[go: up one dir, main page]

ข้ามไปเนื้อหา

อำเภอเมืองเชียงราย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
อำเภอเมืองเชียงราย
การถอดเสียงอักษรโรมัน
 • อักษรโรมันAmphoe Mueang Chiang Rai
ตัวเมืองเชียงราย
ตัวเมืองเชียงราย
คำขวัญ: 
เมืองพญามังราย สายใยน้ำกก พระหยกล้ำค่า
ไร่แม่ฟ้าหลวงรวมใจ น้ำตกใสขุนกรณ์
แผนที่จังหวัดเชียงราย เน้นอำเภอเมืองเชียงราย
แผนที่จังหวัดเชียงราย เน้นอำเภอเมืองเชียงราย
พิกัด: 19°54′31″N 99°49′57″E / 19.90861°N 99.83250°E / 19.90861; 99.83250
ประเทศ ไทย
จังหวัดเชียงราย
พื้นที่
 • ทั้งหมด1,216.1 ตร.กม. (469.5 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (2564)
 • ทั้งหมด252,651 คน
 • ความหนาแน่น207.76 คน/ตร.กม. (538.1 คน/ตร.ไมล์)
รหัสไปรษณีย์ 57000 ยกเว้น ตำบลริมกก ตำบลบ้านดู่ ตำบลแม่ข้าวต้ม ตำบลแม่ยาว ตำบลนางแล และตำบลท่าสุด ใช้รหัส 57100 (ไปรษณีย์บ้านดู่)
รหัสภูมิศาสตร์5701
ที่ตั้งที่ว่าการที่ว่าการอำเภอเมืองเชียงราย ถนนเวียงบูรพา ตำบลริมกก อำเภอเมืองเชียงราย จังหวัดเชียงราย 57000
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

เมืองเชียงราย (ไทยถิ่นเหนือ: เมืองเจียงฮาย) เป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดเชียงราย ที่มีศูนย์กลางการบริหาร ศูนย์กลางคมนาคม ศูนย์กลางธุรกิจ และศูนย์กลางทางศาสนาและวัฒนธรรมล้านนาของจังหวัดเชียงราย นับเป็นหนึ่งในอำเภอเมืองที่มีความเจริญมากในภาคเหนือตอนบนรองจากอำเภอเมืองเชียงใหม่ ในด้านภูมิศาสตร์มีขนาดพื้นที่เป็นอันดับที่สามของจังหวัด รองจาก อำเภอแม่สรวย และ อำเภอเวียงป่าเป้า (เดิมเป็นอำเภอที่มีพื้นที่มากที่สุดของจังหวัด แต่ทั้งนี้ได้แบ่งพื้นที่บางส่วนเพื่อจัดตั้งเป็น อำเภอแม่ลาว จึงมีพื้นที่เป็นอันดับที่สามในปัจจุบัน)

ที่ตั้งและอาณาเขต

[แก้]

อำเภอเมืองเชียงรายตั้งอยู่ทางตอนกลางของจังหวัด มีอาณาเขตติดต่อกับอำเภอและจังหวัดข้างเคียง ดังนี้

ประวัติ

[แก้]

กษัตริย์ในราชวงศ์ลวจังกราช (บางตำนานเรียกว่า ลาวจักรราช) ได้สืบสันติวงศ์ต่อจากปฐมกษัตริย์ผู้สร้างหิรัญนครเงินยางจนถึงเชื้อพระวงศ์นามว่า ลาวเมง หรือลาวเมือง ได้อภิเษกสมรสกับนางอั้งมิ่ง หรือนางเทพคำขยาย (หรือนางเทพคำข่าย) และมีพระโอรสประสูติใน พ.ศ. 1781 พระนามว่าเจ้ามังราย ซึ่งได้ขึ้นครองราชย์ต่อจากพระบิดาเมื่อปี พ.ศ. 1804 และได้มีดำริที่จะรวมเมืองใหญ่ในแคว้นล้านนา (ภาคเหนือตอนบน) ให้เป็นหนึ่งเดียว จึงได้ยกทัพไปเจริญสัมพันธไมตรีและปราบปรามหัวเมืองต่างๆ และในช่วงที่ไปหัวเมืองฝ่ายใต้ เมื่อไปถึงดอยจอมทอง ริมน้ำกก เห็นเป็นชัยภูมิดีเหมาะแก่การรุกรานของกองทัพมองโกลที่กำลังแผ่อำนาจมายัง ยูนนาน พม่า และตังเกี๋ย จึงทรงสร้างเมืองใหม่เป็นศูนย์กลางหิรัญนครเงินยางแทนเมืองยาง และตั้งเมืองใหม่ว่า "เมืองเชียงราย"

