[go: up one dir, main page]

ข้ามไปเนื้อหา

ฮารูตและมารูต

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ฮารูตและมารูตถูกแขวนเพื่อลงโทษฐานวิจารณ์การตกในบาปของอะดัม ภาพวาดใน ค.ศ. 1717 (ฮ.ศ. 1121)

ฮารูตและมารูต (อาหรับ: هَارُوْت وَمَارُوْت, อักษรโรมัน: Hārūt wa-Mārūt) เป็นทูตสวรรค์สองตนในอัลกุรอาน ซูเราะฮ์ที่ 2:102 กล่าวกันว่าทั้งสองล่อลวงมนุษย์ด้วยการสอนไสยศาสตร์ (ซิหร์) ที่บาบิโลน[1][2] ตัฟซีรอธิบายว่าทูตสวรรค์ทั้งสองวิจารณ์ถึงความชั่วร้ายของมนุษย์ ซึ่งอ้างถึงซูเราะฮ์ 2:30 จากนั้นทั้งสองจึงถูกส่งลงมายังโลก เพื่อแข่งขันในเรื่องความเชื่อฟังกับมนุษย์ หลังทั้งสองก่ออาชญากรรมต่าง ๆ ก็พบว่าไม่สามารถกลับสวรรค์ได้ พระเจ้าทรงให้ทั้งสองเลือกระหว่างการลงโทษบนโลกนี้หรือในนรก ทั้งสองเลือกการลงโทษในโลกนี้ นำไปสู่สถานการณ์ในอัลกุรอาน

เรื่องราวนี้กลายเป็นประเด็นพิพาททางเทววิทยาในศาสนาอิสลาม นักเทววิทยามุสลิมบางส่วนโต้แย้งว่าทูตสวรรค์ไม่มีวันทำบาป จึงปฏิเสธเรื่องราวของฮารูตและมารูต ฮารูตและมารูตอาจระบุเป็น"สองกษัตริย์"แทน ขึ้นอยู่กับวิธีการอ่านอัลกุรอาน (กิรออาต) กษัตริย์เหล่านี้อาจเรียนรู้ไสยศาสตร์จากมารร้ายแล้วสอนวิชานี้แก่มวลมนุษย์ ทางเลือกหนึ่งในการปกป้องฮารูตและมารูตจากบาป พร้อมทั้งยืนยันสถานะทูตสวรรค์ของทั้งสองคือการอธิบายว่าทั้งสองเป็นทูตสวรรค์ที่สอนเวทมนตร์ที่ดี ในขณะที่มารร้ายสอนเวทมนตร์ที่ชั่วร้าย

นักเทววิทยามุสลิมบางส่วนเชื่อมโยงข้อโต้แย้งของฮารูตและมารูตเข้ากับข้อพิพาทของบรรดาทูตสวรรค์ในซูเราะฮ์ 2:30 ซึ่งระบุว่า เมื่อพระผู้เป็นเจ้าประกาศสร้างอะดัม ทูตสวรรค์พากันตั้งข้อสงสัยในเรื่องนี้และโต้แย้งว่าพวกตนทำได้ดีกว่มนุษย์ เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นหลังการประกาศครั้งนั้น อย่างไรก็ตาม นักวิชาการมุสลิมส่วนใหญ่จัดให้เรื่องนี้เกิดขึ้นหลังการสร้างอะดัม

อัลกุรอาน

[แก้]

ในอัลกุรอานมีการกล่าวถึงฮารูตและมารูตโดยย่อในซูเราะฮ์ 2:102 โดยมีการอ่านและตีความที่แตกต่างกัน:

