการี มุขมณฑลมหานคร 3 3 255,000
ศาสนจักรอิตาลี-แอลเบเนียกรีกคาทอลิก 1784 (ฐานานุกรมอิสระ)
(never separated)
ไบแซนไทน์ หลายแห่ง [note 4] 'ไม่มีโครงสร้างเป็นหนึ่งเดียว [note 4] 3 4 56,412
ศาสนจักรมาซิโดเนียกรีกคาทอลิก 2008 ไบแซนไทน์ สโกเปีย, มาซิโดเนีย เขตปกครองศาสนจักร 1 0 11,336
ศาสนจักรเมลไคท์กรีกคาทอลิก 1726 (ก่อนหน้านี้ร่วมเอกภาพกับทั้งสองนิกาย) ไบแซนไทน์ ดามัสกัส, ซีเรีย เขตอัครบิดร 25 32 1,522,802
ศาสนจักรโรมาเนียกรีกคาทอลิก 1697 ไบแซนไทน์ Blaj, โรมาเนีย เอกอัครมุขมณฑล 7 8 504,280
ศาสนจักรรัสเซียกรีกคาทอลิก 1905 ไบแซนไทน์ ไม่มี [note 5] ไม่มี [note 5] 2 0 -
ศาสนจักรรูเธเนียไบแซนไทน์คาทอลิก 1646 ไบแแซนไทน์ พิตต์สเบิร์ก, สหรัฐอเมริกา มุขมณฑลมหานคร [note 6] 6 7 419,500
ศาสนจักรสโลวักไบแซนไทน์คาทอลิก 1646 ไบแซนไทน์ เปรเชา, สโลวาเกีย มุขมณฑลมหานคร 4 5 211,820
ศาสนจักรซีรีแอกคาทอลิก 1781 ซีเรียตะวันตก เบรุต, เลบานอน เขตอัครบิดร 14 13 205,440
ศาสนจักรมารอนไนต์คาทอลิก คริสต์ศตวรรษที่ 4
(ไม่เคยแยกจากคาทอลิก)
ซีเรียตะวันตก Bkerke, เลบานอน เขตอัครบิดร 27 43 3,537,690
ศาสนจักรซีโร-มาลาบาร์คาทอลิก ถือกำเนิดโดยอัครสาวก
ถูกทำให้เป็นแบบละตินในปีค.ศ.1589 สภาสงฆ์แห่งไดแอมเปอร์[7]
ซีเรียตะวันออก Ernakulam-Angamaly, อินเดีย เอกอัครมุขมณฑล 32 53 4,189,349
ศาสนจักรซีโร-มาลานคาร่าคาทอลิก ถือกำเนิดโดยอัครสาวก รวมกับคาทอลิกในปีค.ศ.1930 ซีเรียตะวันตก ธิรุวานันทพุราม, อินเดีย เอกอัครมุขมณฑล 11 14 450,553
ศาสนจักรยูเครนกรีกคาทอลิก 1595 ไบแซนไทน์ เคียฟ, ยูเครน เอกอัครมุขมณฑล 33 42 4,636,958
เขตปกครองอื่น 1945, 1951, 1954, 1959, 1991, 2016 จากหลากจารีต [note 7] หลายแห่ง [note 8] เขตอภิบาลโดยมุขนายก - - [note 9] 35,670
Total 23 8 226 279 17,881,222

Notes

[แก้]
  1. The Belarusian Greek Catholic Church is unorganized and has been served by Apostolic Visitors since 1960.
  2. 2.0 2.1 The Greek Byzantine Catholic Church comprises two independent apostolic exarchates covering Greece and Turkey respectively, each immediately subject to the Holy See.
  3. 3.0 3.1 The Byzantine Catholic Church of Croatia and Serbia comprises one Eparchy, based in Križevci and covering Croatia, Slovenia, and Bosnia and Herzegovina, and one Apostolic Exarchate based in Ruski Krstur covering Serbia. The eparchy is in foreign province, and the apostolic exarchate is immediately subject to the Holy See.
  4. 4.0 4.1 The Italo-Albanian Greek Catholic Church comprises two independent eparchies (based in Lungro and Piana degli Albanesi) and one territorial abbacy (based in Grottaferrata), each immediately subject to the Holy See.
  5. 5.0 5.1 The Russian Greek Catholic Church comprises two apostolic exarchates (one for Russia and one for China), each immediately subject to the Holy See and each vacant for decades. Bishop Joseph Werth of Novosibirsk has been appointed by the Holy See as ordinary to the Eastern Catholic faithful in Russia, although not as exarch of the dormant apostolic exarchate and without the creation of a formal ordinariate.
  6. The Ruthenian Catholic Church does not have a unified structure. It includes a Metropolia based in Pittsburgh, which covers the entire United States, but also an eparchy in the Ukraine and an apostolic exarchate in the Czech Republic, both of which are directly subject to the Holy See.
  7. Five of the ordinariates for Eastern Catholic faithful are multi-ritual, encompassing the faithful of all Eastern Catholic rites within their territory not otherwise subject to a local ordinary of their own rite. The sixth is exclusively Byzantine, but covers all Byzantine Catholics in Austria, no matter which particular Byzantine Church they belong to.
  8. The six ordinariates are based in Buenos Aires (Argentina), Vienna (Austria), Belo Horizonte (Brazil), Paris (France), Warsaw (Poland), and Madrid (Spain).
  9. Technically, each of these ordinariates has an ordinary who is a bishop, but all of the bishops are Latin-rite bishops whose primary assignment is to a Latin see.

อ้างอิง

[แก้]
  1. https://www.britannica.com/topic/Eastern-rite-church
  2. "สำเนาที่เก็บถาวร" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2016-10-20. สืบค้นเมื่อ 2017-11-29.
  3. https://australianmuseum.net.au/nestorian-stele-inscription-b11298
  4. Roberson, Ronald. "The Eastern Catholic Churches 2016" (PDF). cnewa.org. Catholic Near East Welfare Association. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2016-10-20. สืบค้นเมื่อ ธันวาคม 1, 2017.
  5. 5.0 5.1 "Erezione della Chiesa Metropolitana sui iuris eritrea e nomina del primo Metropolita". Holy See Press Office. January 19, 2015. สืบค้นเมื่อ January 19, 2015.
  6. Catholic Church (2012). Annuario Pontificio. Libreria Editrice Vaticana. ISBN 978-88-209-8722-0.
  7. Pallath, Paul (2005). The catholic Church in India (2nd ed.). Rome: Mar Thoma Yogam. pp. 31–40.