และในปี พ.ศ. 2385 เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ ลำปาง และลำพูน ได้ขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตต่อพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวให้ตั้งเมืองใหม่และฟื้นฟูเมืองเชียงรายขึ้นใหม่ เนื่องจากว่าเมืองเชียงรายถูกทิ้งร้างไปเมื่อพระเจ้ากาวิละทำสงครามกับพม่า จึงทำให้ในปี พ.ศ. 2386 พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระบรมราชานุญาตให้เจ้าหลวงเชียงใหม่ฟื้นฟูเมืองเชียงรายขึ้นใหม่ แต่ทั้งนี้เมืองเชียงรายก็ขึ้นเป็นเมืองบริวารของเมืองเชียงใหม่อยู่ ภายหลังเมืองเชียงรายได้เป็นส่วนหนึ่งของมณฑลพายัพ กระทั่งปี พ.ศ. 2453 ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงมีประกาศกระทรวงมหาดไทย ยกฐานะเมืองเชียงรายเป็นเมืองจัตวามณฑลพายัพ ใน พ.ศ. 2453 เมืองเชียงแสน เมืองเชียงราย เมืองฝาง เวียงป่าเป้า เมืองพะเยา อำเภอแม่ใจ อำเภอดอกคำใต้ อำเภอแม่สรวย อำเภอเชียงคำ อำเภอเชียงของ ตั้งเป็นเมืองจัตวาเรียกว่าเมืองเชียงราย อยู่ในมณฑลพายัพ และจัดแบ่งการปกครองออกเป็น 10 อำเภอ คือ อำเภอเมืองเชียงราย อำเภอเมืองเชียงแสน อำเภอเมืองฝาง อำเภอเวียงป่าเป้า อำเภอเมืองพะเยา อำเภอแม่ใจ อำเภอดอกคำใต้ อำเภอแม่สรวย อำเภอเชียงคำ และอำเภอเชียงของ เหมือนอย่างหัวเมืองชั้นในที่ขึ้นกับกรุงเทพมหานครทั้งปวง [1] ภายหลังเมืองเชียงรายได้เปลี่ยนเป็นจังหวัดเชียงราย[2] หลังจากนั้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ก็ได้ยกเลิกระบบการปกครองแบบมณฑลเทศาภิบาล และมีการประกาศตั้งเมืองเชียงราย จังหวัดเชียงราย นับแต่นั้นเป็นต้นมาจนถึงปัจจุบัน[3]

วิวัฒนาการของอำเภอเมืองเชียงราย หลังปี พ.ศ.2460

[แก้]

ในอดีตอำเภอเมืองเชียงราย มีอาณาเขตที่กว้างขวางมาก บางพื้นที่ไม่สามารถเข้าไปติดต่อราชการยังตัวอำเภอเมืองได้สะดวก จึงได้มีการแบ่งพื้นที่เป็นตำบล และอำเภอใหม่ดังนี้