และพวกเขาได้ปฏิบัติตามสิ่งที่บรรดาชัยฏอน ในสมัยสุลัยมานอ่านให้ฟัง และสุลัยมานหาได้ปฏิเสธการศรัทธาไม่ แต่ทว่าชัยฏอนเหล่านั้นต่างหากที่ปฏิเสธการศรัทธาโดยสอนประชาชนซึ่งวิชาไสยศาสตร์และสิ่งที่ถูกประทานลงมา แก่มาลาอิกะฮฺทั้งสอง คือ ฮารูต และมารูต ณ เมืองบาบิล และเขาทั้งสองจะไม่สอนให้แก่ผู้ใดจนกว่าจะกล่าวว่า แท้จริงเราเพียงเป็นผู้ทดสอบเท่านั้นท่านจงอย่าปฏิเสธการศรัทธาเลย แล้วเขาเหล่านั้นก็ศึกษาจากเขาทั้งสอง สิ่งที่พวกเขาจะใช้มันยังความแตกแยกระหว่างบุคคลกับภรรยาของเขาและพวกเขาไม่อาจทำให้สิ่งนั้นเป็นอันตรายแก่ผู้ใดได้นอกจากด้วยการอนุมัติของอัลลอฮฺเท่านั้นและพวกเขาก็เรียนสิ่งที่เป็นโทษแก่พวกเขา และแท้จริงนั้นพวกเขารู้แล้วว่า แน่นอนผู้ที่ซื้อมันไว้นั้น ในวันปรโลกก็ย่อมไม่มีส่วนได้ใด ๆ และแน่นอนเป็นสิ่งที่ชั่วช้าจริง ๆ ที่พวกเขาขายตัวของพวกเขาด้วยสิ่งนั้น หากพวกเขารู้

— อัลกุรอาน, 2:102[3]

ฮะซัน อัลบัศรี (ค.ศ. 642–728) ระบุตามการอ่านไว้ว่า ฮารูตและมารูตเป็น "สองกษัตริย์" (อาหรับ: ملكين, อักษรโรมัน: malikayn) ไม่ใช่สองทูตสวรรค์[4][5][6] ในอีกกรณีหนึ่ง อิบน์ อับบาสระบุการอ่านคำว่า มา (อาหรับ: ما) แปลเป็น "ไม่" แทนที่จะแปลเป็น "อะไร"[7]

ในตัฟซีรของอัฏเฏาะบะรี (ค.ศ. 839–923) เสนอข้อโต้แย้งว่า มา ("ไม่") สื่อถึงมลาอิกะฮ์ญิบรออีลและมีกาอีล ไม่ใช่ฮารูตและมารูต[8][9] สอดคล้องกับรูปอ่านของฮะซัน อัลบัศรีที่ระบุว่า ฮารูตและมารูตเป็นบุคคลธรรมดาที่เรียนรู้เวทมนตร์จากมารร้าย[10] แนวทางการตีความนี้คล้ายคลึงกับการตีความ Bənē hāʾĔlōhīm จากหนังสือปฐมกาลใหม่ ซึ่งระบุทั้งสองเป็นมนุษย์ธรรมดา (บุตรของคาอินและเสท) แทนที่จะเป็นทูตสวรรค์[11] อย่างไรก็ตาม นักตัฟซีรอัลกุรอานยุคแรกส่วนใหญ่ถือว่าฮารูตและมารูตเป็นทูตสวรรค์[12]

อรรถกถา

[แก้]
ฮารูตและมารูตในบ่ออันนิรันดร์ (Forever Well) (ค.ศ. 1703)

ฮารูตและมารูตได้รับการพรรณาเป็นต้นตอของพิธีกรรมทางไสยศาสตร์บนโลก[13] และด้วยเหตุนั้น จึงอธิบายได้ว่าเวทมนตร์มีต้นกำเนิดจากโลกอื่น ในมุมมองเทววิทยา ฮารูตและมารูตเป็นการล่อลวงรูปแบบหนึ่ง คล้ายกับชัยฏอน[14] ทั้งสองได้รับการกล่าวถึงใน เรื่องเล่าของบรรดาศาสดา (กิเศาะศุลอันบิยาอ์) และมองเป็นสัญลักษณ์ของ "ความรักอันลุ่มหลง"[15]

เรื่องราวฮารูตและมารูต

[แก้]

การโต้แย้งของทูตสวรรค์

[แก้]

