อามส์ (วิดีโอเกม)
อามส์ | |
---|---|
ไอคอนเมนูหลัก ซึ่งแสดงภาพสปริงแมนที่โดนริบบอนเกิร์ลต่อย (เห็นแขนเท่านั้น) | |
ผู้พัฒนา | นินเท็นโดเอนเตอร์เทนเมนต์แพลนนิงแอนด์ดีเวลอปเมนต์ |
ผู้จัดจำหน่าย | นินเท็นโด |
กำกับ |
|
อำนวยการผลิต | โคซูเกะ ยาบูกิ |
ออกแบบ | ชินตาโร จิกูมารุ |
โปรแกรมเมอร์ | เค็นตะ ซาโต |
ศิลปิน | มาซาอากิ อิชิกาวะ |
แต่งเพลง |
|
เครื่องเล่น | นินเท็นโด สวิตช์ |
วางจำหน่าย | 16 มิถุนายน ค.ศ. 2017 |
แนว | ต่อสู้, กีฬา |
รูปแบบ | ผู้เล่นเดี่ยว, หลายผู้เล่น |
อามส์[a] (อังกฤษ: ARMS) เป็นเกมต่อสู้ ค.ศ. 2017 ที่พัฒนาและเผยแพร่โดยบริษัทนินเท็นโดสำหรับนินเท็นโด สวิตช์ เกมดังกล่าวสร้างความแตกต่างจากเกมต่อสู้มาตรฐานด้วยระบบการต่อสู้ที่แหวกแนว ซึ่งตัวละครที่เล่นได้ทุกตัวจะต่อสู้ด้วยการโจมตีระยะไกล รวมถึงผู้เล่นสูงสุดสี่คนสามารถเลือกนักสู้ ตลอดจนต่อสู้โดยใช้อาวุธที่ยืดออกได้และหลากหลาย เพื่อเอาชนะคู่ต่อสู้ในสังเวียนสามมิติ ซึ่งโดยทั่วไป อามส์ได้รับคำวิจารณ์ที่ดีจากนักวิจารณ์และขายได้มากกว่าสองล้านชุดเมื่อถึงเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 2018 ทำให้เป็นหนึ่งในเกมที่ขายดีที่สุดของนินเท็นโด สวิตช์
รูปแบบการเล่น
[แก้]อามส์เป็นเกมกีฬาต่อสู้ 3 มิติ ที่ผู้เล่นสูงสุดสี่คนสามารถควบคุมหนึ่งในนักสู้ที่หลากหลาย โดยผู้เล่นสามารถดำเนินการต่อสู้ขั้นพื้นฐานซึ่งใช้แขนที่ยืดออกได้ เช่น การต่อย, การทุ่ม, การบล็อก และการหลบ[1][2] อามส์นำเสนอนักสู้ที่สามารถเล่นได้สิบห้าตัวละคร รวมถึงมินมิน และทวินเทล โดยห้าตัวละครในนั้นได้รับการเปิดตัวในฐานะเนื้อหาที่ดาวน์โหลดได้[3] นักสู้แต่ละคนเริ่มต้นด้วยอามส์พิเศษสามแบบที่สามารถเลือกได้ในการต่อสู้ แต่การใช้อามส์ของนักสู้คนอื่นทั้งหมดสามารถปลดล็อกได้ในโหมดเก็ตอามส์ นอกจากนี้ นักสู้ทุกคนยังมีคุณสมบัติพิเศษในการต่อสู้เช่นกัน[4] เมื่อชาร์จมิเตอร์โจมตีจนเต็ม ผู้เล่นจะสามารถปล่อย "ท่าพิเศษ" ที่สร้างความเสียหายสูงใส่คู่ต่อสู้ อีกทั้งผู้เล่นยังสามารถชาร์จพลังโจมตีเพื่อเพิ่มความเสียหายชั่วคราวและใช้เอฟเฟกต์ธาตุได้[5] ส่วนตัวละครแต่ละตัวมีความสามารถที่แตกต่างกันและอาวุธเฉพาะสำหรับกลยุทธ์ที่แตกต่างกัน ผู้เล่นสามารถใช้ส่วนควบคุมการเคลื่อนไหวของจอยคอนของระบบหรืออินพุตปุ่มมาตรฐานกับตัวควบคุม เช่น โปรคอนโทรลเลอร์ เพื่อควบคุมอาร์มแต่ละตัวแยกกัน รวมถึงผู้เล่นยังสามารถปรับแต่งค่าโหลดของอาร์มได้เช่นกัน โดยสามารถเลือกอาร์มแต่ละตัวได้อย่างอิสระ ทุกอาร์มจะแตกต่างกันด้วยคุณสมบัติธาตุและน้ำหนักที่แตกต่างกันซึ่งส่งผลต่อการเล่นเกม อนึ่ง ผู้เล่นสูงสุดสี่คนสามารถเล่นในแมตช์เดียวได้ ทั้งแบบมวยหมู่สามเส้าหรือสี่เส้า หรือในโหมดสองต่อสองที่เพื่อนร่วมทีมถูกล่ามไว้ด้วยกัน[6][7]
นอกจากโหมดการต่อสู้มาตรฐานแล้ว อามส์ยังมีโหมดอื่น ๆ อีกหลายโหมด ได้แก่: เวอร์ซัส, กรังด์ปรีซ์ และโหมดแบตเทิลที่หลากหลาย โดยในโหมดกรังด์ปรีซ์ ผู้เล่นจะต้องแข่ง 10 แมตช์กับนักสู้ที่ควบคุมด้วยคอมพิวเตอร์เพื่อชิงเข็มขัดแชมป์ ส่วนโหมดแบตเทิลประกอบด้วยโหมดวอลเลย์บอลกับบาสเกตบอล, โหมดทำลายเป้าหมาย และโหมดเอาชีวิตรอด[6] ผู้เล่นยังสามารถเล่นออนไลน์ในล็อบบีแมตช์ปาร์ตีที่มีผู้เล่นสูงสุด 20 คน หรือในเกมจัดอันดับแบบตัวต่อตัว[8] ซึ่งอามส์ได้นำเสนอนักสู้ที่สามารถเล่นได้สิบคนในการเปิดตัว โดยมีนักสู้เพิ่มเติมอีกห้าคนที่เพิ่มเข้ามาผ่านการอัปเดตหลังวางจำหน่าย[9][10]
การพัฒนา
[แก้]เกมดังกล่าวได้รับการพัฒนาโดยแผนกเอนเตอร์เทนเมนต์แพลนนิงแอนด์ดีเวลอปเมนต์ของบริษัทนินเท็นโด ที่อำนวยการผลิตโดยโคซูเกะ ยาบูกิ[11] ซึ่งในตอนเริ่ม เกมนี้เริ่มต้นขึ้นด้วยความต้องการที่จะดูว่ามุมมองหลังกล้องสามารถทำงานในเกมต่อสู้ได้หรือไม่[11] ในการทำให้แนวคิดนี้ได้ผล คุณสมบัติหลักของแขนยืดได้ถูกนำมาใช้ โดยยาบูกิระบุว่า "เรามาพูดถึงเกมที่ผมรู้จักดี - อย่างมาริโอคาร์ต ที่มีบางอย่างปรากฏขึ้นในระยะไกล และคุณบังคับทิศทางที่เกี่ยวข้องกับสิ่งนั้น - นั่นคือโครงสร้างพื้นฐาน ของเกมดังกล่าว" โดยอ้างอิงถึงมาริโอคาร์ต และรูปแบบการเล่นที่มีอิทธิพลต่ออามส์'[12]
ในช่วงต้น แนวคิดของการมีตัวละครหลักของบริษัทนินเท็นโด เช่น ลิงก์ และมาริโอ ได้รับการพิจารณา อย่างไรก็ตาม ด้วยสุนทรีย์ของเกม โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับแนวคิดของแขนที่ยืดออกได้นั้นขัดแย้งกับพวกมัน และในที่สุดก็มีการตัดสินใจว่าจะมีการสร้างตัวละครใหม่ขึ้นมา[13] และความเป็นไปได้ของการเพิ่มตัวละครจากเกมพันช์-เอาต์!! ก็ได้รับการพิจารณาเช่นกัน แต่ทีมพัฒนากังวลเกี่ยวกับการทำให้แฟน ๆ ของแฟรนไชส์นั้นหมางเมิน และอาจทำให้ผู้เล่นใหม่สับสน[14]
