[go: up one dir, main page]

ข้ามไปเนื้อหา

การขนส่งในประเทศญี่ปุ่น

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

การคมนาคมของประเทศญี่ปุ่น นั้นประกอบไปด้วยทางบก ทางทะเล และทางอากาศ

รถไฟฟ้าความเร็วสูงหรือ รถไฟชินคันเซ็น ขณะกำลังจอดอยู่ที่สถานีโตเกียว

ประเทศญี่ปุ่นมีถนนสายสำคัญหลายสายในทุกภาค โดยถนนหลักแต่ละสายจะเชื่อมโยงกับเมืองสำคัญ ๆ หรือเมืองใหญ่ ๆ ในทุกภาค

การคมนาคมทางรถไฟ

[แก้]

การคมนาคมทางด้านรถไฟในประเทศญี่ปุ่นมีความจำเป็นอย่างยิ่งในชีวิตประจำวันของคนญี่ปุ่น สำหรับการขนส่งในเขตเมืองหลัก มีบริษัทที่ให้บริการหลายกลุ่มทั้งของรัฐบาลญี่ปุ่น หรือกลุ่มบริษัทเอกชน โดยมีสถานีรถไฟที่มีประชากรจำนวนมากเช่น สถานีชินจูกุ, สถานีอิเกบูกูโระ, สถานีชิบูยะ, สถานีอูเมดะ และสถานีโยโกฮามะ บางสถานีมีประชากรที่ใช้การขนส่งทางรถไฟถึง 2 ล้านรายหรือมากกว่าต่อวัน

ฟูกูโอกะ, โคเบะ, เกียวโต, นาโงยะ, โอซากะ, ซัปโปโระ, โตเกียว และโยโกฮามะ มีสถานีรถไฟฟ้าใต้ดิน

ชาวญี่ปุ่นเดินทางด้วยการสัญจรทางเท้า จนถึงช่วงหลังของศตวรรษที่ 19 ทางเดินรถไฟฟ้าที่แรกถูกสร้างขึ้นระหว่างโตเกียว และโยโกฮามะ ในปี 1872 และมีการสร้างทางรถไฟฟ้าอีกหลายแห่ง จนประเทศญี่ปุ่นเป็นประเทศที่มีการพัฒนาการขนส่งมากที่สุดในโลก การขนส่งมวลชนได้รับการปรับปรุงอยู่มากในประเทศญี่ปุ่น แต่ระบบถนนที่ยังคงมีความล้าช้าอยู่บ้าง ซึ่งการปรับปรุงการจราจรทำให้ไม่พอกับการรองรับปริมาณรถยนต์ที่สัญจรในแต่ละวัน และอีกเหตุผลหนึ่งที่ทำให้การพัฒนาถนนเป็นเรื่องลำบากคือ ลักษณะภูมิประเทศของประเทศญี่ปุ่นซึ่งเป็นแบบภูเขาสูง และการมีพื้นที่จำกัด รถไฟที่เร็วที่สุดในประเทศญี่ปุ่นชื่อว่า รถไฟชินคันเซ็น เป็นรถไฟที่มีความเร็ว 300 กม./ชม. รถไฟชินคันเซ็นเป็นที่รู้จักในเรื่องของความตรงต่อเวลามาก หากมาช้ากว่าเวลาที่กำหนดจะถูกบันทึกไว้ ซึ่งในปี 2003 ได้มีรถไฟโทไกโด ชินคันเซ็น ถูกบันทึกเพราะมาช้ากว่าเวลาเพียง 6 วินาที[1]

การคมนาคมทางถนน

[แก้]
ภูเขาไฟฟูจิเมื่อมองจากทางด่วนชูโอ

ประเทศญี่ปุ่นมีถนนยาว 1,152,207 กม. และทางหลวงยาว 863,003 กม. (รวมระยะทางทางด่วน 6,114 กม.) มีรถยนต์หลายประเภทวิ่ง ทั้งรถบรรทุกที่ต้องบรรทุกน้ำหนักหลายตัน การขนส่งประเภทนี้ขยายตัวอย่างรวดเร็วในช่วงปี 1980 กว่า 6 พันล้านตันคิดเป็นร้อยละ 90 ของรถบรรทุกขนส่งสินค้าภายในประเทศประมาณร้อยละ 50

