เดอะคาร์เพนเทอส์
บทความนี้อาจต้องการตรวจสอบต้นฉบับ ในด้านไวยากรณ์ รูปแบบการเขียน การเรียบเรียง คุณภาพ หรือการสะกด คุณสามารถช่วยพัฒนาบทความได้ |
บทความนี้เขียนขึ้นด้วยมุมมองของแฟนคลับ ซึ่งอาจมีเนื้อหามุมมองด้านเดียวหรือไม่เป็นสารานุกรม โปรดช่วยกันแก้ไขเพื่อให้บทความมีคุณภาพดียิ่งขึ้นและเป็นกลาง |
คาร์เพนเทอส์ | |
---|---|
ประธานาธิบดีนิคสันเชิญให้แสดงดนตรีในไวต์เฮาส์ | |
ข้อมูลพื้นฐาน | |
ที่เกิด | ลอสแอนเจลิส รัฐแคลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกา |
แนวเพลง | ป็อป, ซอฟท์ร็อก, เพลงร่วมสมัย |
ช่วงปี | 1969-1983 |
ค่ายเพลง | A&M |
สมาชิก | แคเรน คาร์เพนเทอร์ หัวหน้าวง ริชาร์ด คาร์เพนเทอร์ รองหัวหน้าวง |
คาร์เพนเทอส์ (อังกฤษ: Carpenters) เป็นวงดนตรีสัญชาติอเมริกันซึ่งประกอบด้วยสมาชิกที่เป็นพี่น้องกัน คือ แคเรน คาร์เพนเทอร์ และ ริชาร์ด คาร์เพนเทอร์ เป็นวงดนตรีที่ได้รับความนิยมในยุค 70 แม้ว่าในช่วงยุคทศวรรษที่ 70 จะมีกระแสงความนิยมเพลงร็อก แต่ริชาร์ดและแคเรน ก็ทำเพลงในรูปแบบที่แตกต่าง ด้วยคุณภาพของน้ำเสียงที่เป็นหนึ่งในยุค 70s ของแคเรน และการเรียบเรียงเสียงประสานอันสุดยอดของริชาร์ด ทำให้บทเพลงพวกเขายังคงได้รับความนิยมมาจนถึงทุกวันนี้และสามารถทำยอดขายมากที่สุดตลอดกาล[1][2]
ประวัติ
[แก้]จุดเริ่มต้น
[แก้]ริชาร์ด คาร์เพนเทอร์ ([Richard Carpenter]) เกิดวันที่ 15 ตุลาคม 1946 ที่เมือง New Heaven Connecticut ส่วนแคเรน คาร์เพนเทอร์ ([Karen Carpenter]) ผู้เป็นน้องสาว เกิดวันที่ 2 มีนาคม 1950 ที่เมือง New Heaven Connecticut เช่นกัน ครอบครัวประกอบไปด้วย Harold Carpenter ผู้เป็นพ่อ และ Agnes Carpenter ผู้เป็นแม่ เป็นครอบครัวคนชั้นกลางในสหรัฐ ตั้งแต่สมัยเด็ก ริชาร์ดชอบที่จะขลุกอยู่กับห้องเก็บแผ่นเสียงของพ่อซึ่งเป็นคนที่ชอบสะสมแผ่นเสียงต่าง ๆ โดยริชาร์ดจะชอบฝึกเล่นเปียโนมากกว่าออกไปเล่นฟุตบอลเหมือนเด็กคนอื่น แต่เขาก็มีพรสวรรค์ทางดนตรีให้เห็นตั้งอายุยังน้อย ซึ่งเป็นที่ชื่นชมของ Agnes ผู้เป็นแม่เป็นอย่างมาก ว่าลูกชายเป็นคนเก่งและมีความเป็นอัจฉริยะทางดนตรี ถึงแม้ว่าแคเรนจะมีพรสวรรค์ แต่ขณะนั้นยังไม่มีใครมองเห็น เมื่อริชาร์ดเริ่มเรียนในสาขาดนตรี เขาสนใจในการแต่งและเรียบเรียงเสียงประสาน ในขณะที่แคเรนผู้เป็นน้องสาวจะมีลักษณะเป็นทอมบอยที่ชอบออกไปเล่นกีฬากลางแจ้ง เธอมักจะตามริชาร์ดเสมอ เพราะริชาร์ดคือคนที่เธอเชื่อและเป็นเหมือนไอดอลของเธอ เมื่อริชาร์ดเริ่มเล่นดนตรีจึงเป็นแรงผลักดันให้เธอเล่นดนตรีด้วย โดยในปี 1965 แคเรนฝึกเล่นกลองชุดเพื่อให้สามารถร่วมวงกับพี่ชายได้ นอกจากนี้เธอยังสามารถเล่นเบสได้ จากการสอนของ Gary Sims ซึ่งเป็นสมาชิกคนหนึ่งในวง และยังเป็นเพื่อนชายของเธอ ณ ตอนนั้นด้วย
ปี 1965-1968: Richard Carpenter Trio - Spectrum
[แก้]เริ่มก่อตั้งวงครั้งแรกในปี ค.ศ.1965 โดยมีสมาชิก 3 คน คือ ริชาร์ด, แคเรน และ เวส จาคอปส์ ซึ่งเป็นเพื่อนของริชาร์ด ชื่อว่า "วงริชาร์ด คาร์เพนเทอร์ ทริโอ" เล่นเพลงแจ๊ส (ริชาร์ด: เปียโน, แคเรน: กลอง และ เวส จาคอปส์: เบสและทูบา) ในปี 1966 โจ ออสบอร์น ผู้ซึ่งเป็นเจ้าของค่ายเพลง Magic Lamp Records ที่เป็นค่ายเพลงเล็ก ๆ (สำนักงานดัดแปลงจากโรงรถ) สนใจในน้ำเสียงของแคเรน จึงได้รับเป็นศิลปินในสังกัด และได้ออกซิงเกิลชื่อ Looking For Love ประมาณ 500 แผ่นเท่านั้น แต่ไม่ประสบความสำเร็จเนื่องจากขาดการโปรโมตของค่าย ในกลางปี 1966 วงริชาร์ดคาร์เพนเทอร์ทริโอได้เข้าแข่งขันรายการ Hollywood Bowl Battle of the Bands และชนะเลิศในรายการดังกล่าว ทำให้พวกเขาได้รับความสนใจและเซ็นสัญญาเข้าสังกัด RCA Records พวกเขาได้บันทึกเสียงหลายเพลงด้วยกัน แต่เนื่องจากรูปแบบที่ทำออกมาไม่ได้เป็นไปตามกระแสนิยมของตลาดช่วงนั้น ซึ่งเพลงร็อกแอนด์โรลยังเป็นที่นิยมอย่างมาก ทำให้พวกเขาถูกระงับการออกอัลบั้ม ในปี 1967 ริชาร์ดได้ตั้งวงขึ้นมาใหม่ในชื่อ Spectrum และยุบวงในปี 1968
ปี 1969-1970: Offering - Close To You
[แก้]แต่อย่างไรก็ดี ริชาร์ดได้ตัดสินใจทำงานดนตรีทั้งหมดด้วยตัวเองขึ้นมา ในชื่อ "คาร์เพนเทอร์ส" (ตั้งชื่อไม่ให้มี "เดอะ" นำหน้า เนื่องจากไม่ต้องการให้เหมือนชื่อวงดนตรีอื่น ๆ ที่ได้รับความนิยมขณะนั้น โดยพวกเขา (ริชาร์ดและแคเรน) ทำงานกันเองทั้งหมด ทั้งการแต่งเนื้อร้อง ทำนอง เรียบเรียงดนตรี บรรเลง ร้องนำ และ ร้องประสาน ด้วยความที่ริชาร์ดเชื่อมั่นในน้ำเสียงของแคเรน ว่าสามารถเป็นนักร้องนำได้ เขาได้ส่งเทปเดโมไปยังค่ายเพลงต่าง ๆ จนในที่สุด Herb Alpert เจ้าของค่าย A&M Records ได้สะดุดกับการเรียบเรียงดนตรีของริชาร์ด และน้ำเสียงของแคเรน โดยเฉพาะอย่างยิ่งน้ำเสียงของแคเรนประทับใจ Herb Alpert เป็นอย่างมาก ทำให้ Herb Alpert ตกลงใจที่จะรับให้พวกเขาเข้ามาเป็นศิลปินในสังกัดในต้นปี 1969 และในปลายปีนั้นเองก็ได้ออกอัลบั้มแรกในนามของวงคาร์เพนเทอร์ส Offering (เปลี่ยนชื่อและปกเป็น Ticket To Ride ตามซิงเกิลแรกที่ได้รับความนิยมในปี 1970) เป็นอัลบั้มแรกของพวกเขา โดยมีเพลง Ticket To Ride ซึ่ง cover มาจาก The Beatles ปล่อยมาเป็นซิงเกิลแรก โดยได้นำมาเรียบเรียงดนตรีใหม่ทั้งหมด จากเพลงเร็วกลายเป็นบัลลาดช้า ๆ ที่ไม่เหมือนของเดิมเลย Ticket To Ride ติดชาร์ทอันดับที่ 54 ของสหรัฐ อัลบั้มดังกล่าวมียอดขายที่ไม่มากนัก (ภายหลังมีการออกจำหน่ายใหม่โดยมีการเปลี่ยนปกและชื่ออัลบั้มเป็น "Ticket To Ride" แทน) แต่อย่างไรก็ดี Herb Alpert ก็ไม่ได้ให้เขาออกจากสังกัด แต่ยังให้โอกาสกับพวกเขาออกอัลบั้มที่ 2 อีกด้วย
ในขณะเดียวกันนั้น Burt Bacharach ซึ่งเป็นนักแต่งเพลงมือฉมัง ที่แต่งเพลงฮิตให้กับ Dionne Warwick มากมายหลายเพลง ได้ยินเพลง Ticket To Ride ในเวอร์ชันของคาร์เพนเทอร์สและสนใจพรสวรรค์ในการเรียบเรียงเสียงประสานของพวกเขา จึงได้ติดต่อกับ Herb ว่า เขาต้องการให้วงคาร์เพนเทอร์สซึ่งเป็นศิลปินในสังกัดได้ร่วมเปิดการแสดงให้เขาในงานคอนเสิร์ตการกุศล โดยให้พวกเขาเล่นเพลงที่แต่งโดย Burt Bacharach และ Hal David ซึ่งทาง Herb ก็ยินดีและได้ให้ชีทเพลงของ Bacharach และ David กับริชาร์ดหลายเพลงเพื่อนำมาเรียบเรียงใหม่เพื่อใช้แสดงในงานงานคอนเสิร์ตการกุศลดังกล่าว Herb ได้ถามริชาร์ดว่ารู้จักเพลง (They Long To Be) Close To You หรือไม่ เพราะจะให้นำมาใช้เล่นเป็นเมดเล่ย์ในคอนเสิร์ตด้วย แต่ริชาร์ดเองก็ไม่คุ้นเคยกับเพลงดังกล่าวอย่างใด เนื่องจากเพลงนี้ไม่ได้เป็นเพลงที่ฮิตของ Bacharach และ David แต่หลังจากที่ริชาร์ดได้นำชีทเพลงนี้ไป เขากลับมาบอกกับ Herb ว่าเปลี่ยนใจที่จะนำใช้แสดงในคอนเสิร์ต แต่จะนำมาทำเป็นเพลงของคาร์เพนเทอร์สเอง โดยหลังจากความพยายามของการเรียบเรียงและการปรับแก้ของ Herb ถึงสามครั้ง สุดท้ายสำเร็จอย่างที่ทุกคนต้องการ (They Long To Be) Close To You ถูกปล่อยเป็นซิงเกิลที่ 2 ของพวกเขา เพียงไม่กี่อาทิตย์ก็ขึ้นสู่อันดับที่ 1 บนชาร์ทซิงเกิล 100 อันดับของสหรัฐ และครองอันดับ 1 ได้นานถึง 4 สัปดาห์ เป็นแผ่นเสียงทองคำแผ่นแรกของพวกเขา และสามารถขึ้นชาร์ทอันดับที่ 6 