แผนลับแหกคุกนรก
แผนลับแหกคุกนรก | |
---|---|
โลโก้ละครชุด | |
ประเภท | |
สร้างโดย | พอล เชอริง |
แสดงนำ |
|
ผู้ประพันธ์เพลง | รอมีน แจวอดี |
ประเทศแหล่งกำเนิด | สหรัฐ |
ภาษาต้นฉบับ |
|
จำนวนฤดูกาล | 5 |
จำนวนตอน | 90 (รายชื่อตอน) |
การผลิต | |
ผู้อำนวยการผลิต |
|
สถานที่ถ่ายทำ | |
ผู้กำกับภาพ |
|
ผู้ลำดับภาพ |
|
ความยาวตอน | 42–44 นาที |
บริษัทผู้ผลิต |
|
ออกอากาศ | |
เครือข่าย | ฟ็อกซ์ |
ออกอากาศ | 29 สิงหาคม ค.ศ. 2005 – 30 พฤษภาคม ค.ศ. 2017 |
การแสดงที่เกี่ยวข้อง | |
เบรกเอาต์คิงส์ |
แผนลับแหกคุกนรก (อังกฤษ: Prison Break) เป็นละครชุดทางโทรทัศน์อเมริกันแนวดรามา สร้างโดย พอล เชอริง ออกอากาศทางช่องฟ็อกซ์ มีเรื่องราวเกี่ยวกับสองพี่น้อง ลินคอล์น เบอร์โรวส์ (โดมินิก เพอร์เซลล์) และ ไมเคิล สกอฟิลด์ (เวนท์เวิร์ท มิลเลอร์) โดยเบอร์โรวส์ถูกตัดสินประหารชีวิตจากอาชญากรรมที่เขาไม่ได้ก่อ ขณะที่สกอฟิลด์คิดแผนการที่ซับซ้อนเพื่อช่วยพี่ชายของเขาหนีออกจากคุกและกู้ชื่อเสียงของเขา นอกจาก พอล เชอริง ซึ่งเป็นผู้สร้างแล้ว ละครชุดอำนวยการสร้างบริหารโดย แม็ตต์ โอล์มสเตด, เควิน ฮุกส์, มาร์ตี อะเดลสไตน์, ดอว์น พาเราซ์, นีล เอช. มอริตซ์และเบร็ต แรตเนอร์ ซึ่งเป็นผู้กำกับตอนเปิดตัว ดนตรีประกอบของละครชุดแต่งโดย รอมีน แจวอดี เคยได้รับการเสนอชื่อในรางวัลไพรม์ไทม์เอมมีใน ค.ศ. 2006[1] ละครชุดเป็นการสร้างร่วมกันระหว่าง ออริจินัลฟิล์ม, อเดลสไตน์/พารูสโปรดักชันส์ (ปี 1–4), ดอว์น โอล์มสเตดโปรดักชันส์ (ปี 5), อเดลสไตน์โปรดักชันส์ (ปี 5), วันไลต์โรดโปรดักชันส์ (ปี 5) และทเวนตีท์เซนจูรีฟอกซ์เทเลวิชันและเผยแพร่โดยทเวนตีท์เทเลวิชัน
แต่เดิมละครชุดนี้ถูกปฏิเสธโดยฟ็อกซ์ใน ค.ศ. 2003 ซึ่งมีความกังวลเกี่ยวกับแนวโน้มระยะยาวของละครชุดดังกล่าว หลังละครชุดทางโทรทัศน์ช่วงไพรม์ไทม์ อสุรกายดงดิบ และ 24 ชั่วโมงอันตราย ได้รับกระแสความนิยม ฟ็อกซ์ตัดสินใจหนุนการสร้างละครชุดนี้ใน ค.ศ. 2004 ปีแรกได้รับการวิจารณ์เชิงบวกเป็นส่วนใหญ่จากนักวิจารณ์พร้อมเสียงชื่นชมจากผู้ชมทั่วโลก[2] นอกจากนี้ ยังทำผลงานได้โดดเด่นในด้านเรตติงและเดิมมีการวางแผนไว้ออกอากาศ 13 ตอน แต่ได้ขยายออกไปรวมเพิ่มอีก 9 ตอนเนื่องจากความนิยม ปีต่อมายังคงได้รับเรตติงที่แข็งแกร่ง อย่างไรก็ตาม นักวิจารณ์บางคนอ้างว่ารายการนี้เกินความคาดหวัง[3] แผนลับแหกคุกนรก ได้รับการเสนอในหลายรางวัล รวมไปถึง รางวัลลูกโลกทองคำ สาขาละครโทรทัศน์ยอดเยี่ยม ใน ค.ศ. 2005 และได้รับรางวัลขวัญใจประชาชน สาขาละครโทรทัศน์เรื่องใหม่ยอดนิยม ใน ค.ศ. 2006 ละครชุดทั้งห้าปีได้วางจำหน่ายในรูปแบบดีวีดีและบลูเรย์
ความสำเร็จของละครชุดทำให้เกิดสื่อไทอินมากมาย เช่น วิดีโอเกม, ละครชุดแยก แผนลับแหกคุกนรก: พรูฟออฟอินโนเซนซ์ สำหรับโทรศัพท์มือถือ, ออนไลน์เวบิโซดส์, นิตยสารอย่างเป็นทางการและนวนิยาย ปีสี่ของ แผนลับแหกคุกนรก กลับมาจากการพักกลางปีในช่วงเวลาใหม่ในวันที่ 17 เมษายน ค.ศ. 2009 สำหรับหกตอนสุดท้ายของละครชุด[4] มีการสร้างเพิ่มเติมอีกสองตอน ชื่อว่า "ลูกบอลเก่าและโซ่" และ "อิสระ" ต่อมาได้เปลี่ยนเป็นภาพยนตร์เดี่ยวชื่อว่า ภารกิจปิดฉากคุกนรก ซึ่งเป็นเหตุการณ์เกิดขึ้นก่อนฉากสุดท้ายของตอนจบละครชุดและสรุปเรื่องราวทั้งหมด ภาพยนตร์วางจำหน่ายในรูปแบบดีวีดีและบลูเรย์เมื่อวันที่ 21 กรกฎาคม ค.ศ. 2009[5]
ปีห้าจำนวนเก้าตอนประกาศโดยฟ็อกซ์ในเดือนมกราคม ค.ศ. 2016 ออกอากาศตอนแรกเมื่อวันที่ 4 เมษายน ค.ศ. 2017 และออกอากาศตอนจบเมื่อวันที่ 30 พฤษภาคม[6] เมื่อเดือนมกราคม ค.ศ. 2018 ฟ็อกซ์ยืนยันว่าปีหกอยู่ระหว่างการพัฒนาในขั้นต้น[7] อย่างไรก็ตาม ในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 2019 ฟ็อกซ์ประกาศว่าปัจจุบันไม่มีแผนที่จะรื้อฟื้น แผนลับแหกคุกนรก[8] โดยมิลเลอร์ระบุในช่วงปลาย ค.ศ. 2020 ว่าเขาไม่มีแผนที่จะกลับมาแสดงละครชุดนี้อีก[9]
ภาพรวมละครชุด
[แก้]ปี | จำนวนตอน | วันที่ออกอากาศ | |||
---|---|---|---|---|---|
วันแรก | วันสุดท้าย | ||||
1 | 22 | 29 สิงหาคม ค.ศ. 2005 | 15 พฤษภาคม ค.ศ. 2006 | ||
2 | 22 | 21 สิงหาคม ค.ศ. 2006 | 2 เมษายน ค.ศ. 2007 | ||
3 | 13 | 17 กันยายน ค.ศ. 2007 | 18 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2008 | ||
4 | 22 | 1 กันยายน ค.ศ. 2008 | 15 พฤษภาคม ค.ศ. 2009 | ||
ภารกิจปิดฉากคุกนรก | 27 พฤษภาคม ค.ศ. 2009[a] | ||||
5 | 9 | 4 เมษายน ค.ศ. 2017 | 30 พฤษภาคม ค.ศ. 2017 |
ปี 1
[แก้]ลินคอล์น เบอร์โรวส์ (โดมินิก เพอร์เซลล์) ได้รับโทษฐานฆาตกรรมเทอร์เรนส์ สเตดแมน (เจฟฟ์ เพอร์รี) น้องชายของรองประธานาธิบดี ด้วยหลักฐานอันหนาแน่นทำให้เขาถูกตัดสินว่าผิดจริง ลินคอล์นถูกตัดสินประหารชีวิต และถูกส่งไปกักกันตัวที่คุกฟ็อกซ์ริเวอร์สเตตเพื่อรอรับโทษ น้องชายของลินคอล์นผู้เฉลียวฉลาดเป็นวิศวกรโครงสร้างชื่อ ไมเคิล สโคฟิลด์ (เวนท์เวิร์ท มิลเลอร์) ได้พยายามจะวางแผนช่วยพี่ชายของเขาหนีออกจากคุก เขาทำการปล้นธนาคารเพื่อให้ได้จำคุกที่คุกฟอกซ์ริเวอร์ที่เดียวกับพี่ชาย เขาได้ทำงานแข่งกับเวลาอีกทั้งอุปสรรคต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น โดยเขาร่วมมือกับนักโทษภายในคุกเพื่อจะเอาพี่ชายของเขาออกมา ส่วนเพื่อนในวัยเด็กของพวกเขา เวโรนิกา โดโนแวน (โรบิน ทันนีย์) ที่เริ่มจากการสืบสวนการวางแผนลับที่นำไปสู่การเข้าตารางของลินคอล์น อย่างไรก็ตามพวกเขาก็ถูกตามล่า ขัดขวางจากกลุ่มนักสืบที่เป็นหน่วยของเดอะคอมปานี โดยเดอะคอมปานีทำหน้าที่วางแผนในเหตุการณ์ของลินคอล์น ทั้ง 2 พี่น้องรวมถึงเพื่อนร่วมแก๊งค์อีก 6 ที่ประกอบด้วย ซูเคร (อเมารี โนลาสโก), ที-แบ็ก (โรเบิร์ต เน็ปเปอร์), ซี-โน้ต (ร็อกมอนด์ ดันบาร์), ทวีเนอร์ (เลน การ์ริสัน), อบรุซซิ (ปีเตอร์ สตอร์แมร์) และเฮย์ไวร์ (ซิลาส ไวร์ มิตเชลล์) ที่เป็นนักโทษแหกคุกในฤดูกาลแรก
ปี 2
