[go: up one dir, main page]

ข้ามไปเนื้อหา

โออิจิ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
โออิจิ-โนะ-คาตะ

お市

โออิจิ
ภาพของโออิจิ
เกิด1547
เสียชีวิต15 มิถุนายน ค.ศ. 1583(1583-06-15) (35–36 ปี)
ปราสาทคิตาโนโชในยุทธการที่ชิซูงาตาเกะ
คู่สมรสอาไซ นางามาซะ
ชิบาตะ คัตสึอิเอะ
บุตรชาจะ
โอฮัตสึ
โอเอโยะ
มัมปูกูมารุ
บิดามารดา
ญาติ ตระกูลโอดะ
ตระกูลอาไซ
ตระกูลโอวาริ-ชิบาตะ

โออิจิ (ญี่ปุ่น: お市โรมาจิOichi; ค.ศ. 1547 – 14 มิถุนายน ค.ศ. 1583) เป็นบุคคลสำคัญทางประวัติศาสตร์หญิงในยุคเซ็งโงกุตอนปลาย[1] เธอเป็นที่รู้จักจากการเป็นแม่ของลูกสาวสามคนที่กลายเป็นบุคคลสำคัญในภายหลัง ได้แก่ – โยโดะ โดโนะ,[2] โอฮัตสึ[3] และโอเอโยะ[4] โออิจิเป็นน้องสาวของโอดะ โนบูนางะ และเป็นพี่/น้องสะใภ้ของโนฮิเมะ ลูกสาวของไซโต โดซัง เธอสืบเชื้อสายจากตระกูลไทระและฟูจิวาระ

ประวัติ

[แก้]

โออิจิเป็นลูกสาวของโอดะ โนบูฮิดะ และน้องสาวของโนบูนางะ แม่ของเธอเป็นสนมไม่ทราบนามที่ให้กำเนิดพี่น้องของเธอหลายคน ชื่ออื่นของเธอได้แก่อิจิฮิเมะ (市姫), โอดานิโนะคาตะ (小谷の方) และฮิเดโกะ (秀子)

หลังการพิชิตแคว้นมิโนะของโนบูนางะใน ค.ศ. 1567 เพื่อผนึกความเป็นพันธมิตรระหว่างโนบูนางะกับขุนศึกอาไซ นางามาซะ โนบูนางะจึงจัดงานแต่งงานระหว่างโออิจิ[5] ซึ่งตอนนั้นอายุ 20 ปี กับนางามาซะ จากนั้นโออิจิจึงได้ให้กำเนิดบุตรกับนางามาซะ โดยมีลูกชายหนึ่งคน (มันจูมารุ) กับลูกสาวสามคน – โยโดะ-โดโนะ, โอฮัตสึ และโอเอโยะ ทั้งสองตระกูลอยู่ด้วยกันอย่างสงบจนกระทั่งสามปีต่อมา ความสัมพันธ์จึงแย่ลง ทำให้นางามาซะทรยศต่อโนบูนางะ

อนุสาวรีย์ของโออิจิที่จังหวัดฟูกูอิ

ในฤดูร้อน ค.ศ. 1570 นางามาซะได้ล้มเลิกพันธมิตรกับโอดะและร่วมมือกับตระกูลอาซากูระในยุทธการที่อาเนงาวะ มีเรื่องเล่าว่าโออิจิได้ส่งกระสอบถั่วไปให้พี่ชายซึ่งผูกกับไม้ทั้ง 2 ข้างเป็นรหัสลับในการเตือนให้พี่ชายระวังตัวจากการโจมตีของทั้ง 2 ทัพคืออาไซและอาซากูระ โนบูนางะเข้าใจในความหมายและสั่งให้ทัพถอยหนีและจู่โจมในเวลาต่อมา

การต่อสู้ดำเนินไปเรื่อยๆเป็นเวลา 3 ปีจนกระทั่งกองทัพอาซากูระและทัพของผู้ต่อต้านโอดะถูกปราบราบคาบ โออิจิอาศัยอยู่กับนางามาซะในปราสาทโอตานิตลอดช่วงสงคราม โทโยโตมิ ฮิเดโยชิ ขุนนางที่โนบูนางะไว้ใจ ได้วางกำลังล้อมปราสาทแน่นหนา ระหว่างที่ปราสาทถูกล้อม โนบูนางะได้ส่งคำขอไปยังนางามาซะให้ส่งตัวโออิจิคืนมาก่อนจะโจมตีครั้งสุดท้าย นางามาซะเห็นด้วยจึงส่งโออิจิพร้อมด้วยธิดา 3 คนสู่กองทัพโอดะ[6] เมื่อไม่มีความหวังต่อชัยชนะ นางามาซะจึงทำการเซ็ปปูกุ

โออิจิและธิดาของเธอได้อาศัยอยู่ในตระกูลโอดะเป็นเวลา 10 ปี จนกระทั่งโนบูนางะถูกลอบสังหารใน ค.ศ. 1582 บุตรและขุนนางของเขาแตกแยกเป็น 2 ฝ่าย ได้แก่ ฝ่ายของชิบาตะ คัตสึอิเอะ และฝ่ายของโทโยโตมิ ฮิเดโยะชิ โอดะ โนบูตากะ บุตรชายคนที่ 3 ของโนบูนางะ ได้จัดเตรียมให้โออิจิซึ่งเป็นน้าสมรสกับคัตสึอิเอะเพื่อรับรองความปลอดภัยในตำแหน่งภายในตระกูลโอดะ แต่ใน ค.ศ. 1583 กองทัพของคัตสึอิเอะถูกปราบโดยทัพของฮิเดโยะชิในการต่อสู้ที่ชิซูงาตาเกะ คัตสึอิเอะได้ถอยทัพเข้าปราสาทคิตะโนะโช กองทัพฮิเดโยชิจึงล้อมปราสาท คัตสึอิเอะได้ร้องขอให้โออิจิหนีไปพร้อมธิดาทั้ง 3 เพื่อให้ปลอดภัยจากฮิเดโยชิ แต่นางปฏิเสธจึงส่งธิดาทั้ง 3 หนีไป ส่วนนางจะยอมตายในปราสาท ในที่สุดคัตสึอิเอะและโออิจิได้เสียชีวิตภายในปราสาทที่มีเพลิงใหม้โหมกระหน่ำ