ในอังกฤษได้ ทำให้พวกเขากลายเป็นศิลปินหน้าใหม่ที่ได้รับการความนิยมอย่างมาก อัลบั้ม Close To You กลายเป็นอัลบั้มขายดีขึ้นชาร์ทอันดับที่ 2 ของสหรัฐ และตามมาด้วยซิงเกิลที่ 3 We've Only Just Begun จากอัลบั้มนั้นเอง ก็ได้รับความนิยมมากไม่ต่างจาก (They Long To Be) Close To You โดยขึ้นสู่อันดับที่ 2 บนชาร์ทซิงเกิล 100 อันดับของสหรัฐได้นานถึง 4 สัปดาห์ และเป็นแผ่นเสียงทองคำแผ่นที่สองของพวกเขาในปีเดียวกัน อัลบั้ม Close To You สามารถขึ้นอันดับ 2 ในสหรัฐ และ 23 ในอังกฤษ โดยมียอดจำหน่ายมากกว่า 1 ล้านแผ่น (ณ ขณะนั้น) และเพลง (They Long To Be) Close To You ก็ทำให้พวกเขาได้รับรางวัล Grammy ถึง 2 รางวัลในปี 1970 คือ Best New Artist (ศิลปินหน้าใหม่ยอดเยี่ยม) และ Best Contemporary Vocal Performance by a Duo, Group or Chorus (ปัจจุบันทั้ง (They Long To Be) Close To You และ We've Only Just Begun ถูกบรรจุไว้ใน Grammy Hall of Fame awards) ซึ่งตำนานของวงคาร์เพนเทอร์สได้เริ่มต้นขึ้น ณ จุดนั้นเอง
นอกจากนี้ยังมีเพลงหลายเพลงในชุด Close To You ที่ได้รับเช่น Reason To Believe (ริชาร์ดชอบเพลงนี้เป็นพิเศษและคิดจะตัดเพลงนี้เป็นซิงเกิลถัดไปด้วย), Maybe It's You (เป็นเพลงจากช่วงยุคก่อนวงคาร์เพนเทอส์ และกลายเป็นเพลงไฮไลทของชุดทีเดียว), Mr. Guder (เป็นเพลงที่ริชาร์และ John แต่งเพื่อร้องล้อเลียนนาย Guder ซึ่งเป็นหัวหน้างานของพวกเขาขณะที่พวกเขาทำงานพิเศษร้องเพลงในดิสนีแลนด์ แต่เนื่องจากไปร้องเพลงของ Beatle ตามคำขอของนักท่องเที่ยวซึ่งไม่ได้รับอนุญาตให้ร้องในดิสนี่แลนด์ทำให้พวกเขาถูกไล่ออก!!! เพลงนี้ได้รับความนิยมจากคนดูคอนเสิร์ตมาก), Love Is Surrender และ Help (ในครั้งแรกเพลงนี้ถูกวางแผนให้ตัดเป็นซิงเกิลแรกของชุด แต่หลังจากที่ Herb ได้ยินเพลง (They Long To Be) Close To You แล้วจึงเปลี่ยนความคิดทันที) [3][4]
ปี 1971: Carpenters
[แก้]ปลายปี 1970 พวกเขาได้ปล่อยซิงเกิลใหม่ตามมาคือ Merry Christmas, Darling ปรากฏว่าได้รับความนิยมเป็นอย่างมากในช่วงเทศกาลคริสต์มาส โดยเพลงนี้ขึ้นอันดับหนึ่งในคริสต์มาส ชาร์ทในปี 1970 และ 1971 หลังจากความสำเร็จอย่างท้วมท้นของซิงเกิล (They Long To Be) Close To You และ We've Only Just Begun ทำให้พวกเขาค่อนข้างเครียดกันมากว่าเพลงอะไรจะเป็นซิงเกิลต่อไปของพวกเขา เป็นปัญหาที่ริชาร์ดแก้ไม่ตกที่เดียว จนกระทั่งคืนที่พวกเขาไปแสดงเปิดคอนเสิร์ตให้กับ Engelbert Humperdinck ขณะช่วงเวลาพักผู้จัดการส่วนตัวของพวกเขาได้แนะนำให้พวกเขาไปผ่อนคลายด้วยการดูภาพยนตร์เรื่อง Lovers and Other Strangers เมื่อริชาร์ดได้ฟังเพลงประกอบภาพยนตร์นั่นเองทำให้เขาพบกับทางออกของปัญหา นั่นคือเพลง For All We Know ในเรื่องสะดุดหูริชาร์ดเป็นอย่างมากเขาคิดว่าเพลงนี้ไม่ใช่แค่เหมาะกับเสียงร้องของแคเรนเท่านั้นแต่ยังเหมาะกับสไตล์ของวงอีกด้วย ทั้งคู่จดจำท่วงทำนองและนำกลับมาเรียบเรียงเสียงประสานใหม่ในแนวของคาร์เพนเทอส์ ซึ่งก็แน่นอนหลังจากเพลงนี้ถูกปล่อยเป็นซิงเกิลก็เริ่มไต่สู่ชาร์ท For All We Know กลายเป็นเพลงฮิตเพลงที่ 3 ของพวกเขา ขึ้นชาร์ทอันดับที่ 3 ในสหรัฐ และเป็นแผ่นเสียงทองคำแผ่นที่สาม ด้วยความดังของเพลงนี้ในเวอร์ชันคาร์เพนเทอส์ ทำให้เวอร์ชันเพลงประกอบภาพยนตร์ได้รับอิทธิพลไปด้วย ทำให้เพลงนี้ชนะรางวัลออสกาสาขา Academy Award for Best Original Song ในปี 1971 จากนั้นก็ได้เวลาของอัลบั้มชุดที่ 3 ของพวกเขา "Carpenters" อัลบั๊มนี้นอกจากจะมีเพลง For All We Know แล้ว ยังมีซิงเกิลฮิตอีก 2 เพลงตามมาคือ Rainy Days And Mondays และ Superstar ซึ่งทั้ง 2 เพลงก็เป็นเพลงฮิตที่ได้รับความนิยมสูงมาก ขึ้นอันดับ 2 ในสหรัฐ และเป็นแผ่นเสียงทองคำแผ่นที่สี่และห้าของพวกเขาอีกด้วย
สำหรับอัลบั๊ม Carpenters เป็นอัลบั๊มแรกที่พวกเขาเริ่มใช้โลโก้ "Carpenters" ที่คุ้นตาไว้บนหน้าปกอย่างเป็นทางการอีกด้วย อัลบั๊ม Carpenters ขึ้นสู่อันดับที่ 2 บนชาร์ทอัลบั๊ม 100 อันดับของสหรัฐ ทำยอดขายได้เกินล้านแผ่น และได้รับรางวัล Grammy "Best Pop Vocal Performance by a Duo or Group" ในปี 1971 อีกด้วย ซึ่งนอกจาก 3 ซิงเกิลดังแล้ว ยังมีอีกหลาย ๆ เพลงที่เป็นที่นิยมของแฟนเพลงเช่น Let Me Be The One, (A Place To) Hideaway และ One Love เพลง Let Me Be The One เป็นเพลงหนึ่งที่ริชาร์ดรู้สึกชื่นชอบเป็นพิเศษและคิดว่าถ้าหากตัดเป็นซิงเกิล เพลงคงจะเป็นหนึ่งในเพลงดังของวงอย่างแน่นอน (Let Me Be The One ถูกตัดเป็นแผ่นซิงเกิลในปี 1991 เพื่อโปรโมตอัลบั้มชุด "From The Top") เพลง (A Place To) Hideaway เป็นเพลงที่แฟนเพลงคาร์เพนเทอส์หลายคนโหวตว่าเป็นเพลงที่ดีที่สุดของวงเพลงหนึ่งเลยทีเดียว [5][6]
ปี 1972: A Song For You
[แก้]ด้วยการที่พวกเขามีอัลบั้มฮิตต่อเนื่อง 2 ชุด (Close To You และ Carpenters) รวมกับ 5 ซิงเกิลแผ่นเสียงทองคำ ทำให้สถานภาพและอนาคตของวงราบรื่นทีเดียว ซิงเกิลถัดไปเริ่มด้วย Hurting Each Other ซึ่ง cover จากวง Ruby and the Romantics ออกจำหน่ายปลายปี 1971 เป็นการเปิดตัวอัลบั๊มที่ 4 ของพวกเขา A Song For You โดยออกจำหน่ายก่อนอัลบั๊มนานถึง 9 เดือน Hurting Each Other กลายเป็นเพลงฮิตเพลงถัดไปของพวกเขา โดยขึ้นอันดับ 2 ในสหรัฐ และเป็นแผ่นเสียงทองคำแผ่นที่หก ตามมาด้วย It's Going To Take Some Time ซึ่ง cover งานของ Carole King และนับเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่ซิงเกิล Ticket To Ride ที่ซิงเกิลของพวกเขาไต่ไม่ถึง 3 อันดับแรกของชาร์ท It's Going To Take Some Time ขึ้นอันดับ 12 ในสหรัฐ และตามด้วยซิงเกิลลำดับที่ 3 Goodbye To Love ซึ่งเป็นเพลงที่ริชาร์ดและเพื่อนสนิทของเขา John Bettis แต่งขึ้น เป็นเพลงแรกที่ริชาร์ด โดยให้ Tony Peluso หนึ่งในสมาชิกหลักของวงซึ่งริชาร์ดพึ่งชวนเข้ามาร่วมงานในวง โซโลกีตาร์ในช่วงกลางและท้ายเพลง ด้วยการโซโลกีตาร์ที่ดุเดือด โดยเฉพาะท่อนโซโลท้ายเพลงที่นานกว่า 2 นาที ทำให้เพลง Goodbye To Love ออกมาเหมือนเป็นเพลงร็อกมากกว่าเพลงในสไตล์ที่วงเคยทำออกมา ทำให้พวกเขาได้รับจดหมายต่อว่าจากเพลงเป็นจำนวนมากว่าพวกเขาดังแล้วเปลี่ยนสไตล์ ไม่รักษารูปแบบเดิมอย่างที่ควรเป็น แต่อย่างไรก็ดี Goodbye To Love ก็กลายเป็นเพลงฮิต ขึ้นอันดับ 7 ในสหรัฐ และ 9 ในอังกฤษ และได้รับการกล่าวขานว่าเป็นเพลงป๊อปที่มีการโซโลกีตาร์ที่ดีที่สุดเพลงหนึ่งด้วย และการโซโลกีตาร์ของ Tony Peluso ก็กลายเป็นสัญลักษณ์อย่างหนึ่งของวงไปด้วย
อัลบั๊ม A Song For You ขึ้นอันดับ 4 ของชาร์ทสหรัฐ และมียอดจำหน่ายเกินล้านชุด นอกจากนี้ยังมีเพลงฮิตอื่น ๆ ในชุดรวมอยู่ด้วยเช่น Bless The Beasts And Children ซึ่งเป็นเพลง ost จากภาพยนตร์ในชื่อเดียวกัน โดยเพลงนี้เปิดตัวครั้งแรกในด้านบี (side B) ของ Superstar โดยสามารถขึ้นอันดับที่ 67 ในสหรัฐ และยังได้มีโอกาสเข้าชิงรางวัลออสการ์สาขาเพลงประกอบด้วยเช่นเดียวกันกับ For All We Know แต่ไม่ได้รางวัล A Song For You เป็นเพลงแรกของแผ่นโดยแฟนเพลงส่วนใหญ่จะรู้จักเพลงนี้ดีอยู่แล้ว เป็นงานโคฟเวอร์ที่แฟนเพลงส่วนใหญ่คิดว่าเพลงนี้น่าจะถูกตัดเป็นซิงเกิลด้วยเช่นกัน, Crytal Lullaby, I Won't Last A Day Without You และ Top Of The World (สองเพลงหลังตัดเป็นซิงเกิลในช่วงเวลาต่อมา) [7][8]