บางครั้งฮารูตและมารูตถูกเชื่อมโยงเข้ากับซูเราะฮ์ 2:30 แม้ว่าจะไม่มีการกล่าวถึงเรื่องนี้แบบตรง ๆ :[16]

"และจงรำลึกถึงขณะที่พระเจ้าของเจ้าได้ตรัสแก่มลาอิกะฮฺว่า แท้จริงข้าจะให้มีผู้แทนคนหนึ่งในพิภพ มลาอิกะฮฺได้ทูลขึ้นว่า พระองค์จะทรงให้มีขึ้นในพิภพซึ่งผู้ที่บ่อนทำลาย และก่อการนองเลือด ในพิภพกระนั้นหรือ ทั้ง ๆ ที่พวกข้าพระองค์ให้ความบริสุทธิ์ พร้อมด้วยการสรรเสริญพระองค์ และเทิดทูนความบริสุทธิ์ในพระองค์ พระองค์ตรัสว่า แท้จริงข้ารู้ยิ่งในสิ่งที่พวกเจ้าไม่รู้" 2:30[17]

ในมุมมองนี้ พระผู้เป็นเจ้าส่งทูตสวรรค์เหล่านี้ลงมาเพื่อแสดงให้เหล่าทูตสวรรค์ที่ประท้วงเห็นถึงคุณสมบัติพิเศษและความเป็นเอกลักษณ์ของเหล่ามนุษย์[18]

ในหนังสือ Haba'ik fi akhbar al-mala'ik อัสซุยูตีรายงานถึงฮะดีษที่ว่า หลังข้อพิพาทในโองการนั้น เหล่าทูตสวรรค์ได้ท้ากับพระผู้เป็นเจ้าว่าตนเชื่อฟังต่อพระองค์มากกว่าลูกหลานอะดัม จากนั้นพระผู้เป็นเจ้าทรงขอให้เลือกทูตสวรรค์สองตนจากกลุ่มนั้นเพื่อลงมายังโลกและถูกทดสอบ[19]

คำวิจารณ์

[แก้]

ทางประวัติศาสตร์

[แก้]

แม้ว่าอัลกุรอานไม่ได้เรียกทูตสวรรค์คู่นี้ว่า ตกสวรรค์ แบบเปิดเผย แต่ในบริบทถือว่าเป็นเรื่องจริง[20] เรื่องราวนี้มีความคล้ายคลึงกับทูตสวรรค์ผู้บริสุทธิ์[20]ที่มีการกล่าวถึงในธรรมเนียมพระวิหารที่สองและสะท้อนความเชื่อของชาวคริสต์ยุคต้น[20] อย่างไรก็ตาม ส่วนที่โดดเด่นที่สุดของเรื่องราวอันเป็นเอกลักษณ์เฉพาะของธรรมเนียมอิสลามและไม่สะท้อนถึงสองความเชื่อก่อนหน้า คือ แก่นเรื่องในด้านความประหลาดใจของเหล่าทูตสวรรค์ต่อความชั่วร้ายของมนุษย์[20] เรื่องราวนี้ไม่มีความเกี่ยวข้องกับการก่อกบฏของทูตสวรรค์หรือบาปกำเนิด แต่เกี่ยวกับความยากลำบากของการเป็นมนุษย์[20] และอัลกุรอานระบุไว้ว่า ทูตสวรรค์เหล่านี้ "ส่งลงมา" โดยพระผู้เป็นเจ้า[20]

ชื่อ "ฮารูต" และ "มารูต" ไม่ได้มีต้นตอจากความเชื่อแบบเซมิติก แต่มีความคล้ายคลึงทางนิรุตศาสตร์กับคำว่า Haurvatat และ Ameretat Amesha Spenta สองตนจากศาสนาโซโรอัสเตอร์[21][22] Georges Dumézil เสนอแนะว่าเรื่องราวนี้มีความคล้ายคลึงกันเรื่องราวในมหาภารตะอย่างใกล้ชิด[23]

ทางเทววิทยา

[แก้]