  • วันที่ 25 มีนาคม 2478 จัดตั้งเทศบาลเมืองเชียงราย ในท้องที่ตำบลเวียง[4]
  • วันที่ 23 สิงหาคม 2498 มีการขยายเขตท้องที่เทศบาลเมืองเชียงราย ครั้งที่ 1 เนื่องจากในเขตเทศบาลมีประชากรหนาแน่น ประกอบกับการขยายตัวของเทศบาลออกไปยังบริเวณโดยรอบมีมากขึ้น สมควรขยายเขตเทศบาลเพื่อรองรับการขยายตัว[5]
  • วันที่ 25 พฤศจิกายน 2501 ตั้งตำบลเวียงชัย แยกจากตำบลรอบเวียง ตำบลสันทราย และตำบลทุ่งก่อ[6]
  • วันที่ 30 พฤษภาคม 2504 ตั้งตำบลป่าก่อดำ แยกจากตำบลบัวสลี[7]
  • วันที่ 12 กันยายน 2504 โอนพื้นที่หมู่ที่ 22 ตำบลบัวสลี ให้ไปขึ้นกับหมู่ที่ 10 ตำบลป่าก่อดำ[8]
  • วันที่ 22 มกราคม 2506 ตั้งตำบลนางแล แยกจากตำบลบ้านดู่[9]
  • วันที่ 16 มีนาคม 2508 ตั้งตำบลผางาม แยกจากตำบลทุ่งก่อและตำบลห้วยสัก[10]
  • วันที่ 26 ธันวาคม 2510 จัดตั้งสุขาภิบาลแม่ลาว ในพื้นที่บางส่วนของตำบลดงมะดะ[11]
  • วันที่ 26 ตุลาคม 2514 ตั้งตำบลห้วยชมภู แยกจากตำบลแม่กรณ์[12]
  • วันที่ 11 มิถุนายน 2517 แยกพื้นที่ตำบลเวียงชัย ตำบลทุ่งก่อ และตำบลผางาม จัดตั้งเป็น กิ่งอำเภอเวียงชัย โดยขึ้นต่ออำเภอเมืองเชียงราย[13]
  • วันที่ 28 กันยายน 2519 ได้มีการขยายเขตเทศบาลเมืองเชียงราย ครั้งที่ 2 เนื่องจากชุมชนนอกเขตเทศบาลมีจำนวนมาก และหนาแน่นมากยิ่งขึ้น สมควรขยายเขตเทศบาลออกใหม่[14]
  • วันที่ 12 กันยายน 2521 ตั้งตำบลเวียงเหนือ แยกจากตำบลเวียงชัย[15]
  • วันที่ 25 มีนาคม 2522 ยกฐานะกิ่งอำเภอเวียงชัย อำเภอเมืองเชียงราย เป็น อำเภอเวียงชัย[16]
  • วันที่ 5 สิงหาคม 2523 ตั้งตำบลดอยลาน แยกจากตำบลห้วยสัก[17]
  • วันที่ 25 สิงหาคม 2524 ตั้งตำบลริมกก แยกจากตำบลรอบเวียง ตำบลบ้านดู่ และตำบลแม่ข้าวต้ม[18]
  • วันที่ 26 กรกฎาคม 2526 ตั้งตำบลป่าอ้อดอนชัย แยกจากตำบลบัวสลี[19]
  • วันที่ 5 พฤศจิกายน 2528 ตั้งตำบลจอมหมอกแก้ว แยกจากตำบลดงมะดะ และตั้งตำบลท่าสาย แยกจากตำบลสันทราย[20]
  • วันที่ 18 ตุลาคม 2532 ตั้งตำบลโป่งแพร่ แยกจากตำบลแม่กรณ์[21]
  • วันที่ 28 มกราคม 2536 ตั้งตำบลดอยฮาง แยกจากตำบลแม่ยาวและตำบลแม่กรณ์[22]
  • วันที่ 26 เมษายน 2536 จัดตั้งสุขาภิบาลป่าก่อดำ ในพื้นที่บางส่วนของตำบลป่าก่อดำและตำบลจอมหมอกแก้ว[23]
  • วันที่ 8 มิถุนายน 2536 แยกพื้นที่ตำบลดงมะดะ ตำบลจอมหมอกแก้ว ตำบลบัวสลี ตำบลป่าก่อดำ และตำบลโป่งแพร่ จัดตั้งเป็น กิ่งอำเภอแม่ลาว โดยขึ้นต่ออำเภอเมืองเชียงราย[24]
  • วันที่ 24 กันยายน 2538 ได้มีการขยายเขตเทศบาลเมืองเชียงราย ครั้งที่ 3 โดยขยายครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของตำบลริมกก และตำบลรอบเวียง[25]
  • วันที่ 4 มกราคม 2539 ตั้งตำบลท่าสุด แยกจากตำบลนางแล[26]
  • วันที่ 20 พฤศจิกายน 2539 ยกฐานะกิ่งอำเภอแม่ลาว อำเภอเมืองเชียงราย เป็น อำเภอแม่ลาว[27]
  • วันที่ 2 ธันวาคม 2541 กำหนดให้มีการแบ่งเขตหมู่บ้านใหม่ให้ชัดเจน ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย[28]
  • วันที่ 25 กันยายน 2546 ได้มีการจัดตั้งหมู่บ้านใหม่ในอำเภอเมือง ดังนี้