ปี 1973: Now And Then และ The Singles 1969-1973
[แก้]จากการที่พวกเขาประสบความสำเร็จต่อเนื่องอย่างสุด ๆ ทำให้ตั้งแต่ปลายปี 1970 จนถึง 1972 พวกเขาแถบไม่มีเวลาสำหรับการเขียนหรือหาเพลงที่จะมาทำในอัลบั้มใหม่เลย ทั้งจากการทัวร์คอนเสิร์ตตลอดทั้งปี การแสดง รายการโทรทัศน์ มาถึงปี 1973 งานเก่าในสมัยที่เป็นวง Specturm ถูกนำมาใช้กับอัลบั้มชุด Ticket To Ride, Close To You, Carpenters และ A Song For You จนหมด แต่จากการแสดงสดในปี 1972 พวกเขาได้เลือกเอาเพลงดังในยุคปี 1960s มาแสดงด้วยและก็ได้รับการตอบรับอย่างสูง ริชาร์ดเองก็ได้คอนเซ็ปจากเหตุการณ์ดังกล่าวมาใช้ในการนำเสนออัลบั้มถัดไปนั่นคือแบ่งเพลงในอัลบั้มถัดไปเป็น 2 ส่วน ส่วนหน้าแรกจะเป็นเพลงใหม่ตามปกติ ส่วนหน้าหลังจะเป็นเมดเล่ย์เพลงดังในยุค 1960s โดยได้คอนเซ็ปนั้นมาเป็นเพลง Yesterday Once More ซึ่งบรรยายถึงความรู้สีกดี ๆ ที่มีต่อเพลงรักเก่า ๆ ที่เคยร้องคลอตาม เมื่อกลับมาได้ยินอีกครั้ง อัลบั้มที่ห้านี้ใช้ชื่อว่า Now And Then ตามที่ Agnes มารดาของพวกเขาได้ตั้งให้ โดยมีเพลง Sing เป็นซิงเกิลเปิดตัว Sing เป็นเพลงจากรายการเด็ก Sesame Street ทำให้สต๊าฟส่วนใหญ่ใน A&M ว่าพวกเขาที่บ้าไปแล้วที่ตัดเพลงนี้เป็นซิงเกิล แต่อย่างไรก็ดีหลังจาก Sing ออกจำหน่ายก็ได้รัยความนิยมอย่างมากทันที โดยขึ้นชาร์ทอันดับ 3 ในสหรัฐ และเป็นแผ่นเสียงทองคำแผ่นที่เจ็ดของพวกเขา และตามมาด้วย Yesterday Once More ซึ่งแต่งโดยริชาร์ดและ John Bettis กลายเป็นเพลงที่ดังที่สุดของพวกเขา ณ ขณะนั้น โดย โดยขึ้นชาร์ทอันดับ 2 ในสหรัฐและ 2 อังกฤษ และเป็นแผ่นเสียงทองคำแผ่นที่แปด เพลงนี้ได้รับความนิยมในหลายประเทศทั่วโลกโดยเฉพาะอย่างยิ่งในญี่ปุ่น เพลงนี้กลายเป็นเพลงที่มียอดจำหน่ายสูงสุดตลอดกาลเพลงหนึ่งในญี่ปุ่นทีเดียว นอกจากนี้อัลบั้ม Now And Then ยังมี highlight ที่เมดเล่ย์ oldies ในหน้าที่ 2 ที่รวมเอาเพลงดัง ๆ จากยุค 60s มา cover รวมกัน โดยทำให้เหมือนกับการฟังวิทยุที่มีดีเจดำเนินรายการ (Tony Peluso) คอยเปิดและแนะนำเพลงและมีคนเข้ามาร่วมทายปัญหาในรายการด้วยโดยมีเพลง Yesterday Once More เป็นเพลงนำเข้าและปิดเมดเล่ย์ อัลบั้ม Now And Then ประสบความสำเร็จขึ้นสู่อันดับ 2 ทั้งในสหรัฐและอังกฤษ มียอดจำหน่ายเกินกว่าล้านแผ่น และประสบความสำเร็จอย่างมากในญี่ปุ่น ซึ่งทำให้วงคาร์เพนเทอส์เป็นที่นิยมสูงสุดในญี่ปุ่นอีกด้วย นอกจากสองเพลงดังแล้วยังมีเพลงฮิต (ที่ไม่ได้ถูดตัดเป็นซิงเกิลด้วย) ได้แก่ Jambalaya (On The Bayou) และ This Masquerade ซึ่งทั้งสองเพลงกลายเป็นเพลงฮิตที่แฟนเพลงทุกคนต้องรู้จัก
ซิงเกิลถัดไปพวกเขาเลือกที่จะเผยแพร่คือเพลง Top Of The World ซึ่งเป็นเพลงจากอัลบั้ม A Song For You ในปี 1972 ซึ่งก็ได้รับการค้านจากสต๊าฟส่วนใหญ่ใน A&M อีกเช่นกันเนื่องจากเป็นเพลงจากอัลบั้มเก่าเมื่อปีที่แล้ว และนอกจากนี้เพลงที่ตัดเป็นซิงเกิลจากอัลบั้ม A Song For You ก็มีมากแล้ว (Hurting Each Other, It's Going To Take Some Time และ Goodbye To Love รวมถึง Bless The Beasts And Children ที่เป็น B-side ของซิงเกิล Superstar ด้วย) แต่ด้วยเหตุผลหลาย ๆ อย่างที่เกี่ยวกับเพลง Top Of The World ทำให้ริชาร์ดเชื่อว่าเพลงนี้มีศักยภาพที่จะกลายเป็นเพลงดังเพลงต่อไปของพวกเขา เช่นการได้รับการตอบรับเหมือนเป็นเพลงฮิตเมื่อพวกเขาเล่นในคอนเสิร์ต Lynn Anderson นักร้องเพลงคันทรี cover เพลงนี้และสามารถไต่ขึ้นอันดับ 2 ของคันทรีชาร์ทได้, สถานีวิทยุต่าง ๆ ขึ้นชาร์ทเพลงนี้จากการขอเพลงทางวิทยุเพียงอย่างเดียว มีการตัดเพลงนี้ออกเป็นซิงเกิลในญี่ปุ่นและมียอดจำหน่ายในระดับแผ่นเสียงทองคำ รวมถึงแฟนเพลงต่างก็เรียกร้องให้ริชาร์ทตัดเพลงนี้ออกมาเป็นซิงเกิล อย่างไรก็ดีริชาร์ดเองรู้สีกไม่พอใจกับ steel กีตาร์ในเวอร์ชันเดิม รวมทั้งตัวแคเรนก็ยังไม่พอใจกับการร้องของตัวเอง จึงได้บันทึกเสียงเพลงนี้ใหม่ (เฉพาะเสียงร้องนำของแคเรน และ steel guitar เท่านั้น) ผลปรากฏว่าเพลง Top Of The World ขึ้นชาร์ทอันดับที่ 1 ในสหรัฐ และ 5 ในอังกฤษ และเป็นแผ่นเสียงทองคำแผ่นที่เก้า ด้วยความโด่งดังของเพลง Top Of The World ทำให้ A&M ต้องออกอัลบั้มรวมเพลงฮิต The Singles 1969-1973 รวมผลงานซิงเกิลจากปี 1969 จนถึงเพลงล่าสุด แคเรนเองไม่พอใจกับการร้องของตัวเองในอัลบั้ม Ticket To Ride มาก โดยเธอได้บันทึกเสียงร้องและกลองใหม่ (แคเรนเล่นตำแหน่งกลองด้วยในการบันทึกเสียงชุด Ticket To Ride) ส่วนริชาร์ดเองได้ให้ Tony Peluso บันทึกเสียงกีตาร์เพิ่มเติมลงในเพลง Ticket To Ride ด้วย ซึ่งก็กลายมาเป็นเวอร์ชันที่คุ้นหูที่สุด (ในอัลบั้มรวมฮิตทั้งหมดจะเป็นเวอร์ชันนี้) อัลบั้ม The Singles 1969-1973 มียอดจำหน่ายถล่มทลาย สามารถขึ้นอันดับ 1 ได้ทั้งในประเทศอังกฤษและสหรัฐ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในอังกฤษอัลบั้มนี้สามารถครองอันดับ 1 ได้นานถึง 17 สัปดาห์ กลายเป็นอัลบั้มที่มียอดจำหน่ายสูงที่สุดอัลบั้มหนึ่งในยุค 70s ทีเดียว[9][10]
ปี 1974: Live In Japan
[แก้]หลังจากที่ Top Of The World ประสบความสำเร็จอย่างท่วมท้นแล้ว ทีมงาน A&M ได้ปล่อยเพลง Jambalaya (On The Bayou) จากอัลบั้ม Now And Then ซึ่ง cover งานเพลงเก่าของราชาเพลงคันทรี Hang William ออกเป็นซิงเกิลจำหน่ายในหลายประเทศยกเว้นที่สหรัฐ (ซึ่งริชาร์ดอาจจะไม่ได้คิดถึงในจุดนี้) ซึ่งก็ได้รับการตอบรับเกินคาดเพราะสามารถขึ้นอันดับที่ 12 ได้ในอังกฤษ รวมถึงมียอดจำหน่ายในระดับแผ่นเสียงทองคำในประเทศญี่ปุ่นและฮอลแลนด์ด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในฮอลแลนด์เพลง Jambalaya (On The Bayou) กลายเป็นซิงเกิลที่ขายดีที่สุดของคาร์เพนเทอส์ทีเดียว หลังจากออกอัลบั้ม Now And Then แล้วพวกเขาแทบไม่มีวัตถุดิบในการทำงานชุดใหม่เหลือเลย อีกทั้งยังเหนื่อยมากจากการทัวร์คอนเสิร์ตที่เพิ่มมากขึ้นทุกปี ด้วยเหตุนี้ในปี 1974 นี้ พวกเขาจึงยังไม่มีอัลบั้มใหม่ออกมา แต่มีซิงเกิลใหม่ตามออกมานั่นคือ I Won't Last A Day Without You เพลงจากอัลบั้ม A Song For You ในปี 1972 ด้วยเหตุผลที่คล้ายกันกับ Top Of The World ทำให้เพลงนี้เป็นเพลงที่ 6 ที่ถูกตัดเป็นซิงเกิลจากอัลบั้ม A Song For You (นับรวม Bless The Beasts And Children) I Won't Last A Day Without You ประสบความสำเร็จอย่างดี เมื่อขึ้นชาร์ทอันดับที่ 11 ในสหรัฐ และ 32 ในอังกฤษ (เพลงนี้ขึ้นชาร์ทอันดับที่ 9 ในอังกฤษพร้อมกันกับ Goodbye To Love ในปี 1972 มาแล้วครั้งหนึ่ง) นอกจากนี้เพลงนี้ยังชนะรางวัล "World Disc Grand Prix" ในสาขาซิงเกิลแห่งปี 1974 ในประเทศญี่ปุ่นด้วย ซึ่ง ณ ขณะนี้ความนิยมของวงคาร์เพนเทอส์ในญี่ปุ่นพุ่งสูงขึ้นมากในระดับที่เทียบเท่ากับวง The Beattle ซึ่งในปีนั้นเองพวกเขาได้มีกำหนดการที่จะออกทัวร์คอนเสิร์ตตามประเทศต่าง ๆ ซึ่งแน่นอนหนึ่งในนั้นคือประเทศญี่ปุ่น ซึ่งก็ได้รับการตอบรับอย่างล้นหลาม ทำให้ทีมงาน A&M ประจำญี่ปุ่นนำการแสดงสดดังกล่าวมาทำและจัดจำหน่ายเป็นอัลบั้มคู่ Live In Japan ซึ่งก็ได้รับความนิยมและจำหน่ายได้ในระดับแผ่นเสียงทองคำเช่นกัน