[แก้]เริ่มต้นด้วย 8 ชั่วโมงหลังจากการหลบหนีออกจากคุก โดยมีเนื้อหาเน้นไปที่ผู้หลบหนี โดยพอล เชอริงอธิบายถึงฤดูกาลที่ 2 ว่าเหมือน "ภาพยนตร์เรื่อง ขึ้นทำเนียบจับตาย คูณแปด" และตอนช่วงครึ่งท้ายเหมือนในภาพยนตร์เรื่อง แหกค่ายมฤตยู[10] ผู้หลบหนีได้แยกย้ายกันในสถานที่ต่าง ๆ ทั่วประเทศโดยมีเจ้าหน้าที่ไล่ล่าพวกเขาอยู่ พวกเขาแต่ละคนก็มีเป้าหมายที่แตกต่างกันไป แบรด เบลลิก (เวด วิลเลียมส์) ถูกไล่ออกจากคุกที่ที่เขาทำงานเป็นผู้คุมอยู่ในฤดูกาลที่ 1 และไล่ติดตามเพื่อเงินรางวัลนำจับ มีผู้หลบหนีได้รวมตัวกันเพื่อที่จะเอาเงินก้อนใหญ่ที่ถูกฝังเมื่อนานมาแล้วจากคำบอกเล่าของคนในคุก (ดีบี คูเปอร์) ที-แบ็ก เอาเงินและหลบหนีมาได้ ส่วน 2 พี่น้อง ในช่วงหลังจะไล่ล่าตามเขา ทั้งคู่ก็ต้องการเงินเพื่อหลบหนีออกนอกประเทศ และสโคฟิลด์รู้สึกผิดที่เป็นเหตุของฆาตกรคนนี้ที่ลอยนวลอยู่
เจ้าหน้าที่เอฟบีไอ อเล็กซานเดอร์ มาโฮน (วิลเลียม ฟิชต์เนอร์) ได้รับหน้าที่ให้ติดตามผู้หลบหนีทั้ง 8 คน แต่เขาเองก็ได้ทำงานให้กับเดอะคอมปานี กลุ่มที่ต้องการหมายหัวคนทั้ง 8 โดยเฉพาะลินคอล์น ที่ต้องการให้เขาตาย ผู้หลบหนีหลายคนถูกฆ่าตายและถูกจับ แต่สองพี่น้องหนีไปปานามาได้ ในตอนสุดท้าย อดีตเจ้าหน้าที่ซีไอเอที่ทำงานให้กับเดอะคอมปานีในความควบคุมของประธานาธิบดี ได้ทำให้ลินคอล์นพ้นความผิด ขณะที่ไมเคิล ที-แบ็ก และมาโฮนถูกจับโดยสถานกักกันปานามา และเป็นนักโทษที่คุกโซนา หรือ Penitenciaría Federal de Sona ที่พวกเขาพบกับเบลลิกที่ถูกจับกุมก่อนหน้านี้
ปี 3
[แก้]เมื่อไมเคิลถูกจองจำในคุกโซนาและลินคอล์นอยู่ภายนอก คุกโซนาควบคุมโดยผู้คุมขังและผู้คุมควบคุมจากภายนอกหลังจากที่มีการก่อจลาจลในคุกก่อนหน้านี้ เบอร์โรวส์ได้รับการติดต่อจากเดอะคอมปานีที่ได้ทำการลักพาตัวแอลเจ (มาร์แชลล์ ออลแมน) และซารา แทนเครดิ (ซาราห์ เวย์น คาลลียส์) ผู้หญิงที่ไมเคิลหลงรัก และไมเคิล สโคฟิลด์ได้รับคำมอบหมายให้หาวิธีแหกคุกให้เจมส์ วิสเซิล (คริส แวนซ์) ออกจากคุกโซนา ในครั้งนี้ไมเคิลและวิสเซิลหาวิธีและร่วมมือการหนีออกจากคุก โดยไมเคิลและวิสเซิลได้มีข้อตกลงต่อรองกับคนในเดอะคอมปานี เกร็ตเชน มอร์แกน (โจดิ ลิน โอ'คีฟ) โดยซูเครได้รับงานที่คุกเพื่อช่วยเหลือแผนการในการลักลอบหนีจากคุก
เมื่อทีมไมเคิลพลาดในการหลบหนีจากคุกครั้งแรกในวันเส้นตาย ลินคอล์นพยายามหักหลัง แต่มอร์แกนได้ตัดหัวซาราและส่งหัวมาให้ลินคอล์นเพื่อเป็นการเตือน ในปลายฤดูกาล ที้งคู่ได้หลบหนีออกจากคุกได้ไปพร้อมกับมาโฮน แต่ได้ทิ้งที-แบ็ก และเบลลิก และซูเครได้ถูกจับพิรุจโดยยามในคุกได้ว่าพยายามให้พวกเขาหลบหนีออกจากคุกโซนาไปได้ แอลเจได้ถูกแลกตัวประกันกับวิสเซิลและไมเคิล และไมเคิลก็มีความแค้นต่อเกร็ตเชนสำหรับการตายของซารา
ปี 4
[แก้]ไมเคิลต้องการล้างแค้นให้การตายของซารา แต่ก็พบว่าเธอยังคงมีชีวิตอยู่และหัวที่ส่งไปให้ลินคอล์นครั้งนั้นเป็นของคนอื่น ไมเคิลก็รู้ความจริงเกี่ยวกับวิสเซิล ว่าเขาทำงานลับให้กับเดอะคอมปานีร่วมกับมาโฮน ในขณะเดียวกับเบลลิก ที-แบ็ก และซูเครก็หลบหนีออกมาจากคุกโซนาได้ โดนัลด์ เซลฟ์ (ไมเคิล ราพาพอร์ต) นักสืบพิเศษได้ร่วมทีมกับไมเคิล และลินคอล์น เช่นเดียวกับซูเคร, เบลลิก และมาโฮน เพื่อนำพาไปสู่เดอะคอมปานี เป็นการแลกเปลี่ยนกับอิสรภาพของพวกเขา ส่วนซาราก็เข้ามาร่วมวง เธอหนีจากเกร็ตเชนมาได้ และโรแลนด์ (เจมส์ ฮิโรยูกิ) แฮกเกอร์ที่ได้รับคำมอบหมายให้ช่วยเหลือพวกเขาหลังจากที่ถูกจับไป พวกเขาพยายามเอาข้อมูลจากเดอะคอมปานี (สกิลลา) ที่สามารถจะทำลายเดอะคอมปานีได้ ในระหว่างนั้น ไวแอต (เครส วิลเลียมส์) นักสืบจากเดอะคอมปานี พยายามที่จะตามรอยไมเคิล ลินคอล์น เมื่อพวกเขาขโมยสกิลลา ได้ เซลฟ์ทรยศพวกเขาและพยายามจะขายสกิลลา แต่ผิดพลาด ก่อนจะถึงช่วงหยุดกลางฤดูกาลแรก พบว่าแม่ของไมเคิลและลินคอล์นยังคงมีชีวิตอยู่และครอบครองสกิลลาด้วย
ในส่วนที่ 2 ของฤดูกาล เริ่มออกฉายวันที่ 17 เมษายน กับตอนที่ชื่อ "SOB" แม่ของไมเคิลที่ชื่อคริสตินนา บอกพวกเขาว่าลินคอล์นไม่ใช่พี่ชายของไมเคิล เธอจัดฉากลินคอล์นและไมเคิล ให้ดูเหมือนพวกเขาสังหารลูกชายของประธานาธิบดีของอินเดีย เพื่อให้เกิดเรื่องการเมืองที่จะเกิดสงครามระหว่างจีนและอินเดียตามมา ซึ่งเธอจะได้ผลประโยชน์จากการขายเทคโนโลยีอาวุธจากสกิลลาจากทั้งสองฝั่ง ตอนจบของตอน "Cowboys and Indians" ไมเคิลได้สกิลลามาครอบครอง แต่ลินคอล์นถูกจับตัวไปโดยพรรคพวกของคริสตินา และซาราก็ถูกนายพลนำตัวไป ไมเคิลจึงต้องเลือกการแลกเปลี่ยนสกิลลาระหว่างชีวิตของซาราและลินคอล์น ในสองตอนสุดท้าย ไมเคิลจัดการช่วยเหลือซาราจากเดอะคอมปานีได้ และยังช่วยเหลือลินคอล์นได้ โดยพวกเขาพยายามหาหนทางหนีและได้รับความช่วยเหลือจาก อดีตเอเยนต์ลับ พอล เคลเลอร์แมนและเพื่อนเก่าได้ เพื่อที่นำสกิลลาไปยัง ยูเอ็น พวกเขาทั้งหมดพ้นผิด ยกเว้นที-แบก ที่กลุ่มลงมติว่าจะส่งเขากลับไปคุกฟ็อกซ์ริเวอร์ ส่วนนายพลแครนตซ์ ถูกส่งไปนั่งเก้าอี้ไฟฟ้า ซีรีส์นี้จบลงโดยเป็นเรื่องอีก 4 ปีข้างหน้า ที่มีการมารวมตัวกันอีกเพื่อนรำลึกถึงวันเสียชีวิตของไมเคิล โดยเนื้อเรื่องการเสียชีวิตของไมเคิล อยู่ในตอน "Prison Break: The Final Break" ที่ไมเคิลเสียสละชีวิตเพื่อให้ซาราหนีพ้นออกจากคุกไปได้
ปี 5
[แก้]นักแสดงและตัวละคร
[แก้]แผนลับแหกคุกนรก มีตัวละครรวมอยู่มากมายหลายตัวละครสำคัญมากกว่า 10 ในแต่ละฤดูกาลยังมีแขกรับเชิญอีก ในฤดูกาลแรกตัวละครจะปรากฏตัวในคุกฟ็อกซ์ริเวอร์สเตตและในชิคาโกเป็นหลัก ในฤดูกาลที่ 2 ตัวละครส่วนใหญ่ต่อเนื่องมาจากฤดูกาลที่ 1 และเพิ่มนักสืบเอฟบีไอ ที่ตามหา 8 นักโทษที่หนีออกจากฟ็อกซ์ริเวอร์ไป ในฤดูกาลที่ 3 มีตัวละครใหม่อีก 4 คน โดย 2 คนเป็นนักโทษจาก Penitenciaría Federal de Sona หรือคุกสหพันธ์โซนา) สิ่งที่เปลี่ยนเพราะเกิดจากตัวละครที่ตายไป พอล เชอริง ผู้สร้าง อธิบายว่าการตายของตัวละครสำคัญ "ทำให้คนดูรู้สึกหวาดกลัวกับตัวเอก" และ "ยังช่วยให้เราสามารถลดเรื่องราวลงได้"[11] ตัวเอก 2 คนของซีรีส์ ลินคอล์น เบอร์โรว์ส และ ไมเคิล สโคฟิลด์ เป็น 2 ตัวละครที่ปรากฏในทุกฤดูกาล
- โดมินิก เพอร์เซลล์ (อังกฤษ: Dominic Purcell) แสดงเป็น ลินคอล์น เบอร์โรวส์ (อังกฤษ: Lincoln Burrows) : ลินคอล์นถูกปรักปรำในคดีฆาตกรรมเทเรนซ์ สเตดแมน น้องชายของรองประธานาธิบดีแห่งสหรัฐอเมริกา เพอร์เซลล์ได้เข้าไปทดสอบบทก่อนที่จะเริ่มในส่วนโปรดักชัน 3 วัน และเป็นนักแสดงคนสุดท้ายที่จะได้รับบทสำคัญนี้[12] เขาเข้ามาทดสอบบทขณะที่รับบทเป็น ทอมมี ราเว็ตโตใน North Shore หลังจากที่ได้ร่วมงานกับจอห์น โด เขามีความสัมพันธ์ที่ดีกับช่องฟ็อกซ์ หลังจากนั้นเขาก็ได้สคริปต์บทนักบินใน แผนลับแหกคุกนรก[13] ในตอนแรก เชอริงคิดว่าเพอร์เซลล์ดู "หวานไป" หลังจากออดิชันแล้วเขาก็เปลี่ยนทรงผมและทำสีผิวสีแทน อย่างไรก็ตามเพอร์เซลล์ได้รับบทบาทนี้และไปถ่ายทำวันแรกโดยโกนผมทิ้ง ซึ่งทำให้เชอริงดูประหลาดใจกับภาพที่เขาคิดไว้ในหัวกับ 2 นักแสดงนำ[14]