    • (1) แยกบ้านห้วยสัก หมู่ที่ 5 ตำบลห้วยสัก จัดตั้งเป็นหมู่ที่ 27 บ้านห้วยสักใหม่
    • (2) แยกบ้านหัวดอย หมู่ที่ 6 ตำบลท่าสาย จัดตั้งเป็นหมู่ที่ 12 บ้านหัวดอยสันติ
    • (3) แยกบ้านสวนดอก หมู่ที่ 3 ตำบลแม่กรณ์ จัดตั้งเป็นหมู่ที่ 13 บ้านป่าสักทอง
    • (4) แยกบ้านหนองยาว หมู่ที่ 5 ตำบลท่าสาย จัดตั้งเป็นหมู่ที่ 13 บ้านเวียงกลาง
    • (5) แยกบ้านสันต้นเปา หมู่ที่ 14 ตำบลห้วยสัก จัดตั้งเป็นหมู่ที่ 28 บ้านใหม่สันต้นเปา
    • (6) แยกบ้านร้องเบ้อ หมู่ที่ 12 ตำบลห้วยสัก จัดตั้งเป็นหมู่ที่ 29 บ้านร่องเบ้อ
    • (7) แยกบ้านสันป่ายาง หมู่ที่ 6 ตำบลแม่ยาว จัดตั้งเป็นหมู่ที่ 17 บ้านดงเจริญ
    • (8) แยกบ้านป่าก้อ หมู่ที่ 4 ตำบลห้วยสัก จัดตั้งเป็นหมู่ที่ 30 บ้านป่าก้อ
    • (9) แยกบ้านต้นลุง หมู่ที่ 11 ตำบลบ้านดู่ จัดตั้งเป็นหมู่ที่ 19 บ้านหนองปึ๋ง
    • (10) แยกบ้านร่องขุ่น หมู่ที่ 5 ตำบลดอยลาน จัดตั้งเป็นหมู่ที่ 21 บ้านใหม่ดอยลาน
  • วันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2547 ยกฐานะเทศบาลเมืองเชียงราย เป็นเทศบาลนครเชียงราย[29]
  • วันที่ 27 กันยายน 2547 ได้จัดตั้งหมู่บ้านใหม่อีกครั้ง ดังนี้
    • (1) แยกบ้านรวมมิตร หมู่ที่ 2 ตำบลแม่ยาว จัดตั้งเป็นหมู่ที่ 18 บ้านโป่งผำพัฒนา
    • (2) แยกบ้านห้วยหมากเหลี่ยม หมู่ที่ 3 ตำบลห้วยชมภู จัดตั้งเป็นหมู่ที่ 11 บ้านร่มเย็น
    • (3) แยกบ้านป่ากล้วย หมู่ที่ 6 ตำบลสันทราย จัดตั้งเป็นหมู่ที่ 11 บ้านป่ากล้วยเหนือ
  • วันที่ 26 ธันวาคม 2548 ได้จัดตั้งหมู่บ้านใหม่อีกเป็นครั้งที่ 3 ดังนี้
    • (1) แยกบ้านดอยสมบูรณ์ หมู่ที่ 12 ตำบลดอยลาน จัดตั้งเป็นหมู่ที่ 23 บ้านใหม่สามัคคี
    • (2) แยกบ้านม่วงคำ หมู่ที่ 4 ตำบลนางแล จัดตั้งเป็นหมู่ที่ 15 บ้านใหม่ม่วงคำ
    • (3) แยกบ้านป่าห้า หมู่ที่ 1 ตำบลนางแล จัดตั้งเป็นหมู่ที่ 16 บ้านสันต้นขาม
  • วันที่ 9 ตุลาคม 2552 ได้มีการกำหนดเขตหมู่บ้านใหม่ในตำบลแม่ยาว ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง กำหนดเขตตำบลในท้องที่จังหวัดเชียงราย (ฉบับที่ 2) โดยให้ตำบลแม่ยาวมีทั้งหมด 18 หมู่บ้าน
  • วันที่ 31 ตุลาคม 2562 ได้มีการจัดตั้งหมู่บ้านใหม่เป็นครั้งที่ 4 โดยแยกบ้านร่องเบ้อ หมู่ที่ 19 ตำบลห้วยสัก จัดตั้งเป็นหมู่ที่ 31 บ้านเนินสะดวก
  • วันที่ 7 ธันวาคม 2566 ได้มีการจัดตั้งหมู่บ้านใหม่อีกเป็นครั้งที่ 5 ดังนี้
    • (1) แยกบ้านผาลั้ง หมู่ที่ 4 ตำบลห้วยชมภู จัดตั้งเป็นหมู่ที่ 12 บ้านแสนต่อ
    • (2) แยกบ้านห้วยแม่ซ้าย หมู่ที่ 11 ตำบลแม่ยาว จัดตั้งเป็นหมู่ที่ 19 บ้านห้วยน้ำตก
    • (3) แยกบ้านพนาสวรรค์ หมู่ที่ 13 ตำบลแม่ยาว จัดตั้งเป็นหมู่ที่ 20 บ้านผาสุข
    • (4) แยกบ้านห้วยแก้ว หมู่ที่ 8 ตำบลห้วยชมภู จัดตั้งเป็นหมู่ที่ 13 บ้านภูฟ้า
    • (5) แยกบ้านใหม่ทรายทอง หมู่ที่ 9 ตำบลสันทราย จัดตั้งเป็นหมู่ที่ 12 บ้านสันทรายเหนือ
    • (6) แยกบ้านสันต้นก๊อ หมู่ที่ 16 ตำบลบ้านดู่ จัดตั้งเป็นหมู่ที่ 20 บ้านสันปอแตง
    • (7) แยกบ้านนางแลใน หมู่ที่ 7 ตำบลนางแล จัดตั้งเป็นหมู่ที่ 17 บ้านใหม่นางแล