ในปลายปี 1974 พวกเขากลับเขาสตูดิโออีกครั้งพร้อมกับบันทึกเสียงซิงเกิลใหม่ Please Mr. Postman เพลง cover จากกลุ่มนักร้องสาวผิวสี Marvelettes โดยได้เรียบเรียงเสียใหม่ให้มีความกระชับกว่าเดิม ผลปรากฏว่า Please Mr. Postman ขึ้นชาร์ทอันดับ 1 ในสหรัฐเป็นเพลงที่ 3 และยังขึ้นชาร์ทอันดับที่ 2 ในอังกฤษ และในอีกหลาย ๆ ประเทศ เพลงนี้ได้รับแผ่นเสียงทองคำในสหรัฐเป็นเพลงที่ 10 ของพวกเขา ริชาร์ดได้กล่าวว่า "เขาเคยคิดว่าเพลง Yesterday Once More เป็นเพลงที่ได้รับความนิยมที่สุดของพวกเขา แต่ตอนนี้ Please Mr. Postman คือเพลงที่โด่งดังที่สุดของพวกเขา" หลังจากนี้พวกเขายังปล่อยเพลง Santa Claus Is Comin' To Town ซึ่งเป็นเพลงคริสต์มาสต์เพลงที่ 2 ของพวกเขาเป็นซิงเกิลถัดมา แม้จะไม่ได้รับความนิยมมากเท่า Merry Christmas, Darling แต่เพลงนี้ก็ยังขึ้นอันดับ 35 ในฝั่งอังกฤษ ในช่วงเวลาดังกล่าวนี้เอง เป็นช่วงที่แคแรนเริ่มอาการของแอนนอริเซีย เนฟโวซา (Anorexia nervosa) ซึ่งเป็นโรคกลุ่มอาการผิดปกติในเรื่องการกินอาหาร [11][12]
ปี 1975: Horizon
[แก้]หลังจาก Please Mr. Postman ประสบความสำเร็จโด่งดังไปทั่วโลกแล้ว ซิงเกิลถัดมา Only Yesterday ซึ่งเป็นผลงานการประพันธ์ของริชาร์ดร่วมกับคู่หู John Bettis เช่นเคย เพลงนี้ขึ้นอันดับ 4 ในสหรัฐ และ 7 ในอังกฤษ และโด่งดังในหลาย ๆ ประเทศ (โดยเพลงนี้ทำให้ริชาร์ดต้องเสียเงินค่าพนันจำนวน 1,000 เหรียญให้กับนักวิศวกรเสียง ด้วยเหตุว่าเขาคิดว่าเพลงนี้ไม่น่าจะดัง) และตามมาด้วยอัลบั้มที่ 6 ของพวกเขา Horizon แต่ช่วงกลางยุค 70s บรรยากาศแนวดนตรีเริ่มเปลี่ยนไป รวมถึงมีนักร้องคลื่นลูกใหม่ออกมาก เช่น ดิ อีเกิ้ล ทำให้ความนิยมของวงคาร์เพ็นเตอร์สในสหรัฐเริ่มลดลง โดยเห็นได้จากชาร์ตอัลบั้มที่ขึ้นไปที่อันดับ 13 แต่ความดังของพวกเขากับเพิ่มขึ้นในหลาย ๆ ประเทศ เช่น อังกฤษและญึ่ปุ่น ที่ Horizon สามารถขึ้นอันดับ 1 ได้ ซิงเกิลที่ 3 ที่ตัดออกมา Solitaire ขึ้นอันดับ 17 ในสหรัฐ และ 32 ในอังกฤษ
อย่างไรก็ดี อัลบั้มดังกล่าวก็ยังมียอดจำหน่ายที่ดีในระดับแพลตินั่มในสหรัฐ (เกินล้านแผ่น) อีกทั้งแฟนเพลงและนักวิจารณ์ชื่นชมกับอัลบั้มชุดนี้มากเกี่ยวกับน้ำเสียงและเทคนิคที่แคเรนร้อง (แคเรนใช้คีย์เสียงในระดับฐานของเสียง ซึ่งริชาร์ดบอกไว้ว่าเป็นคีย์เสียงที่ดีและไพเราะที่สุดของแคเรน) ทั้งบทเพลงและดนตรีที่ลงตัว รวมถึงการมิกซ์เสียง แต่อาจเนื่องจากเพลงส่วนใหญ่ในอัลบั้มชุดนี้จะเป็นบัลลาดหนัก ๆ เสียส่วนใหญ่ ทำให้ในยุคนั้นคนยังนิยมเพลงแนวบุพพาชนเสียส่วนใหญ่ และนอกจากนี้ด้วยคอนเซ็ปของชุดนี้ที่เริ่มจากเพลง Arora และปิดท้ายด้วย Eventide ซึ่งทั้ง 2 เพลงมีทำนองและดนตรีเหมือนกันต่างเพียงเนื้อร้องและด้วยความที่มีความยาวของเพลงสั้นประมาณ 1:33 นาที ทำให้ทั้ง 2 เพลงเหมือนเป็น jingle ที่ทำหน้าที่เปิดและปิดอัลบั้มเท่านั้น ทำให้คนฟังมีความรู้สึกเหมือนว่าชุดนี้มีเพลงเพียงแค่ 8 เพลง แทนที่จะมี 10 เพลงเป็นอย่างน้อยเหมือนชุดอื่น ๆ
ส่วนเพลงอื่น ๆ ที่เป็นที่นิยมของแฟนเพลง เช่น (I'm Caught Between) Goodbye And I Love You, Happy (เป็นเพลงที่มีจังหวะเร็วกว่าเพลงอื่นในชุด ทำให้ริชาร์ดคิดว่าถ้าตัดสินใจใหม่ได้จะเลือกเพลงนี้เป็นซิงเกิลแทน Solitaire) เพลง Love Me For What I Am และเพลง Desperado (งานโคฟเวอร์ของดิ อีเกิ้ล ซึ่งครั้งแรกที่ริชาร์ดได้ยินเพลงนี้หลังการมิกซ์เสร็จก็ตัดสินใจที่จะเลือกเป็นซิงเกิลถัดไปเช่นกัน แต่เนื่องจากมีศิลปินมากมายนำไปโคฟเวอร์แล้ว ความคิดดังกล่าวจึงถูกยกเลิกไป) [13][14]
ปี 1976: A Kind Of Hush
[แก้]ในปี 1976 ริชาร์ดค่อนข้างกังวลกับปัญหาในเรื่องของความนิยมต่อวงคาร์เพนเทอส์ในสหรัฐที่กำลังลดลง ดังนั้นเขาจึงค่อนข้างที่จะตั้งความหวังกับอัลบั้มถัดไปอย่างมาก โดยได้ปล่อยเพลง There's A Kind Of Hush ซึ่งเป็นการโคฟเวอร์งานเก่าของวง Herman's Hermits ออกมาเป็นซิงเกิลแรก ซึ่งก็ขึ้นชาร์ท 12 ในสหรัฐ และ 22 ในอังกฤษ และตามมาด้วยเพลง I Need To Be In Love ซิงเกิลที่สองอันเป็นผลงานการประพันธ์ของริชาร์ดร่วมกับคู่หู ซึ่งตัวริชาร์ดเองค่อนข้างตั้งความหวังไว้กับเพลงนี้สูงมาก เนื่องจากเป็นเพลงที่เขาตั้งใจแต่งและเพลงนี้ยังเป็นเพลงที่แคเรนชอบมากที่สุดที่เธอได้ร้องไว้ แต่ผลจากความนิยมที่ลดลง ทำให้เพลงดังกล่าวขึ้นชาร์ทได้เพียงอันดับที่ 25 ในสหรัฐ และ 36 ในอังกฤษ (อย่างไรก็ดีเพลงนี้ถูกนำมาตัดเป็นซิงเกิลใหม่ในปี 1995 ในญี่ปุ่น สามารถขึ้นสู่ชาร์ดได้ในอันดับที่ 5 และมียอดจำหน่ายกว่า 4 ล้านแผ่น ซึ่งสูงสุดในยอดจำหน่ายของปีนั้นที่เดียว สร้างปรากฏการณ์ที่หน้าประหลาดใจให้กับริชาร์ดเป็นอย่างมาก) และตามมาด้วยซิงเกิลที่ 3 Goofus ซึ่งสร้างความประหลาดใจให้กับแฟนเพลงทั่วโลกในการเลือกเพลงนี้มาเป็นซิงเกิล โดยชาร์ทที่ตามมาก็ไม่น่าประหลาดใจ อยู่ในอันดับที่ 56 ในสหรัฐ ทำให้อัลบั้มที่ 7 ของพวกเขา A Kind Of Hush ขึ้นอันดับที่ 33 ในสหรัฐ แต่ยังสามารถรักษาความนิยมในอังกฤษได้อันดับที่ 3 อย่างไรก็ดี A Kind Of Hush ยังมียอดจำหน่ายที่ดีในระดับแผ่นเสียงทองคำในสหรัฐอยู่ เพลงที่ได้รับความนิยมเพลงอื่น ๆ ได้แก่เพลง You เป็นงานโคฟเวอร์เช่นกัน แต่ได้รับการยอมรับว่าเป็นเพลงที่ดีที่สุดเพลงหนึ่งของวงด้วย ด้วยเสียงร้องที่โด่ดเด่นไพเราะของแคเรน เพลงนี้ได้รับความนิยมมากในประเทศญี่ปุ่น โดยมีแฟนเพลงจำนวนมากคิดว่าเพลงนี้น่าจะออกเป็นซิงเกิล แต่ไม่ทราบว่าด้วยเหตุผลใดที่ทำให้เพลงนี้ไม่ได้ถูกทำเป็นซิงเกิลแต่เลือกเพลง Breaking Up Is Hard To Do เป็นซิงเกิลที่ 3 สำหรับญี่ปุ่นแทน (สร้างความผิดหวังให้กับแฟนเพลงหลายคนทีเดียว ใครทราบสาเหตุรบกวนเล่าให้ฟังด้วยครับ) เพลง Sandy เป็นเพลงโปรดเพลงหนึ่งของริชาร์ด เขาแต่งเพื่อบรรยายถึงแซนดี้ ซึ่งเป็นช่างทำผมและดูแลเครื่องแต่งกาย ให้กับแคเรนและเขาก็เคยมีเดทกันนิดหน่อย (ซึ่งสุดท้ายก็ต้องเลิกกันไปสาเหตุเพราะแคเรนและแอกเนส) เพลง Can't Smile Without You เป็นเพลงที่อยู่แผนการตัดเป็นซิงเกิลเช่นกัน โดยมีการทำออกมาเวอร์ชันในปี 1978 และในปีเดียวกันนั้น Berry Manillow ได้โคฟเวอร์เพลงนี้จนทำให้กลายเป็นเพลงดังที่คนรู้จัก และเพลง I Have You
ขณะเดียวกันในช่วงเวลานี้เองวงคาร์เพนเทอส์มีงานทัวร์คอนเซิร์ททั่วโลกทั้งอังกฤษและญี่ปุ่นแทบเต็มตาราง ทำให้อาการป่วยของแคเรนจากโรคแอนนอริเซีย เนฟโวซา เริ่มแสดงอาการให้เห็นจากการที่เธอเป็นลมล้มลงกลางเวทีหลังจากร้องเพลง Top Of The World จนสุดท้ายต้องยกเลิกการแสดงทัวร์ที่ญี่ปุ่นไป ขณะเดียวกันริชาร์ดก็เริ่มมีอาการเสพติดการใช้ยานอนหลับด้วย [15][16]
ปี 1977: Passage