- เวนท์เวิร์ท มิลเลอร์ (อังกฤษ: Wentworth Miller) แสดงเป็น ไมเคิล สกอฟิลด์ (อังกฤษ: Michael Scofield) : ไมเคิลเป็นน้องชายของลินคอล์นและทำงานเป็นวิศวกรโครงสร้างก่อนที่จะเข้ามาช่วยเหลือพี่ชายของเขา ไมเคิลได้วางแผนการอันซับซ้อนช่วยพี่ชายออกจากคุก ในบทสัมภาษณ์พอล เชอริงเขาพูดว่านักแสดงหลายคนที่มาทดสอบบทนี้ "จะแสดงดูลึกลับ ซึ่งเขาว่ามันดูน่าเบื่อและผิด"[14] ก่อนที่จะเริ่มภาคการผลิต มิลเลอร์เข้ามาทดสอบบทและประทับใจเชอริงในการแสดง เขาได้รับเลือกในวันต่อมา[12]
- โรบิน ทันนีย์ (อังกฤษ: Robin Tunney) แสดงเป็น เวโรนิกา โดโนแวน (อังกฤษ: Veronica Donovan) : เวโลนิกาเป็นเพื่อนในวัยเด็กของไมเคิลและลินคอล์น ตัดสินใจที่จะรื้อฟื้นคดีของลินคอล์นใหม่ตามคำขอร้องของไมเคิล เธอกลายมาเป็นทนายของลินคอล์นและเป็นตัวละครหลักในฤดูกาลแรก
- มาร์ชาลล์ ออลแมน (อังกฤษ: Marshall Allman) แสดงเป็น แอล. เจ. เบอร์โรวส์ (อังกฤษ: L. J. Burrows) : แอล. เจ. เป็นลูกชายของลินคอล์น เบอร์โรวส์ที่ได้รับผลกระทบจากการตัดสินความตายของพ่อเขา เขาอยู่ในสถานการณ์บีบบังคับให้ต้องซ่อนตัว และเป็นเป้าหมายของคนที่ต้องการให้ลินคอล์นตาย
- อเมารี โนลาสโก (อังกฤษ: Amaury Nolasco) แสดงเป็น เฟอร์นานโด ซุเครอ (อังกฤษ: Fernando Sucre) : ซูเครเป็นเพื่อนร่วมห้องในคุกฟ็อกซ์ริเวอร์เสตต ได้พัฒนาเป็นเพื่อนของไมเคิล และได้เป็นกลุ่มเดียวกันกับไมเคิลและลินคอล์น ตัวละครนี้มีความต้องการที่จะกลับไปคืนดีกับแฟนสาวของเขา หลังจากที่ได้รับบททดลอง โนลาสโกคิดว่า "เป็นบทที่ล้มเหลวที่คนดูไม่ได้ต้องการ" หลังจากที่เริ่มในภาคผลิต เขายอมรับว่าเขาไม่ชอบอ่านบท โนลาสโกก็ประหลาดใจว่ามันทำให้เขาพลิกบทไปมา หลังจากออดิชันครั้งสุดท้าย โนลาสโกก็รู้สึกตื่นเต้นที่พอล เชอริงบอกกับเขาว่าเขาเป็นตัวเลือกที่เขาชื่นชอบ ซึ่งต่อมาเขาก็ได้รับบทนี้[15]
- โรเบิร์ต เน็ปเปอร์ (อังกฤษ: Robert Knepper) แสดงเป็น ธีโอดอร์ "ที-แบก" แบกเวลล์ (อังกฤษ: Theodore "T-Bag" Bagwell) : ที-แบกปรากฏตัวในทั้ง 5 ฤดูกาล ที่มีบุคลิกเจ้าเล่ห์ ดูรุนแรง อารมณ์แปรปรวน ถูกดูถูกจากคนรอบข้างเขาถูกตัดสินจำคุกตลอดชีวิตด้วยคดีฆ่าข่มขืน
- ปีเตอร์ สตอร์แมร์ (อังกฤษ: Peter Stormare) แสดงเป็น จอห์น อบรุซซิ (อังกฤษ: John Abruzzi) : เป็นผู้นำแก๊งค์มาเฟียในชิคาโก ที่เข้ามาเป็นผู้นำในคุกฟ็อกริเวอร์สเตด เขาเตรียมเครื่องบินไว้สำหรับการหนีออกจากคุกตามแผนของไมเคิล แลกเปลี่ยนกับที่สถานที่ของพยานในคดีของเขา
- ร็อกมอนด์ ดันบาร์ (อังกฤษ: Rockmond Dunbar) แสดงเป็น เบนจามิน ไมลส์ "ซี-โน้ต" แฟรงกลิน (อังกฤษ: Benjamin Miles "C-Note" Franklin) : เกิดในครอบครัวอันเลวร้าย ซี-โน้ตเข้าไปอยู่ในคุกฟอกซ์ริเวอร์และเมื่อรู้ความลับจากไมเคิลว่าจะแหกคุกออกไป เขาจึงขู่ว่าจะเปิดโปงความลับ เขามีบทบาทสำคัญในฤดูกาลที่ 1 และ 2
- เวด วิลเลียมส์ (อังกฤษ: Wade Williams) แสดงเป็น แบรด เบลลิก (อังกฤษ: Brad Bellick) : เขาปรากฏตัวในทั้ง 4 ฤดูกาล เบลลิกเป็นหัวหน้าเจ้าหน้าที่ราชทัณฑ์ที่ฟอกซ์ริเวอร์ หลังจากที่ได้อ่านบท วิลเลียมส์ไม่ต้องการที่จะพรรณาถึงบทเบลลิกเพราะตัวละครเลวร้าย ที่เขารู้สึกไม่ชอบเพราะด้วยความที่เขามีลูกสาววัย 4 ขวบ อย่างไรก็ตามผู้จัดการของเขาก็ได้ชักชวนให้มาออดิชัน และเขาก็ได้รับบทบาทเป็นเบลลิก[15]
- ซาราห์ เวย์น แคลลียส์ (อังกฤษ: Sarah Wayne Callies) แสดงเป็น ซารา แทนเครดิ (อังกฤษ: Sara Tancredi) : :ซาราเป็นหมอที่ทำงานอยู่ในคุกฟ็อกซ์ริเวอร์และเป็นลูกสาวของผู้ว่าการรัฐอิลลินอยส์ ที่มีจุดเชื่อมโยงกับโครงเรื่องที่นำลินคอล์นสู่คุกฟ็อกซ์ริเวอร์ เธอหลงชอบไมเคิล เธอช่วยเหลือนักโทษออกจากคุกและได้มีส่วนในการหนีหลังจากนั้นเธอก็ท้องกับสโคฟิลด์ แคลลียส์เป็นนักแสดงหญิงคนแรกที่ผู้สร้างเห็นในการทดสอบบทสำหรับบท ซารา แทนเครดิ นี้[12] และก็เป็นคนแรกที่ได้รับบทสำคัญนี้[16]
- พอล อเดลสไตน์ (อังกฤษ: Paul Adelstein) แสดงเป็น พอล เคลเลอร์แมน (อังกฤษ: Paul Kellerman) : เคลเลอร์แมนเป็นนักสืบลับของซีเครตเซอร์วิต ทำงานให้กับรองประธานาธิบดีเพื่อให้มั่นใจได้ว่าแผนโยนความผิดให้ลินคอล์นที่วางไว้จะเป็นไปได้ด้วยดี แต่ท้ายสุดท้ายจากบทผู้ร้ายทำให้พลิกมาเป็นพวกของไมเคิลและลินคอล์น บทนี้เป็นบทสำคัญในฤดูกาลแรกและฤดูกาลที่ 2
- วิลเลียม ฟิชต์เนอร์ (อังกฤษ: William Fichtner) แสดงเป็น อเล็กซานเดอร์ มาโฮน (อังกฤษ: Alexander Mahone) : เป็นนักสืบเอฟบีไอในฤดูกาลที่ 2 มาโฮนได้รับคำมอบหมายให้มาหาผู้หลบหนี ซึ่งต้องชิงไหวชิงพริบกับไมเคิล ภูมิหลังของเขาไม่ได้ถูกเปิดเผย
- โรเบิร์ต วิสดอม (อังกฤษ: Robert Wisdom) แสดงเป็น เลเชโร (อังกฤษ: Lechero) : เป็นตัวละครสำคัญในฤดูกาลที่ 3 เขาเป็นนักโทษจากโซนาและเป็นคนพ่อค้ายาคนสำคัญของปานามา
- คริส แวนซ์ (อังกฤษ: Chris Vance) แสดงเป็น เจมส์ วิสท์เลอร์ (อังกฤษ: James Whistler) : วิสท์เลอร์ถูกคุมขังในคุกโซนาจากคดีฆาตกรรมลูกชายของนายกเทศมนตรีปานามาซิตี้และปรากฏตัวเป็นตัวละครสำคัญในฤดูกาลที่ 3
- โจดิ ลิน โอ'คีฟ (อังกฤษ: Jodi Lyn O'Keefe) แสดงเป็น เกร็ตเชน มอร์แกน (อังกฤษ: Gretchen Morgan) : ในชื่อ ซูซาน บี. แอนโธนี เขาเป็นพนักงานบริษัทที่ทำงานให้ความสะดวกในการหลบหนีของเจมส์ วิสเซิล
- ดาเนย์ การ์เซีย (อังกฤษ: Danay Garcia) แสดงเป็น โซเฟีย ลูโก (อังกฤษ: Sofia Lugo) : โซเฟียปรากฏในฤดูกาลที่ 3 ในฐานะแฟนสาวของวิสเซิล
- ไมเคิล ราพาพอร์ต (อังกฤษ: Michael Rapaport) แสดงเป็น โดนัลด์ เซลฟ์ (อังกฤษ: Donald Self) : เซลฟ์เป็นนักสืบพิเศษอยู่ในโฮมแลนด์เซคิวริตี
- เลนส์ การ์ริสัน (อังกฤษ: Lane garrison) แสดงเป็น เดวิด "ทวีเนอร์" อโพลสกี้ (อังกฤษ: David "Tweener" Apolski) นักโทษในคดีปล้นทรัพย์เป็นหนึ่งในกลุ่มฟ็อกริเวอร์ 8 (กลุ่มผู้หลบหนีของสโคฟิลด์) มีบทบาทในฤดูกาลที่ 1 กับฤดูกาลที่ 2 แต่สุดท้ายถูกมาโฮนฆ่าทิ้งริมทางขณะถูกควบคุมตัวกลับฟ็อกซ์ริเวอร์
งานสร้าง
[แก้]แนวความคิด