แม้ว่าประเทศญี่ปุ่นจะมีการบังคับใช้กฎหมายจราจร ในเรื่องของการเมาแล้วขับ แต่ก็ยังคงเห็นอุบัติเหตุหลายครั้งบนท้องถนน

การคมนาคมทางอากาศ

[แก้]
ท่าอากาศยานนานาชาติคันไซ, โอซากะ

ประเทศญี่ปุ่นมีท่าอากาศยานทั้งหมด 97 แห่ง (2553) โดยมีท่าอากาศยานหลักคือ ท่าอากาศยานนานาชาตินาริตะ (โตเกียว) , ท่าอากาศยานนานาชาติคันไซ (ในเขตโอซากะ/โคเบะ/เกียวโต) , ท่าอากาศยานนานาชาติชูบุเซ็นแทรร์ หรือท่าอากาศยานนาโงยะ (เขตพื้นที่นาโงยะ) ท่าอากาศยานภายในประเทศหลักคือ ท่าอากาศยานนานาชาติโตเกียว ตั้งอยู่ที่เมืองเอโดะ จังหวัดโตเกียว ที่หลังจากมีการก่อสร้างและเปิดท่าอากาศยานนานาชาติโตเกียวใหม่ (ท่าอากาศยานนานาชาตินาริตะ) ทำให้ท่าอากาศโตเกียวถูกลดจำนวนการบินภายนอกประเทศลง เหลือเพียงการบินภายในประเทศ และเที่ยวบินโซล–โตเกียวเท่านั้น ท่าอากาศยานที่ดีที่สุดในทวีปเอเชียและเป็นอันดับ 4 ของโลก อยู่ที่ประเทศญี่ปุ่น ท่าอากาศยานสำคัญอื่น ๆ คือ ท่าอากาศยานนานาชาติโอซากะ (ในนครอิตามิ), ท่าอากาศยานจิโตเซะใหม่ (ในนครซัปโปโระ), และท่าอากาศยานฟูกูโอกะ และท่าอาศยานอื่น ๆ อีก 14 แห่ง (1999)

สายการบินหลักของประเทศญี่ปุ่นมี 2 สายการบินคือ สายการบินออล นิปปอน แอร์เวย์ และ เจแปนแอร์ไลน์ และสายการบินอื่น ๆ เช่น สกายมาคร์แอร์ไลน์, สกายเน็ท เอเซีย แอร์เวย์, แอร์โด, สตาร์ไฟเยอร์, ฟูจิ ดรีม แอร์ไลน์, ยูไนเต็ดแอร์ไลน์ และ เดลต้า แอร์ไลน์ โดยสายการบินส่วนใหญ่มักจะมาลงที่ท่าอากาศยานนานาชาตินาริตะ

การเดินทางเข้า-ออกประเทศญี่ปุ่นมีการเข้มงวดมากในเรื่องการขอวีซ่า

ดูเพิ่ม : รายชื่อท่าอากาศยานในประเทศญี่ปุ่น

การคมนาคมทางทะเล

[แก้]
เฟอร์รี่มิยาจิมะ ในทะเลปิด ที่มิยาจิมะ ฮิโรชิมะ

ประเทศญี่ปุ่นมีท่าเรือที่สำคัญ 21 ท่าเรือ ได้แก่ ชิบะ, ฟูชิกิ/โทยามะ, ฮิเมจิ, ฮิโรชิมะ, คาวาซากิ, คิตะกีวชู, โคเบะ, คูดามัตสึ, มูโรรัง, นาโงยะ, นีงาตะ, โอซากะ, ซาไก/เซ็มโปกุ, เซ็นได/ชิโองามะ, ชิมิซุ, ชิโมโนเซกิ, โตเกียว, โทมาโกไม, วากายามะ, โยคไคจิ และโยโกฮามะ

อ้างอิง

[แก้]