[แก้]เนื่องจากปัญหาความนิยมของวงที่ลดลงในสหรัฐ ทั้งยอดจำหน่ายอัลบั้มและชาร์ทซิงเกิล ประกอบกับช่วงเวลานั้นเป็นยุคทองของเพลงดิสโก้ ส่งผลให้เกิดความกดดันที่มหาศาลกับ ริชาร์ด คาร์เพนเทอร์ ซึ่งทำหน้าที่เกือบทุกอย่างในการผลิตอัลบั้มของวงในตลอดเวลาที่ผ่านมา ทำให้อัลบั้มใหม่นี้เขาไม่ต้องการให้ความนิยมของวงตกต่ำลงโดยไม่มีการจัดการหรือแก้ไขปัญหาอะไร นั่นจึงเป็นที่มาของอัลบั้ม Passage ซึ่งเขาลดบทบาทของเขาลงหลายอย่างและทดลองเพลงหลากหลายแนวทาง ในอัลบัมชุดนี้โดยที่พยายามรักษาความเป็นเอกลักษณ์ของวงคาร์เพนเทอส์เอาไว้โดยไม่ให้อิงไปกับกระแสดิสโก้ เช่น การใช้วงซิมโฟนี่และการประสานเสียงเต็มวง ในเพลง Don't Cry For Me Argentina และ Calling Occupants Of Interplanetary Craft รวมถึงเป็นอัลบั้มแรกที่ไม่มีเพลงที่เขาและคู่หูแต่งอยู่เลย โดยเพลงในชุดนี้จะมีความหลากหลายของแนวเพลงมากที่สุด โดยที่มีเพลง All You Get From Love Is A Love Song เป็นซิงเกิลแรกของอัลบั๊ม ซึ่งขึ้นชาร์ทได้ 35 ในสหรัฐ และตามมาด้วยเพลง Calling Occupants Of Interplanetary Craft ซึ่งเป็นซิงเกิลที่แปลกที่สุดและยาวที่สุดของวง เป็นซิงเกิลที่ 2 ของอัลบั๊ม ซึ่งสามารถขึ้นชาร์ทที่ 32 ในสหรัฐ สามารถขึ้นชาร์ทที่ 9 ได้ในอังกฤษและออสเตรเลีย ซึ่งสร้างความประหลาดใจให้กับพวกเขาเป็นอย่างมาก ถัดมาเป็นเพลงคริสต์มาส The Christmas Song (Chestnut Roasting On An Open Fire) (ไม่ได้บรรจุในชุด Passage) และตามด้วยเพลง Sweet, Sweet Smile ในต้นปี 1978 ซึ่งขึ้นอันดับ 44 ในสหรัฐและ 40 ในอังกฤษ และเป็นครั้งแรกที่เพลงของวงสามารถขึ้นชาร์ทเพลงคันทรีได้ (อันดับที่ 9) นอกจากนี้ในอัลบั้ม Passage ยังมีเพลงที่น่าสนใจอีกเพลงคือ I Just Fall In Love Again ซึ่งจริง ๆ แล้วริชาร์ดต้องการจะตัดเพลงนี้เป็นซิงเกิลถัดไปมากกว่า แต่เนี่องจากช่วงเวลาดังกล่าวดีเจที่เปิดแผ่นจะไม่เปิดเพลงที่มีความยาวเกินกว่า 4 นาที คือเพลง I Just Fall In Love Again ซึ่งมีความยาว 4:04 ทำให้เพลงนี้ถูกลืมไป แต่อย่างไรก็ดีในปี 1978 แอน เมอร์เรย์ ได้โคฟเวอร์เพลงดังกล่าวและสามารถขึ้นชาร์ทลำดับที่ 12 ในสหรัฐได้ ต่อมาริชาร์ดทราบว่าเขาตัดสินใจเกี่ยวกับเพลงนี้ผิดไป
อย่างไรก็ตาม ถึงแม้ว่าอัลบั้มชุดนี้จะมีความพยายามที่จะทำให้เกิดความแปลกใหม่อย่างมากมาย แต่ผลตอบรับโดยรวมไม่ได้รับความนิยมดั่งเช่นอัลบั้มในอดีต โดยอัลบั้ม Passage ขึ้นอันดับที่ 49 ในสหรัฐและอันดับที่ 12 ในอังกฤษ และเป็นครั้งแรกที่ยอดจำหน่ายของอัลบั้มต่ำกว่าระดับแผ่นเสียงทองคำ (ตั้งแต่เพลง Close To You จนถึงเพลง A Kind Of Hush ทุกชุดมียอดจำหน่ายเกินทั้งหมด) [17][18]
ปี 1978: Christmas Portrait
[แก้]ในปี 1978 พวกเขาเตรียมทำอัลบั้มคริสต์มาสโดยมีการทำรายการทีวีออกมาก่อน ซึ่งได้รับการตอบรับเป็นอย่างดี และตามมาด้วยอัลบั้มเต็ม Christmas Portrait ซึ่งในชุดนี้มีเพลง Merry Christmas, Darling ที่ได้ตัดเป็นซิงเกิลออกมาตั้งแต่ปี 1970 บรรจุอยู่ (ขับร้องใหม่โดยแคเรนในปี 1978) อัลบั้มชุดนี้ขึ้นอันดับที่ 145 ในสหรัฐ โดยมียอดจำหน่ายมากกว่า หนึ่งล้านแผ่นเลยทีเดียว ในยุคนั้นโดยปกติแล้วมีศิลปินไม่กี่คนเท่านั้นที่ทำอัลบั้มคริสต์มาสแล้วจะได้รับการตอบรับและประสบความสำหรับ ซึ่งอัลบั้ม Christmas Portrait เป็นหนึ่งในอัลบั้มดังกล่าวที่ปัจจุบันยังคงเป็นที่นิยมเปิดกันในเทศกาลคริสต์มาสจนถึงทุกวันนี้ เพลงอื่น ๆ ที่เป็นไฮไลทของชุดนี้ได้แก่ เพลง Ave Maria, White Christmas, Silent Night, Have Yourself A Merry Little Christmas และ Christmas Waltz
ปลายปี 1978 พวกเขาได้บันทึกเสียงเพลงใหม่ ๆ สำหรับเตรียมออกอัลบั้มใหม่ และได้ออกซิงเกิลเพลงใหม่หนึ่งเพลงคือ I Believe You ซึ่งขึ้นอันดับที่ 68 ในสหรัฐ นอกจากนี้ยังออกอัลบั้มรวมเพลงฮิตชุดที่ 2 ชื่อ "The Singles 1974-1978" ซึ่งออกจำหน่ายเฉพาะในอังกฤษ และสามารถขึ้นชาร์ทได้ในอันดับที่ 2 (ขณะนั้นความนิยมของวงในสหรัฐลดลงจึงไม่ได้ออกจำหน่าย) [19][20]
ปี 1979-1980: อัลบั้มเดี่ยวของแคเรน (Karen Carpenter)
[แก้]ในช่วงต้นปี 1979 สุขภาพของทั้งคู่ย่ำแย่ลง ทั้งอาการติดยานอนหลับอย่างรุนแรงของริชาร์ด และอาการแอนนอริเซีย เนฟโวซา ของแคเรนก็พัฒนาอาการไปอย่างต่อเนื่อง (ซึ่งจะเห็นได้จากสื่อต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นภาพจากหนังสือพิมพ์ วิดีโอ ทีวี) จนริชาร์ดตัดสินใจว่าเขาจะหยุดพักงานเพื่อบำบัดอาการติดยานอนหลับของเขาให้หายดีก่อน รวมถึงอาการป่วยของแคเรนด้วย แล้วจึงค่อยกลับเข้าห้องบันทึกเสียงใหม่ โดยที่แคเรนเองก็ต้องเข้ารับการบำบัดที่โรงพยาบาลในเมืองนิวยอร์ก ซึ่งตัวแคเรนไม่ค่อยเห็นด้วยกับพี่ชายนักในเรื่องการพักการออกอัลบั้มใหม่ ทำให้เธอตัดสินใจทำงานเดี่ยวไปด้วยในช่วงที่เธอพักรักษาตัว โดยได้ฟิล รามอน มาเป็นโปรดิวเซอร์ อัลบั้มดังกล่าวส่วนใหญ่เป็นงานเพลงที่แต่งเองจากนักดนตรีที่ร่วมงานในขณะนั้น ทำให้เพลงส่วนใหญ่มีปัญหาเรื่องคุณภาพ อีกทั้งฟิล รามอน เองก็อยากให้เสียงร้องของแคเรนในงานเดี่ยวมีความแตกต่างจากที่เป็นแคเรนในนามของวงคาร์เพนเทอส์ ดังนั้นเมื่ออัลบั้มเสร็จออกมาจึงมีความแตกต่างจากงานที่เคยทำร่วมกับพี่ชายมาก ไม่ว่าจะเป็นดนตรี การเรียบเรียง เนื้อเพลง รวมถึงวิธีการร้องของแคเรนด้วย (ชุดนี้มีกลิ่นไอของดิสโก้อยู่มาก ซึ่งริชาร์ดได้เคยพูดห้ามในเรื่องนี้เอาไว้) ผลคือทำให้เมื่อนำเดโมที่เสร็จแล้วไปให้ริชาร์ดและผู้บริหารบริษัทเอแอนด์เอ็มฟัง ก็ไม่เป็นที่ประทับใจเท่าไหร่ ทำให้เธอตัดสินใจที่จะระงับการจำหน่ายอัลบั้มเดี่ยวดังกล่าวของเธอ (ซึ่งสร้างความสะเทือนใจกับแคเรนเป็นอย่างมาก) การทำอัลบั้มดังกล่าวยังใช้เงินส่วนตัวของแคเรนไปถึง 400,000 เหรียญสหรัฐด้วย
อัลบั้มดังกล่าวเสร็จสิ้นในปี 1980 แต่ถึงแม้ว่าแคเรนจะเสียชีวิตแล้วในปี 1983 ไปแล้วก็ตามแต่อัลบั้มดังกล่าวก็ยังไม่ได้รับอนุญาตให้ออกจำหน่าย แม้ว่าแฟนเพลงจำนวนมาก (ที่ทราบว่าอัลบั้มดังกล่าวมีอยู่จริง ๆ) ได้เขียนจดหมายถึงริชาร์ดว่าต้องการให้ออกจำหน่าย ซึ่งสุดท้ายแล้วอัลบั้ม Karen Carpenter ก็ได้ฤกษ์ออกจำหน่ายในปี 1996 ซึ่งหลาย ๆ เพลงในอัลบั้มชุด Karen Carpenter ก็มิได้แย่จนถึงขั้นที่จะต้องถูกระงับการจำหน่ายเลย ในอัลบั้มนี้มีซิงเกิลหนึ่งเพลงคือเพลง If I Had You (ริชาร์ดได้ให้ความคิดเห็นว่าเป็นเพลงที่ดีที่สุดในชุด แต่โดยความเห็นส่วนตัวของผู้เขียนรู้สึกชอบ My Body Keeps Changing My Mind และ Making Love In The Afternoon มากกว่า) อย่างไรก็ดีริชาร์ดได้นำเอาเพลง 4 เพลงจากงานเดี่ยวดังกล่าวมาบรรจุไว้ในอัลบั้ม Loveliness (1989) ของวงคาร์เพนเทอส์ด้วย (Loveliness, If We Try, Remember When Loving' Took All Night และ If I Had You)
ในกลางปี 1980 แคเรนได้พบรักและแต่งงานกับนักธุรกิจ โทมมัส เบอริส โดยงานจัดที่ Crystal Room of the Beverly Hills Hotel และมีเพลงที่แต่งสำหรับงานดังกล่าว Because We Are in Love (The Wedding Song) ซึ่งบรรจุอยู่ในอัลบั้ม Made In America [21][22]
ปี 1981: Made In America
[แก้]หลังจากการบำบัดอาการติดยานอนหลับของริชาร์ดจนหายดี และการเสร็จสิ้นการรักษาอาการแอนนอริเซีย เนฟโวซา ของแคเรน (ซึ่งยังไม่ได้หายขาด) พวกเขาก็เตรียมตัวเข้าห้องบันทึกเสียงเพื่อออกอัลบั้มใหม่เลย นั่นคืออัลบั้ม Made In America โดยเริ่มจากเพลง Touch Me When We're Dancing เป็นซิงเกิลที่ 2 (I Believe You เป็นซิงเกิลแรก) ได้รับการตอบรับดีในระดับหนึ่ง (อันดับที่ 16 ในสหรัฐ และเป็นเพลงฮิต top 20 เพลงสุดท้าย) โดยริชาร์ดไม่ค่อยพอใจกับอันดับชาร์ทมากนักเนื่องจากเพลงนี้เป็นเพลงที่ดีที่น่าจะสามารถได้รับความนิยมในระดับ top 5 ได้ แต่เนื่องจากขณะนั้นมันพ้นช่วงยุคทองของวงไปแล้ว (ดีเจไม่ค่อยโปรโมตเพลงของวงคาร์เพนเทอส์ เพราะไม่ใช่เพลงในแนวกระแสในช่วงยุค 80) เพลงถัดมา (Want You) Back in My Life Again ขึ้นอันดับ 72 ในสหรัฐ ตามมาด้วยเพลง Those Good Old Dreams ขึ้นอันดับ 63 ในสหรัฐ (ริชาร์ดให้ความเห็นเกี่ยวกับเพลงนี้ว่าน่าจะขึ้นชาร์ทได้สูงกว่านี้) และเพลง Beech wood 4-5789 ขึ้นอันดับ 74 ในสหรัฐ (และเป็นเพลงสุดท้ายที่สามารถขึ้นชาร์ท top 100 ในสหรัฐได้) Made In America ไต่ชาร์ทอันดับที่ 52 ในสหรัฐและ 12 ในอังกฤษ [23][24]
ปี 1983: Voice Of The Heart แคเรนเสียชีวิตด้วยโรคหัวใจ
[แก้]ปลายปี 1982 อาการแอนนอริเซีย เนฟโวซา ของแคเรนก็ยังไม่ดีขึ้น ทั้งนี้เนื่องจากน้ำหนักของแคเรนที่ลดลงอย่างมาก (ประมาณ 35 กิโลกรัม) ประกอบกับการที่เธอไม่ได้กลับมาทานอาหารอย่างปกติ แต่ใช้วิธีการฉีดสารอาหารเข้าสู่หลอดเลือดทำให้น้ำหนักของเธอกลับมาอยู่ในระดับที่เหมาะสม โดยพฤติกรรมการไม่ทานอาหาร การใช้สารทำให้อาเจียร (บูลิเมียร์) หลังจากทานอาหารเสร็จ รวมถึงการใช้การกลุ่มกระตุ้นการทำงานของต่อมไทรอยด์เพื่อเพิ่มอัตราการเผาผลาญพลังงานก็ยังเป็นอยู่ ซึ่งนอกจากจะส่งผลกระทบต่อทั้งหลอดเสียงของเธอ ยังทำให้เกิดปัญหาหลอดเลือดแดงที่หัวใจบางและเปราะ รวมถึงกระตุ้นให้หัวใจทำงานหนัก (ปกติแล้วร่างกายคนที่ขาดอาหารจะไปลดอัตราการเต้นของหัวใจรวมถึงเมแทบอลิซึมเพื่อลดการใช้พลังงานลง แต่การใช้สารกระตุ้นการทำงานของหัวใจกับสภาพร่างกายของแคเรนที่ขาดสารอาหารยิ่งไปกระตุ้นให้กล้ามเนื้อหัวใจทำงานมากขึ้น) ซึ่งสิ่งเหล่านี้สะสมและค่อย ๆ ทำลายกล้ามเนื้อหัวใจของเธอเรื่อยมาจนวันหนึ่ง
ในคืนก่อนวันที่ 3 กุมภาพันธ์ 1983 แคเรนได้โทรศัทพ์ไปคุยกับ ฟิล รามอน โดยเธอถามถึงอัลบั้มเดี่ยวที่เขาเป็นโปรดิวเซอร์ให้ โดยถามเขาว่า "อัลบั้มดังกล่าวมันแย่มากเลยเหรอ?" ก่อนที่จะได้รับคำตอบแล้วจบบทสนทนาสุดท้ายกันไป และในวันที่ 4 กุมภาพันธ์ 1983 ก่อนวันเกิดครบรอบ 33 ปีของแคเรนไม่กี่อาทิตย์ เธอล้มฟุบลงกับพื้นห้องแต่งตัวที่บ้านของ แอกเนส แม่ของเธอ ก่อนที่จะมีคนพบและเรียกรถพยาบาลมารับตัวเธอ ซึ่งวันนั้นจะเป็นวันที่เธอต้องไปจดทะเบียนหย่าโดยมีแอกเนสไปเป็นเพื่อน หลังจากนั้นทางโรงพยาบาลได้แจ้งว่าเธอได้เสียชีวิตแล้ว ด้วยสาเหตุหัวใจล้มเหลว ซึ่งข่าวดังกล่าวกลายเป็นข่าวใหญ่ไปทั่วโลกทั้งเรื่องการเสียชีวิตของเธอ และโรคแอนนอริเซีย เนฟโวซา ที่เกิดขึ้นกับผู้หญิงในสหรัฐอย่างมากมาย (ประมาณ 50% ของผู้หญิงทั้งหมด) ซึ่งทำให้สหรัฐตื่นตัวกับโรคดังกล่าวอย่างจริง ๆ จัง ๆ และที่หน้าหลุมฝังศพของเธอมีการจารึกไว้ว่า "A star on earth - A star in heaven" และในเดือนตุลาคม 1983 วงคาร์เพนเทอส์ก็ได้รับการจารึกชื่อไว้ที่ star on the Hollywood Walk of Fame ด้วย
ในปี 1983 ริชาร์ดได้ออกอัลบั้ม Voice Of The Heart ซึ่งเป็นการรวบรวมงานเพลงที่ยังไม่ได้นำออกมาจำหน่าย ส่วนใหญ่แล้วเป็นเพลงที่ถูกคัดออกจากอัลบั้มต่าง ๆ จากปี 1976 จนถึง 1981 โดยมีเพลงที่ร้องใหม่สำหรับชุดนี้จริง ๆ 2 เพลง (แคเรนร้องไว้ก่อนเสียชีวิต) คือ Now (เพลงสุดท้ายที่แคเรนร้องในห้องอัดเสียง) และ Your Baby Doesn't Love You Anymore (จากคำวิจารณ์ของแฟนเพลงหลายคนรวมถึงผู้เขียนต่างเห็นฟ้องต้องกันว่าเพลงในชุดนี้หลายเพลงมีคุณภาพดีกว่า Made In America หรือ Passage ด้วยซ้ำ) ซิงเกิลแรกของชุดนี้คือ Make Believe It's Your First Time (101 ในสหรัฐ และ 60 ในอังกฤษ) และตามมาด้วย Your Baby Doesn't Love You Anymore เป็นซิงเกิลที่ 2 Voice Of The Heart ขึ้นชาร์ทอันดับที่ 46 ในสหรัฐ และ 6 ในอังกฤษ โดยมียอดจำหน่ายในระดับแผ่นเสียงทองคำทั้งในสหรัฐและอังกฤษ นอกจากนี้ยังมีเพลงที่สำคัญเพลงอื่น ๆ ได้แก่ Look To Your Dreams (เป็นเพลงที่แคเรนขอร้องให้ริชาร์ดแต่งให้ แต่เนื่องจากตัวเพลงมีกลิ่นไอเพลงเก่าทำให้เพลงนี้ไม่ถูกนำมาบรรจุไว้ในอัลบั้มก่อนหน้านี้ Look To Your Dreams กลายเป็นเพลงที่แอกเนส มารดาของพวกเขาชอบมากที่สุด), At The End Of A Song, Sailing On The Tide และ You're Enough [25][26]
ปี 1984: An Old-Fashioned Christmas
[แก้]เนื่องจากโครงการทำอัลบั้ม Christmas Portrait พวกเขาได้บันทึกเสียงไปจำนวนหลายเพลงมาก ทำให้มีหลายเพลงที่ยังไม่ได้นำมาใช้ ในปีถัดมา ริชาร์ดได้จัดการมิกซ์ดนตรีของเพลงที่เหลือซึ่งแคแรนร้องไว้จำนวน 6 เพลง รวมกับที่ริชาร์ดบันทึกเสียงใหม่อีก 7 เพลง และอีก 1 เพลงเก่าที่พวกเขาเคยตัดเป็นซิงเกิลไว้แล้วในปี 1974 Santa Claus Is Comin' to Town มารวมไว้ในอัลบั้มคริสต์มาสชุดที่ 2 An Old-Fashioned Christmas ซึ่งชุดนี้มีเพลง Little Altar Boy ตัดเป็นซิงเกิล โดยมีเพลง Do You Hear What I Hear? เป็น B-side
ปี 1989: Loveliness
[แก้]ในปี 1989 ได้มีการสร้างภาพยนตร์โทรทัศน์เรื่อง "The Karen Carpenter Story" ซึ่งได้รับความนิยมสูง ทำให้อัลบั้มเก่าต่าง ๆ ของวงคาร์เพนเทอส์ได้รับความสนใจอย่างมากและทำให้ยอดจำหน่ายสูง (ตั้งแต่ปี 1989 - 1991) สื่อต่าง ๆ ให้การยอมรับผลงานของพวกเขาในด้านความไพเราะความเป็นอมตะมากขึ้น ในปีนั้นเองริชาร์ดได้วางแผนออกอัลบั้มถัดมาของวง Loveliness อัลบั้มนี้คล้ายกับอัลบั๊ม Voice Of The Heart คือเป็นการรวมเพลงที่ถูกคัดทิ้ง (ไม่ได้ถูกนำมาใช้) มีหลายเพลงที่นำมาจากทีวีซีรีส์ที่คาร์เพนเทอส์เป็นโฮส และอีก 4 เพลงจากอัลบั้มเดี่ยวของแคเรน (Karen Carpenter) ซึ่งซิงเกิลในชุดนี้คือ Honolulu City Lights ซื่งได้ตัดออกมาแล้วในปี 1985 เพลงหลายเพลงในชุดนี้กลายเป็นเพลงที่แฟนเพลงชื่นชอบ เช่น Where Do I Go From Here?, When I Fall In Love, Little Girl Blue, Slow Dance, You're The One และ Kiss Me The Way You Did Last Night (Kiss Me The Way You Did Last Night บันทึกเสียงในช่วงอัลบั้ม Made In America แต่ด้วยความที่เพลงนี้ยากต่อการมิกซ์เสียงและสมัยนั้นเทคโนโลยียังไม่ทันสมัย ทำให้ไม่ได้บรรจุอยู่อัลบั้มดังกล่าว แต่หลังจากที่มีเทคโนโลยีใหม่มาช่วยเพลงนี้จึงมีโอกาสให้แฟนเพลงได้รับฟังกัน) อัลบั้มชุดนี้ขึ้นอันดับ 73 ในอังกฤษ โดยแฟนเพลงหลายคนให้คำวิจารณ์ชื่นชอบอัลบั้มชุดนี้เช่นกัน [27][28]
ปี 1994: Interpretations
[แก้]ด้วยเหตุที่ริชาร์ดมีโปรเจกต์การออกอัลบั้ม Karaoke เพื่อจำหน่ายในญี่ปุ่น ในช่วงที่เตรียมเทปมาสเตอร์สำหรับโปรเจกต์ ริชาร์ดได้รื้อพบเทปที่ถูกลาเบลไว้ว่า "Only Yesterday" ซึ่งเมื่อนำมาตรวจสอบดูพบว่า เป็นเพลง Tryin' To Get The Feeling Again ที่แคเรนเคยร้องไว้ในปี 1975 ช่วงทำอัลบั้ม Horizon ซึ่งไม่ได้ถูกบรรจุไว้ในชุดนั้น แต่จากการลาเบลผิดและเก็บไว้ผิดที่จึงทำให้ต้นฉบับเพลงนี้ถูกลืม