[แก้]แนวความคิดเริ่มแรกของ แผนลับแหกคุกนรก คือมีคนที่ได้วางแผนอย่างรอบคอบให้ตัวเองได้เข้าคุกเพื่อช่วยใครบางคน (ในที่นี้หมายถึง พี่ชาย) ให้หนีออกจากคุก เป็นแนวความคิดจากผู้สร้าง ดอว์น พาเราส์ ที่แนะนำให้พอล เชอริง โดยดอว์นต้องการสร้างซีรีส์แอ็กชันสักเรื่อง ถึงแม้ว่าเชอริงจะคิดว่าเป็นแนวคิดที่ดี แต่เขาก็งงว่าจะมีใครจะทำเหตุการณ์เช่นนี้หรือไม่ หรือเขาจะพัฒนาให้เป็นรายการที่ใช้จริงในโทรทัศน์ได้ เขานึกเรื่องออกในเรื่องที่พี่ชายถูกป้ายสีความผิด และเริ่มที่จะเขียนพล็อตเรื่องคร่าว ๆ และออกแบบตัวละคร จนในปี 2003 เขาได้นำเสนอความคิดนี้ให้กับสถานีฟ็อกซ์ แต่ฟ็อกซ์ปฏิเสธไปเนื่องจากกังวลเรื่องเนื้อหาที่อาจยืดเยื้อของซีรีส์นี้ เขาได้นำแนวความคิดนี้ไปเสนอกับช่องอื่น ซึ่งก็ได้รับการปฏิเสธเช่นกัน ที่เห็นว่ามันเหมาะสำหรับสร้างเป็นภาพยนตร์มากกว่ารายการซีรีส์ทางโทรทัศน์[13] แผนลับแหกคุกนรก ได้รับการพิจารณาในเวลาต่อมาในความเป็นไปได้ที่จะสร้างมินิซีรีส์ 14 ตอน และได้รับความสนใจจากสตีเวน สปีลเบิร์กก่อนที่เขาจะออกไปพัฒนาและสร้างใน War of the Worlds
มินิซีรีส์ไม่ได้สร้างจริง อันเป็นผลมาจากการได้รับความนิยมอย่างมากสำหรับรายการซีรีส์ไพรม์ไทม์อย่าง อสุรกายดงดิบ และ 24 ฟ็อกซ์จึงเปลี่ยนใจสร้างในปี 2004[17] ตอนแรกที่ชื่อ "The pilot" เริ่มถ่ายทำหลังจากที่เชอริงเขียนบทเสร็จ หลังจากนั้น 5 เดือน รายการนี้จึงได้รับการประชาสัมพันธ์[18]
สถานที่ถ่ายทำ
[แก้]สถานที่หลักในการถ่ายทำในฤดูกาลที่ 1 ของ แผนลับแหกคุกนรก คือในเมืองและรอบเมืองชิคาโก[19][20] และใช้คุกจูเลียตซึ่งปิดตัวตั้งแต่ปี 2002 โดยเริ่มถ่ายทำในปี 2005 โดยเนรมิตให้เป็นคุกฟ็อกซ์ริเวอร์สเตตในซีรีส์เรื่องนี้ ฉากห้องขังของลินคอล์น, สถานพยาบาล และสนามในคุกล้วนแต่ถ่ายทำที่คุกจูเลียต[21] ห้องขังของลินคอล์นเป็นห้องเดียวกับที่จอห์น เวย์น กาซี ฆาตกรต่อเนื่องชื่อดังถูกกักขังในห้องนี้ ในการถ่ายทำส่วนใหญ่ ทีมงานสร้างปฏิเสธที่จะเข้าห้องนี้ เพราะคิดว่ามันทำให้พวกเขาหลอน[19] อีกฉากคืออาคารในคุก รวมถึงที่รวมห้องขังของนักโทษทั่วไปที่มี 3 ชั้น (ซึ่งในคุกจริงมีเพียง 2 ชั้น) และมีห้องขังที่ใหญ่กว่าของจริงเพื่อที่นักแสดงและกล้องสามารถทำงานได้สะดวก[21] ฉากภายนอกคุกถ่ายทำรอบ ๆ เมืองชิคาโก, วูดสต็อก และ จูเลียตในอิลลินอยส์ ส่วนที่อื่นเช่น สนามบินนานาชาติโอ'แฮร์ในชิคาโกและโตรอนโต ออนทาริโอในแคนาดา โดย แผนลับแหกคุกนรก ใช้เงินต่อตอนที่ 2 ล้านเหรียญสหรัฐสำหรับถ่ายในอิลลินอยส์ ซึ่งมีรายจ่ายรวม 24 ล้านเหรียญในปี 2005[19]
ในฤดูกาลที่ 2 เริ่มถ่ายทำเมื่อวันที่ 15 มิถุนายน ค.ศ. 2006 ในดัลลัส เท็กซัส เนื่องจากเท็กซัสมีความใกล้เคียงสถานที่ในชนบทและในเมือง[22] สถานที่สามารถเดินทางภายใน 30 นาทีในดัลลัส คือที่ลิตเติลเอล์ม, ดีคาเทอร์ และ มิเนอรอลเวลส์[23] สถานที่เหล่านี้ใช้แสดงเป็นเมืองหลาย ๆ แห่งในอเมริกา[24] มีการใช้เงินมากกว่าตามคาดไว้ 50 ล้านเหรียญในดัลลัส[10] ใน 3 ตอนสุดท้ายของฤดูกาลที่ 2 ถ่ายทำที่เพนซาโคลา ฟลอริดา โดยแสดงเป็นฉากในประเทศปานามา[25] แต่ละตอนใช้เวลา 8 วันในการถ่ายทำและใช้เงิน 1.4 ล้านเหรียญสหรัฐในการใช้จ่ายต่อตอนในท้องที่นั้น[26]
ในฤดูกาลที่ 3 ถ่ายทำในเท็กซัส มีงบประมาณ 3 ล้านเหรียญต่อตอน[27] ฉากถ่ายทำข้างนอกหลายฉากที่ลินคอล์นและเกร็ตเชนต่อรองการหลบหนีจากคุกปานามา ถ่ายทำที่ Casco Viejo ในปานามาซิตี
ในฤดูกาลที่ 4 ถ่ายทำในลอสแอนเจลิส แคลิฟอร์เนีย
ดนตรี
[แก้]เพลงธีมประกอบซีรีส์ แผนลับแหกคุกนรก ในแต่ละตอนประพันธ์โดย รามิน ดจาวาดิ เพลงสกอร์ใน 2 ฤดูกาลแรกบรรจุอยู่ในอัลบั้มเพลงประกอบภาพยนตร์ชุด Prison Break: Original Television Soundtrack ออกวางขายเมื่อ 28 สิงหาคม ค.ศ. 2007[28] ดจาวาดิและเฟอร์รี คอร์สเตน โปรดิวซ์เพลงเวอร์ชันรีมิกซ์ของเพลงธีม ที่ชื่อ "Prison Break Theme (Ferry Corsten Breakout Mix)" ตัดออกเป็นซิงเกิล ออกวางขายโดยฟ็อกซ์มิวสิก ในปี 2006
ในยุโรป เพลงของแร็ปเปอร์ ฟาฟ ลาราจ ชื่อเพลง "Pas le temps" ใช้ในสถานีโทรทัศน์ช่อง เอ็ม 6 ในฝรั่งเศสแทนเพลงธีมดั้งเดิม ซึ่งเป็นการสร้างการประชาสัมพันธ์และช่วยทำให้เข้ากับท้องถิ่นอีกด้วย[29] เช่นเดียวกันกับในเยอรมนีและเบลเยียม มีเพลง "Ich glaub' an Dich (Prison Break Anthem)" (โดย Azad and Adel Tawil) และ "Over the Rainbow" (โดย Leki) ตามลำดับ
การตอบรับ
[แก้]ความนิยมและคำวิจารณ์
[แก้]อันดับความนิยมในแต่ละฤดูกาล วัดจากผู้ดูเฉลี่ยต่อตอนโดยการสำรวจของนีลเซ็นมีเดียรีเสิร์ช (Nielsen Media Research) การบันทึกเริ่มจากปลายเดือนกันยายน (เป็นการเริ่มต้นฤดูกาลของรายการโทรทัศน์) และสิ้นสุดปลายเดือนพฤษภาคม
ฤดูกาล | ระยะการออกอากาศ | ช่วงเวลา | อันดับ | ผู้ชม (ล้าน) |
---|---|---|---|---|
1 | 2005–2006 | วันจันทร์ 21.00 น. เวลาฝั่งตะวันออก (20.00 น. เวลาฝั่งตะวันออกกลางฤดู) |
#55 | 12.1[30] |
2 | 2006–2007 | วันจันทร์ 20.00 น. เวลาฝั่งตะวันออก | #51 | 10.1[31] |
3 | 2007–2008 | วันจันทร์ 20.00 น. เวลาฝั่งตะวันออก | #73 | 8.2[32] |
4 | 2008–2009 | วันจันทร์ 21.00 น. เวลาฝั่งตะวันออก | #68 | 6.1[33] |
ช่องฟ็อกซ์ได้โฆษณา แผนลับแหกคุกนรก อย่างครึกโครมโดยออกอากาศครั้งแรกเมื่อวันที่ 29 สิงหาคม ค.ศ. 2005 ซึ่งมียอดผู้ชมประมาณ 10.5 ล้านคน ฟ็อกซ์ไม่ได้ประสบความสำเร็จในช่วงฤดูร้อนวันจันทร์ตั้งแต่ออกฉาย Melrose Place และ Ally McBeal ตั้งแต่กันยายน ค.ศ. 1998 โดยตอนแรกออกฉายความยาว 2 ชั่วโมง 2 ตอน[34] การปฐมทัศน์ครั้งนั้นถือเป็นอันดับ 7 ของรายการที่มีผู้ชมมากที่สุดในสัปดาห์นั้นจากข้อมูลของนีลเซ็นรีเสิร์ช[35] และเป็นอันดับ 1 ของกลุ่มผู้ชม 18-49 และ 18-34 ปี[36] และการเปิดตัวที่ดียังส่งผลให้กับคำวิจารณ์ที่ดี เดอะนิวยอร์กไทมส์ เขียนไว้ว่า "น่าทึ่งกว่าซีรีส์ใหม่ ๆ และมีความสร้างสรรค์มากที่สุดรายการหนึ่ง" และยังชื่นชมความสามารถในการผลิตว่า "เป็นเรื่องเร้าใจที่น่าติดตาม" และ "เป็นของจริง"[37] เอนเตอร์เทนเมนต์วีกลี เขียนไว้ว่า เป็นโชว์ใหม่ที่ดีที่สุดในปี 2005[38] อีกฟากหนึ่ง เดอะวอชิงตันโพสต์ วิจารณ์ว่า "มืดทึม" และ "การแสดงไม่เป็นธรรมชาติ"[39] รายการดึงดูดผู้ชมได้ราว 10 ล้านคนต่อสัปดาห์ และเป็นผู้นำรายการโทรทัศน์ในฤดูใบไม้ร่วงในสหรัฐอเมริกาปี 2005[40] เดิมทีตั้งใจไว้ว่าจะฉาย 13 ตอนแต่ก็ขยายออกไปอีก 9 ตอนเนื่องจากได้รับความนิยมอย่างสูง[17]
