วุฒิสภาออสเตรเลีย
วุฒิสภาแห่งออสเตรเลีย Senate of Australia | |
---|---|
สมัยที่ 46 | |
ประเภท | |
ประเภท | เป็นส่วนหนึ่งของรัฐสภาออสเตรเลีย |
ผู้บริหาร | |
โครงสร้าง | |
สมาชิก | 76 คน |
กลุ่มการเมืองใน วุฒิสภา | ฝ่ายรัฐบาล (36) พรรคร่วมรัฐบาล |
การเลือกตั้ง | |
ระบบการเลือกตั้งวุฒิสภา | ระบบเสียงเดียวถ่ายโอนคะแนนได้ |
การเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภาครั้งล่าสุด | 18 พฤษภาคม ค.ศ. 2019 (เพียงครึ่งสภา) |
การเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภาครั้งหน้า | ก่อน 21 พฤษภาคม 2022 |
ที่ประชุม | |
ห้องประชุมวุฒิสภา ที่ทำการรัฐสภา แคนเบอร์รา, ออสเตรเลียนแคพิทอลเทร์ริทอรี | |
เว็บไซต์ | |
Senate |
วุฒิสภาแห่งออสเตรเลีย (อังกฤษ: Australian Senate) เป็นสภาสูงในรัฐสภาออสเตรเลีย อีกสภาหนึ่งคือสภาล่าง หรือสภาผู้แทนราษฎร องค์ประกอบและอำนาจของวุฒิสภาถูกบัญญัติไว้ในหมวดที่ 1 แห่งรัฐธรรมนูญออสเตรเลีย ประกอบด้วยสมาชิกจำนวน 76 คน โดยมีที่มาจากรัฐทั้งหกรัฐรัฐละ 12 คน เท่า ๆ กันโดยไม่คำนึงถึงจำนวนประชากร และจากดินแดนทั้งสองดินแดนละ 2 คน ได้แก่นอร์เทิร์นเทร์ริทอรี และออสเตรเลียนแคพิทอลเทร์ริทอรี สมาชิกวุฒิสภามีที่มาโดยการเลือกตั้งระบบสัดส่วนแบบเสียงเดียวถ่ายโอนคะแนนได้
วุฒิสภาออสเตรเลียนั้นมีบทบาทแตกต่างไปจากสภาสูงอื่น ๆ ในระบบเวสต์มินสเตอร์ โดยมีอำนาจมากกว่าอย่างเห็นได้ชัด รวมถึงอำนาจในการตีตกร่างกฎหมายได้ทั้งหมด รวมถึงร่างกฎหมายงบประมาณแผ่นดินซึ่งเสนอโดยรัฐบาลและสภาผู้แทนราษฎร ซึ่งทำให้มีสถานะเป็นลูกผสมระหว่างสภาสูงระบบเวสต์มินสเตอร์และระบบคองเกรสสหรัฐ โดยเนื่องจากผลของระบบการเลือกตั้งแบบสัดส่วนทำให้วุฒิสภานั้นประกอบด้วยพรรคและกลุ่มการเมืองจำนวนมากแย่งกันมีอำนาจในสภา พรรครัฐบาลหรือกลุ่มพรรคร่วมรัฐบาลซึ่งครองเสียงข้างมากในสภาผู้แทนราษฎรนั้นไม่เคยได้คะแนนเสียงข้างมากเด็ดขาดในวุฒิสภาเลยตั้งแต่ปี ค.ศ. 2005-2007 (และก่อนหน้านั้นตั้งแต่ ค.ศ. 1981) และจึงจำเป็นจะต้องมีการเจรจาต่อรองกับพรรคหรือกลุ่มการเมืองต่าง ๆ รวมทั้งวุฒิสมาชิกอิสระเพื่อร่วมมือกันผ่านร่างกฎหมายต่าง ๆ ได้[1]
ต้นกำเนิดและบทบาท
[แก้]รัฐธรรมนูญแห่งเครือจักรภพแห่งออสเตรเลีย ค.ศ. 1900 ได้จัดตั้งกลไกของวุฒิสภาเพื่อเป็นส่วนประกอบหนึ่งของรัฐบาลของประเทศในเครือจักรภพเพื่อนำมาใช้ในสหพันธ์ออสเตรเลียซึ่งเพิ่งถือกำเนิดขึ้น โดยเมื่อเปรียบเทียบกับวุฒิสภาในประเทศอื่นแล้ววุฒิสภาออสเตรเลียมีลักษณะเฉพาะตัว ซึ่งไม่เหมือนกับสภาสูงส่วนใหญ่ในรัฐบาลระบบเวสต์มินสเตอร์ วุฒิสภาออสเตรเลียนั้นไม่ได้เป็นสภาที่บทบาทรองและมีอำนาจจำกัดในด้านนิติบัญญัติ แต่มีความตั้งใจให้มีบาทบาทสำคัญในกระบวนการนิติบัญญัติของออสเตรเลีย โดยไม่ได้ถอดแบบมาจากสภาขุนนางหรือวุฒิสภาแคนาดาแต่วุฒิสภาออสเตรเลียนั้นนำแบบแผนมาจากวุฒิสภาสหรัฐซึ่งให้สัดส่วนผู้แทนจำนวนเท่านั้นในทุกรัฐและมีอำนาจเท่าเทียมกับสภาล่าง[2] รัฐธรรมนูญออสเตรเลียนั้นมุ่งเน้นให้รัฐที่มีประชากรน้อยกว่ามีเสียงในสภานิติบัญญัติของรัฐสภากลางในขณะที่ยังสามารถมีบทบาทเหมือนสภาสูงในระบบเวสต์มินสเตอร์ด้วย
