ออเรียนทัลออร์ทอดอกซ์
ออเรียนทัลออร์ทอดอกซ์ | |
---|---|
ประเภท | ตะวันออก |
กลุ่ม | Non-Chalcedonian |
เทววิทยา | ไมอาไฟซิททิสม์ |
แผนการปกครอง | เอพิคอพัล |
โครงสร้าง | คมมูเนียน |
ภาษา | คอปติก, ซีเรียคลาสสิก, อาร์มีเนียคลาสสิก, Ge'ez, มลยาฬัม, Koine Greek, ภาษาอังกฤษ, ภาษาอาหรับ, ฯลฯ |
พิธีกรรม | อะเล็กซานเดรียน, ซีเรียตะวันตก และ อาร์มีเนียน |
ผู้ก่อตั้ง | พระเยซู |
แยกตัวจาก | Chalcedonian Christianity |
สมาชิก | 60 ล้าน |
ชื่ออื่น | Oriental Orthodoxy, Old Oriental Churches, Oriental Orthodox Communion, Oriental Orthodox Church |
นิกายออเรียนทัลออร์ทอดอกซ์ (อังกฤษ: Oriental Orthodoxy) เป็นนิกายในศาสนาคริสต์ตะวันออกที่ยอมรับมติสภาสังคายนาสากลเฉพาะ 3 ครั้ง ได้แก่ สังคายนาไนเซียครั้งที่หนึ่ง สังคายนาคอนสแตนติโนเปิลครั้งที่หนึ่ง และสังคายนาแห่งเอเฟซัส และไม่ยอมรับมติของสภาสังคายนาแห่งแคลซีดัน ดังนั้นกลุ่มคริสตจักรออเรียนทัลออร์ทอดอกซ์จึงมีอีกชื่อว่าคริสตจักรออเรียนทัลเก่า คริสตจักรไมอาฟิไซต์ หรือคริสตจักรนอน-แคลซีโดเนียน ฝ่ายคริสตจักรตะวันตกและคริสตจักรอีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์เรียกว่าคริสตจักรกลุ่มนี้ว่าพวก "เอกธรรมชาตินิยม"[1] (Monophysitism) คริสตจักรในนิกายนี้ไม่ได้ร่วมสามัคคีธรรมกับคริสตจักรอีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์แต่อยู่ระหว่างการเสวนาเพื่อกลับไปรวมกันเป็นเอกภาพ[2]
คนมักเข้าใจสับสนระหว่าง ออเรียนทัลออร์ทอดอกซ์ กับ อีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์ เพราะคำว่า Oriental และ Eastern มีความหมายเหมือนกันว่า "ตะวันออก" แต่ในความจริงเป็นคนละกลุ่มกัน ออเรียนทัลออร์ทอดอกซ์ประกอบด้วย 5 กลุ่ม ได้แก่ คอปติกออร์ทอดอกซ์ เอธิโอเปียนออร์ทอดอกซ์ เอริเทรียนออร์ทอดอกซ์ ซีเรียกออร์ทอดอกซ์ และคริสตจักรอัครทูตอาร์มีเนียน[3] ห้าคริสตจักรนี้แม้จะรวมอยู่ในคอมมิวเนียนเดียวกันแต่ก็มีระบบการปกครองแยกกันเป็นเอกเทศ[4]
คริสตจักรออเรียนทัลออร์ทอดอกซ์แยกออกมาจากคริสตจักรอื่น ๆ เพราะมีความเห็นขัดแย้งกันในเรื่องการใช้ศัพท์บางคำอธิบายลักษณะของพระคริสต์ (เรียกว่าปัญหาทางศัพทวิทยาทางคริสตวิทยา) สังคายนาไนเซียครั้งที่หนึ่ง มีมติว่าพระคริสต์เป็นพระเจ้า กล่าวคือพระคริสต์ผู้เป็นพระบุตรมีสาระเดียวกันกับพระเจ้าพระบิดา และสังคายนาแห่งเอเฟซัส มีมติว่าพระเยซูผู้เป็นทั้งพระเจ้าและมนุษย์ทรงมีภาวะเดียว ต่อมาอีก 20 ปี สังคายนาแคลซีดันได้มีมติว่าพระเยซูทรงมีทั้งธรรมชาติมนุษย์และธรรมชาติพระเจ้าอย่างสมบูรณ์ในตัวบุคคลเดียว หลายคนไม่ยอมรับเพราะเห็นว่ามตินี้เป็นคำสอนนอกรีตแบบเดียวกับลัทธิเนสทอเรียสซึ่งถูกประณามไปแล้วที่เอเฟซัสเพราะเห็นว่าพระคริสต์มีของสองภาวะแตกต่างกัน ภาวะหนึ่งคือพระเจ้า อีกภาวะคือมนุษย์
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Davis, SJ, Leo Donald (1990). The First Seven Ecumenical Councils (325-787): Their History and Theology (Theology and Life Series 21). Collegeville, MN: Michael Glazier/Liturgical Press. p. 342. ISBN 978-0-8146-5616-7.
- ↑ Syrian Orthodox Resources – Middle Eastern Oriental Orthodox Common Declaration
- ↑ "Oriental Orthodox Churches". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-04-06. สืบค้นเมื่อ 2012-05-04.
- ↑ "An Introduction to the Oriental Orthodox Churches". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-05-21. สืบค้นเมื่อ 2012-05-04.