เพลง Tryin' To Get The Feeling Again ถูกร้องไว้ครั้งแรกโดยแคเรน แต่เนื่องจากไม่ได้บรรจุใน Horizon และถูกเก็บลืม ซึ่งแคเรนได้ร้องเอาไว้ก่อนที่ Berry Manilow จะบันทึกเสียงและได้รับความนิยมในปี 1978 (3 ปีให้หลัง) จากเหตุผลนี้เองจึงเป็นที่มาของอัลบั้มชุดนี้ "Interpretations" และนอกจากนี้ยังเป็นการฉลองครบรอบ 25 ปี ที่วงคาร์เพนเทอส์ได้เซ็นสัญญาอยู่กับค่าย A&M ด้วย ภาพรวมของชุดนี้จะประกอบไปด้วยเพลงเก่าที่ริชาร์ดไม่ได้แต่งเอง 18 เพลง ทั้งที่เป็นเพลงฮิตและไม่ใช่ (หมายถึงการตีความหมายของเพลงที่พวกเขาเอามาร้องตามสไตล์ของคาร์เพนเทอส์) รวมกับ 3 เพลงใหม่ โดยที่ 2 เพลงจะมาจากรายการทีวี และเพลง Tryin' To Get The Feeling Again ซึ่งถูกตัดเป็นซิงเกิลออกมา สามารถขึ้นอันดับ 44 ในอังกฤษ อัลบั้มขึ้นได้ถึงอันดับที่ 29 ในอังกฤษ [29][30]
ปี 1996: Karen Carpenters
[แก้]จากผลงานอัลบั้มเดี่ยวในปี 1979-1980 ของแคเรนที่ถูกระงับการจำหน่าย ด้วยการตกลงกันอย่างลงตัวระหว่างโปรดิวเซอร์ ฟิล รามอน และริชาร์ด ทำให้อัลบั้ม Karen Carpenter มีโอกาสได้ออกจำหน่ายจริง ๆ ในปี 1996 ซึ่งแฟนเพลงจำนวนเผ้ารออัลบั้มชุดนี้ตลอด นอกจาก If I Had You ที่ถูกตัดเป็นซิงเกิลในปี 1989 แล้ว ยังมีเพลง Make Believe It's Your First Time (ในเวอร์ชันก่อน Voice Of The Heart) ที่จำหน่ายเฉพาะในญี่ปุ่นเท่านั้น เพลงที่เป็นไฮไลทของชุดนี้ ได้แก่ My Body Keeps Changing My Mind, Making Love In The Afternoon, Still Crazy After All These Years Lovelines และ If We Try นอกจากนี้ยังมีเพลงที่เหลือจากโปรเจกต์งานเดี่ยวอีกนับสิบเพลงที่ยังไม่ได้มีการผสมเสียง (ลองหาดาวน์โหลดฟังดู) ซึ่งยังไม่รู้ว่าจะมาการปล่อยออกมาจำหน่ายอย่างเป็นทางการหรือไม่ [31]
ปี 2001: As Time Goes By
[แก้]ริชาร์ดได้กล่าวไว้ว่าอัลบั้ม As Time Goes By เป็นสตูดิโออัลบั้มสุดท้ายของวงคาร์เพนเทอส์ เพลงส่วนใหญ่ถูกนำมาจากรายการทีวีต่าง ๆ บางเพลงเป็นเดโมสมัยช่วงยุคก่อนวงคาร์เพนเทอส์ (ก่อน 1969) บางเพลงมาจากการร้องสดในห้องส่ง โดยมี 2 เพลงเป็นเพลงที่ถูกคัดทิ้งจากอัลบั้มชุด Made In America และกลายเป็นซิงเกิลหนึ่งเดียวที่ทำหน่ายเฉพาะในญี่ปุ่น คือ The Rainbow Connection เพลงนี้เพลงเป็นหนึ่งที่แฟนเพลงได้ส่งจดหมายไปหาริชาร์ดให้นำเพลงนี้ออกมาจำหน่าย เนื่องจากมีแฟนเพลงกลุ่มหนึ่งทราบว่าแคเรนได้ร้องเอาไว้แต่ไม่ได้นำมาบรรจุไว้ในอัลบั้มชุดใด เพลงนี้ขึ้นอันดับที่ 47 ในญี่ปุ่น อัลบั้มนี้สามารถขึ้นอันดับที่ 18 ในญี่ปุ่น นอกจากนี้ยังมีเพลงที่น่าสนใจ เช่น Leave Yesterday Behind, You're Just In Love และ And When He Smile (ร้องสด) และใน As Time Goes By จะมีเพลงเมดเลย์ที่แคเรนได้ร้องดูเอ็ดไว้กับสุดยอดนักร้องหญิงอเมริกัน Ella Fitzgerald ผู้ที่ได้รับสมญาว่า The First Lady Of Song อีกด้วย [32]
รางวัลและความสำเร็จ
[แก้]คาร์เพนเทอส์ มีเพลงอันดับ 1 บนชาร์ทบิลบอร์ดอยู่ 3 เพลง บนชาร์ทซิงเกิล 100 อันดับของฝั่งสหรัฐ ได้แก่ (They Long To Be) Close To You, Top Of The World และ Please Mr.Postman มีเพลงอันดับท๊อป 10 อยู่ 9 เพลง บนชาร์ทซิงเกิล 100 อันดับ ได้แก่ We've Only Just Begun (2), For All We Know (3), Rainy Days And Mondays (2), Superstar (2), Hurting Each Other (2), Goodbye To Love (7), Sing (3), Yesterday Once More (2) และ Only Yesterday (4) และ อันดับ 1 อีก 15 เพลงบนชาร์ท Adult Contemporary Singles Charts คาร์เพนเทอส์มียอดขายอัลบั้มและซิงเกิล รวมกันมากกว่า 100 ล้านชุด[2] ปัจจุบันเพลง We've Only Just Begun และ (They Long To Be) Close To You ได้ถูกบรรจุอยู่ใน Hall of fame
ตลอดระยะเวลา 14 ปี คาร์เพนเทอส์ออกอัลบั้มอยู่ 11 ชุด มี 4 อัลบั้มที่มีเพลงติดใน 5 อันดับแรกบนชาร์ทคือ Close to You (2), Carpenters (2), A Song for You (4) และ Now & Then (2) โดยมีอัลบั้มรวมเพลง The Singles 1969-1973 ขึ้นอันดับหนึ่งทั้งฝั่งสหรัฐและอังกฤษ และออกซิงเกิล 40 ซิงเกิล , รายการโทรทัศน์ภาคพิเศษ 5 ครั้ง และออกละครโทรทัศน์ 1 ครั้ง พวกเขายังทัวร์ไปทั่วโลก ไม่ว่าจะเป็น สหรัฐ อังกฤษ ญี่ปุ่น ออสเตรเลีย ฮอลแลนด์ และเบลเยี่ยม จนกระทั่งแคเรนเสียชีวิตเมื่อวันที่ 4 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1983 ปัจจุบันพวกเขามียอดจำหน่ายแผ่นมากกว่า 100 ล้านแผ่นทั่วโลก [33]
อัลบั้ม
[แก้]ปีคศ. | ชื่ออัลบั้ม | ชาร์ท | หมายเหตุ |
---|---|---|---|
1969 | Offering/Ticket To Ride (re-title) | 150 US | Studio album |
1970 | Close To You | 2 US | Studio album |
1971 | Carpenters | 2 US | Studio album |
1972 | A Song For You | 4 US | Studio album |
1973 | Now & Then | 2 US | Studio album |
1970 | The Singles 1969-1973 | 1 US | Compilation |
1974 | Live In Japan | - | Live album |
1975 | Horizon | 13 US | Studio album |
1976 | A Kind Of Hush | 33 US | Studio album |
1976 | Live At The Palladium | - | Live album |
1977 | Passage | 49 US | Studio album |
1978 | The Singles 1974-1978 | - | Compilation |
1978 | Christmas Portrait | 145 US | Studio album |
1981 | Made In America | 52 US | Studio album |
1983 | Voice Of The Heart | 46 US | Studio album |
1984 | An Old Fashioned Christmas | 190 US | Studio album |
1985 | Yesterday Once More | - | Compilation |
1989 | Lovelines | - | Studio album |
1990 | Only Yesterday (a.k.a. Their Greatest Hits) | - | Compilation |
1991 | From The Top | - | Compilation + unrelease |
1994 | Interpretation | - | Compilation + unrelease |
1996 | Karen Carpenter | - | Studio album |
1997 | Love Songs | 106 US | Compilation |
2001 | As Time Goes By | - | Studio album |
2002 | Essential Collection | - | Compilation + unrelease |
2004 | Gold: 35th Anniversary Edition | 101 US | Compilation + unrelease |
2006 | The Ultimate Collection | - | Compilation |
2009 | 40/40 | 21 UK | Compilation |
ซิงเกิล
[แก้]ปีคศ. | ชื่อเพลง | ชาร์ท | อัลบั้ม | หมายเหตุ |
---|---|---|---|---|
1966 | Looking for Love | - | From The Top / Essential Collection | ซิงเกิลแรกของแคเรน |
1969 | Ticket to Ride | 54 US | Offering / Ticket to Ride | - |
1970 | (They Long To Be) Close To You | 1 US / 6 UK | Close to You | Gold record |
1970 | We've Only Just Begun | 2 US / 28 UK | Close to You | Gold record |
1970 | Merry Christmas, Darling | 45 UK | Christmas Portrait | - |
1971 | For All We Know | 3 US / 18 UK | Carpenters | Gold record |
1971 | Rainy Days and Mondays | 2 US / 63 UK | Carpenters | Gold record |
1971 | Superstar | 2 US / 18 UK | Carpenters | Gold record |
1971 | Bless the Beasts and Children | 67 US | A Song For You | double-A side กับ Superstar |
