[go: up one dir, main page]

ข้ามไปเนื้อหา

ฟุลเฮนซิโอ บาติสตา

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ฟุลเฮนซิโอ บาติสตา
Fulgencio Batista
บาติสตาใน ค.ศ. 1938
ประธานาธิบดีคิวบา คนที่ 14 และ 17
ดำรงตำแหน่ง
10 ตุลาคม ค.ศ. 1940 – 10 ตุลาคม ค.ศ. 1944
รองประธานาธิบดีกุสตาโบ กูเอร์โบ รูบิโอ
ก่อนหน้าเฟเดริโก ลาเรโด บรู
ถัดไปรามอน เกรา
ดำรงตำแหน่ง
10 มีนาคม ค.ศ. 1952 – 1 มกราคม ค.ศ. 1959
ก่อนหน้าการ์โลส ปริโอ โซการ์รัส
ถัดไปอันเซลโม อายิเอโกร อี มิลา
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด16 มกราคม ค.ศ. 1901(1901-01-16)
บาเนส คิวบา
เสียชีวิต6 สิงหาคม ค.ศ. 1973(1973-08-06) (72 ปี)
กัวดัลมินา รัฐสเปน[1]
เชื้อชาติคิวบา
พรรคการเมืองแนวร่วมสังคมนิยมประชาธิปไตย[2](เลือกตั้ง ค.ศ. 1940)
พรรคสหกิจ
(1948–คริสต์ทศวรรษ 1950)[3]
พรรคสหก้าวหน้า (คริสต์ทศวรรษ 1950)
คู่สมรสเอลิซา โกดิเนซ โกเมซ เด บาติสตา
มาร์ตา เฟร์นันเดซ มิรันดา เด บาติสตา
อาชีพทหาร, นักการเมือง

ฟุลเฮนซิโอ บาติสตา อี ซัลดิบาร์ (สเปน: Fulgencio Batista y Zaldívar, 16 มกราคม ค.ศ. 1901 – 6 สิงหาคม ค.ศ. 1973) เป็นประธานาธิบดีคิวบาอิงสหรัฐอเมริกา ผู้เผด็จการและผู้นำทางทหารผู้ดำรงตำแหน่งผู้นำคิวบาตั้งแต่ ค.ศ. 1940 ถึง 1944 และตั้งแต่ ค.ศ. 1952 ถึง 1959 ก่อนถูกโค่นล้มจากผลของการปฏิวัติคิวบา[4]

เดิมบาติสตาขึ้นสู่อำนาจหลัง "การลุกฮือของเหล่าจ่าทหาร" ใน ค.ศ. 1933 ซึ่งโค่นล้มการปกครองแบบเอกาธิปไตยของเฮราร์โด มาชาโด จากนั้น บาติสตาแต่งตั้งตนเป็นผู้บัญชาการทหารสูงสุดด้วยยศพันเอก และควบคุมตำแหน่งประธานาธิบดีที่มีสมาชิกห้าคนได้อย่างเป็นผล เขารักษาการควบคุมนี้ผ่านประธานาธิบดีหุ่นเรื่อยมากระทั่ง ค.ศ. 1940 เมื่อตัวเขาเองได้รับเลือกเป็นประธานาธิบดีคิวบาบนเวทีประชานิยม[2][5] จากนั้น ประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งคิวบา ค.ศ. 1940 ซึ่งดูก้าวหน้าในขณะนั้น และดำรงตำแหน่งกระทั่ง ค.ศ. 1944 หลังหมดวาระ เขาได้ไปอาศัยในสหรัฐฮเมริกา โดยกลับมาคิวบาเพื่อลงชิงตำแหน่งประธานาธิบดีใน ค.ศ. 1952 เมื่อแน่ใจว่าตนจะแพ้การเลือกตั้ง เขาจึงนำการรัฐประหารก่อนการเลือกตั้ง