ในฤดูกาลที่ 2 แผนลับแหกคุกนรก ตอนปฐมทัศน์มีผู้ชมเฉลี่ย 9.4 ล้านคน[41] โดยกลุ่มผู้ชม วัยรุ่น-ผู้ใหญ่ ลดลง 20 เปอร์เซ็นต์ ในกลุ่มอายุ 18–49 ปีเมื่อเทียบกับฤดูกาลแรก แต่จำนวนผู้ชมจากครัวเรือนเพิ่มขึ้นจาก 3.6% ไปเป็น 3.9% ในช่วงครึ่งชั่วโมงสุดท้าย[42] คำวิจารณ์จาก ยูเอสเอทูเดย์ เขียนไว้ว่า "ความโง่เง่าไร้สาระท่วมมาจากรายการนี้" และประณามผู้เขียนบทว่า "ขี้เกียจอย่างเหลือเชื่อ" ที่ใช้ความต่อเนื่องของรอยสัก ในทุกจุดประสงค์ของเนื้อเรื่อง[43] ในทางตรงกันข้าม ดีทรอยต์ฟรีเพรสส์ เขียนไว้ว่า "เป็นความบันเทิงที่เยี่ยม" เนื่องจาก "ความหลากหลายของตัวละครในคุก" และ "ความฉลาดหลักแหลมในการเล่าเรื่องของผู้สร้าง พอล ที. เชอริง และทีมงาน[44]" ในฤดูกาลที่ 2 มีผู้ชมมากที่สุดในการฉายครั้งแรกกับตอน "Chicago" ที่มีผู้ชม 10.1 ล้านคน[45] แต่ตอนสุดท้ายกลับมียอดผู้ชมต่ำที่สุดของซีรีส์นี้คือที่ 8.01 ล้านคน[46]
ในฤดูกาลที่ 3 ตอนปฐมทัศน์มีผู้ชมเฉลี่ย 7.51 ล้านคน[47] ขณะที่ตอนพิเศษ 2 ชั่วโมงในฤดูกาลที่ 4 มีคนดูน้อยกว่าที่ 6.5 ล้านคน ในกลุ่มผู้ชม 18-49 ปี
การจัดแบ่งประเภท
[แก้]เนื่องจากโครงเรื่องและฉาก กลุ่มผู้ชม แผนลับแหกคุกนรก จึงมีอายุ 18-34 ปี เนื้อหาของรายการที่มีเนื้อหาของผู้ใหญ่ ไม่ว่าจะเป็นความรุนแรง ภาษาหยาบคาย เพศสัมพันธ์และการใช้ยาเสพติด Parents Television Council (PTC) หรือสภาโทรทัศน์ผู้ปกครอง ในประเทศสหรัฐอเมริกา ได้เล็งเห็นว่าในช่วงเวลาที่ แผนลับแหกคุกนรก ออกอากาศ ในเวลา 2 ทุ่ม (ET) ในบางฉากต้องขึ้นคำเตือนกำกับ[48] และได้มีการจัดเรตติ้งที่ TV-14 ทั้งในสหรัฐอเมริกาและแคนาดา
ส่วนการจัดเรตติ้งรายการโทรทัศน์ในประเทศอื่น ในออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ จัดในประเภท M, ในชิลีจัดในประเภท A+18, ในฮ่องกงที่ PG, ในมาเลเซียที่ 18PL,ในเนเธอร์แลนด์ที่ 12, ในแอฟริกาใต้ที่ PG13V, ในสหราชอาณาจักรที่ 15 สำหรับการออกดีวีดี และในไอร์แลนด์ที่เรตติ้ง PS ส่วนในฝรั่งเศส Conseil Supérieur de l'Audiovisuel (CSA) ที่ดูแลอยู่ออกมาบอกว่าบางตอนมีเนื้อหาที่รุนแรงมากเกินไป โดยบางตอนที่มีเนื้อหารุนแรงจะถูกย้ายจากเวลาไพรม์ไทม์ไปหลังจากนั้น แต่เพื่อให้อยู่ในช่วงเวลาเดิม ทางสถานีโทรทัศน์ในฝรั่งเศส ช่อง M6 ได้เซ็นเซอร์ฉากรุนแรงในฤดูกาลที่ 2 และขึ้นคำเตือนทุกครั้งที่ออกฉายตอนในเวลาไพรม์ไทม์
ในกรีซ ฤดูกาลแรกขึ้นว่า "จำเป็นต้องมีผู้ปกครองแนะนำ" ขณะที่ในฤดูกาลที่ 2 ขึ้นว่า "ผู้ปกครองควรแนะนำ"
รางวัล
[แก้]หลังจากความสำเร็จในการออกอากาศใน 13 ตอนแรก แผนลับแหกคุกนรก ได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงรางวัลแรกจาก พีเพิลส์ชอยซ์อวอร์ด สาขารายการใหม่ทางโทรทัศน์ยอดนิยมประเภทดราม่า ผู้ที่ได้รับการเสนอชื่อในสาขาเดียวกันนี้อย่าง Commander in Chief และ Criminal Minds แผนลับแหกคุกนรก ได้รับรางวัลในเดือนมกราคม ค.ศ. 2006 และถือเป็นรางวัลเดียวที่ได้รับของซีรีส์เรื่องนี้ ต่อมาในเดือนเดียวกันก็ได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงรางวัลลูกโลกทองคำครั้งที่ 63 ในสาขา ซีรีส์โทรทัศน์ประเภทดราม่ายอดเยี่ยม และสาขานักแสดงชายซีรีส์โทรทัศน์ประเภทดราม่ายอดเยี่ยม กับการแสดงของเวนท์เวิร์ท มิลเลอร์ นอกจากนี้เขายังได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงสาขานักแสดงยอดเยี่ยมในการแสดงของเขาในฤดูกาลแรกจาก แซทเทิร์นอวอร์ดส 2005 สาขานักแสดงยอดเยี่ยมทางโทรทัศน์ นอกจากนี้ยังได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงสาขารายการซีรีส์ทางโทรทัศน์ยอดเยี่ยม
ทางด้านเทคนิคการทำงานก็ได้รับการเสนอชื่อเข้าชิง เอดดีอวอร์ด 2006 ในสาขารายการซีรีส์ตัดต่อยอดเยี่ยมในรายการโทรทัศน์เพื่อการค้า (มาร์ก เฮล์ฟริชในตอนแรก) และในชิงรางวัลเอมมีไพรม์ไทม์ 2006 ในสาขาเพลงธีม (รามิน ดจาวาดิ) ต่อมาเดือนธันวาคม 2006 โรเบิร์ต เน็ปเปอร์ได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงรางวัลแซทเทลไลต์ 2006 สาขา นักแสดงสมทบชายในซีรีส์ มินิซีรีส์ หรือภาพยนตร์โทรทัศน์ยอดเยี่ยม
การละเมิดลิขสิทธิ์
[แก้]เมื่อวันที่ 24 ตุลาคม ค.ศ. 2006 มีรายงานข่าวว่า โดนัลด์และโรเบิร์ต ฮิวจ์สได้ยื่นฟ้องต่อสถานีฟ็อกซ์และผู้อำนวยการสร้างรายการและผู้สร้าง พอล เชอริง ข้อหาละเมิดลิขสิทธิ์ ที่พวกเขาอ้างว่าในปี 2001 พวกเขาส่งต้นฉบับให้กับทางฟ็อกซ์เกี่ยวกับเนื้อเรื่องที่มาจากประสบการณ์จริงของเขาในการแหกคุกที่ค่ายกักกันเยาวชน โดยในช่วงทศวรรษ 1960 โดนัลด์ ฮิวจ์สวางแผนช่วยพี่ชายโทษประหาร โรเบิร์ต ฮิวจ์ส ที่บริสุทธิ์[49][50]
ซีรีส์ต่อยอด
[แก้]ในเดือนตุลาคม 2007 มีการรายงานว่าจะสร้างตอนแยกออกมาของ แผนลับแหกคุกนรก โดยมีชื่อชั่วคราวว่า "Prison Break: Cherry Hill" ซีรีส์เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นกับแม่บ้านชนชั้นกลางที่ชื่อ มอลลี และเรื่องราวในคุกหญิง[51] ในเดือนกรกฎาคม 2008 มีการพูดว่าความคิดที่จะแนะนำตัวละครหลักของซีรีส์ก่อนที่การต่อยอดจะหยุดไป แต่ก็เกิดแนวคิดซีรีส์ใหม่ที่เกิดขึ้นภายใต้แบรนด์ของ แผนลับแหกคุกนรก คล้ายกับ CSI: Miami และ CSI: New York[52]
การออกฉายและจัดจำหน่าย
[แก้]แผนลับแหกคุกนรก ออกอากาศในหลายประเทศทั่วโลก รวมทั้งได้ให้พากย์เป็นภาษาต่าง ๆ หลายภาษา
ทางโทรทัศน์
[แก้]อเมริกาเหนือ
[แก้]ในแคนาดาออกฉายในเวลาเดียวกับในสหรัฐอเมริกาผ่านเครือข่าวโกลบอลทีวี แผนลับแหกคุกนรก ถือเป็นรายการใหม่ประเภทซีรีส์รายการเดียวที่ติดอยู่ใน 20 อันดับแรกของรายการโทรทัศน์ของปี 2005/2006 ในแคนาดา มีผู้ชมเฉลี่ย 876,000 คนในกลุ่มผู้ชมหลักที่อายุ 18–49 ปี และผู้ชม 1.4 ล้านคนในฤดูกาลแรก[53] และระหว่างฤดูกาลที่ 2 ราการมีผู้ชมสูงสุดในช่วงเวลานั้น ในแคนาดา
โอเชียเนีย
[แก้]จากความสำเร็จในอเมริกาเหนือ แผนลับแหกคุกนรก ออกฉายรอบปฐมทัศน์ในออสเตรเลีย สถานีช่อง 7 เมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2006 มียอดผู้ชมเฉลี่ยในตอนแรกที่ 1.94 ล้านคน และมียอดผู้ชมสูงสุด 2.09 ล้านคน[54] การโฆษณาเสร็จล่าช้าหลังการฉาย 2 อาทิตย์ ก่อนที่จะฉายในเวลา 20.30 น. ในคืนวันพุธ ในฤดูกาลแรกมียอดผู้ชมเฉลี่ย 1.353 ล้านคน[55] ความนิยมในฤดูกาลแรกในนิวซีแลนด์ยังทำให้ได้รับรางวัลพีเพิลส์ชอยส์สาขารายการโทรทัศน์ประเภทดราม่ายอดนิยม[56]