ดูเพิ่ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. อัลกุรอาน 2:102 (แปลโดย ยูซุฟ อาลี)
  2. Jastrow, Morris; Price, Ira Maurice; Jastrow, Marcus; Ginzberg, Louis; MacDonald, Duncan B. (1906). "Tower of Babel". Jewish Encyclopedia. Funk @-Wagnalls.
  3. Nasr, Seyyed Hossein, บ.ก. (2015). The Study Quran. HarperOne. pp. 47–48. ISBN 978-0-06-112586-7.
  4. Jung, Leo. "Fallen Angels in Jewish, Christian and Mohammedan Literature: A Study in Comparative Folk-Lore." The Jewish Quarterly Review 16.3 (1926): 287-336.
  5. Al-Saïd Muhammad Badawi Arabic–English Dictionary of Qurʾanic Usage M. A. Abdel Haleem ISBN 978-90-04-14948-9, p. 864
  6. Omar Hamdan Studien zur Kanonisierung des Korantextes: al-Ḥasan al-Baṣrīs Beiträge zur Geschichte des Korans Otto Harrassowitz Verlag 2006 ISBN 978-3-447-05349-5 pp. 291–292 (German)
  7. Jung, Leo. "Fallen Angels in Jewish, Christian and Mohammedan Literature: A Study in Comparative Folk-Lore." The Jewish Quarterly Review 16.3 (1926): p. 297
  8. Ayoub, Mahmoud M. Qurʾan and Its Interpreters, The, Volume 1 State University of New York Press, 30.06.1984 p. 130
  9. Jung, Leo. "Fallen Angels in Jewish, Christian and Mohammedan Literature: A Study in Comparative Folk-Lore." The Jewish Quarterly Review 16.3 (1926): p. 297
  10. Jung, Leo. "Fallen Angels in Jewish, Christian and Mohammedan Literature: A Study in Comparative Folk-Lore." The Jewish Quarterly Review 16.3 (1926): p. 297
  11. Jung, Leo. "Fallen Angels in Jewish, Christian and Mohammedan Literature: A Study in Comparative Folk-Lore." The Jewish Quarterly Review 16.3 (1926): p. 298
  12. Ayoub, Mahmoud M. Qurʾan and Its Interpreters, The, Volume 1 State University of New York Press, 30.06.1984 p. 131
  13. Salim Ayduz, Caner Dagli The Oxford Encyclopedia of Philosophy, Science, and Technology in Islam Oxford University Press, 2014 isbn 978-01998-1257-8 p. 504
  14. Jones, David Albert. Angels: a very short introduction. OUP Oxford, 2010. p. 107
  15. KÜRŞAT DEMİRCİ, "HÂRÛT ve MÂRÛT", TDV İslâm Ansiklopedisi, https://islamansiklopedisi.org.tr/harut-ve-marut (19.09.2023).
  16. Ayoub, Mahmoud M. Qurʾan and Its Interpreters, The, Volume 1 State University of New York Press, 30.06.1984 p. 131
  17. Nasr, Seyyed Hossein, บ.ก. (2015). The Study Quran. HarperOne. pp. 47–48. ISBN 978-0-06-112586-7.
  18. Ayoub, Mahmoud M. Qurʾan and Its Interpreters, The, Volume 1 State University of New York Press, 30.06.1984 p. 131
  19. Burge, Stephen. Angels in Islam: Jalal al-Din al-Suyuti's al-Haba'ik fi akhbar al-mala'ik. Routledge, 2015. p. 286
  20. 20.0 20.1 20.2 20.3 20.4 20.5 Dye, Guillaume. Early Islam: the sectarian milieu of late Antiquity?. Éditions de l'Université de Bruxelles, 2023.
  21. Bürgel, J. Christoph. "Zoroastrianism as viewed in medieval Islamic sources." Muslim Perceptions of Other Religions (1999): 202-212.
  22. "Harut and Marut". Britannica.
  23. Burge, Stephen. Angels in Islam: Jalal al-Din al-Suyuti's al-Haba'ik fi akhbar al-mala'ik. Routledge, 2015. p. 89

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]