[go: up one dir, main page]

ข้ามไปเนื้อหา

โลมาแม่น้ำแอมะซอน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

โลมาแม่น้ำแอมะซอน
โลมาแม่น้ำแอมะซอนกำลังกินปลาซัคเกอร์
ขนาดเมื่อเทียบกับมนุษย์
สถานะการอนุรักษ์
CITES Appendix II (CITES)[2]
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ แก้ไขการจำแนกนี้
โดเมน: ยูแคริโอต
Eukaryota
อาณาจักร: สัตว์
Animalia
ไฟลัม: สัตว์มีแกนสันหลัง
Chordata
ชั้น: สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม
Mammalia
อันดับ: สัตว์กีบคู่
Artiodactyla
อันดับฐาน: วาฬและโลมา
Cetacea
วงศ์: วงศ์โลมาแม่น้ำแอมะซอน
Iniidae
สกุล: วงศ์โลมาแม่น้ำแอมะซอน
Inia
(Blainville, 1817)
สปีชีส์: Inia geoffrensis
ชื่อทวินาม
Inia geoffrensis
(Blainville, 1817)
แผนที่แสดงการกระจายพันธุ์ของโลมาแม่น้ำแอมะซอน

โลมาแม่น้ำอะเมซอน หรือ โลมาสีชมพู (อังกฤษ: Amazon river dolphin, Pink dolphin; โปรตุเกส: Boto, Boutu[3]; ชื่อวิทยาศาสตร์: Inia geoffrensis; ออกเสียง: /อิ-เนีย-จี-โอฟ-เฟรน-สิส/[4]) เป็นโลมาแม่น้ำชนิดหนึ่ง จัดเป็นเพียงชนิดเดียวในสกุล Inia และวงศ์ Iniidae

โลมาแม่น้ำแอมะซอน จัดเป็นโลมาแม่น้ำ หรือโลมาน้ำจืดชนิดหนึ่ง ที่อาศัยอยู่ในน้ำจืดแท้ ๆ โดยที่ไม่พบในทะเล มีความยาวประมาณ 1.53-2.4 เมตร (5.0-7.9 ฟุต) ขึ้นอยู่กับชนิดย่อย ตัวเมียจะมีขนาดใหญ่กว่าตัวผู้ โดยตัวที่ใหญ่ที่สุด เป็นตัวเมียที่มีความยาวถึง 2.5 เมตร (8.2 ฟุต) และน้ำหนักตัว 98.5 กิโลกรัม (217 ปอนด์) ขณะที่ตัวผู้ที่ใหญ่ที่สุด ยาว 2.0 เมตร (6.6 ฟุต) และน้ำหนักตัว 94 กิโลกรัม (210 ปอนด์) นอกจากนี้แล้วกระดูกสันหลังบริเวณคอมีความยืดหยุ่นจึงสามารถทำให้หันหัวได้ 180 องศา ซึ่งความยืดหยุ่นตรงนี้เองที่ทำให้เป็นสิ่งสำคัญในการว่ายน้ำผ่านต้นไม้ต่าง ๆ และวัสดุกีดขวางต่าง ๆ ในป่าน้ำท่วม

นอกจากนี้ยังมีจะงอยปากยาวซึ่งฟันมี 24 ถึง 34 คู่ ฟันเป็นรูปทรงกรวยและมีฟันกรามด้านในของขากรรไกร มีผิวหนังสีขาวอมชมพูเรื่อ ๆ ตามีขนาดเล็ก[5][6][7]

โลมาแม่น้ำแอมะซอน กระจายพันธุ์ในแม่น้ำสายใหญ่ในทวีปอเมริกาใต้ เช่น แม่น้ำแอมะซอน, แม่น้ำโอริโนโก, แม่น้ำลาพลาตา, แม่น้ำปารานา, แม่น้ำโทคันตินส์ เป็นต้น จึงแบ่งออกได้เป็น 3 ชนิดย่อย คือ

  • I. g. geoffrensis เป็นชนิดที่พบได้ทั่วไป ในแม่น้ำแอมะซอนและโทคันตินส์
  • I. g. humboldtiana พบในแม่น้ำโอริโนโก
  • I. g. boliviensis พบในโบลิเวีย มีหัวเล็กกว่า มีลำตัวกว้างกว่า และมีจำนวนฟันมากกว่า ในบางข้อมูลจัดเป็นชนิดใหม่[4][3]

