[go: up one dir, main page]

ข้ามไปเนื้อหา

Bao Young Blood ดนตรีสร้างคุณค่าชีวิต

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
Bao Young Blood ดนตรีสร้างคุณค่าชีวิต
ประเภทเรียลลิตีโชว์การแข่งขันทางดนตรี
สร้างโดยมูลนิธิคาราบาว
เค้าโครงจากโครงการดนตรีสร้างคุณค่าชีวิต
พิธีกรปิยะวัฒน์ เข็มเพชร (ซีซั่น 1)
กันต์ กันตถาวร (ซีซั่น 2-3)
เกตุเสพย์สวัสดิ์ ปาลกะวงศ์ ณ อยุธยา (ซีซั่น 4)
กรรมการกีรติ พรหมสาขา ณ สกลนคร
จิรศักดิ์ ปานพุ่ม(ซีซั่น 1-3)
พลพล พลกองเส็ง (ซีซั่น 1)
มณีนุช เสมรสุต (ซีซั่น 2-4)
จักรวาล เสาธงยุติธรรม (ซีซั่น 3-4)
จิรากร สมพิทักษ์ (ซีซั่น 4)
บรรยายโดยปิยะวัฒน์ เข็มเพชร (ซีซั่น 1)
กันต์ กันตถาวร (ซีซั่น 2-3)
เกตุเสพย์สวัสดิ์ ปาลกะวงศ์ ณ อยุธยา (ซีซั่น 4)
ดนตรีแก่นเรื่องเปิด"Bao Young Blood ดนตรีสร้างคุณค่าชีวิต" โดย คาราบาว
ดนตรีแก่นเรื่องปิด"Bao Young Blood ดนตรีสร้างคุณค่าชีวิต" โดย คาราบาว
ผู้ประพันธ์เพลงยืนยง โอภากุล
ประเทศแหล่งกำเนิดประเทศไทย
ภาษาต้นฉบับภาษาไทย
จำนวนฤดูกาล4
จำนวนตอน52
การผลิต
ผู้อำนวยการผลิตปัญญา นิรันดร์กุล
ประภาส ชลศรานนท์
ผู้อำนวยการสร้างพาณิชย์ สดสี
ชลากรณ์ ปัญญาโฉม
วิชนี ศรีสวัสดิ์
สถานที่ถ่ายทำเวิร์คพอยท์สตูดิโอ
กล้องหลายกล้อง
ความยาวตอน1 ชั่วโมง
บริษัทผู้ผลิตเวิร์คพอยท์ เอ็นเทอร์เทนเมนท์
ออกอากาศ
เครือข่ายช่องเวิร์คพอยท์
ออกอากาศ7 กุมภาพันธ์ 2558 (2558-02-07) –
5 พฤษภาคม 2561 (2561-05-05)

Bao Young Blood ดนตรีสร้างคุณค่าชีวิต เป็นรายการเรียลลิตีโชว์ประกวดวงดนตรีของเยาวชนอายุไม่เกิน 24 ปี โดยใช้เฉพาะเพลงของวงคาราบาวเท่านั้นในการประกวด และนำมาเรียบเรียงใหม่ตามรูปแบบของแต่ละวง เพื่อส่งเสริมให้เยาวชนได้ใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ ตามเจตนารมณ์เดิมของโครงการดนตรีสร้างคุณค่าชีวิต โดยมูลนิธิคาราบาว และบริษัท คาราบาวกรุ๊ป จำกัด (มหาชน) โดยเครื่องดื่มคาราบาวแดง ได้ร่วมมือกับบริษัท เวิร์คพอยท์ เอ็นเทอร์เทนเมนท์ จำกัด (มหาชน) เพื่อนำโครงการดนตรีสร้างคุณค่าชีวิตมาผลิตเป็นรายการโทรทัศน์ ออกอากาศทางช่องเวิร์คพอยท์[1] จำนวน 4 ฤดูกาล ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2558–2561

รูปแบบรายการ

[แก้]

รายการแบ่งการแข่งขันออกเป็น 4 รอบ ดังนี้

รอบคัดเลือก

[แก้]

วงดนตรีที่ผ่านการคัดเลือกเดโมทั้งหมด 150 วง จะเข้าประกวดในรอบคัดเลือกระดับจังหวัด เพื่อแสดงความสามารถทางด้านดนตรี โดยแบ่งออกเป็นจำนวน 10 เวที เวทีละ 15 วง กระจายทั่วภูมิภาค โดยมีกรรมการภาคสนาม 3 ท่าน ซึ่งจะสลับสับเปลี่ยนกันไปในทุกฤดูกาลเป็นผู้ให้คะแนน เพื่อคัดเลือกให้เหลือ 60 วงทั่วประเทศที่จะเข้าสู่รอบ Audition ระดับภาค ที่เวิร์คพอยท์สตูดิโอ