ลูกสาวที่ฮิเดโยชิกับโยโดะ-โดโนะ (มีอีกชื่อว่าชาจะ) กลายเป็นหนึ่งในสนมและแม่ในทายาทของฮิเดโยชิ[5]: 286, 313 

ลูกสาวของโออิจิ

[แก้]

ลูกสาวของโออิจิทุกคนล้วนเป็นบุคคลที่มีความสำคัญในประวัติศาสตร์

โยโดะ โดโนะ ลูกสาวคนโตที่เป็นที่รู้จักกันมากที่สุด นางได้เป็นสนมในฮิเดโยชิ ผู้ซึ่งเป็นคนสังหารมารดาของนางและบิดาเลี้ยง นางเป็นที่รู้จักในชื่อโยโดะ-โดโนะหรือโยโดงิมิ นางมีบุตรสองคนกับฮิเดโยชิซึ่งเป็นรัชทายาทคือ โทโยโตมิ ฮิเดโยริ หลังจากนั้นโยโดะ-โดโนะและฮิเดโยะริได้เสียชีวิตในการปิดล้อมที่โอซากะเมื่อ ค.ศ. 1615

ลูกสาวคนที่ 2 คือ โอฮัตสึ เธอได้สมรสกับเคียวโงกุ ทากัตสึงุ คนในตระกูลขุนนางตระกูลหนึ่งที่เคยรับใช้ตระกูลอาไซ ตระกูลเคียวโงกุได้สนับสนุนโทกูงาวะ อิเอยาซุหลังจากการเสียชีวิตของฮิเดโยชิ ซึ่งถือว่าเป็นตัวกลางระหว่างฝ่ายอิเอยัตสึและโยโดะ-โดโนะผู้เป็นพี่สาว ความพยายามยุติความขัดแย้งระหว่างโยโดะ-โดโนะและอิเอยัตสึของโอฮัตสึนั้นสูญเปล่า และหลังจากฮิเดโยริและโยโดะ-โดโนะเสียชีวิตในการปิดล้อมโอซากา นางได้รับเลี้ยงธิดาของฮิเดโยริที่ต้องกำพร้า

ธิดาคนสุดท้องคือ โอเอโยะ (มีอีกชื่อว่า โอโง) ได้สมรสกับโทกูงาะวะ ฮิเดตาดะ รัชทายาทของอิเอยัคสึ และเป็นโชกุนลำดับที่ 2 ของเอโดะ ทั้งคู่มีบตรธิดามากมายรวมทั้งโชกุนคนที่ 3 คือโทกูงาวะ อิเอมิตสึและโทกูงาวะ มาซาโกะ ผู้เป็นพระมเหสีในสมเด็จพระจักรพรรดิโก-มิซุโนะ พระธิดาของมาซาโกะได้เป็นสมเด็จพระจักรพรรดินีเมอิโชได้สถาปนาโออิจิผู้เป็นสมเด็จพระปัยยิกาฝ่ายพระมารดา (ยายทวด) ขึ้นดำรงพระอิศริยยศเป็นสมเด็จพระจักรพรรดินีหลังจากโออิจิเสียชีวิตนานแล้ว

ครอบครัว

[แก้]

ในวัฒนธรรมร่วมสมัย

[แก้]
ภาพโออิจิ ในเกมส์ซามูไรวอริเออส์ 2

เธอเป็นตัวละครที่เล่นได้ในซีรีส์เกมซามูไรวอริเออส์ เดิมทีมีเค็นดามะเป็นอาวุธ ภายหลังเปลี่ยนเป็นห่วงใบมีด 4 ใบที่คล้องเข้าด้วยกัน และยังปรากฏใน โปเกมอน คอนเควสต์ (Pokémon + Nobunaga's Ambition ในประเทศญี่ปุ่น) ที่มีโปเกมอนคู่หูเป็นพูรินและพูกูริน[7]

อ้างอิง

[แก้]
  1. Ochinokata, Gifu prefecture website.
  2. Wilson, Richard L. (1985). Ogata Kenzan (1663-1743), p. 40.
  3. "The silk coloured portrait of wife of Takatsugu Kyogoku," เก็บถาวร พฤษภาคม 6, 2011 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน Digital Cultural Properties of Wakasa Obama.
  4. "Atsuhime"-Autorin für NHKs 2011er Taiga-Drama gewählt (citing Tokyograph), เก็บถาวร 2011-05-06 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน J-Dorama.
  5. 5.0 5.1 Sansom, George (1961). A History of Japan, 1334–1615. Stanford University Press. p. 278. ISBN 0804705259.
  6. Yoshikawa, Eiji. (2000). Taiko, p. 421.
  7. "Oichi + Jigglypuff - Pokémon Conquest characters". Pokémon. สืบค้นเมื่อ 2012-06-17.

บรรณานุกรม

[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]