เพชรโฮป
หน้าตา
เพชรโฮปในพิพิธภัณฑ์ธรรมชาติวิทยาสมิธโซเนียน | |
น้ำหนัก | 45.52 กะรัต (9.10 กรัม) |
---|---|
ลักษณะสีของเพชร | น้ำเงินเข้ม |
รูปแบบเหลี่ยมเพชร | Antique cushion |
สถานที่ค้นพบ | อินเดีย |
แหล่งกำเนิด | เหมืองคอลเลอร์ |
วันที่ค้นพบ | ไม่ทราบ รูปแบบปัจจุบันพบบันทึกครั้งแรกในรายการสิ่งของของพ่อค้าอัญมณี แดเนียล เอเลียสัน ใน ค.ศ. 1812 |
ผู้เจียระไน | ไม่ทราบ เจียระไนใหม่จากเพชรน้ำเงินฝรั่งเศส เปลี่ยนรูปทรงเล็กน้อยโดย แฮร์รี วินสตัน ระหว่าง ค.ศ. 1949 และ 1958 |
ผู้ค้นพบ | ไม่ทราบ เจ้าของมีทั้ง ฌอง แบบติสต์ ทาเวิร์นเนียร์ พระเจ้าหลุยส์ที่ 14 แห่งฝรั่งเศส เฮนรี ฟิลิป โฮป |
ผู้ครอบครอง | สถาบันสมิธโซเนียน |
มูลค่าโดยประมาณ | 200-250 ล้านดอลล่าร์สหรัฐ |
เพชรโฮป (อังกฤษ: Hope Diamond) เป็นเพชรขนาดใหญ่ หนัก 45.52 กะรัต (9.10 กรัม)[1][2][3] สีน้ำเงินเข้ม ปัจจุบันเก็บรักษาไว้ในพิพิธภัณฑ์ธรรมชาติวิทยาสมิธโซเนียนในกรุงวอชิงตัน ดี.ซี. เพชรโฮปมองด้วยตาเปล่าเห็นเป็นสีน้ำเงินเพราะมีธาตุโบรอนปริมาณเล็กน้อยอยู่ในโครงสร้างผลึก แต่จะเรืองแสงสีแดงเมื่ออาบแสงอัลตราไวโอเล็ต[4][5] เพชรดังกล่าวจัดเป็นเพชรประเภท 2 บี และดังกระฉ่อนเพราะเล่าว่าเป็นเพชรต้องคำสาป มันมีประวัติศาสตร์บันทึกยาวนานโดยมีช่องว่างอยู่บ้างเมื่อมันได้เปลี่ยนมือหลายครั้งระหว่างทางจากอินเดียไปฝรั่งเศส ไปอังกฤษและสหรัฐอเมริกา เพชรโฮปได้รับการอธิบายว่าเป็น "เพชรที่มีชื่อเสียงที่สุดในโลก"[6] และเป็นงานศิลปะที่มีผู้เข้าชมมากที่สุดเป็นอันดับสองของโลก รองจากภาพโมนาลิซา[7]
คุณสมบัติทางกายภาพ
[แก้]- น้ำหนัก เดือนธันวาคม ค.ศ. 1988 ห้องทดสอบพลอยของสถาบันอัญมณีวิทยาแห่งอเมริกาพิจารณาว่า เพชรนี้หนัก 45.52 กะรัต (9.10 กรัม)[8]
- ขนาดและรูปทรง เพชรนี้ได้รับการเปรียบเทียบขนาดและรูปทรงกับไข่นกพิราบ[7], ครึ่งลูกวอลนัต[9], เกาลัด[10] ที่มี "ทรงลูกแพร์"[10] มิติในแง่ความยาว ความกว้างและความลึกเป็น 25.60 มม. × 21.78 มม. × 12.00 มม. (1 นิ้ว × 7/8 นิ้ว × 15/32 นิ้ว)[8]
- สี ถูกอธิบายว่ามี "สีน้ำเงินออกเทาเข้มเป็นประกาย" (fancy dark greyish-blue)[8], "สีน้ำเงินเข้ม"[10] หรือสี "น้ำเงินออกเทาเงิน" (steely-blue)[11] ตามที่ผู้เชี่ยวชาญเพชรสี สตีเฟน โฮเฟอร์ ชี้ เพชรสีน้ำเงินคล้ายกับโฮปสามารถแสดงโดยการวัดปริมาณสีให้ผลว่าสีเทากว่าไพลินสีน้ำเงิน (คือ มีความอิ่มตัวสีน้อยกว่า)[12] ใน ค.ศ. 1996 ห้องทดสอบพลอยของสถาบันอัญมณีวิทยาแห่งอเมริกาตรวจสอบเพชร และ โดยใช้ระบบการวัดของตน จัดว่ามันเป็น สีน้ำเงินออกเทาเข้มสวยงาม[13] โดยการมองเห็น ตัวดัดแปรสีเทา (มาสก์) นั้นเข้มมาก (สีคราม) เสียจนมันเกิดปรากฏการณ์ "เปื้อนหมึก" (inky) ปรากฏเป็นสีน้ำเงินออกดำในหลอดความร้อน[14] ภาพถ่ายปัจจุบันของเพชรโฮปซึ่งอาศัยแหล่งแสงความเข้มสูงนั้นมีแนวโน้มจะทำให้ความสุกใสของอัญมณีมีมากที่สุด[15]
- ปลดปล่อยแสงเปล่งสีแดง เพชรนี้แสดงประเภทการเปล่งแสงแรงและสีเข้มผิดปกติ หลังอาบแสงอัลตราไวโอเล็ตคลื่นสั้น เพชรจะเรืองแสงสีแดงโชติช่วง (ปรากฏการณ์เปล่งแสงในความมืด) ซึ่งยังคงอยู่ขณะหนึ่งหลังปิดแหล่งแสง และคุณภาพแปลกอันนี้อาจช่วยโหมกระพือ "ชื่อเสียงการต้องสาปของมัน"[7] แสงเปล่งสีแดงนั้นช่วยให้นักวิทยาศาสตร์ "พิมพ์ลายนิ้วมือ" เพชรสีน้ำเงิน ทำให้พวกเขา "แยกแยะของจริงออกจากของทำเลียนแบบ"[2] แสงเปล่งสีแดงนั้นชี้ว่า มีของผสมโบรอนและไนโตรเจนแตกต่างกันอยู่ภายใต้เพชร[2]