รอบ Audition

[แก้]

วงดนตรีที่ผ่านเข้ารอบ Audition ระดับจังหวัดทั้ง 60 วงทั่วประเทศ แบ่งเป็นภาค ภาคละ 12 วง รวม 5 ภาค จะได้เข้าประกวดในรอบ Audition ที่เวิร์คพอยท์สตูดิโอ โดยมีคณะกรรมการหลัก 3 คน มาตัดสินและให้คะแนน โดยสามารถให้คะแนนในระหว่างการแสดงได้สูงสุดคนละ 4 คะแนน (ฤดูกาลที่ 3 มีคนละ 3 คะแนน) รวม 12 คะแนน แต่สามารถเปลี่ยนใจลดคะแนนได้ในภายหลัง วงที่ได้คะแนน 9 คะแนนขึ้นไปจะผ่านเข้าสู่รอบคัดกรอง เพื่อให้กรรมการตัดสินหาวงดนตรีที่จะผ่านเข้าสู่รอบรองชนะเลิศอีกครั้ง ซึ่งกำหนดไว้ที่จำนวน 20 วง และมีกติกาพิเศษ คือ วงที่ได้ 12 คะแนนเต็ม หรือ Perfect Score จะผ่านเข้าสู่รอบรอบรองชนะเลิศทันที

แต่ในฤดูกาลที่ 4 มีการปรับเปลี่ยนกติกาใหม่ทั้งหมด โดยไม่มีปุ่มคะแนนซึ่งเป็นหลอดสีเขียว แต่เปลี่ยนเป็นปุ่มเลื่อนเพื่อสั่งให้หยุดการแสดง ซึ่งมี 3 ปุ่ม สำหรับคณะกรรมการ 3 คน ซึ่งเมื่อเลื่อนแล้ว วงดนตรีนั้นจะต้องหยุดการแสดงทันที และฟังความคิดเห็นพร้อมกับผลการตัดสิน ซึ่งถ้าหากคณะกรรมการให้ "ผ่าน" ตั้งแต่ 2 ใน 3 เสียง ขึ้นไป จะผ่านเข้าสู่รอบคัดกรอง เพื่อให้กรรมการตัดสินอีกครั้งดังเช่น 3 ฤดูกาลก่อนได้ และมีกติกาพิเศษ คือ หากวงดนตรีใดแสดงถูกใจกรรมการคนใดคนหนึ่งเป็นพิเศษ กรรมการสามารถลุกออกไปใช้สิทธิ์กดปุ่มสีทองที่เรียกว่า Perfect Band ซึ่งจะทำให้วงที่ได้รับการกดปุ่มนี้ผ่านเข้าสู่รอบรองชนะเลิศทันที แต่กรรมการมีสิทธิ์กดปุ่มนี้ได้คนละ 1 ครั้งเท่านั้น[2] และในรอบคัดกรอง จะคัดจนให้เหลือวงดนตรีที่ผ่านเข้าสู่รอบรองชนะเลิศจำนวน 16 วง

รอบรองชนะเลิศ

[แก้]

มูลนิธิคาราบาว มีเจตนารมณ์ในการถ่ายถอดความรู้บทเพลงเพื่อชีวิตสู่คนรุ่นใหม่ จึงมอบหมายให้วงคาราบาวจัดการ Workshop ให้กับวงดนตรีที่ผ่านเข้ารอบสู่รอบรองชนะเลิศ เพื่อเรียนรู้ทักษะ เทคนิคต่าง ๆ ทางดนตรี และให้คำแนะนำรวมถึงนำเสนอเพลงในการประกวดรอบรองชนะเลิศ

หลังจาก Workshop กับวงคาราบาวเสร็จแล้ว วงที่ผ่านเข้ารอบทั้ง 20 วง จะแบ่งออกเป็นภาค ภาคละ 4 วง และแข่งขันกันภายในแต่ละภาค โดยมีคณะกรรมการหลักชุดเดิมให้คะแนน เพื่อคัดเลือกให้เหลือตัวแทนภาคเพียงภาคละ 1 วง รวม 5 วงสุดท้ายที่จะเข้าประกวดในรอบ Final ส่วนในฤดูกาลที่ 4 วงที่ผ่านเข้ารอบทั้ง 16 วง จะแบ่งออกเป็นกลุ่ม ซึ่งมีทั้งหมด 4 กลุ่ม กลุ่มละ 4 วง และแข่งขันกันภายในแต่ละกลุ่ม เพื่อคัดเลือกให้เหลือเพียงกลุ่มละ 1 วง รวม 4 วงสุดท้ายที่จะผ่านเข้าสู่รอบชิงชนะเลิศ

