เบเนดิกต์แห่งเนอร์เซีย
นักบุญเบเนดิกต์แห่งเนอร์เซีย | |
---|---|
“นักบุญเบเนดิกต์แห่งเนอร์เซีย” โดย โจวันนี เบลลีนี | |
อธิการอาราม | |
เกิด | ราว ค.ศ. 480 เนอร์เซีย ในประเทศอิตาลี |
เสียชีวิต | ราว ค.ศ. 547 มอนเตกัสซีโน ในประเทศอิตาลี |
นิกาย | โรมันคาทอลิก อีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์ |
เป็นนักบุญ | ค.ศ. 1220 โดย สมเด็จพระสันตะปาปาโฮโนริอุสที่ 3 |
วันฉลอง | 11 กรกฎาคม (ตะวันตก) 14 มีนาคม ไบเซ็นไทน์ |
สัญลักษณ์ | กระดิ่ง, ถ้วยแตก, ถ้วยแตกและงู, ถ้วยชามแตก, พุ่มไม้, คทา และอื่นๆ |
องค์อุปถัมภ์ | นักพรตคณะเบเนดิกติน นักเรียน ผู้รับใช้ ผู้ทำถ้วยชามแตก |
นักบุญเบเนดิกต์แห่งเนอร์เซีย (อังกฤษ: Benedict of Nursia; อิตาลี: Benedetto da Norcia) เป็นนักบุญในศาสนาคริสต์ เกิดราว ค.ศ. 480 ที่เมืองเนอร์เซีย ในประเทศอิตาลี และเสียชีวิตเมื่อราว ค.ศ. 547 ที่มอนเตกัสซีโนในประเทศอิตาลีเช่นกัน นักบุญเบเนดิกต์[1]เป็นผู้ก่อตั้งชีวิตอารามวาสีแบบคณะเบเนดิกติน และเป็นผู้เขียนวินัยของนักบุญเบเนดิกต์สำหรับเป็นกฎปฏิบัติของนักบวชในอารามในคณะเบเนดิกติน ซึ่งเป็นกฎที่ตั้งต้นด้วย “พระเยซู ... จะนำเราทั้งหมดด้วยกันไปสู่นิรันด์กาล”[2] เบเนดิกตินได้รับการสถาปนาให้เป็นนักบุญในปี ค.ศ. 1220
นักบุญเบเนดิกต์ก่อตั้งชุมนุมนักพรตถึงสิบสองอาราม อารามที่เป็นที่รู้จักกันดีที่สุดคืออารามมอนเตกัสซีโนบนเนินเขาในทัสเคนีไม่ไกลจากเซียนา แต่ไม่มีหลักฐานสนับสนุนว่านักบุญเบเนดิกต์ตั้งใจจะก่อตั้งคณะนักบวชคาทอลิกขึ้นมาโดยตรง คณะเบเนดิกตินเป็นคำที่มาใช้กันในภายหลังที่ใช้เรียกชุมนุมนักบวชที่ถือวินัยเบเนดิกติน นอกจากนั้นคำว่า “คณะ” (Order) ที่เข้าใจก็หมายความเพียงว่าเป็นชุมนุมของนักบวชที่เป็นอิสระจากชุมนุมชนอื่น[3]
ความสำเร็จสูงสุดของคณะเบเนดิกตินคือ “วินัยนักบวช” ที่เป็นกฎบัตรสำหรับนักบวชที่ได้รับอิทธิพลอย่างมากจากข้อเขียนของนักบุญจอห์น คาสเซียน (John Cassian) และมีความคล้ายคลึงกับ “Rule of the Master” ที่เขียนโดยผู้ไม่ทราบนามในคริสต์ศตวรรษที่ 6 แต่ก็มีลักษณะที่เป็นเอกลักษณ์ในทางสมดุลทางจิตใจ, ความพอประมาณ และความมีเหตุมีผล (επιεικεια, “'epieikeia”) ซึ่งเป็นสิ่งที่เป็นแรงดึงดูดที่ทำให้เกิดการก่อตั้งอารามคณะเบเนดิกตินไปทั่วยุโรปในสมัยกลาง ซึ่งทำให้กฎของคณะเบเนดิกตินเป็นหนึ่งในกฎบัตรของคริสต์ศาสนาในคริสตจักรตะวันตก ฉะนั้นนักบุญเบเนดิกต์จึงได้ชื่อว่าเป็นผู้วางรากฐานของอารามของคริสตจักรตะวันตก
อ้างอิง
[แก้]- ↑ ราชบัณฑิตยสถาน, พจนานุกรมศัพท์ศาสนาสากล อังกฤษ-ไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน, ราชบัณฑิตยสถาน, 2548, หน้า 142
- ↑ RB 72.12
- ↑ Called into existence by Pope Leo XIII's Apostolic Brief "Summum semper", 12 July 1893, see OSB-International website เก็บถาวร 2013-03-06 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน