[go: up one dir, main page]

ข้ามไปเนื้อหา

เอรัสมุส

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เอรัสมุส เมื่อ พ.ศ. 2066 วาดโดยฮันส์ ฮอลไบน์ (ผู้ลูก)

เดซีเดริอุส เอรัสมุส โรเตโรดามุส (ละติน: Desiderius Erasmus Roterodamus) หรือ เดซีเดริอุส เอรัสมุส แห่งรอตเทอร์ดาม[note 1] (28 ตุลาคม[1] ค.ศ. 1466[2] - 12 กรกฎาคม ค.ศ. 1536) เป็นนักมนุษยนิยมสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยา นักวิจารณ์สังคม ครู บาทหลวงโรมันคาทอลิก และนักเทววิทยาศาสนาคริสต์ชาวดัตช์

เอรัสมุส เป็นนักวิชาการคลาสสิก แต่งหนังสือด้วยภาษาละตินแท้ได้ ในวงการมนุษยนิยมเขาได้รับสมญาว่า “เจ้าชายแห่งนักมนุษยนิยม” (Prince of the Humanists) และ "ความรุ่งโรจน์แห่งนักมนุษยนิยมคริสเตียน"[3] เขาใช้เทคนิคทางมนุษยนิยมศึกษาตัวบทต่าง ๆ จนสามารถริเริ่มปรับปรุงคัมภีร์พันธสัญญาใหม่ฉบับภาษากรีกและละติน ซึ่งมีอิทธิพลต่อการปฏิรูปศาสนาฝ่ายโปรเตสแตนต์และการปฏิรูปคาทอลิกในเวลาต่อมา

แม้เอรัสมุสจะต้านการปฏิรูปศาสนาของฝ่ายโปรเตสแตนต์ แต่เขาก็วิพากษ์วิจารณ์ศาสนจักรคาทอลิกและเรียกร้องให้ศาสนจักรปฏิรูปด้วย เขายังคงยอมรับสิทธิอำนาจของพระสันตะปาปา และให้ความสำคัญการรักษาขนบที่สืบทอดมาควบคู่กับการพึ่งอาศัยพระคุณจากพระเจ้า ต่างจากมาร์ติน ลูเทอร์ ที่เน้นเรื่องพระคุณจากพระเจ้าอย่างเดียว เอรัสมุสจึงนับถือนิกายโรมันคาทอลิกตลอดชีวิต[4]และยังคงสนับสนุนการปฏิรูปภายในศาสนจักร นอกจากนี้เขายังเชื่อตามศาสนจักรคาทอลิกว่ามนุษย์มีเจตจำนงเสรี ต่างจากลัทธิคาลวินที่ปฏิเสธแนวคิดนี้เพราะถือว่าทุกสิ่งเป็นไปตามเทวลิขิต แนวคิดสายกลางของเขา ทำให้เขาถูกต่อต้านทั้งจากศาสนจักรคาทอลิกฝ่ายอนุรักษนิยมและฝ่ายโปรเตสแตนต์

เอรัสมุสถึงแก่กรรมที่เมืองบาเซิลในปี ค.ศ. 1536 ระหว่างเตรียมตัวเดินทางกลับดัชชีบราบันต์ ศพของเขาฝังอยู่ที่บาเซิลมินส์เตอร์[5]

ชีวประวัติโดยสรุป

[แก้]