ถึงแม้ว่านายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีคลัง ตามบทกำหนดในรัฐธรรมนูญแล้วจะต้องเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ภายหลังจากจอห์น กอร์ดอนขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรีในปี ค.ศ. 1968 เขาได้ลาออกจากการเป็นสมาชิกวุฒิสภาและได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฏร) สมาชิกรายอื่น ๆ ในคณะรัฐมนตรีอาจจะต้องเป็นสมาชิกของสภาใดสภาหนึ่ง[3] และทั้งสองสภานั้นมีอำนาจนิติบัญญัติที่เกือบจะเท่ากัน[2] โดยเหมือนกับสภาสูงในรัฐสภาระบบสองสภา วุฒิสภาไม่สามารถเสนอร่างกฎหมายหรือแก้ไขร่างกฎหมายงบประมาณได้ (ร่างงบประมาณที่อนุมัติการใช้จ่ายงบประมาณที่มาจากภาษีอากร) หรือร่างกฎหมายภาษีอากร ซึ่งบทบาทเหล่านี้ถูกสงวนสิทธิไว้ให้กับสภาล่างเท่านั้น โดยวุฒิสภาสามารถลงมติรับรอง ตีตกหรือแม้แต่เลื่อนออกไปได้ ประเด็นด้านความเท่าเทียมกันระหว่างวุฒิสภาและสภาผู้แทนราษฎรนั้นเป็นผลสะท้อนมาจากความตั้งใจของผู้เขียนรัฐธรรมนูญที่เอื้อต่อรัฐที่มีขนาดเล็กกว่าที่จะมีอำนาจมากได้ในวุฒิสภาอันจะเป็นวิธีทำให้มั่นใจได้ว่าอำนาจนิติบัญญัติที่มาจากรัฐต่าง ๆ ที่มีขนาดประชากรใหญ่กว่าซึ่งมีผู้แทนจำนวนมากกว่าในสภาผู้แทนราษฎรนั้นจะไม่ได้บดบังสิทธิของเสียงส่วนน้อยไปได้ทั้งหมดผ่านทางนโยบายของรัฐบาล รัฐธรรมนูญออสเตรเลียถูกตราขึ้นก่อนการเผชิญหน้ากันระหว่างสภาขุนนางกับสภาสามัญชนในปี ค.ศ. 1909 ที่สหราชอาณาจักร ซึ่งต่อมาได้ส่งผลให้มีการเพิ่มเติมประเด็นข้อจำกัดต่าง ๆ ทางอำนาจของสภาขุนนางเข้าไปในพระราชบัญญัติรัฐสภา ค.ศ. 1911 และฉบับปี ค.ศ. 1949
ในทางปฏิบัติแล้วร่างกฎหมายส่วนใหญ่ (ยกเว้นร่างกฎหมายที่มาจากสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร) ในรัฐสภาออสเตรเลียนั้นเริ่มจากรัฐบาลซึ่งมีเสียงข้างมากในสภาล่าง จากนั้นร่างที่ผ่านโดยสภาล่างจะส่งผ่านเข้าวุฒิสภาซึ่งสามารถแก้ไขร่าง หรือผ่านร่าง หรือตีตกได้ ในกรณีส่วนมากแล้วการลงมตินั้นล้วนมาจากมติพรรค แต่บางครั้งคราวอาจมีการลงมติตามมติส่วนตัว
วุฒิสภาออสเตรเลียมีคณะกรรมาธิการวุฒิสภา ซึ่งเป็นโครงสร้างที่มีส่วนร่วมในการไต่สวนได้หลายประเด็นอย่างกว้างขวาง โดยผลลัพธ์ของการไต่สวนนั้นไม่มีผลโดยตรงต่อการนิติบัญญัติ แต่เป็นการอภิปรายอันมีค่าซึ่งเป็นที่มาของนานาทรรศนะที่ไม่ได้รับการดูแลจากรัฐบาลหรือที่ไม่ได้อยู่ในความสนใจของสาธารณะ
หมายเหตุ
[แก้]- ↑ Including four Liberal National Party of Queensland (LNP) senators who sit in the Liberals party room
- ↑ Including two Liberal National Party of Queensland (LNP) senators and one Country Liberal Party (CLP) senator who sit in the Nationals party room
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Williams, George; Brennan, Sean; Lynch, Andrew (2014). Blackshield and Williams Australian constitutional law and theory : commentary and materials (6th ed.). Annandale, NSW: Federation Press. p. 415. ISBN 9781862879188.
- ↑ 2.0 2.1 "Part V - Powers of the Parliament" (ภาษาอังกฤษแบบออสเตรเลีย). สืบค้นเมื่อ 13 May 2017.
- ↑ "No. 14 - Ministers in the Senate". Senate Briefs. Parliament of Australia. December 2016.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- Official website of the Australian Senate
- Australian Parliament – live broadcasting
- Senate StatsNet
- The Biographical Dictionary of the Australian Senate
- Australia's Upper Houses - ABC Rear Vision A podcast about the development of Australia's upper houses into STV proportional representation elected chambers.