- องค์ประกอบทางเคมี ใน ค.ศ. 2010 เพชรถูกนำออกจากชั้นแสดงเพื่อวัดองค์ประกอบทางเคมีอย่างเป็นวิทยาศาสตร์ หลังจากเจาะรูลึกหนึ่งนาโนเมตรแล้ว ผลขั้นต้นพบโบรอน ไฮโดรเจนและอาจมีไนโตรเจน ความเข้มข้นของโบรอนนั้นอยู่ในช่วงตั้งแต่ศูนย์ถึงแปดส่วนในล้านส่วน[16] ตามข้อมูลของภัณฑารักษ์สมิธโซเนียน ดร. เจ็ฟฟรี โพสต์ ธาตุโบรอนอาจเป็นเหตุให้เพชรมีสีน้ำเงินหลังการทดสอบโดยใช้แสดงอินฟราเรดตรวจพบสเปกตรัมเคมีของเพชร[17]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Hevesi, Dennis (2008-04-06). "George Switzer, 92, Dies; Started a Gem Treasury". New York Times. สืบค้นเมื่อ 2008-04-09.
- ↑ 2.0 2.1 2.2 Randolph E. Schmid, Associated Press (January 8, 2008). "Blue diamonds have a red glow about them". USA Today. สืบค้นเมื่อ 2011-07-09.
- ↑ David Beresford and Lee Glendinning (28 August 2007). "Miners unearth world's biggest diamond". The Guardian. สืบค้นเมื่อ 2011-07-09.
- ↑ Schmid, Randolph E. Strangely and uniquely, the diamond glows only after the light has been switched off. The glow can last for anything up to 2 minutes. "UV Light Makes Hope Diamond Glow Red". ABC News. January 7, 2008.
- ↑ Hatelberg, John Nels. "The Hope Diamond phosphoresces a fiery red color when exposed to ultraviolet light เก็บถาวร 2008-12-18 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน". Smithsonian Institution.
- ↑ Glenn Osten Anderson -- Dr. Jeffrey Post (Smithsonian) (2 October 2009). "The Hope Diamond revealed: The Smithsonian Institution in Washington displays the Hope Diamond without a setting for the first time in history". The Guardian. สืบค้นเมื่อ 2011-07-09.
(video)
- ↑ 7.0 7.1 7.2 AFP (20 November 2010). "Storied Hope Diamond gets a new necklace". France 24. สืบค้นเมื่อ 2011-07-09.
- ↑ 8.0 8.1 8.2 "The Hope Diamond". The Smithsonian. 2011-07-11. สืบค้นเมื่อ 2011-07-11.
- ↑ "HOPE DIAMOND AGAIN OFFERED FOR SALE; Price Said to be Only $150,000, Though It Once Was Bought for $400,000. MAY COME TO AMERICA Prospective Buyers Inspect it in London -- Stone Has a Remarkable History". The New York Times. October 30, 1910. สืบค้นเมื่อ 2011-07-09.
- ↑ 10.0 10.1 10.2 "J.R. M'LEAN'S SON BUYS HOPE DIAMOND; $300,000 for Jewel Owned by Louis XVI. and Worn by Marie Antoinette and May Yohe". The New York Times. January 29, 1911. สืบค้นเมื่อ 2011-07-09.
- ↑ Agence France-Presse (November 18, 2008). "U.S. has Sun King's stolen gem, say French experts". Canada.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-11-10. สืบค้นเมื่อ 2011-07-09.
- ↑ Hofer, Stephen, Collecting and Classifying Colored Diamonds, p.414
- ↑ King,et al., "Characterizing Natural-color Type IIb Blue Diamonds เก็บถาวร 2012-07-09 ที่ archive.today", Gems & Gemology, Vol. 34, #01, p.249
- ↑ Wise, Richard W., Secrets Of The Gem Trade, The Connoisseur's Guide To Precious Gemstones, Ch. 38, p.235 ISBN 0972822380
- ↑ Wise, ibid. p.29-30
- ↑ Caputo, Joseph (November 2010). "Testing the Hope Diamond". Smithsonian. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-01-13. สืบค้นเมื่อ 2011-01-15.
- ↑ Associated Press (October 3, 2003). "Hope Diamond still holds allure". USA Today. สืบค้นเมื่อ 2011-07-09.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อที่เกี่ยวข้องกับ เพชรโฮป