รอบชิงชนะเลิศ

[แก้]

วงที่ผ่านเข้ารอบ 5 วงสุดท้าย (ฤดูกาลที่ 4 เหลือ 4 วง) ที่เป็นตัวแทนของแต่ละภาคหรือกลุ่ม จะได้เข้าร่วม Workshop กับวงคาราบาวอีกครั้ง ก่อนเข้าร่วมการแข่งขันในรอบชิงชนะเลิศ และขึ้นแสดงคอนเสิร์ตการกุศลร่วมกับวงคาราบาว โดยในรอบชิงชนะเลิศ การตัดสินจะมาจากคะแนนของกรรมการหลักชุดเดิม รวมกับคะแนนจากวงคาราบาว (ยกเว้นฤดูกาลที่ 2 ที่ใช้คะแนนดังกล่าวคิดเป็น 60% และนับรวมคะแนนจากการโหวตของคนทั่วประเทศด้วย คิดเป็น 40% โดยการออกอากาศแบบถ่ายทอดสด[3]) วงที่ได้คะแนนรวมมากที่สุดจะได้เป็นแชมป์ประจำฤดูกาลนั้นทันที ได้รับเงินรางวัลและถ้วยรางวัลซึ่งออกแบบโดยวงคาราบาว

เงินรางวัลสำหรับผู้ชนะเลิศ

[แก้]
  • รางวัลเงินสดมูลค่า 1,000,000 บาท (สำหรับฤดูกาลที่ 1 และ 4)
  • รางวัลเงินสดมูลค่า 100,000 บาท (สำหรับฤดูกาลที่ 2 และ 3)

พิธีกร

[แก้]
พิธีกร ฤดูกาล
1 2 3 4
ปิยะวัฒน์ เข็มเพชร
กันต์ กันตถาวร
เกตุเสพย์สวัสดิ์ ปาลกะวงศ์ ณ อยุธยา

กรรมการ

[แก้]
กรรมการ ฤดูกาล
1 2 3 4
กีรติ พรหมสาขา ณ สกลนคร
จิรศักดิ์ ปานพุ่ม
พลพล พลกองเส็ง
มณีนุช เสมรสุต
จักรวาร เสาธงยุติธรรม
จิรากร สมพิทักษ์ [2]

ภาพรวมในแต่ละฤดูกาล

[แก้]
ปี ฤดูกาล ชนะเลิศ รองฯ อันดับ 1 รองฯ อันดับ 2
2558 ฤดูกาลที่ 1 แอสซิสต์ บรรเจิดพาราไดซ์ เหลนบาว
2559 ฤดูกาลที่ 2 เดอะวอริเออร์[3] เดอะแบล็คชิพ ฟูล ฟิล สกา
2560 ฤดูกาลที่ 3 เอเวอร์เรสต์ เซลซิลีอา อะตอมิค บอย
2561 ฤดูกาลที่ 4 อิสรภาพ[4] ZeroX Cipper

ดูเพิ่ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. ""ช่อง 1 เวิร์คพอยท์" จับมือ "คาราบาว" ผุด "Bao Young Blood" ดันดนตรีเด็กไทยลงจอ!!". 15 สิงหาคม 2014. สืบค้นเมื่อ 9 ตุลาคม 2024 – โดยทาง PRSociety.{{cite news}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  2. 2.0 2.1 "เอ๊ะ จิรากร ขึ้นแท่นกรรมการ เวทีประกวด Bao Young Blood Season 4". สนุก.คอม. 17 กุมภาพันธ์ 2018. สืบค้นเมื่อ 9 ตุลาคม 2024.{{cite news}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  3. 3.0 3.1 "วง 'The Warrior' นักเรียนเตรียมทหาร คว้าแชมป์ 'Bao Young Blood ดนตรีสร้างคุณค่าชีวิต' ซีซั่น 2". แนวหน้า. 24 เมษายน 2016. สืบค้นเมื่อ 9 ตุลาคม 2024.{{cite news}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  4. "9 หนุ่มนักเรียนดุริยางค์ทหารเรือ "วงอิสรภาพ" คว้าแชมป์ Bao Young Blood 4". เวิร์คพอยท์ทูเดย์. 9 พฤษภาคม 2018. สืบค้นเมื่อ 9 ตุลาคม 2024.{{cite news}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]