มีทฤษฎีเกี่ยวกับการที่เข้ามาอาศัยอยู่ในน้ำจืดของโลมาแม่น้ำแอมะซอน ว่าในยุคก่อนประวัติศาสตร์ ทะเลด้านตะวันออกและตะวันตกของทวีปอเมริกาใต้เชื่อมติดกัน ต่อมาเกิดแผ่นดินไหว ทางที่เชื่อมกันอยู่จึงถูกตัดขาดเนื่องจากมีเทือกเขาแอนดีสปรากฏขึ้นมา โลมาที่อาศัยอยู่ในทะเลแถบนี้จึงไม่สามารถว่ายน้ำกลับทะเลได้ นานวันเข้าจึงปรับตัวให้เข้ากับสิ่งแวดล้อม จึงอาศัยอยู่ในแม่น้ำแอมะซอนตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา[8]

โลมาแม่น้ำแอมะซอน กินปลาและสัตว์น้ำชนิดต่าง ๆ เป็นอาหาร แม้กระทั่งปลาปิรันย่า มีอุปนิสัยอ่อนโยน เป็นมิตรกับมนุษย์เหมือนโลมาทั่วไป ในนิทานพื้นบ้านของชนพื้นเมือง เชื่อว่า โลมาแม่น้ำแอมะซอนสามารถแปลงร่างเป็นมนุษย์ได้ โดยจะแปลงร่างเป็นชายหนุ่มรูปงาม และเข้ามาล่อลวงหญิงสาวในหมู่บ้าน นอกจากนี้แล้วยังเชื่อว่าเป็นสัตว์ที่มีอาถรรพ์ หากนำน้ำมันของโลมามาใช้จุดตะเกียงจะทำให้ตาบอด แม้จะเป็นเพียงเรื่องเล่าแต่จากความเชื่อเหล่านี้เองที่ทำให้โลมาแม่น้ำแอมะซอนไม่ถูกคุกคามจากชนพื้นเมือง[9]

แต่ปัจจุบันถูกคุกคามจากการสูญเสียถิ่นที่อยู่อาศัย อันเป็นผลมาจากการตัดไม้ทำลายป่าและมลภาวะเป็นพิษในน้ำ ในเดือนกันยายน ค.ศ. 2012 เอโบ โมราเลส ประธานาธิบดีโบลิเวีย ได้ออกกฎหมายเพื่อคุ้มครองโลมาแม่น้ำแอมะซอนไว้เป็นสมบัติของชาติ[10]

รูปภาพ

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. da Silva, V.; Trujillo, F.; Martin, A.; Zerbini, A.N.; Crespo, E.; Aliaga-Rossel, E.; Reeves, R. (2018). "Inia geoffrensis". IUCN Red List of Threatened Species. 2018: e.T10831A50358152. doi:10.2305/IUCN.UK.2018-2.RLTS.T10831A50358152.en. สืบค้นเมื่อ 12 November 2021.
  2. "Appendices | CITES". cites.org. สืบค้นเมื่อ 2022-01-14.
  3. 3.0 3.1 อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ itis
  4. 4.0 4.1 โลกาภิวัฒน์ 03/11/53 จากไทยรัฐ
  5. http://acsonline.org/factpack/Boto.htm เก็บถาวร 2012-01-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน American Cetacean Society Fact Sheet. "Boto (Amazon river dolphin)". American Cetacean Society. Retrieved December 6, 2011.]
  6. Robin C. Best & Vera M.F. da Silva (1993). "Inia geoffrensis". Mammalian Species (The American Society of Mammalogists) (426): 1–8.
  7. "Animal Info - Boto (Amazon river dolphin)". Animal Info - Endangered Animals. June 7, 2006. Retrieved December 6, 2011.
  8. หน้า 163, ผจญภัยในป่าอะเมซอน โดย ชุตินันท์ เอกอุกฤษฎ์กุล (สำนักพิมพ์ H.N.Group , 2549) ISBN 9789749909652
  9. แอมะซอน สายน้ำแห่งโลกเขียว
  10. Bolivia enacts law to protect Amazon pink dolphins จาก BBC

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]