29 ธันวาคม
หน้าตา
| ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
|
วันที่ 29 ธันวาคม เป็นวันที่ 363 ของปี (วันที่ 364 ในปีอธิกสุรทิน) ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 2 วันในปีนั้น
เหตุการณ์
[แก้]- พ.ศ. 2388 (ค.ศ. 1845) - สหรัฐอเมริกาผนวกสาธารณรัฐเท็กซัสเป็นรัฐหนึ่งของตน[1]
- พ.ศ. 2454 (ค.ศ. 1911) - ซุนยัตเซ็น ได้รับเลือกตั้งเป็นประธานาธิบดีคนแรกของสาธารณรัฐจีน
- พ.ศ. 2480 (ค.ศ. 1937) - เสรีรัฐไอริช (Irish Free State) เปลี่ยนชื่อเป็นสาธารณรัฐไอร์แลนด์ เมื่อมีการรับรองรัฐธรรมนูญฉบับใหม่
- พ.ศ. 2482 (ค.ศ. 1939) - เครื่องบินทิ้งระเบิด 4 เครื่องยนต์ใบพัดในสงครามโลกครั้งที่ 2 บี 24 (Consolidated B-24 Liberator) ขึ้นบินเป็นครั้งแรก
- พ.ศ. 2521 (ค.ศ. 1978) - การปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย (ปัจจุบันคือ ปตท.) สถาปนาขึ้นตามพระราชบัญญัติการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2521
- พ.ศ. 2532 (ค.ศ. 1989) -
- นักเขียน นักปรัชญา และผู้นำฝ่ายค้านชาวเช็ก วาตสลัฟ ฮาแว็ล ได้รับเลือกให้เป็นประธานาธิบดีคนแรกหลังยุคคอมมิวนิสต์ของเชโกสโลวาเกีย[2]
- ดัชนีนิกเกอิ 225 สำหรับตลาดหลักทรัพย์โตเกียวแตะระดับสูงสุดตลอดกาลระหว่างวันที่ 38,957.44 จุดและปิดสูงสุดที่ 38,915.87 จุดซึ่งเป็นจุดสูงสุดของฟองสบู่ราคาสินทรัพย์ของญี่ปุ่น[3]
- พ.ศ. 2535 (ค.ศ. 1992) - เฟร์นังดู กอโลร์ จี แมลู ประธานาธิบดีบราซิล พยายามลาออกท่ามกลางข้อหาคอร์รัปชั่น แต่ถูกถอดถอนเสียก่อน[4]
วันเกิด
[แก้]- พ.ศ. 2252 (ค.ศ. 1709) - จักรพรรดินีนาถเอลิซาเบธแห่งรัสเซีย (สวรรคต 5 มกราคม พ.ศ. 2305)
- พ.ศ. 2351 (ค.ศ. 1808) - แอนดรูว์ จอห์นสัน ประธานาธิบดีคนที่ 17 ของสหรัฐอเมริกา (ถึงแก่กรรม 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2418)
- พ.ศ. 2386 (ค.ศ. 1843) - เอลิซาเบธแห่งเวดส์ สมเด็จพระราชินีแห่งโรมาเนีย (สวรรคต 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2459)
- พ.ศ. 2400 (ค.ศ. 1857) - พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงสรรพสิทธิประสงค์ (สิ้นพระชนม์ 3 เมษายน พ.ศ. 2465)
- พ.ศ. 2481 (ค.ศ. 1938) - จอน วอยต์ นักแสดงชาวอเมริกัน
- พ.ศ. 2485 (ค.ศ. 1942) - ราเชศ ขันนา นักแสดงชาวอินเดีย (ถึงแก่กรรม 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2555)
- พ.ศ. 2490 (ค.ศ. 1947) - มณฑล สงวนเสริมศรี ศาสตราจารย์พิเศษสาขาเภสัชศาสตร์ อดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยนเรศวร
- พ.ศ. 2496 (ค.ศ. 1953) - โทมัส บัค ประธานคณะกรรมการโอลิมปิกสากล
- พ.ศ. 2497 (ค.ศ. 1954) - เจ้าชายโนริฮิโตะ ทากามาโดโนมิยะ
- พ.ศ. 2500 (ค.ศ. 1957) - คะซุกิ ยะโนะ นักแสดงละครใบ้ชาวญี่ปุ่น
- พ.ศ. 2502 (ค.ศ. 1959) -
- แพทริเซีย คลาร์กสัน นักแสดงชาวอเมริกัน
- เหอ เจียจิ้ง นักแสดงชาวฮ่องกง
- พ.ศ. 2510 (ค.ศ. 1967) -
- กุลวิทย์ เลาสุขศรี บรรณาธิการบริหารนิตยสารแฟชั่นชาวไทย
- วสุ แสงสิงแก้ว พิธีกร นักร้อง นักแสดงชาวไทย
