[go: up one dir, main page]

ข้ามไปเนื้อหา

แมทเวิลด์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
MathWorld
ประเภทInternet encyclopedia project
ภาษาที่ใช้ได้ภาษาอังกฤษ
เจ้าของวุลแฟรม รีเสิร์ช
สร้างโดยเอริก ดับเบิลยู. ไวส์สไตน์ [1] and other contributors
ยูอาร์แอลmathworld.wolfram.com
เชิงพาณิชย์ใช่
ลงทะเบียนไม่จำเป็นสำหรับการอ่านเนื้อหา

แมทเวิลด์ (อังกฤษ: MathWorld) เป็นเว็บไซต์ที่รวบรวมข้อมูลสำหรับอ้างอิงทางคณิตศาสตร์ โดยมี เอริก ดับเบิลยู. ไวส์สไตน์ (Eric W. Weisstein) เป็นผู้สร้างและเขียนเนื้อหาส่วนใหญ่ มีบริษัท วุลแฟรม รีเสิร์ช (Wolfram Research) ให้การสนับสนุนด้านทุน อีกทั้งยังได้รับทุนจาก National Science Digital Library ของ National Science Foundation ที่มอบให้กับมหาวิทยาลัยอิลลินอยส์ เออร์แบนา-แชมเปญจน์

ประวัติ

[แก้]

เอริก ดับเบิลยู. ไวส์สไตน์ ผู้สร้างเว็บไซต์ ขณะเป็นนักศึกษาฟิสิกส์และดาราศาสตร์ ติดนิสัยเขียนโน้ตย่อเวลาอ่านคณิตศาสตร์ เมื่อ พ.ศ. 2538 (ค.ศ. 1995) เขานำโน้ตดังกล่าวออนไลน์ และตั้งชื่อว่า "Eric's Treasure Trove of Mathematics" (หีบสมบัติเกี่ยวกับคณิตศาสตร์ของอิริค) ประกอบไปด้วยบทความเป็นร้อยหน้า ครอบคลุมเนื้อหาทางคณิตศาสตร์ที่หลากหลาย เว็บไซต์ดังกล่าวกลายเป็นแหล่งข้อมูลทางคณิตศาสตร์ที่นิยม ไวส์สไตน์ปรับปรุงเนื้อหา ยอมรับคำแนะนำและแก้ไขจากผู้อ่าน

พ.ศ. 2541 เขาทำสัญญากับสำนักพิมพ์ CRC Press นำเนื้อหาไปตีพิมพ์เป็นหนังสือและซีดีรอมในชื่อว่า "CRC Concise Encyclopedia of Mathematics" ส่วนเนื้อหาที่ออนไลน์เหลือเพียงส่วนเดียว

พ.ศ. 2542 ไวส์สไตน์ ไปร่วมงานกับ วุลแฟรม รีเสิร์ช (Wolfram Research, Inc. หรือ WRI) วุลแฟรม รีเสิร์ช เปลี่ยนชื่อใหม่เป็น แมทเวิลด์ ใช้เซิร์ฟเวอร์ของบริษัท และเปิดให้เข้าดูโดยไม่มีข้อจำกัด

คดีความ

[แก้]

ในปี พ.ศ. 2543 CRC Press ได้ฟ้องร้อง วุลแฟรม รีเสิร์ช ประธานบริษัท สตีเฟน วอลแฟรม และผู้แต่ง อิริค ไวส์สไตน์ จากการผิดสัญญาที่ว่า แมทเวิลด์ ต้องอยู่ในรูปงานพิมพ์เท่านั้น เว็บไซต์ถูกระงับโดยศาล และทั้งสองฝ่ายได้ตกลงกันภายนอกศาล โดยที่ วุลแฟรม รีเสิร์ช จ่ายเงินจำนวนหนึ่งเพื่อชดใช้ค่าเสียหาย และปฏิบัติตามข้อตกลงต่าง ๆ หนึ่งในข้อตกลงดังกล่าว คือ ที่ส่วนล่างสุดในหน้าจะแสดงข้อความลิขสิทธิ์ และ CRC Press มีสิทธิ์แต่เพียงผู้เดียวใน แมทเวิลด์ ในรูปแบบหนังสือ จากนั้นเว็บไซต์ก็กลับมาเข้าถึงได้อีกครั้ง

ในช่วงที่แมทเวิลด์ไม่สามารถเข้าไปดูได้ ก็เกิดโครงการ แพลเนตแมท (PlanetMath) ขึ้น

ดูเพิ่ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. Eric Weisstein (2007). "Making MathWorld". Mathematica Journal. 10 (3). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-07-09. สืบค้นเมื่อ 2015-03-05.
  2. "What is the history of MathWorld?". MathWorld Q&A. Wolfram Research, Inc. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2004-02-16. สืบค้นเมื่อ 8 February 2011.
  3. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2004-02-15. สืบค้นเมื่อ 2015-03-05.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]