โกสน
โกสน | |
---|---|
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ | |
อาณาจักร: | Plantae |
ไม่ได้จัดลำดับ: | Angiosperms |
ไม่ได้จัดลำดับ: | Eudicots |
ไม่ได้จัดลำดับ: | Rosids |
อันดับ: | Malpighiales |
วงศ์: | Euphorbiaceae |
สกุล: | Codiaeum |
สปีชีส์: | C. variegatum |
ชื่อทวินาม | |
Codiaeum variegatum (L.) A.Juss. | |
ชื่อพ้อง | |
จำนวนมาก รวมถึง
|
โกสน (ชื่อวิทยาศาสตร์: Codiaeum variegatum) เป็นพืชท้องถิ่นของมาเลเซีย อินโดนีเซีย ออสเตรเลีย และหมู่เกาะแปซิฟิกตะวันตก[2] อยู่ในวงศ์ยางพารา ลักษณะเป็นไม้พุ่มไม่ผลัดใบขนาดกลาง สูงได้ถึง 2–3 เมตร ใบเป็นใบเดี่ยวออกเรียงสลับ กว้าง 0.5–8 เซนติเมตร ยาว 5–30 เซนติเมตร มีหลายรูปแบบ เช่น รูปกลม แคบยาว บิดเป็นเกลียว ปลายใบแหลมหรือมน โคนใบสอบ ขอบใบเรียบหรือหยัก แผ่นใบมีสีต่าง ๆ เช่น เหลือง ส้ม ชมพู ดอกสีขาวออกเป็นช่อแบบกระจะตามซอกใบและปลายกิ่ง ยาว 8–30 เซนติเมตร ช่อดอกมีดอกประมาณ 30–60 ดอก กลีบเลี้ยงขนาดเล็กมี 3–6 กลีบ กลีบดอก 5–6 กลีบ ดอกมีขนาดประมาณ 3 มิลลิเมตร ดอกแยกเพศอยู่ร่วมต้น ช่อดอกเพศผู้โค้งลง ช่อดอกเพศเมียตั้งตรง ดอกออกตลอดปี ผลเป็นผลแบบแห้งแตกทรงกลม เส้นผ่านศูนย์กลาง 9 มิลลิเมตร ภายในมีเมล็ดสีน้ำตาล 2–3 เมล็ด เส้นผ่านศูนย์กลาง 6 มิลลิเมตร[3][4]
โกสนเป็นไม้มงคลเนื่องจากชื่อพ้องกับคำว่า กุศล จึงนิยมปลูกเป็นไม้ประดับเพื่อความเป็นสิริมงคล[5] โดยปลูกในดินร่วน ได้รับแสงแดดครึ่งวันถึงเต็มวัน โกสนเป็นพืชต้องการน้ำปานกลาง ขยายพันธุ์ด้วยการเพาะเมล็ด ปักชำหรือตอนกิ่ง[3] ทั้งต้นมียางสีขาวที่อาจก่อให้เกิดผิวหนังอักเสบ[6] ใบอ่อนโกสนบางพันธุ์สามารถนำมารับประทานได้[7] ใบแก่มีรสเฝื่อน โขลกพอกท้องเด็กแก้โรคทางระบบทางเดินปัสสาวะ[8]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ G. Nicholson Ill. Dict. Gard. 1: 352 1885
- ↑ Huxley, A., ed. (1992). New RHS Dictionary of Gardening 1: 665. Macmillan.
- ↑ 3.0 3.1 ไม้พุ่ม, อิศรา แพงสี, หน้า 23, พ.ศ. 2551, สำนักพิมพ์บ้านและสวน กรุงเทพฯ
- ↑ "โกสน (Codiaeum variegatum)". ศูนย์ปฏิบัติการวิจัยและเรือนปลูกพืชทดลอง. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-10-12. สืบค้นเมื่อ October 3, 2019.
- ↑ "ไม้มงคลที่ควรปลูก ต้นโกสน ราชาแห่งไม้ใบ เสริมบุญบารมี". Sanook. July 5, 2017. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-10-03. สืบค้นเมื่อ October 3, 2019.
- ↑ Occupational contact dermatitis due to croton (Codiaeum variegatum (L.) A. Juss var. pictum (Lodd.) Muell. Arg.). Sensitization by plants of the Euphorbiaceae. Contact Dermatitis 1977 Dec. 3(6): 289-92. abstract.
- ↑ "'โกสน' ใบอ่อนกินได้". คมชัดลึก. May 2, 2013. สืบค้นเมื่อ August 14, 2021.
- ↑ ""โกสน" ไม้ประดับที่ไม่ธรรมดา". ผู้จัดการ. March 20, 2018. สืบค้นเมื่อ October 3, 2019.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ โกสน
- ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับ Codiaeum variegatum ที่วิกิสปีชีส์