- พ.ศ. 2513 (ค.ศ. 1970) - เควิน ไวส์แมน นักแสดงภาพยนตร์, โทรทัศน์และละครเวทีชาวอเมริกัน
- พ.ศ. 2515 (ค.ศ. 1972) - จู๊ด ลอว์ นักแสดงชาวอังกฤษ
- พ.ศ. 2520 (ค.ศ. 1977) -
- ฐนิชา ดิษยบุตร นักแสดงหญิงชาวไทย
- บัณฑิตย์ เดชกุญชร นักร้องวงบอยแบนด์ สัญชาติไทย (ถึงแก่กรรม 3 พฤษภาคม พ.ศ. 2546)
- พ.ศ. 2521 (ค.ศ. 1978) -
- คีรอน ดายเออร์ นักฟุบอลทีมชาติอังกฤษ
- จุฬาลักษณ์ อิสมาโลน นักแสดงชาวไทย
- พ.ศ. 2523 (ค.ศ. 1980) -
- นภัสสร บุรณศิริ นักร้อง/นักแสดงชาวไทย
- นนท์ขวัญ หงษ์ทอง นางแบบและศิลปินดูโอ้
- วงศกร ปรมัตถากร นักแสดงชายชาวไทย
- พ.ศ. 2528 (ค.ศ. 1985) - ชาญณรงค์ หอมชิต นักร้องชาวไทย
- พ.ศ. 2530 (ค.ศ. 1987) -
- วังเดร์ลี จีอัส มาริญญู นักฟุตบอลชาวบราซิล
- เอียน เดอ แคสเตคเกอร์ นักแสดงสัญชาติสก็อต
- พ.ศ. 2535 (ค.ศ. 1992) - พรปวีณ์ นีระสิงห์ นักร้องชาวไทย
- พ.ศ. 2537 (ค.ศ. 1994) - เจ้าหญิงคาโกะแห่งอากิชิโนะ
- พ.ศ. 2538 (ค.ศ. 1995) -
- พุดทะไซ โคจะเลิน นักฟุตบอลชาวลาว
- รินะ อิโคะมะ นักร้องและนักแสดงชาวญี่ปุ่น
- พ.ศ. 2539 (ค.ศ. 1996) -
- ดีแลน มินเน็ตต์ นักแสดงและนักดนตรีชาวอเมริกัน
- ปรินซ์ แอมพอนซา นักฟุตบอลชาวกานา
- ซานะ มินาโตซากิ นักร้อง นักเต้น ชาวญี่ปุ่น
- พ.ศ. 2542 (ค.ศ. 1999) - ฟรังซิชกู ตริงเกา นักฟุตบอลชาวโปรตุเกส
- พ.ศ. 2543 (ค.ศ. 2000) - อี้เหริน นักร้อง นักเต้นชาวจีน
- พ.ศ. 2547 (ค.ศ. 2004) - ดิลลัน ฮาร์ตแมน นักแสดง เน็ตไอดอลชาวอเมริกัน
วันถึงแก่กรรม
[แก้]- พ.ศ. 1264 (ค.ศ. 721) - จักรพรรดินีเก็มเม
- พ.ศ. 1713 (ค.ศ. 1170) - ทอมัส เบ็กเก็ต อาร์ชบิชอปแห่งแคนเทอร์เบอรี
- พ.ศ. 1964 (ค.ศ. 1421) - พระเจ้าราชาธิราช
- พ.ศ. 2543 (ค.ศ. 2000) - ประยูร อุลุชาฎะ ศิลปินแห่งชาติเจ้าของนามปากกา "น.ณ ปากน้ำ" (เกิด 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2471)
- พ.ศ. 2565 (ค.ศ. 2022) - เปเล่ นักฟุตบอลชาวบราซิล (เกิด 23 ตุลาคม พ.ศ. 2483)
วันสำคัญและวันหยุดเทศกาล
[แก้]- โรมันคาทอลิก - วันฉลองนักบุญทอมัส เบ็กเก็ต
- ไอร์แลนด์ - วันรัฐธรรมนูญ
- มองโกเลีย - วันเอกราช
อ้างอิง
[แก้]- ↑ O'Neill, R. (2011). Texas War of Independence. Rosen Publishing Group. p. 85. ISBN 9781448813322.
- ↑ Niland, Lauren (19 December 2011). "29 December 1989: Václav Havel becomes president of Czechoslovakia". The Guardian. สืบค้นเมื่อ 5 December 2022.
- ↑ "Nikkei 225 Historical prices, Nikkei 225 stocks". Yahoo Finance UK. สืบค้นเมื่อ 27 September 2019..
- ↑ Figueiredo, Argelina Cheibub (2010). Llanos, Mariana; Marsteintredet, Leiv (บ.ก.). Presidential Breakdowns in Latin America: Causes and Outcomes of Executive Instability in Developing Democracies (1st ed.). Palgrave Macmillan. p. 115. ISBN 9780230105812.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- BBC: On This Day
- Today in History: December 29 เก็บถาวร 2005-03-08 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน