[go: up one dir, main page]

ข้ามไปเนื้อหา

ฟาโรห์แฮตเชปซุต

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ฟาโรห์แฮตเชปซุต
ประติมากรรมรูปพระนางแฮตเชปซุต แสดงไว้ที่พิพิธภัณฑ์ศิลปะเมโทรโพลิทัน (Metropolitan Museum of Art) นครนิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา
ฟาโรห์เเห่งอียิปต์
ครองราชย์ประมาณ 1479–16 มกราคม 1458 ปีก่อนค.ศ.
ก่อนหน้าฟาโรห์ทุตโมสที่ 2
ถัดไปฟาโรห์ทุตโมสที่ 3
ราชินีผู้ปกครองแทนแห่งอียิปต์
ระหว่าง1481–1472 ปีก่อนค.ศ.
สมเด็จพระราชินีแห่งอียิปต์
ระหว่างประมาณ 1493–1479 ปีก่อนค.ศ. (กำกวม)
พระราชสมภพประมาณ 1507 ปีก่อนค.ศ.[1][2]
สวรรคต1458 ปีก่อนค.ศ. (50 พรรษา)
ฝังพระศพKV20 (อาจจะถูกย้ายไปที่ KV60[2])
คู่อภิเษกฟาโรห์ทุตโมสที่ 2
พระราชบุตรเนเฟอร์รูเร
ราชวงศ์ราชวงศ์ที่ 18
พระราชบิดาฟาโรห์ทุตโมสที่ 1
พระราชมารดาอาโมส

แฮตเชปซุต (อังกฤษ: Hatshepsut; /hætˈʃɛpsut/[3] "สตรีชั้นสูงผู้เป็นเอก"[4]) เป็นพระมหากษัตริย์พระองค์ที่ห้าในราชวงศ์ที่สิบแปดแห่งอาณาจักรอียิปต์โบราณ ซึ่งเป็นสตรี

เจมส์ เฮนรี บรีสด์ (James Henry Breasted) นักไอยคุปต์วิทยา กล่าวว่า พระนางทรงเป็นที่รู้จักกันว่า "เป็นอิสตรีผู้ยิ่งใหญ่พระองค์แรกในประวัติศาสตร์ ที่พวกเรามีข้อมูล"[5]

พระนางเป็นอิสตรีผู้ที่ครองบัลลังค์เป็นฟาโรห์องค์ที่สามแต่กลับเป็นที่รู้จักอย่างมากในฐานะ "ราชินีมีเครา" มาจากการที่พระนางได้สวมเคราปลอมเหมือนบุรุษฟาโรห์ทำกัน พระนางได้แต่งตำนานเกี่ยวกับประสูติกาลของพระนางว่า "เมื่อเทพอามุนผู้ยิ่งใหญ่แห่งนครธีบส์ หลงรักหญิงงามนามว่าอาโมส อามุนได้เข้าหานางและมีสัมพันธ์กับนาง โดยที่พระองค์อามุนแต่งตั้งบุตรีในครรภ์ของอาโมสเป็นผู้นั่งบัลลังค์ฮอรัสตลอดไป" ดังนั้นถือได้ว่าเป็นการฉลาดที่พระนางแต่งตำนานไว้เพื่อให้ไม่มีประชาชนหน้าไหนกล่าวหาพระนางได้อีก

พระนางมีพระราชกรณียกิจในการบำรุงเศรษฐกิจของอียิปต์ และค้าขายกันกับดินแดนพันท์และได้ของมีค่ามากมายกลับมา โดยวิหารสุสานของนางมีชื่อว่าเดียร์-เอล-บาฮารี หรือในภาษาอียิปต์โบราณว่า"เจเซร์-เจเซร์รู"(Djeser-djeseru)

ก่อนหน้า ฟาโรห์แฮตเชปซุต ถัดไป
ทุตโมสที่ 2 ฟาโรห์แห่งอียิปต์
ทุตโมสที่ 3

อ้างอิง

[แก้]
  1. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ Tyldesley, Hatchepsut, p. 226
  2. 2.0 2.1 อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ times
  3. "Hatshepsut". Dictionary.com. สืบค้นเมื่อ 27 July 2007.
  4. Clayton, Peter (1994). Chronicle of the Pharaohs. Thames & Hudson. p. 104.
  5. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-02-21. สืบค้นเมื่อ 2013-12-19.