การแบ่งเขตการปกครอง

[แก้]

การปกครองส่วนภูมิภาค

[แก้]

อำเภอเมืองเชียงรายแบ่งเขตการปกครองย่อยออกเป็น 16 ตำบล 258 หมู่บ้าน ได้แก่

ที่ ชื่อตำบล ตัวเมือง อักษรโรมัน จำนวนหมู่บ้าน จำนวนครัวเรือน จำนวนประชากร[30]
1. เวียง Wiang - 8,015 11,371
2. รอบเวียง Rop Wiang 7 25,300 48,930
3. บ้านดู่ Ban Du 20 8,649 16,062
4. นางแล Nang Lae 17 4,309 10,271
5. แม่ข้าวต้ม Mae Khao Tom 23 4,596 11,916
6. แม่ยาว Mae Yao 18 7,634 17,746
7. สันทราย San Sai 11 4,863 9,469
8. แม่กรณ์ Mae Kon 13 2,732 6,207
9. ห้วยชมภู Huai Chomphu 11 3,986 10,567
10. ห้วยสัก Huai Sak 31[31] 6,844 17,235
11. ริมกก Rim Kok 11 8,132 17,383
12. ดอยลาน Doi Lan 22 3,761 10452
13. ป่าอ้อดอนชัย Pa O Don Chai 21 4,107 10,049
14. ท่าสาย Tha Sai 13 4,017 8,736
15. ดอยฮาง Doi Hang 8 1,874 4,401
16. ท่าสุด Tha Sut 11 4,616 12,930

การปกครองส่วนท้องถิ่น

[แก้]

ท้องที่อำเภอเมืองเชียงรายประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 16 แห่ง ได้แก่

  • เทศบาลนครเชียงราย ครอบคลุมพื้นที่ตำบลเวียงทั้งตำบล บางส่วนของตำบลรอบเวียง ตำบลสันทราย และตำบลริมกก
  • เทศบาลตำบลบ้านดู่ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบ้านดู่ทั้งตำบล
  • เทศบาลตำบลนางแล ครอบคลุมพื้นที่ตำบลนางแลทั้งตำบล
  • เทศบาลตำบลป่าอ้อดอนชัย ครอบคลุมพื้นที่ตำบลป่าอ้อดอนชัยทั้งตำบล
  • เทศบาลตำบลแม่ยาว ครอบคลุมพื้นที่ตำบลแม่ยาวทั้งตำบล
  • เทศบาลตำบลสันทราย ครอบคลุมพื้นที่ตำบลสันทราย (เฉพาะนอกเขตเทศบาลนครเชียงราย)
  • เทศบาลตำบลท่าสุด ครอบคลุมพื้นที่ตำบลท่าสุดทั้งตำบล
  • เทศบาลตำบลท่าสาย ครอบคลุมพื้นที่ตำบลท่าสายทั้งตำบล
  • เทศบาลตำบลห้วยสัก ครอบคลุมพื้นที่ตำบลห้วยสักทั้งตำบล
  • เทศบาลตำบลดอยลาน ครอบคลุมพื้นที่ตำบลดอยลานทั้งตำบล
  • เทศบาลตำบลดอยฮาง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลดอยฮางทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลรอบเวียง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลรอบเวียง (เฉพาะนอกเขตเทศบาลนครเชียงราย)
  • องค์การบริหารส่วนตำบลแม่ข้าวต้ม ครอบคลุมพื้นที่ตำบลแม่ข้าวต้มทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลแม่กรณ์ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลแม่กรณ์ทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลห้วยชมภู ครอบคลุมพื้นที่ตำบลห้วยชมภูทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลริมกก ครอบคลุมพื้นที่ตำบลริมกก (เฉพาะนอกเขตเทศบาลนครเชียงราย)

ระยะทางไปยังอำเภอต่าง ๆ

[แก้]
อำเภอ ระยะทาง (กิโลเมตร)
เวียงชัย 14
แม่ลาว 24
แม่จัน 28
เวียงเชียงรุ้ง 35
พญาเม็งราย 46
พาน 46
ดอยหลวง 46
แม่สรวย 48
แม่ฟ้าหลวง 49
ป่าแดด 56
ขุนตาล 60
เชียงแสน 61
แม่สาย 63
เทิง 64
เวียงป่าเป้า 88
เชียงของ 105
เวียงแก่น 114