เอรัสมุสเกิดในนครรอตเทอร์ดาม ประเทศเนเธอร์แลนด์ หลังจากอาศัยอยู่ที่อารามคณะออกัสติเนียนแห่งหนึ่งเป็นเวลา 6 ปีก็ได้เป็นเลขานุการส่วนตัวของ บิชอปแห่งแคมบราอิ และบวชเป็นบาทหลวงเมื่อ พ.ศ. 2035 ต่อมาเอรัสมุสจึงได้ย้ายไปอยู่ปารีสมีอาชีพเป็นครูและย้ายไปอยู่ลอนดอนในปี พ.ศ. 2041 โดยดำรงตำแหน่งศาสตราจารย์สาขาศาสนศาสตร์ (Divinity) และกรีกที่มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ และที่นี่เองที่เอรัสมุสได้เขียนหนังสือประเภทเสียดสีเรื่อง “การสดุดีคนโง่” (พ.ศ. 2052) นับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2057 เป็นต้นมา อีราสมุสย้ายที่อยู่อาศัยไปมาระหว่างเมืองบาเซิลและลอนดอน ต่อมาได้ย้ายไปอยู่ที่เมืองลูเวียน (ในเบลเยียม พ.ศ. 2060-2064) ในช่วงนี้อีราสมุสได้ผลิตผลงานเขียนที่มีชื่อเสียงอีกหลายเล่ม

ในบั้นปลายชีวิต เอรัสมุสได้เขียนหนังสืออีกหลายเล่มและเข้าไปเกี่ยวข้องกับความคิดที่ขัดแย้งทางศาสนาค่อนข้างมาก แต่ก็ได้รับการยกย่องและมีความสุขมากในชีวิตท่ามกลางเพื่อนแท้ทางความคิดที่เป็นฝ่ายโปรเทสแตนท์ เอรัสมุสถึงแก่กรรมเมื่ออายุประมาณ 70 ปี ที่เมืองบาเซิล

Erasmus by Holbein
อนุสาวรีย์ของเอรัสมุสในรอตเทอร์ดาม

เชิงอรรถ

[แก้]
  1. เอรัสมุส เป็นชื่อเมื่อเขารับศีลล้างบาป โดยตั้งตามนักบุญเอรัสมุส. เดซีเดริอุส เป็นชื่อที่เขาตั้งใช้เองมาตั้งแต่ปี ค.ศ. 1496 โรเตโรดามุส เป็นชื่อในวงวิชาการ แปลว่า "จากรอตเทอร์ดาม" ซึ่งความจริงควรเป็น โรแตร์ดาเมนซิส (Roterdamensis)

อ้างอิง

[แก้]
  1. Gleason, John B. "The Birth Dates of John Colet and Erasmus of Rotterdam: Fresh Documentary Evidence," Renaissance Quarterly, The University of Chicago Press on behalf of the Renaissance Society of America, Vol. 32, No. 1 (Spring, 1979), pp. 73–76; www.jstor.org
  2. Harry Vredeveld, "The Ages of Erasmus and the Year of his Birth", Renaissance Quarterly, Vol. 46, No. 4 (Winter, 1993), pp. 754-809, www.jstor.org
  3. Latourette, Kenneth Scott. A History of Christianity. New York: Harper & Brothers, 1953, p. 661.
  4. Manfred Hoffmann, "Faith and Piety in Erasmus's Thought," Sixteenth Century Journal (1989), 20#2, pp. 241-258
  5. "He tried to remain in the fold of the old [Roman] Church, after having damaged it seriously, and renounced the [Protestant] Reformation, and to a certain extent even Humanism, after having furthered both with all his strength". Johan Huizinga, Erasmus and the Age of Reformation (tr. F. Hopman and Barbara Flower; New York: Harper and Row, 1924), 190.