ในฤดูกาลที่ 2 ทางช่อง 7 ในออสเตรเลียได้เร่งรีบในการประชาสัมพันธ์ ออกอากาศตอนแรกเมื่อวันที่ 31 มกราคม ค.ศ. 2007 ที่เวลาใหม่ที่ 21.30 น. ด้วยผู้ชม 1.226 ล้านคน (47% ของทั้งหมด) [57] แต่ด้วยเรตติ้งที่ตกลงในฤดูกาลที่ 2 ทางช่อง 7 ตัดสินใจที่จะรีบออกฉายฤดูกาลที่ 3 ต่อให้ใกล้เคียงกับสหรัฐอเมริกา และก่อนที่จะออกขายดีวีดี หรืออินเทอร์เน็ต[58] แต่อย่างไรก็ตาม ยอดผู้ชมในตอนแรกของฤดูกาลที่ 3 ก็มีผู้ชมเพียง 899,000 คน อยู่อันดับที่ 18 ของยอดผู้ชมทั้งหมดในคืนนั้น[59] และคืนวันพุธก็กลายเป็นจุดอ่อนของช่อง 7 ในสัปดาห์[60] ตอนที่ 9 ถึง 13 ของฤดูกาลที่ 3 มีแผนว่าจะออกอากาศในช่วงครึ่งแรกของปี 2008 แต่งอย่างไรก็ตามเกิดความล่าช้าและออกอากาสในคืนวันพุธเวลา 21.30 น. (หรือ 22.30 น.) ตั้งแต่วันที่ 9 กรกฎาคม ค.ศ. 2008[61] ส่วนการออกฉายซ้ำในออสเตรเลียยังออกฉายในช่องบอกรับสมาชิกทางช่องฟ็อกซ์ 8 และใน 2 ตอนสุดท้ายของฤดูกาลที่ 3 ออกอากาศทางช่อง 7 แบบ 2 ตอนรวดที่เวลา 22.20 น. มียอดผู้ชม 0.444 ล้านคน[62]
ยุโรป
[แก้]ในสหราชอาณาจักร ฤดูกาลแรกและฤดูกาลที่ 2 ออกอากาศทางช่อง 5 ก่อนที่จะเริ่มฤดูกาลที่ 3 ช่องสกายวันได้ขอลิขสิทธิ์ออกอากาศ แผนลับแหกคุกนรก โดยจ่ายเป็นเงิน 500,000 ปอนด์ต่อตอน[63] ในไอร์แลนด์ออกอากาศทางช่อง RTÉ Two ออกอากาศหลังสหรัฐอเมริกา 1 วัน เช่นเดียวกับในสหราชอาณาจักรและสกายวัน ในฝรั่งเศสออกอากาศครั้งแรกเมื่อวันที่ 31 สิงหาคม ค.ศ. 2006 มีผู้ชมเฉลี่ย 5.5 ล้านคน (25.8% ของทั้งหมด) [64] ก่อนการฉายในฤดูกาลที่ 2 ได้มีการประชาสัมพันธ์ทางโทรทัศน์ท้องถิ่นทางช่อง M6 และฟ็อกซ์ โดยทีมนักแสดง เวนท์เวิร์ท มิลเลอร์, โดมินิก เพอร์เซลล์ และผู้สร้าง พอล เชอริง ที่ MIPCOM เมืองคานส์[65] ตอนสุดท้ายในฤดูกาลแรกและตอนแรกในฤดูกาลที่ 2 มีผู้ชม 7.5 ล้านคน (29.0% ของทั้งหมด) เมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน ค.ศ. 2006 มียอดผู้ชมรายการมากที่สุดในปี 2006 ของฝรั่งเศส[66] ในฤดูกาลที่ 2 ออกอากาศครั้งแรกวันที่ 13 กันยายน ค.ศ. 2007 มีผู้ชม 5.3 ล้านคน (21.3% ของทั้งหมด) [67] ในฤดูกาลที่ 3 ออกฉายครั้งแรกวันที่ 29 พฤศจิกายน ค.ศ. 2007
ในโปแลนด์ ซีรีส์ออกฉายตอนแรกเมื่อวันที่ 28 มกราคม ค.ศ. 2007 มีผู้ชม 7 ล้านคน (38% ของทั้งหมด) ซึ่งถือว่ามียอดผู้ชมมากที่สุดในซีรีส์ต่างประเทศที่เคยมีมาในประวัติศาสตร์ โดยมียอดสูงสุดในสัปดาห์ในกลุ่มผู้ชม 16-49 ปี (46% ของทั้งหมด) [68]
ถึงแม้ว่า แผนลับแหกคุกนรก จะมีการประชาสัมพันธ์อย่างมากในเยอรมนีแต่ในตอนแรกมียอดผู้ชมต่ำกว่าที่คาดการณ์ไว้ ในวันที่ 21 มิถุนายน ค.ศ. 2007 มีส่วนแบ่งคนดูเพียง 13.5% ของทั้งหมด ออกฉายทางช่องอาร์ทีแอลในช่วงไพรม์ไทม์ โดยมีผู้ชม 1.32 ล้านคนในกลุ่มคนดุ 14-49 ปี หลังจากนั้นได้เปลี่ยนช่วงเวลามาดึกลง ทำให้มีผู้ชมมากขึ้นเป็น 19.2%[69]
ในกรีซ แผนลับแหกคุกนรก ออกอากาศทางช่อง ANT1 ตอนแรกออกฉายเมื่อวันที่ 2 มกราคม ค.ศ. 2008 กับสองตอนควบกับการตลาดที่ดีด้วยสัดส่วนทางตลาด 23.8% (769,000 คน) แผนลับแหกคุกนรก ประสบความสำเร็จดีกว่ารายการทีวีซีรีส์ที่มีชื่อเสียงรายการอื่นอย่าง Desperate Housewives ที่ไม่ประสบความสำเร็จ โดยออกอากาศทุกวันด้วยสัดส่วนแบ่งประมาณ 20% ต่อตอน ซึ่งไม่ใช่เป็นเรื่องปกติของรายการต่างประเทศในวงการโทรทัศน์ของกรีซ ที่ในช่วงที่ผ่านมาไม่กี่ปีมีรายการซีรีส์ต่างประเทศที่ออกฉาย (อย่างเช่น Friends, Nip/Tuck, Lost และ Yabanci Damat) ในวันที่ 2 ของการออกฉายมียอดสัดส่วนแบ่งถึง 26.1% (870,000 คน) โดยขึ้นเป็นอันดับ 3 ของรายการที่มีผู้ชมมากที่สุดในวันนั้นและอันดับที่ 14 ของสัปดาห์ ในตอนสุดท้ายของฤดูกาลแรกออกฉายเมื่อวันที่ 5 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2008 มียอดผู้ชมใกล้ 900,000 คน[70] ถือเป็นของรายการซีรีส์ต่างประเทศที่มีผู้ชมมากรายการที่ 2 ถัดจาก Yabanci Damat และในฤดูกาลที่ 2 ออกอากาศครั้งแรกเมื่อวันที่ 17 มีนาคม ค.ศ. 2008 ด้วยสัดส่วนแบ่งทางตลาด 20.1%[70]
ในเซอร์เบีย แผนลับแหกคุกนรก ออกฉายในปี ค.ศ. 2006 ทางช่อง RTS1 หลังจากออกอากาศสองฤดูกาลแล้วเมื่อเดือนตุลาคม ค.ศ. 2008 RTS ออกมาประกาศว่าจะกลับมาฉายปลายเดือนมกราคม ค.ศ. 2008 และหลังจากการออกฉายซ้ำแล้วก็ฉายต่อในฤดูกาลที่ 3 และ 4 ซึ่งถือว่า RTS1 เป็นสถานีแรกในยุโรปที่ออกฉายฤดูกาลที่ 4[71]
เอเชีย
[แก้]ในฮ่องกงออกอากาศทางช่องทีวีบีเพิร์ล โดยในฤดูกาลแรกออกฉายเมื่อ 5 กันยายน ค.ศ. 2006 ถึง 21 มกราคม ค.ศ. 2007 ประสบความสำเร็จกับผู้ชมกลุ่มใหญ่ที่เคยมีมาในรายการดราม่าต่างประเทศทำลายสถิติโค่น ดิ เอกซ์-ไฟล์ส โดยตอนแรกออกฉายมีผู้ชมเฉลี่ย 260,000 คนขณะที่ในฤดูกาลแรกมีคนดูเฉลี่ย 470,000 คน (7.3%) และสูงสุดที่ 590,000 (9.1%) [72] และเนื่องจากกระแสตอบรับอันล้นหลามในฮ่องกง ทีวีบีเพิร์ลได้ซื้อลิขสิทธิ์ฤดูกาลที่ 2 และออกอากาศฉายเมื่อวันที่ 6 มีนาคม ค.ศ. 2007 โดยมีผู้ชมเฉลี่ย 270,000 คน ขณะที่มีผู้ชมสูงสุดที่ 310,000 คน โดยทางทีวีบีเพิร์ลหวังไว้ว่าในฤดูกาลที่ 2 จะมีผู้ชมมากกว่าในฤดูกาลแรก[73] แต่อย่างไรก็ตามยอดผู้ชมสูงสุดในฤดูกาลที่ 2 มีเพียง 402,000 คนเท่านั้น และกลุ่มผู้ชมจำนวนมากส่วนใหญ่ชมในฤดูกาลที่ 2 ซึ่งในจีนไม่มีการนำเข้าซีรีส์และจึงดาวน์โหลดฟรี ดูทีวีออนไลน์ และตลาดมืดที่มีขายดีวีดีเถื่อนเหมือนรายการโทรทัศน์อเมริกันรายการอื่น[74]
ในฤดูกาลที่ 1 แผนลับแหกคุกนรก ออกฉายในอินเดียทางช่องสตาร์เวิลด์ในคืนวันอังคาร ฤดูร้อนในปี 2007 ถึงแม้ว่าซีรีส์จะออกฉายในอินเดียและประเทศอื่นในเอเชียในเวลาเดียวกัน สตาร์เวิลด์ก็ไม่ประสบความสำเร็จในการดึงคนดูมาชมเนื่องจากตอนต่าง ๆ ทั้งฤดูกาลที่ 1 และบางตอนในฤดูกาลที่ 2 ถูกปล่อยแชร์ทางอินเทอร์เน็ต อีกเหตุผลหนึ่งในอินเดียที่ไม่ประสบความสำเร็จเพราะในตอนเดียวกันออกฉายซ้ำหลายครั้งยาวนานหลายอาทิตย์
ส่วนในประเทศไทยออกฉายทางช่องยูบีซีซีรีส์ช่อง 21 ออกอากาศตอนแรกวันอาทิตย์ที่ 26 มีนาคม ค.ศ. 2006 ทุกคืนวันอาทิตย์เวลา 4 ทุ่ม[75]
แอฟริกา
[แก้]แผนลับแหกคุกนรก ออกฉายในแอฟริกาใต้ทางช่อง M-Net และ SABC 3 ซึ่งออกฉายทางช่องเคนยาเน็ตเวิร์ค ส่วนในเซเนกัล ออกฉายทางช่อง RDV ในกานาออกฉายทางทีวีแอฟริกา