สถานที่สำคัญ

[แก้]

สถานที่ท่องเที่ยว

[แก้]

สถานที่พัก

[แก้]

วัด

[แก้]

พระอารามหลวงมหานิกาย

[แก้]
  • วัดเจ็ดยอด (พระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดสามัญ) ตำบลเวียง อำเภอเมืองเชียงราย
  • วัดพระแก้ว (พระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดสามัญ) ตำบลเวียง อำเภอเมืองเชียงราย
  • วัดพระสิงห์ (พระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดสามัญ) ตำบลเวียง อำเภอเมืองเชียงราย

วัดราษฏร์มหานิกาย

[แก้]

วัดราษฏร์ธรรมยุติกนิกาย

[แก้]

โรงเรียน

[แก้]

โรงเรียนมัธยม สพฐ.

[แก้]

โรงเรียนประถม สพฐ.

[แก้]

โรงเรียนอนุบาล

[แก้]

โรงเรียนสาธิต

[แก้]

โรงเรียนในสังกัดเทศบาลนครเชียงราย

[แก้]

โรงเรียนในสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงราย

[แก้]

โรงเรียนเอกชน

[แก้]

มหาวิทยาลัย

[แก้]

มหาวิทยาลัยในสังกัดรัฐบาล

[แก้]

โรงพยาบาล

[แก้]