บรรณานุกรมสำคัญ

[แก้]
  • Botley, Paul (2004). Latin Translation in the Renaissance: The Theory and Practice of Leonardo Bruni, Giannozzo Manetti and Desiderius Erasmus, London: Cambridge University Press.
  • Chantraine, Georges (1971). "Philosophie erasmienne et théologie lutérienne." "Mystère" et "Philosphie du Christ" selon Erasme, Brussels : Duculot, pp. 374-376.
  • Dockery, David S. (October 19, 1995). "The Foundation of Reformation Hermeneutics: A Fresh Look at Erasmus," Premise 2, no. 9, pp. 6–ff. (An appreciative look at Erasmus's contribution to biblical hermeneutics [interpretation methods] from an Evangelical Christian perspective.)
  • Erasmus. The Catholic Reformation. Olin, John C., ed. New York: Fordham University, 1992.
  • Gauss, C. (first published 1999). Introduction to 'The Prince' . New York: Signet, p. 11.
  • Hoffmann, Manfred (1994). Rhetoric and Theology: The Hermeneutic of Erasmus, Toronto: University of Toronto Press.
  • Hollis, Christopher (1931). Erasmus, London: Eyre & Spottiswode. (Concentrates on Erasmus' quarrels with Catholic hierarchy.)
  • Huizinga, Johan (1957). Erasmus and the Age of Reformation, New York: Harper Torchbooks. (Huizinga's text was translated from Dutch and first published by Charles Scribner's Sons in 1924. It is considered one of the foundational Erasmus biographies of the twentieth century.)
  • Jardine, Lisa (1993). Erasmus, Man of Letters: The Construction of Charisma in Print, Princeton, N.J.: Princeton University Press, 1993. (Argues that Erasmus was extremely careful and skillful in creating, manipulating and managing his own image.)
  • Mansfield, Bruce E. (1979). Phoenix of His Age: Interpretations of Erasmus C. 1550-1750, Erasmus Studies 4, Toronto and Buffalo: University of Toronto Press. (Traces the reception and interpretations of Erasmus after his death.)
  • Metzger, Bruce (1992). The Text of the New Testament: Its Transmission, Corruption, and Restoration, New York and Oxford: Oxford University Press, 3rd edition: ISBN 0-19-507297-9 – (Discusses the origin of the Textus Receptus.)
  • Payne, John B. (1970). Erasmus: His Theology of the Sacraments, Richmond. Va.: John Knox Press. (This work pays great attention to Erasmus's own writings and analyzes the different aspects of his theology in light of his Catholic and Humanist influences. Payne conducted extensive work on UTP's Collected Works of Erasmus editions.)
  • Phillips, Margaret Mann (1949). Erasmus and the Northern Renaissance, Teach Yourself History Library series, London: Hodder & Stoughton. (An important classic on the topic.)
  • Panofsky, Erwin "Erasmus and the Visual Arts," Journal of the Warburg and Courtauld Institutes, vol. 32 (1969): 200-227. (A well known article about Erasmus and his relationships with Hans Holbein, Albrect Dürer and Quentin Matsys, and Erasmus's view on the visual arts.)
  • Rabil, Albert (1972). Erasmus and the New Testament: The Mind of a Christian Humanist, San Antonio, Tx.: Trinity University Press.
  • Stevens, Forrest Tyler (1994). "Erasmus's 'Tigress': The Language of Friendship, Pleasure and the Renaissance Letter" in Queering the Renaissance, Durham, N.C.: Duke University Press. (An illuminating analysis of the letters to Servatius and Erasmus's De conscribendis epistolis.)
  • Tracy, James D. (1972). Erasmus: The Growth of a Mind, Travaux d'humanisme et renaissance, 126, Geneva: Droz. (One of the standard biographies.)
  • Winters, Adam (2005). Erasmus' Doctrine of Free Will, diss. Jackson, TN: Union University. (Deals specifically with Erasmus' debate against Martin Luther.)
  • Zweig, Stefan (1938). Erasmus of Rotterdam, Triumph und Tragik des Erasmus von Rotterdam, New York: The Viking Press. (Evocative character portrait.)

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]

Wikisource has the original Latin text of Praise of Folly.


[[วิกิพีเดีย:|ข้อมูลบุคคล]]
ชื่อ Erasmus, Desiderius}
ชื่ออื่น Erasmus; Erasmus, Desiderius Roterodamus; Gerritszoon, Gerrit
รายละเอียดโดยย่อ Dutch philosopher and theologian
วันเกิด October 27, 1466 or 1469
สถานที่เกิด Rotterdam, The Netherlands
วันตาย July 12, 1536
สถานที่ตาย Basel, Switzerland