การออกแบบตัวละครเริ่มต้นด้วยแขนก่อน โดยทีมงานต้องคิดย้อนกลับว่าตัวละครประเภทใดจะได้ครอบครองมัน เช่น ตัวละครที่ชื่อเฮลิกซ์ ได้เริ่มด้วยแนวคิดของนักสู้ที่มีแขนเป็นสายดีเอ็นเอ แม้ว่าตอนแรกทีมงานจะไม่รู้อะไรอย่างอื่นเกี่ยวกับเขามากนัก นักสู้ส่วนใหญ่ได้รับการออกแบบมาเพื่อตอบสนองความต้องการในรูปแบบการเล่น แม้ว่าจะมีข้อยกเว้นบางประการที่การออกแบบต้องมาก่อน[13] แนวคิดแรกเริ่มของเกมคือตัวละครใช้อุปกรณ์ภายนอกเพื่อต่อยคู่ต่อสู้ อย่างไรก็ตาม สิ่งนี้ถูกทิ้งในภายหลังเพื่อสนับสนุนตัวละครที่ยืดแขนจริงของพวกเขา[15] ทั้งนี้ ผู้กำกับฝ่ายศิลป์อย่างมาซาอากิ อิชิกาวะ ได้กล่าวว่ารูปแบบศิลปะของเกมได้รับอิทธิพลอย่างมากจากดราก้อนบอล และอากิระ[16] ส่วนยาบูกิได้กล่าวว่า เมื่อเทียบกับตัวเอกคนเดียวแล้ว ตัวละครทั้งหมดเป็นตัวเอกของเกม[17]
การตลาด
[แก้]เกมดังกล่าวได้รับการประกาศในงานนินเท็นโด สวิตช์ พรีเซนเทชัน เมื่อวันที่ 12 มกราคม ค.ศ. 2017 และวางจำหน่ายทั่วโลกในวันที่ 16 มิถุนายน ค.ศ. 2017[1][18] โดยก่อนที่เกมนี้จะวางจำหน่าย มีเดโมหลายผู้เล่นที่รู้จักกันในชื่อ "อามส์โกลเบิลเทสต์พันช์" ให้ดาวน์โหลดในนินเท็นโด อีช็อป โดยผู้เล่นสามารถทดลองรูปแบบการเล่นออนไลน์ได้ในช่วงสิบสองเซสชันยาวหนึ่งชั่วโมงแยกกัน[19][20]
มีการเผยแพร่การอัปเดตหลังการวางจำหน่ายที่ไม่สม่ำเสมอซึ่งมีตัวละครที่ผู้เล่นควบคุม, ด่าน และอามส์ใหม่[21] เนื้อหาเพิ่มเติมที่เผยแพร่ฟรีเหล่านี้เป็นไปตามรูปแบบการอัปเดตของเกมสพลาทูน[22] ในขณะที่การสาธิตเทสต์พันช์ก็พร้อมใช้งานหลายครั้งเช่นกัน เกมดังกล่าวได้รับตัวละครและด่านใหม่ผ่านเนื้อหาที่ดาวน์โหลดได้จนถึงเดือนธันวาคม ค.ศ. 2017 เมื่อทางบริษัทนินเท็นโดประกาศว่าจะไม่เพิ่มเนื้อหาใหม่ลงในเกมอีกต่อไปนอกเหนือจากการอัปเดตความสมดุล[23][24][25]
หมายเหตุ
[แก้]- ↑ アームズ Āmuzu, มีรูปแบบการเขียนคือ ARMS
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 Frank, Allegra (January 12, 2017). "Arms is a fantasy fighter for Nintendo Switch". Polygon. สืบค้นเมื่อ January 13, 2017.
- ↑ Alexander, Julia (January 13, 2017). "Arms is the competitive, motion controlled fighting game coming to Nintendo Switch". Polygon. สืบค้นเมื่อ January 13, 2017.
- ↑ Gilyadov, Alex (June 15, 2017). "E3 2017: First Arms DLC Character Revealed". IGN. สืบค้นเมื่อ June 19, 2017.