ท่าอากาศยาน

[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. ประกาศกระทรวงมหาดไทย ประกาศยกเมืองเชียงรายเป็นเมืองจัตวามณฑลพายัพ, ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 27 หน้า 426.http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2453/D/426_2.PDF
  2. ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้เปลี่ยนคำว่าเมืองเรียกว่าจังหวัด, ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 33 หน้า 51.http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2459/A/51.PDF
  3. ศูนย์วัฒนธรรมนิทัศน์และพิพิธภัณฑ์เมืองเชียงราย 750 ปี สืบค้นเมื่อ 12 สิงหาคม พ.ศ.2567
  4. [1]พระราชกฤษฎีกาจัดตั้งเทศบาลเมืองเชียงราย จังหวัดเชียงราย พุทธศักราช ๒๔๗๘
  5. [2]พระราชกฤษฎีกาเปลี่ยนแปลงเขตเทศบาลเมืองเชียงราย จังหวัดเชียงราย พ.ศ. ๒๔๙๘
  6. [3]ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอเมืองเชียงราย อำเภอเชียงคำ และอำเภอเวียงป่าเป้า จังหวัดเชียงราย กิ่งอำเภอคลองใหญ่ อำเภอเมืองตราด จังหวัดตราด อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง กับอำเภอเมืองร้อยเอ็ด อำเภออาจสามารถ อำเภอเสลภูมิ อำเภอโพนทอง และอำเภอจตุรพักตรพิมาน จังหวัดร้อยเอ็ด
  7. [4]ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอเมืองเชียงราย จังหวัดเชียงราย
  8. [5]ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง โอนเขตท้องที่หมู่บ้านและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลบัวสลีและตำบลป่าก่อดำ ในท้องที่อำเภอเมืองเชียงราย จังหวัดเชียงราย
  9. [6]ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอเมืองเชียงราย จังหวัดเชียงราย
  10. [7]ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอเมืองเชียงรายและอำเภอเทิง จังหวัดเชียงราย
  11. [8]ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง แต่งตั้งสุขาภิบาลแม่ลาว อำเภอเมืองเชียงราย จังหวัดเชียงราย
  12. [9]ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอพะเยา อำเภอแม่จัน อำเภอเมืองเชียงราย จังหวัดเชียงราย
  13. [10]ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง แบ่งท้องที่อำเภอเชียงราย จังหวัดเชียงราย ตั้งเป็นกิ่งอำเภอเวียงชัย
  14. [11]พระราชกฤษฎีกาเปลี่ยนแปลงเขตเทศบาลเมืองเชียงราย จังหวัดเชียงราย (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๑๙
  15. [12]ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่กิ่งอำเภอเวียงชัย อำเภอเมืองเชียงราย จังหวัดเชียงราย
  16. [13]พระราชกฤษฎีกาตั้งอำเภอหนองกุงศรี อำเภอไทรงาม อำเภอบ้านฝาง อำเภออุบลรัตน์ อำเภอเวียงชัย อำเภอดอยเต่า อำเภอนิคมคำสร้อย อำเภอนาหว้า อำเภอเสิงสาง อำเภอศรีสาคร อำเภอบึงสามพัน อำเภอนาดูน อำเภอค้อวัง อำเภอโพธิ์ชัย อำเภอเมืองสรวง อำเภอปลวกแดง อำเภอยางชุมน้อย อำเภอกาบเชิง อำเภอสุวรรณคูหา และอำเภอกุดข้าวปุ้น พ.ศ. ๒๕๒๒
  17. [14]ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอเมืองเชียงราย อำเภอเทิง จังหวัดเชียงราย
  18. [15]ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอเมืองเชียงราย จังหวัดเชียงราย
  19. [16]ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอเมืองเชียงราย จังหวัดเชียงราย
  20. [17]ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอเมืองเชียงราย และอำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย
  21. [18]ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและกำหนดเขตตำบล ในท้องที่อำเภอเมืองเชียงราย และอำเภอแม่สรวย จังหวัดเชียงราย
  22. [19]ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและกำหนดเขตตำบล ในท้องที่อำเภอเมืองเชียงราย จังหวัดเชียงราย
  23. [20]ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งสุขาภิบาลป่าก่อดำ อำเภอเมืองเชียงราย จังหวัดเชียงราย
  24. [21]ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง แบ่งเขตท้องที่อำเภอเมืองเชียงราย จังหวัดเชียงราย ตั้งเป็นกิ่งอำเภอแม่ลาว