การออกจำหน่ายดีวีดีและบลูเรย์
[แก้]การออกจำหน่ายดีวีดีและบลูเรย์ ออกขายหลังที่ออกอากาศในแต่ละแห่ง ในสหราชอาณาจักรจะแบ่งออกเป็นครึ่งแรกและครึ่งหลังโดยออกขายในขณะที่กำลังออกฉายอยู่
ดีวีดี | ตอน | จำนวนแผ่น | วันออกจำหน่าย | ||
---|---|---|---|---|---|
โซน 1 | โซน 2 | โซน 4 | |||
ฤดูกาลที่ 1 | 22 | 6 | 8 สิงหาคม ค.ศ. 2006[76] | 18 กันยายน ค.ศ. 2006[77] | 13 กันยายน ค.ศ. 2006[78] |
ฤดูกาลที่ 2 | 22 | 6 | 4 กันยายน ค.ศ. 2007[79] | 20 สิงหาคม ค.ศ. 2007[80] | 17 กันยายน ค.ศ. 2007[81] |
ฤดูกาลที่ 3 | 13 | 4 | 12 สิงหาคม ค.ศ. 2008 | 19 พฤษภาคม ค.ศ. 2008[82] | 3 ธันวาคม ค.ศ. 2008 |
ฤดูกาลที่ 4 | 24 | 6/7 | 2 มิถุนายน ค.ศ. 2009 | 6 กรกฎาคม ค.ศ. 2009[83] | 15 กรกฎาคม ค.ศ. 2009[84] |
ในงานแสดงสินค้าอิเล็กทรอนิกส์สำหรับผู้บริโภค 2006 ทางทเวนตี้ เซนจูรี่ ฟ๊อกซ์ โฮม เอนเตอร์เทนเมนต์ประกาศว่าจะออกวางขาย แผนลับแหกคุกนรก ในรูปแบบบลูเรย์[85] โดยออกมายืนยันวันจำหน่ายว่าวางขายวันที่ 13 พฤศจิกายน ค.ศ. 2007 และถือเป็นรายการโทรทัศน์รายการแรกที่วางจำหน่ายในรูปแบบบลูเรย์ของทางฟ็อกซ์ ซึ่งบลูเรย์ประกอบด้วย 5 แผ่น และมีดีวีดีบ็อกซ์เซ็ตฉบับพิเศษ[86]
ถึงแม้ว่าในฤดูกาลที่ 2 จะยังไม่ออกขายในรูปบลูเรย์ แต่ฉบับบลูเรย์ในฤดูกาลที่ 3 ก็มีการออกจำหน่าย นอกจากนี้ยังมีดีวีดีที่ประกอบด้วยทั้ง 3 ฤดูกาลวางขายเมื่อ 19 พฤษภาคม ของโซน 2
ทางเว็บไซต์
[แก้]นอกจากการออกอากาศทางโทรทัศน์ แผนลับแหกคุกนรก ยังมีออกแพร่ภาพทางอินเทอร์เน็ต จนเกือบจะจบฤดูกาลแรก ตอนต่าง ๆ มีให้ดาวน์โหลดออนไลน์ผ่านไอทูนส์สโตร์ โดยเริ่มเมื่อวันที่ 9 พฤษภาคม ค.ศ. 2006
หลังจากฉายฤดูกาลที่ 2 ทางโทรทัศน์ ฟ็อกซ์ทำการเผยแพร่ออนไลน์ฟรีแบบสตรีมมิง ผ่านเว็บไซต์ 50 เว็บไซต์รวมทั้ง AOL, กูเกิล และยาฮู! รวมทั้งเว็บไซต์ของฟ็อกซ์เอง แต่อย่างไรก็ตามสามารถดูได้เฉพาะในสหรัฐอเมริกาเท่านั้น โดยใน 3 ตอนแรกของฤดูกาลที่ 2 ออกมาแบบฟรี หลังจากการออกอากาศทางโทรทัศน์ 1 สัปดาห์[87] การออกอากาศทางเว็บไซต์ได้เลื่อนออกไปหลังฉายตอนที่ 3 เนื่องจากการออกอากาศถ่ายทอดเมเจอร์ลีกเบสบอลเพลย์ออฟในเดือนตุลาคม
ยุทธวิธีได้พัฒนาโดยนิวส์คอร์โปชัน (บริษัทแม่ของฟ็อกซ์และมายสเปซ) พยายามที่จะรักษากลุ่มคนดู เริ่มตั้งแต่เดือนตุลาคม ทางฟ็อกซ์ได้ปล่อยหลายตอนที่ออกฉายไปแล้วของฤดูกาลที่ 2 ผ่านระบบสตรีมมิง โดยเครือข่ายสังคมออนไลน์อย่าง มายสเปซ และเว็บไซต์อื่นที่สถานีเป็นเจ้าของ และตอนทั้งหมดที่เผยแพร่เป็นแบบไม่เสียค่าใช้จ่าย[88] และยังสามารถชมผ่านทางเว็บฮูลู แต่สามารถชมได้เฉพาะ 5 ตอนล่าสุด
ในสื่ออื่น
[แก้]ยังมีงานสร้างลอกเลียนแบบ แผนลับแหกคุกนรก ในรูปแบบคลิปวิดีโอสั้นทางโทรศัพท์มือถือ และยังมีการออกอย่างเป็นทางการร่วมกันทั้งสิ่งพิมพ์หรือทางอินเทอร์เน็ต และยังมีการพัฒนาวิดีโอเกมอีกด้วย[89]
ยังมีตอนต่อยอดที่มีตัวละครคนละตัวกับ แผนลับแหกคุกนรก อย่าง Prison Break: Proof of Innocence ที่ผลิตออกมาทางโทรศัพท์และออกครั้งแรกให้กับลูกค้าของสปริ้นในเดือนเมษายน 2006 ทางช่อง สปรินต์ทีวี ตอนแรก Prison Break: Proof of Innocence ออกทางอินเทอร์เน็ตเมื่อวันที่ 8 พฤษภาคม ค.ศ. 2006 เป็นสัญญาพิเศษระหว่างโตโยต้ามอเตอร์และนิวส์คอร์โปเรชัน เพื่อให้โตโยต้าเป็นสปอนเซอร์และได้เนื้อหานี้เป็นพิเศษอยู่ที่เดียว และได้รับการประชาสัมพันธ์เพียงแห่งเดียว
ในสื่อสิ่งพิมพ์ ได้ร่วมกับสินค้ารวมไปถึงนิตยสารและหนังสือ นิตยสารอย่างเป็นทางการพิมพ์โดยไททันพับบลิชชิง ออกวางจำหน่ายเมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน ค.ศ. 2006 ภายในมีบทสัมภาษณ์กับตัวละคร ทีมงาน และยังมีเนื้อเรื่องพิเศษเพิ่มเติม ส่วนที่ร่วมกับงานเขียนอย่าง Prison Break: The Classified FBI Files (ISBN 1-4165-3845-3) มีรายละเอียดตัวละครที่เกี่ยวข้องกับเนื้อเรื่องในฤดูกาลที่ 2 เขียนโดยพอล รูดิติส พิมพ์โดยไซมอน แอนด์ ชัสเตอร์ ออกวางขายเมื่อวันที่ 8 พฤษภาคม ค.ศ. 2007[90]
นอกจากนี้ยังมีรายการสดที่เกี่ยวข้องที่ชื่อว่า "Prison Break LIVE!" ผลิตโดยบริษัทเดอะซัดเดนอิมแพกต์เอนเตอร์เทนเมนต์ ที่มีจุดมุ่งหมายให้ผู้ชมนำประสบการณ์ปฏิสัมพันธ์กันกับบรรยากาศที่เกี่ยวกับซีรีส์เรื่องนี้ อีกทั้งยังมีการทัวร์ในสหรัฐอเมริกา ออสเตรเลีย สหราชอาณาจักร และมาเลเซีย ตั้งแต่ปี 2006-2008[91]
บริษัทแบรชเอนเตอร์เทนเมนต์ออกมาประกาศว่าได้พัฒนาวิดีโอเกมที่นำโครงเรื่องมาจาก แผนลับแหกคุกนรก โดยอยู่ในเครื่องเล่นเพลย์สเตชัน 3 และเอกซ์บ็อกซ์ 360 มีแผนวางจำหน่ายในเดือนกุมภาพันธ์ปี 2009[89]
ยังมีตอนสั้น ๆ ที่เกิดในช่วงฤดูกาลที่ 3 ที่มีชื่อว่า "Prison Break: Visitations" ที่มี 6 ตอนสั้น ประกอบด้วยเรื่องราวของ เลเชโร, แซมมี, แม็กกราดี,ที-แบ็ก และ เบลลิก ซึ่งสร้างมาพิเศษสำหรับฟ็อกซ์ และถูกแพร่ไปทั่วเว็บไซต์ต่าง ๆ ซึ่งแทบทั้งหมดพบได้ในยูทูบ และออกฟรีทางไอทูนส์
หมายเหตุ
[แก้]- ↑ ภาพยนตร์โทรทัศน์ออกอากาศครั้งแรกในสหราชอาณาจักร เมื่อวันที่ 27 พฤษภาคม ค.ศ. 2009 ภาพยนตร์วางจำหน่ายในรูปแบบดีวีดีและบลูเรย์ในสหรัฐเมื่อวันที่ 21 กรกฎาคม ค.ศ. 2009
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "2006 Emmy Nominations: Outstanding Original Main Title Theme Music". Academy of Television Arts and Sciences. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ July 10, 2011. สืบค้นเมื่อ February 22, 2011.
- ↑ "Prison Break: Season 1". Metacritic. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ August 25, 2010. สืบค้นเมื่อ December 10, 2008.
- ↑ "Prison Break". Rotten Tomatoes. สืบค้นเมื่อ May 20, 2020.
- ↑ Fernandez, Maria Elena (January 14, 2009). "Fox's Kevin Reilly says it's ready to set 'Prison Break' free". Los Angeles Times. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ April 3, 2009. สืบค้นเมื่อ January 16, 2009.
- ↑ "Prison Break Post-Finale on the Way to Blu-ray". Los Angeles Times. January 14, 2009. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ April 16, 2009. สืบค้นเมื่อ January 16, 2009.