- ↑ Ramos, Jeff (June 16, 2017). "How to choose the best character in Arms". Polygon. สืบค้นเมื่อ June 20, 2017.
- ↑ Nunneley, Stephany (June 8, 2017). "Arms – here are six tips to help you dominate opponents". VG247. สืบค้นเมื่อ June 15, 2017.
- ↑ 6.0 6.1 "Battle Modes - ARMS for Nintendo". Nintendo. สืบค้นเมื่อ June 15, 2017.
- ↑ Karassik, Neila (June 12, 2017). "Nintendo Switch's ARMS Is A Knockout - And That's No Stretch". Space.
- ↑ Stark, Chelsea (May 17, 2017). "Arms' new game modes are a weird take on classic sports". Polygon. สืบค้นเมื่อ June 6, 2017.
- ↑ Frank, Allegra (August 22, 2017). "Arms' new fighter is a human balloon animal". Polygon. สืบค้นเมื่อ August 23, 2017.
- ↑ Romano, Sal (November 15, 2017). "Arms version 4.0 update now available, adds new fighter Misango". Gematsu. สืบค้นเมื่อ November 16, 2017.
- ↑ 11.0 11.1 ARMS Dev. Talk - ft. Mr. Yabuki (ภาษาอังกฤษ), สืบค้นเมื่อ 2019-10-07
- ↑ Reynolds, Matthew (2018-03-22). "Early prototype of Arms revealed, including a cut bowling mini-game". Eurogamer (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2019-10-07.
- ↑ 13.0 13.1 Webster, Andrew (June 6, 2017). "How Nintendo Created Its Wild New Cast of Fighters for Switch Game Arms". The Verge. สืบค้นเมื่อ June 8, 2017.
- ↑ McWhertor, Michael (March 26, 2018). "Arms director Kosuke Yabuki on the past and future of the Switch fighting game". Polygon. สืบค้นเมื่อ March 26, 2018.
- ↑ Hillard, Kyle (June 7, 2017). "Arms' Creators On Twintelle's Popularity And The Strange Lore Of The Game's World". Game Informer. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-05-26. สืบค้นเมื่อ June 8, 2017.
- ↑ Cox, Simon; Davison, John (June 14, 2017). "'Because Nintendo': 'Arms' Producer Explains Why Fighters Have Stretchy Arms". Rolling Stone. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ September 3, 2020. สืบค้นเมื่อ October 21, 2017.
- ↑ Sakurai, Masahiro (2020-06-22). Super Smash Bros. Ultimate – Mr. Sakurai Presents "Min Min" (Video) (ภาษาญี่ปุ่น). Nintendo.
- ↑ Goldfarb, Andrew (April 12, 2017). "Splatoon 2 Release Date, Amiibo Set Announced". IGN. สืบค้นเมื่อ April 12, 2017.
- ↑ "ARMS for the Nintendo Switch™ home gaming system – Official Site". Nintendo. สืบค้นเมื่อ May 19, 2017.
- ↑ Roberts, David (May 17, 2017). "Try out Nintendo's upcoming Switch fighter Arms with two Global Testpunch events, starting May 26". GamesRadar. สืบค้นเมื่อ May 18, 2017.
- ↑ Nintendo (May 17, 2017). "ARMS Direct 5.17.2017". YouTube. สืบค้นเมื่อ May 18, 2017.
- ↑ McCarthy, Caty (May 17, 2017). "Arms Unveils New Characters, Modes, a Global Testpunch, and More in Latest Nintendo Direct". USGamer. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ May 20, 2017. สืบค้นเมื่อ May 18, 2017.
- ↑ Nintendo (December 22, 2017). ""Theoretically strongest" fighter entry! "ARMS" Ver. 5 update". Nintendo. สืบค้นเมื่อ December 23, 2017.
- ↑ "Nintendo's Arms Gets Its Last New Character". 22 December 2017. สืบค้นเมื่อ 25 February 2019.
- ↑ McWhertor, Michael (October 5, 2017). "NINTENDO HAS 'NO PLANS' FOR ADDITIONAL ARMS CONTENT". IGN. สืบค้นเมื่อ January 25, 2018.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- เว็บไซต์ทางการ (archived)