1971 | Hurting Each Other | 2 US | A Song For You | Gold record |
1972 | It's Going to Take Some Time | 12 US | A Song For You | - |
1972 | Goodbye to Love | 7 US / 9 UK | A Song For You | - |
1973 | Sing | 3 US | Now & Then | Gold record |
1973 | Yesterday Once More | 2 US / 2 UK | Now & Then | Gold record |
1973 | Top of the World | 1 US / 5 UK | A Song For You | Gold record |
1973 | Jambalaya (On the Bayou) | 12 UK | Now & Then | ไม่ได้ตัดเป็นซิงเกิลในสหรัฐ |
1974 | I Won't Last a Day Without You | 11 US / (9/32) UK | A Song For You | - |
1974 | Please Mr. Postman | 1 US / 2 UK | Horizon | Gold record |
1974 | Santa Claus Is Comin' to Town | 35 UK | An Old-Fashioned Christmas | - |
1975 | Only Yesterday | 4 US / 7 UK | Horizon | - |
1975 | Solitaire | 17 US / 32 UK | Horizon | - |
1976 | There's a Kind of Hush | 12 US / 22 UK | A Kind Of Hush | - |
1976 | I Need to Be in Love | 25 US / 36 UK | A Kind Of Hush | - |
1976 | Goofus | 56 US | A Kind Of Hush | - |
1977 | All You Get from Love Is a Love Song | 35 US | Passage | - |
1977 | Calling Occupants of Interplanetary Craft | 32 US / 9 UK | Passage | - |
1977 | The Christmas Song (Chestnuts Roasting on an Open Fire) | - | Christmas Portrait | - |
1978 | Sweet, Sweet Smile | 44 US / 40 UK | Passage | - |
1978 | I Believe You | 68 US | Made In America | - |
1981 | Touch Me When We're Dancing | 16 US | Made In America | - |
1981 | (Want You) Back in My Life Again | 72 US | Made In America | - |
1981 | Those Good Old Dreams | 63 US | Made In America | - |
1981 | Beechwood 4-5789 | 74 US | Made In America | - |
1983 | Make Believe It's Your First Time | 101 / 60 UK | Voice OF The Heart | - |
1983 | Your Baby Doesn't Love You Anymore | - | Voice OF The Heart | - |
1984 | Little Altar Boy | - | An Old Fashioned Christmas | - |
1985 | Honolulu City Lights | - | Lovelines | - |
1989 | If I Had You | - | Karen Carpenter | - |
1991 | Let Me Be the One | - | Carpenters | Promo-CD |
1994 | Tryin' to Get the Feeling Again | 44 UK | Interpretation | - |
2001 | The Rainbow Connection | 47 JP | As Time Goes By | ไม่ได้ตัดเป็นซิงเกิลในสหรัฐ |
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Erlewine, Stephen Thomas. "Billboard - The Carpenters Biography". Billboard. สืบค้นเมื่อ 2007-12-28.
- ↑ 2.0 2.1 Carpenter, Richard (2005). "Carpenters Biography 2005". The Carpenters Official Website. pp. 1–10. สืบค้นเมื่อ 2007-11-30.
- ↑ Coleman, Ray The Carpenters: The Untold Story Harpercollins New York 1994 ISBN 978-0-06-018345-5
- ↑ Tobler, John The Complete Guide to the Music of the Carpenters Omnibus press London 1998 ISBN 0-7119-6312-6
- ↑ Coleman, Ray The Carpenters: The Untold Story Harpercollins New York 1994 ISBN 978-0-06-018345-5
- ↑ Tobler, John The Complete Guide to the Music of the Carpenters Omnibus press London 1998 ISBN 0-7119-6312-6
- ↑ Coleman, Ray The Carpenters: The Untold Story Harpercollins New York 1994 ISBN 978-0-06-018345-5
- ↑ Tobler, John The Complete Guide to the Music of the Carpenters Omnibus press London 1998 ISBN 0-7119-6312-6
- ↑ Coleman, Ray The Carpenters: The Untold Story Harpercollins New York 1994 ISBN 978-0-06-018345-5
- ↑ Tobler, John The Complete Guide to the Music of the Carpenters Omnibus press London 1998 ISBN 0-7119-6312-6
- ↑ Coleman, Ray The Carpenters: The Untold Story Harpercollins New York 1994 ISBN 978-0-06-018345-5
- ↑ Tobler, John The Complete Guide to the Music of the Carpenters Omnibus press London 1998 ISBN 0-7119-6312-6
- ↑ Coleman, Ray The Carpenters: The Untold Story Harpercollins New York 1994 ISBN 978-0-06-018345-5
- ↑ Tobler, John The Complete Guide to the Music of the Carpenters Omnibus press London 1998 ISBN 0-7119-6312-6
- ↑ Coleman, Ray The Carpenters: The Untold Story Harpercollins New York 1994 ISBN 978-0-06-018345-5
- ↑ Tobler, John The Complete Guide to the Music of the Carpenters Omnibus press London 1998 ISBN 0-7119-6312-6
- ↑ Coleman, Ray The Carpenters: The Untold Story Harpercollins New York 1994 ISBN 978-0-06-018345-5
- ↑ Tobler, John The Complete Guide to the Music of the Carpenters Omnibus press London 1998 ISBN 0-7119-6312-6
- ↑ Coleman, Ray The Carpenters: The Untold Story Harpercollins New York 1994 ISBN 978-0-06-018345-5
- ↑ Tobler, John The Complete Guide to the Music of the Carpenters Omnibus press London 1998 ISBN 0-7119-6312-6
- ↑ Coleman, Ray The Carpenters: The Untold Story Harpercollins New York 1994 ISBN 978-0-06-018345-5
- ↑ Tobler, John The Complete Guide to the Music of the Carpenters Omnibus press London 1998 ISBN 0-7119-6312-6
- ↑ Coleman, Ray The Carpenters: The Untold Story Harpercollins New York 1994 ISBN 978-0-06-018345-5
- ↑ Tobler, John The Complete Guide to the Music of the Carpenters Omnibus press London 1998 ISBN 0-7119-6312-6
- ↑ Coleman, Ray The Carpenters: The Untold Story Harpercollins New York 1994 ISBN 978-0-06-018345-5
- ↑ Tobler, John The Complete Guide to the Music of the Carpenters Omnibus press London 1998 ISBN 0-7119-6312-6
- ↑ Coleman, Ray The Carpenters: The Untold Story Harpercollins New York 1994 ISBN 978-0-06-018345-5
- ↑ Tobler, John The Complete Guide to the Music of the Carpenters Omnibus press London 1998 ISBN 0-7119-6312-6
- ↑ Coleman, Ray The Carpenters: The Untold Story Harpercollins New York 1994 ISBN 978-0-06-018345-5
- ↑ Tobler, John The Complete Guide to the Music of the Carpenters Omnibus press London 1998 ISBN 0-7119-6312-6
- ↑ Coleman, Ray The Carpenters: The Untold Story Harpercollins New York 1994 ISBN 978-0-06-018345-5
- ↑ Coleman, Ray The Carpenters: The Untold Story Harpercollins New York 1994 ISBN 978-0-06-018345-5
- ↑ Coleman, Ray The Carpenters: The Untold Story Harpercollins New York 1994 ISBN 978-0-06-018345-5
Coleman, Ray The Carpenters: The Untold Story Harpercollins New York 1994 ISBN 978-0-06-018345-5
Tobler, John The Complete Guide to the Music of the Carpenters Omnibus press London 1998 ISBN 0-7119-6312-6