- ↑ Ausiello, Michael (January 11, 2017). "Prison Break, Making History Premiere Dates Announced by Fox". TVLine. สืบค้นเมื่อ January 11, 2017.
- ↑ Abrams, Natalie (January 4, 2018). "Fox developing 'new iteration' of Prison Break". Entertainment Weekly. สืบค้นเมื่อ January 8, 2018.
- ↑ Topel, Fred (August 7, 2019). "Fox Has No Current Plans For More 'Prison Break' or '24' [TCA 2019]". /Film. สืบค้นเมื่อ March 9, 2020.
- ↑ Ramos, Dino-Ray (November 9, 2020). "Wentworth Miller Says He Is Done With 'Prison Break': "I Just Don't Want To Play Straight Characters"". Deadline. สืบค้นเมื่อ November 10, 2020.
- ↑ 10.0 10.1 "Dallas Welcomes Hit Television Series" (Press release). Dallas Film Commission. May 15, 2006. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ July 16, 2011. สืบค้นเมื่อ January 17, 2007.
- ↑ Wyatt, Edward, "In 'Prison Break,' an Actor's Job Is Never Safe", The New York Times, August 20, 2006.
- ↑ 12.0 12.1 12.2 Prison Break DVD News, Season 2 Preview!. TV Guide. August 8, 2006.
- ↑ 13.0 13.1 Goldman, E., "Paley Fest: Prison Break", IGN. March 13, 2007.
- ↑ 14.0 14.1 Australian Associated Press, Prison Break success shocks creator, The Sydney Morning Herald, January 27, 2006.
- ↑ 15.0 15.1 Prison Break Scoop Direct from the 2007 Paley Festival, TheTVAddict.com, March 10, 2007.
- ↑ Prison Break Season 1 DVD commentary - Riots, Drills and the Devil (Part 1)
- ↑ 17.0 17.1 "Breaking Out Is Hard To Do เก็บถาวร 2020-04-09 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน" Entertainment Weekly. August 26, 2005.
- ↑ Daswani, M., Paul Scheuring เก็บถาวร 2006-11-21 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, WorldScreen.com, April 2006.
- ↑ 19.0 19.1 19.2 Ryan, M, "Joliet prison is a 'Break'-out star เก็บถาวร 2005-11-24 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน", The Chicago Tribune. August 24, 2005.
- ↑ "Inside Prison Break: Chain male" Sydney Morning Herald. February 1, 2006.
- ↑ 21.0 21.1 Set Visit: Prison Break เก็บถาวร 2006-05-15 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน IGN. March 17, 2006.
- ↑ Associated Press, "New 'Prison Break' to be filmed in Dallas เก็บถาวร 2007-11-02 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน" MSN. May 15, 2006.
- ↑ "A major production เก็บถาวร 2006-11-01 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน" Mineral Wells Index. September 14, 2006.
- ↑ "Getting out was the easy part: Season 2 of 'Prison Break' เก็บถาวร 2006-08-21 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน" Chicago Tribune. August 18, 2006.
- ↑ Moon, T., "'Prison Break' hits beach เก็บถาวร 2007-09-14 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน", Pensacola News Journal.
- ↑ Sayres, S, "Incentives Would Draw More Film, TV Productions", FOX 4 News. February 12, 2007.
- ↑ Weatherford, Angela, "A little bit of Hollywood เก็บถาวร 2009-09-20 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน", Athens Review, December 13, 2007.
- ↑ Prison Break (Original Television Soundtrack), Amazon.com.
- ↑ "Helping TV Hits Translate Overseas เก็บถาวร 2006-11-14 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน" Time October 17, 2006.
- ↑ "'Prison' Breaks 'til March; 'Reunion' Ending Early". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2005-12-02. สืบค้นเมื่อ 2022-05-18.
- ↑ Broadcast TV Ratings for Monday, February 5, 2007
- ↑ TV Ratings: 2007-2008 Season Top-200
- ↑ "Season Program Rankings (Through 12/7)". American Broadcasting Company (ABC) Medianet. December 9, 2008. สืบค้นเมื่อ December 10, 2008.
- ↑ "'Prison' Breaks Strong for FOX เก็บถาวร 2007-11-17 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน" Zap2it.com. August 30, 2005.
- ↑ The top ten shows of the week according to Nielsen Research IMDb. Archive.
- ↑ "Everyone's watching Post-Katrina coverage". Variety. September 7, 2005.
- ↑ "Jailhouse Heroes Are Hard to Find". The New York Times. August 29, 2005.
- ↑ "Get Caught Up On 'Prison Break' เก็บถาวร 2007-01-02 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน". Entertainment Weekly.
- ↑ "'Prison Break': Sharpen Up Those Spoons". The Washington Post. August 29, 2005.
- ↑ "Prison Break's big debut" The Age. February 2, 2006.
- ↑ "Premieres, finales falter" USA Today. August 29, 2006.
- ↑ "Fox to Stream Prison Break, Vanished" Mediaweek.com. August 22, 2006.
- ↑ "What to watch Monday". USA Today. August 27, 2006.
- ↑ Fox tonight: Great return, so-so debut เก็บถาวร 2007-10-11 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. Detroit Free Press. August 21, 2006.
- ↑ "'NBC, "NBC ratings results for the week of February 5–February 11", The Futon Critic. February 13, 2007.
- ↑ Broadcast TV Ratings for Monday, April 2, 2007, Entertainmentnow.wordpress.com. April 3, 2007.
- ↑ "Weekly Program Rankings (Week of 9/17)," ABC Medianet, September 25, 2007.
- ↑ "Worst TV Show of the Week เก็บถาวร 2016-09-05 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน". Parents Television Council. September 5, 2006.
- ↑ "Fox Accused of Stealing Prison Break E!. October 24, 2006.
- ↑ "Suit Alleges `Prison Break' Idea Stolen เก็บถาวร 2007-11-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน" San Francisco Chronicle. October 24, 2006.
- ↑ FOX Plots a 'Prison Break' Spinoff[ลิงก์เสีย]
- ↑ 'Prison Break' spinoff update
- ↑ Global Television Ratings CNW Telbec. September 18, 2006.
- ↑ "Prison nabs viewers" News.com.au. February 2, 2006.
- ↑ Seven dominates television in 2006 เก็บถาวร 2008-06-12 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน Seven Network. December 4, 2006.
- ↑ Prison Break, TV3.
- ↑ "Heroes and Prison Break Deliver for Seven" World Screen February 2, 2007.
- ↑ Dunn, E., "Cult shows air sooner to curb downloads", The Sydney Morning Herald, June 27, 2007.
- ↑ Seven - Daily Ratings Report เก็บถาวร 2007-10-05 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน Seven Network. September 27, 2007.
- ↑ Triumphs: Funny how ratings work เก็บถาวร 2008-10-07 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน SMH Online. October 26, 2007.
- ↑ Prison Break
- ↑ Knox, David, "Sneak Peek: Heroes, Prison Break" TV Tonight, August 15, 2008.
- ↑ Sweney, Mark, "Sky One snatches Prison Break" The Guardian, June 5, 2007.
- ↑ Prison Break, la série phénomène, crée l'événement sur M6 เก็บถาวร 2006-11-26 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน M6 September 1, 2006.
- ↑ "VOD Rollout for Prison Break in France เก็บถาวร 2008-10-14 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน" World Screen October 10, 2006.
- ↑ 1ère chaîne avec Prison Break เก็บถาวร 2008-06-30 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน M6 November 9, 2006.
- ↑ Audience Prison break : retour gagnant pour M6 Le Blog TV News September 14, 2007.
- ↑ Prison Break on Polsat, WirtualneMedia. January 30, 2007.
- ↑ Meza, E., "'Heroes' heads to Germany", Variety, June 29, 2007.
- ↑ 70.0 70.1 "AGB Nielsen Media Research". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-04-30. สืบค้นเมื่อ 2008-10-13.
- ↑ ""Bekstvo iz zatvora" samo na RTS-u", rts.rs, October 2, 2008.
- ↑ "59萬觀眾睇《逃》結局 創英文收視紀錄", Yahoo! News. January 23, 2007.
- ↑ "《逃2》首播搶走31萬觀眾", Yahoo! News. March 8, 2007.
- ↑ "Prison Break popular in China even though it's illegal",BuddyTV. April 3, 2007.
- ↑ แนะนำซีรี่ชุดใหม่ทาง UBC ประจำเดือนมีนาคม 2549 กระทู้ในพันทิป
- ↑ "Prison Break - Season One (2005)". Amazon.com. สืบค้นเมื่อ 2007-05-25.
- ↑ "Prison Break - Season 1 - Complete (2006)". Amazon.co.uk. สืบค้นเมื่อ 2007-07-12.
- ↑ Prison Break - Complete Season 1 (6 Disc Set) เก็บถาวร 2007-06-01 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, EzyDVD.
- ↑ "Prison Break DVD news: Season 2 delayed again..." TVShowsonDVD.com. 2007-05-18. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-05-20. สืบค้นเมื่อ 2007-05-25.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|date=
(help) - ↑ "Prison Break - Season 2 - Complete (2007)". Amazon.co.uk. สืบค้นเมื่อ 2007-07-12.
- ↑ Prison Break - Complete Season 2 (6 Disc Set) เก็บถาวร 2007-07-05 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, EzyDVD.
- ↑ Prison Break - Complete Season 3 (4 Disk Set), Amazon.co.uk.
- ↑ http://www.play.com/DVD/DVD/4-/9006431/Prison-Break-Season-4/Product.html
- ↑ "PBS04R4". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-10-04. สืบค้นเมื่อ 2010-04-11.
- ↑ "CES 2007: 24, Prison Break Hit Blu-ray เก็บถาวร 2007-01-10 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน". IGN. January 8, 2007.
- ↑ Lambert, David, "Prison Break - Exclusive Info for Season Sets on Blu-ray: Date, Cost, Contents, Specs เก็บถาวร 2016-09-05 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน", TVShowsOnDVD.com, September 5, 2007.
- ↑ "Fox frees Prison Break without ads". C21Media. August 23, 2006.
- ↑ Fox Shows on MySpace During MLB Playoffs เก็บถาวร 2006-03-22 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน The Associated Press. October 4, 2006.
- ↑ 89.0 89.1 Sinclair, Brendan, "Brash plans Prison Break", GameSpot, August 15, 2008.
- ↑ Prison Break: The Classified FBI Files, Simon & Schuster.
- ↑ Prison Break LIVE! เก็บถาวร 2012-03-06 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- เว็บไซต์อย่างเป็นทางการ เก็บถาวร 2006-05-18 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- แผนลับแหกคุกนรก เก็บถาวร 2008-09-24 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน ที่เว็บไซต์ ทีวี.คอม
- แผนลับแหกคุกนรก ที่เว็บไซต์ของช่องฟ็อกซ์
- Prison Break[ลิงก์เสีย] ที่เว็บไซต์ ดูนี่.คอม ได้สิทธิ์ในประเทศไทย
- แผนลับแหกคุกนรก ที่อินเทอร์เน็ตมูวีเดตาเบส