หลังครองอำนาจอีกครั้ง ในตอนนี้บาติสตาระงับรัฐธรรมนูญ ค.ศ. 1940 และเพิกถอนเสรีภาพทางการเมืองส่วนใหญ่ รวมทั้งสิทธิในนัดหยุดงานประท้วง เขาเข้าไปคบค้าสมาคมกับเจ้าของที่ดินที่มั่งคั่งที่สุดผู้เป็นเจ้าของไร่น้ำตาลขนาดใหญ่ที่สุด และเฝ้ามองเศรษฐกิจที่ซบเซาและเห็นช่องว่างระหว่างชาวคิวบารวยกับจนที่ขยายกว้างขึ้น[6] รัฐบาลที่ฉ้อราษฎร์บังหลวงและกดขี่เพิ่มขึ้นของบาติสตานั้นเริ่มหาแสวงหาประโยชน์จากผลประโยชน์เชิงพาณิชย์ของคิวบา โดยการเจรจาความสัมพันธ์ผลประโยชน์สูงกับมาเฟียอเมริกา ผู้ควบคุมธุรกิจยาเสพติด การพนันและโสเภณีในกรุงฮาวานา และบรรษัทข้ามชาติอเมริกาขนาดใหญ่ที่ได้ลงทุนด้วยปริมาณเงินมหาศาลในคิวบา[6][7] ในการปราบปรามความไม่พอใจที่เพิ่มขึ้นในหมู่ประชาชน ซึ่งแสดงออกผ่านการจลาจลนักศึกษาและการเดินขบวนต่อต้านบาติสตาตามลำดับ บาติสตาจัดการเซ็นเซอร์สื่อ ขณะที่ใช้ประโยชน์จากตำรวจลับต่อต้านคอมมิวนิสต์และอาวุธที่สหรัฐอเมริกาจัดหาให้เพื่อดำเนินความรุนแรง การทรมานและการประหารชีวิตสาธารณะเป็นวงกว้าง ซึ่งเป็นผลให้ชาวคิวบาเสียชีวิตมากถึง 20,000 คน[8][9]

เมื่อกระตุ้นให้เกิดการต่อต้านด้วยยุทธวิธีเหล่านี้ (ธันวาคม ค.ศ. 1956 – ธันวาคม ค.ศ. 1958) ขบวนการ 26 กรกฎาคมของฟิเดล กัสโตร และส่วนกบฏชาตินิยมอื่นนำการลุกฮือแบบกองโจรทั้งในเมืองและชนบทต่อรัฐบาลบาติสตาเป็นเวลาสองปี ซึ่งจบลงด้วยความพ่ายแพ้ของเขาโดยกบฏภายใต้การบัญชาการของเช เกบารายุทธการที่เมืองซานตากลาราในวันขึ้นปีใหม่ของ ค.ศ. 1959 บาติสตาบินหลบหนีออกจากเกาะทันทีพร้อมกับทรัพย์สินส่วนตัวที่เขาสะสมไว้ไปยังสาธารณรัฐโดมินิกัน ที่ซึ่งผู้มีอิทธิพลและอดีตพันธมิตรทางทหาร ราฟาเอล ตรูฮิโย ถือครองอำนาจอยู่ ท้ายที่สุด บาติสตาลี้ภัยทางการเมืองไปยังโปรตุเกส ที่ซึ่งเขาอยู่อาศัยกระทั่งเสียชีวิตด้วยโรคหัวใจเมื่อวันที่ 6 สิงหาคม ค.ศ. 1973 ใกล้กับมาร์เบยา รัฐสเปน[10]

อ้างอิง

[แก้]
  1. Batista y Zaldívar, Fulgencio เก็บถาวร 2010-05-23 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน by Aimee Estill, Historical Text Archive.
  2. 2.0 2.1 "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-01-12. สืบค้นเมื่อ 2012-01-01.
  3. http://www.worldstatesmen.org/Cuba.html
  4. "Fulgencio Batista" Encyclopædia Britannica]
  5. Argote-Freyre, Frank (2006). Fulgencio Batista. Vol. 1. New Brunswick, N.J.: Rutgers University Press. p. 50. ISBN 0813537010.
  6. 6.0 6.1 Historical Dictionary of the 1950s, by James Stuart Olson, Greenwood Publishing Group, 2000, ISBN 0313306192, pp. 67–68
  7. Havana Nocturne: How the Mob Owned Cuba and Then Lost It to the Revolution, by T. J. English, William Morrow, 2008, ISBN 0-06-114771-0
  8. Conflict, Order, and Peace in the Americas, by the Lyndon B. Johnson School of Public Affairs, 1978, pg 121 ~ "The US-supported Batista regime killed 20,000 Cubans"
  9. Fulgencio Batista เก็บถาวร 2006-06-15 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน by Spartacus School Encyclopedia
  10. "Batista Dies in Spain at 72". New York Times. August 7, 1973.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]