  25. [22]พระราชกฤษฎีกาเปลี่ยนแปลงเขตเทศบาลเมืองเชียงราย จังหวัดเชียงราย (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๓๘
  26. [23]ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและกำหนดเขตตำบลในท้องที่อำเภอเมืองเชียงราย และกิ่งอำเภอแม่ฟ้าหลวง จังหวัดเชียงราย
  27. [24]พระราชกฤษฎีกาตั้งอำเภอเหนือคลอง อำเภอนายายอาม อำเภอท่าตะเกียบ อำเภอขุนตาล อำเภอแม่ฟ้าหลวง อำเภอแม่ลาว อำเภอรัษฎา อำเภอพุทธมณฑล อำเภอวังน้ำเขียว อำเภอเจาะไอร้อง อำเภอชำนิ อำเภอโนนดินแดง อำเภอปางมะผ้า อำเภอสนธิ อำเภอหนองม่วง อำเภอเบญจลักษ์ อำเภอโพนนาแก้ว อำเภอบุ่งคล้า อำเภอดอนมดแดง และอำเภอลืออำนาจ พ.ศ. ๒๕๓๙
  28. [25]ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การกำหนดเขตตำบลในท้องที่อำเภอเมืองเชียงราย จังหวัดเชียงราย
  29. [26]ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนแปลงฐานะเทศบาลเมืองเป็นเทศบาลนคร [เทศบาลนครภูเก็ต, เทศบาลนครเชียงราย]
  30. จำนวนประชากรและบ้าน จำแนกเป็นรายอำเภอ และรายตำบล จังหวัดเชียงราย ณ เดือนธันวาคม พ.ศ. 2553, สำนักบริหารทะเบียน กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย
  31. [27]ประกาศจังหวัดเชียงราย เรื่อง ตั้งและกำหนดเขตหมู่บ้าน [อำเภอเมืองเชียงราย แยกหมู่บ้าน บ้านร่องเบ้อ หมู่ที่ ๑๙ ตำบลห้วยสัก จัดตั้งเป็นหมู่บ้านใหม่ อีก ๑ หมู่บ้าน ชื่อหมู่บ้าน เนินสะดวก โดยตั้งเป็นหมู่ที่ ๓๑ ตำบลห้วยสัก อำเภอพาน แยกหมู่บ้าน บ้านสันนคร หมู่ที่ ๓ ตำบลสันมะเค็ด จัดตั้งเป็นหมู่บ้านใหม่อีก ๑ หมู่บ้าน ชื่อ หมู่บ้านศรีนคร โดยตั้งเป็นหมู่ที่ ๒๐ ตำบลสันมะเค็ด ให้บ้านสันนคร หมู่ที่ ๓ ตำบลสันมะเค็ด แยกหมู่บ้าน บ้านกล้วยทรายทอง หมู่ที่ ๑๖ ตำบลสันมะเค็ด จัดตั้งเป็นหมู่บ้านใหม่ อีก ๑ หมู่บ้าน ชื่อหมู่บ้านกล้วยทรายเงิน หมู่ที่ ๒๑ ตำบลสันมะเค็ด ให้บ้านกล้วยทรายทอง หมู่ที่ ๑๖ ตำบลสันมะเค็ด อำเภอแม่สรวย แยกหมู่บ้าน บ้านดอยช้าง หมู่ที่ ๓ จัดตั้งเป็นหมู่บ้านใหม่อีก ๒ หมู่บ้าน หมู่บ้านที่หนึ่ง ชื่อหมู่บ้าน ดอยช้างลีซู โดยจัดตั้งเป็นหมู่ที่ ๒๖ ตำบลวาวี หมู่บ้านที่สอง ชื่อหมู่บ้านดอยช้างใหม่ โดยจัดตั้งเป็นหมู่ที่ ๒๗ ตำบลวาวี ให้หมู่บ้านดอยช้าง หมู่ที่ ๓ ตำบลวาวี แยกหมู่บ้าน บ้านห้วยน้ำขุ่น หมู่ที่ ๑๖ ตำบลท่าก๊อ จัดตั้งเป็นหมู่บ้านใหม่อีก ๑ หมู่บ้าน ชื่อหมู่บ้านใหม่จะคะ โดยตั้งเป็นหมู่ที่ ๒๘ ตำบลท่าก๊อ ให้หมู่บ้านห้วยน้ำขุ่น หมู่ที่ ๑๖ ตำบลท่าก๊อ อำเภอเชียงแสน แยกหมู่บ้าน บ้านสันธาตุ หมู่ที่ ๔ ตำบลโยนก จัดตั้งเป็นหมู่บ้านใหม่อีก ๑ หมู่บ้าน ชื่อหมู่บ้าน สันธาตุใหม่พัฒนา โดยตั้งเป็นหมู่ที่ ๙ ตำบลโยนก ให้หมู่บ้านสันธาตุหมู่ที่ ๔ ตำบลโยนก อำเภอพญาเม็งราย แยกหมู่บ้าน บ้านเย้าแม่ต๋ำ หมู่ที่ ๔ ตำบลตาดควัน จัดตั้งเป็นหมู่บ้านใหม่อีก ๑ หมู่บ้าน ชื่อหมู่บ้าน รักษ์พนา โดยตั้งเป็นหมู่ที่ ๙ ตำบลตาดควัน ให้หมู่บ้าน เย้าแม่ต๋ำ หมู่ที่ ๔ ตำบลตาดควัน อำเภอป่าแดด แยกหมู่บ้าน บ้านวังน้อย หมู่ที่ ๕ ตำบลสันมะค่า จัดตั้งเป็นหมู่บ้านใหม่อีก ๑ หมู่บ้าน ชื่อหมู่บ้าน วังแสงทอง โดยตั้งเป็นหมู่ที่ ๙ ตำบลสันมะค่า ให้หมู่บ้านวังน้อย หมู่ที่ ๕ ตำบลสันมะค่า อำเภอแม่ฟ้าหลวง แยกหมู่บ้าน บ้านห้วยอื้น หมู่ที่ ๑๐ ตำบลเทอดไทย จัดตั้งเป็นหมู่บ้านใหม่อีก ๑ หมู่บ้าน ตามหนังสือกระทรวงมหาดไทย ที่ มท ๐๓๑๐.๑/ว ๔๑๓๙ ลงวันที่ ๑๒ กรกฎาคม ๒๕๖๒ ชื่อหมู่บ้าน จะป่า หมู่ที่ ๒๐ ตำบลเทอดไทย แต่เนื่องจากตำบลเทอดไทยมีหมู่บ้านเดิมอยู่จำนวน ๑๘ หมู่บ้าน เมื่อได้รับการอนุมัติจากกระทรวงมหาดไทยให้จัดตั้งหมู่บ้าน ใหม่เพิ่มขึ้นอีก ๑ หมู่บ้าน จึงทำให้มีจำนวนหมู่บ้านทั้งสิ้น ๑๙ หมู่บ้าน ดังนั้น เพื่อให้การจัดเรียงลำดับหมู่บ้านใหม่เป็นตามลำดับและเป็นไปตามหนังสือกระทรวงมหาดไทย ที่ มท ๐๓๑๑.๑/ว ๓๒๘๔ ลงวันที่ ๒ พฤศจิกายน ๒๕๓๗ จึงขอเรียงลำดับหมู่บ้านที่ได้รับจัดตั้งใหม่ ชื่อหมู่บ้านจะป่า โดยตั้งเป็นหมู่ที่ ๑๙ ตำบลเทอดไทย ให้หมู่บ้านห้วยอื้น หมู่ที่ ๑๐ ตำบลเทอดไทย ]