เซฟไตรอะโซน
บทความนี้ได้รับแจ้งให้ปรับปรุงหลายข้อ กรุณาช่วยปรับปรุงบทความ หรืออภิปรายปัญหาที่หน้าอภิปราย
|
ข้อมูลทางคลินิก | |
---|---|
การอ่านออกเสียง | /ˌsɛftraɪˈæksoʊn/ |
ชื่อทางการค้า | Rocephin, Epicephin, Wintriaxone, others |
AHFS/Drugs.com | โมโนกราฟ |
MedlinePlus | a685032 |
ข้อมูลทะเบียนยา |
|
ระดับความเสี่ยงต่อทารกในครรภ์ | |
ช่องทางการรับยา | Intravenous, intramuscular |
ประเภทยา | Third-generation cephalosporin |
รหัส ATC | |
กฏหมาย | |
สถานะตามกฏหมาย | |
ข้อมูลเภสัชจลนศาสตร์ | |
ชีวประสิทธิผล | n/a |
การเปลี่ยนแปลงยา | Negligible |
ครึ่งชีวิตทางชีวภาพ | 5.8–8.7 hours |
การขับออก | 33–67% kidney, 35–45% biliary |
ตัวบ่งชี้ | |
| |
เลขทะเบียน CAS | |
PubChem CID | |
IUPHAR/BPS | |
DrugBank | |
ChemSpider | |
UNII | |
KEGG | |
ChEBI | |
ChEMBL | |
ECHA InfoCard | 100.070.347 |
ข้อมูลทางกายภาพและเคมี | |
สูตร | C18H18N8O7S3 |
มวลต่อโมล | 554.57 g·mol−1 |
แบบจำลอง 3D (JSmol) | |
| |
| |
(verify) | |
เซฟไตรอะโซน (อังกฤษ: Ceftriaxone) เป็นยาปฏิชีวนะชนิดหนึ่ง ใช้รักษาโรคติดเชื้อแบคทีเรียได้หลายโรค[2] เช่น หูชั้นกลางอักเสบ เยื่อบุหัวใจอักเสบ เยื่อหุ้มสมองอักเสบ ปอดอักเสบ การติดเชื้อในกระดูกและข้อ การติดเชื้อในช่องท้อง การติดเชื้อที่ผิวหนัง ทางเดินปัสสาวะอักเสบ หนองใน และการอักเสบในอุ้งเชิงกราน เป็นต้น[2] บางครั้งอาจใช้ก่อนการผ่าตัดหรือหลังบาดแผลจากการถูกกัดเพื่อป้องกันการติดเชื้อ[2] สามารถให้ได้ผ่านการให้ทางหลอดเลือดดำหรือฉีดเข้าชั้นกล้ามเนื้อ[2]
ผลข้างเคียงที่พบบ่อยคืออาการเจ็บปวดที่ตำแหน่งฉีดยา และการแพ้ยา[2] ผลข้างเคียงอื่น เช่น ท้องเสียจากเชื้อ C. difficile โลหิตจางแบบมีเม็ดเลือดแดงแตก โรคของถุงน้ำดี และอาการชัก[2] โดยทั่วไปจะไม่แนะนำให้ใช้ในผู้ป่วยที่แพ้ยาเพนิซิลลินอย่างรุนแรง แต่ถ้าแพ้แบบมีอาการไม่รุนแรงบางครั้งอาจพิจารณาให้ใช้ได้[2] ห้ามให้ยานี้เข้าทางหลอดเลือดดำพร้อมกับแคลเซียม[2] หลักฐานใหม่ๆ บ่งชี้ว่าการใช้ยานี้ในสตรีตั้งครรภ์หรือให้นมบุตรน่าจะทำได้โดยปลอดภัย[3] ยานี้เป็นยาในกลุ่มเซฟาโลสปอรินรุ่นที่สาม ซึ่งทำงานโดยป้องกันไม่ให้แบคทีเรียสร้างผนังเซลล์ได้[2]
ยานี้ถูกค้นพบเมื่อช่วงต้นคริสตทศวรรษ 1980s โดยบริษัทฮอฟฟ์แมน-ลา โรช[4] ได้รับการจัดเป็นหนึ่งในรายการยาสำคัญต้นแบบขององค์การอนามัยโลก และถือเป็นยาที่ปลอดภัยและใช้ได้ผลดีที่สุดชนิดหนึ่งในระบบบริการสุขภาพ[5] ปัจจัยมีผลิตจำหน่ายได้ทั่วไป[2] ถือเป็นยาที่มีราคาไม่แพง ในกลุ่มประเทศพัฒนาแล้วราคาขายส่งของยานี้อยู่ที่ประมาณ 0.20-2.32 ดอลลาร์สหรัฐต่อโดส (ข้อมูลปี พ.ศ. 2557) ค่ารักษาด้วยยานี้ในประเทศสหรัฐอเมริกามักจะอยู่ที่ไม่เกิน 25 ดอลลาร์สหรัฐ ตลอดการรักษา[6] In the United States a course of treatment is typically less than 25 USD.[7]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 "Ceftriaxone (Rocephin) Use During Pregnancy". Drugs.com. 12 December 2019. สืบค้นเมื่อ 24 December 2019.
- ↑ 2.00 2.01 2.02 2.03 2.04 2.05 2.06 2.07 2.08 2.09 "Ceftriaxone Sodium Monograph for Professionals – Drugs.com". www.drugs.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-05-31. สืบค้นเมื่อ 2016-08-27.
- ↑ "Ceftriaxone Pregnancy and Breastfeeding Warnings". www.drugs.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 23 August 2016. สืบค้นเมื่อ 27 August 2016.
- ↑ Landau, Ralph; Achilladelis, Basil; Scriabine, Alexander (1999). Pharmaceutical Innovation: Revolutionizing Human Health (ภาษาอังกฤษ). Chemical Heritage Foundation. p. 169. ISBN 9780941901215. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-09-08.
- ↑ "WHO Model List of Essential Medicines (19th List)" (PDF). World Health Organization. April 2015. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 13 December 2016. สืบค้นเมื่อ 8 December 2016.
- ↑ "Ceftriaxone". International Drug Price Indicator Guide. สืบค้นเมื่อ 29 August 2016.[ลิงก์เสีย]
- ↑ Facep, Hamilton MD Faaem Facmt (2013). Tarascon Pocket Pharmacopoeia 2014 Deluxe Lab-Coat Edition (ภาษาอังกฤษ). Jones & Bartlett Publishers. p. 75. ISBN 9781284053999. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-09-08.