อินทรีฮาสท์
อินทรีฮาสท์ ช่วงเวลาที่มีชีวิตอยู่: สมัยไพลสโตซีนถึงสมัยโฮโลซีนตอนปลาย | |
---|---|
หัวกะโหลกอินทรีฮาสท์ที่พิพิธภัณฑ์แคนเทอร์เบอรี (ไครสต์เชิร์ช) | |
สถานะการอนุรักษ์ | |
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ | |
โดเมน: | ยูแคริโอต Eukaryota |
อาณาจักร: | สัตว์ Animalia |
ไฟลัม: | สัตว์มีแกนสันหลัง Chordata |
ชั้น: | สัตว์ปีก Aves |
อันดับ: | เหยี่ยว Accipitriformes |
วงศ์: | เหยี่ยวและนกอินทรี Accipitridae |
สกุล: | Hieraaetus Hieraaetus (Haast, 1872) |
สปีชีส์: | †Hieraaetus moorei |
ชื่อทวินาม | |
†Hieraaetus moorei (Haast, 1872) | |
ชื่อพ้อง | |
|
อินทรีฮาสท์ (อังกฤษ: Haast's Eagle; ชื่อวิทยาศาสตร์: Hieraaetus moorei) คืออินทรีสายพันธุ์หนึ่งซึ่งสูญพันธุ์ไปแล้ว ครั้งหนึ่งมันเคยอาศัยอยู่ที่เกาะใต้ของนิวซีแลนด์ โดยทั่วไปยอมรับเป็นโปวาไกในตำนานมาวรี[2] เป็นสายพันธุ์อินทรีที่เชื่อกันว่ามีขนาดใหญ่ที่สุดเท่าที่มีมา โดยมีน้ำหนักประมาณ 15 กิโลกรัม (33 ปอนด์) เมื่อเทียบกับ นกอินทรีฮาร์ปี (Harpia harpyja) ที่มีขขนาดใหญ่รองลงมาที่ 9 กิโลกรัม (20 ปอนด์)[3] ด้วยขนาดที่ใหญ่มากได้รับการอธิบายว่าเป็นผลจากการวิวัฒนาการต่อขนาดของเหยื่อที่เป็นนกโมอาบินไม่ได้ ซึ่งตัวที่มีขนาดใหญสุดสามารถมีน้ำหนักถึง 230 กิโลกรัม (510 ปอนด์)[4] อินทรีฮาสท์สูญพันธุ์ประมาณ ค.ศ. 1400 หลังการเข้ามาของชาวมาวรีที่ล่าเหยื่อโมอามากกว่ามัน[5]
รายละเอียด
[แก้]อินทรีฮาสท์มีถิ่นกำเนิดในนิวซีแลนด์ ได้ชื่อว่าเป็นนกอินทรีที่ใหญ่ที่สุดในโลก[6] โดยมันมีความยาวจากปลายปีกข้างหนึ่งไปยังอีกข้างหนึ่งกว่า 10 ฟุต หรือสามเมตร น้ำหนักราว 15 -20 กิโลกรัม กรงเล็บของอินทรีฮาสท์มีขนาดพอ ๆ กับเล็บเสือโคร่ง จัดว่าเป็นนักล่าที่น่ากลัวที่สุดของนิวซีแลนด์ เนื่องจากนกอินทรีชนิดนี้อาศัยอยู่ในเกาะใต้ซึ่งพื้นที่ส่วนใหญ่ปกคลุมด้วยป่าหนาทึบ มันจึงมีปีกที่ค่อนข้างสั้นเมื่อเทียบตามสัดส่วนร่างกาย ทั้งนี้เพื่อให้เป็นประโยชน์ขณะที่บินล่าเหยื่อในป่า ช่วงปีกค่อนข้างสั้นและแผ่กว้างทำให้อินทรีฮาสท์ไม่ร่อนหาเหยื่อจากที่สูงเหมือนอย่างพวกแร้ง แต่มักจะบินไปตามแนวป่ามากกว่า[7][8]
เหยื่อสำคัญของอินทรีฮาสท์คือบรรดานกโมอาชนิดต่าง ๆ โดยเฉพาะนกโมอายักษ์ที่หนักกว่า 250 กิโลกรัม แม้ว่าโมอายักษ์จะใหญ่กว่าอินทรีฮาสท์หลายเท่า แต่มันก็ค่อนข้างเชื่องช้าและยังมีคอและศีรษะขนาดเล็กทำให้ง่ายต่อการโจมตี โดยอินทรีฮาสต์จะโฉบลงที่ลำคอหรือไม่ก็ศีรษะของเหยื่อ ก่อนใช้กรงเล็บสังหารเหยื่อของมัน เนื่องจากเหยื่อของมันมีขนาดใหญ่มาก อินทรีฮาสต์จึงมักกินเหยื่อที่พื้นและอยู่กับซากเป็นเวลาหลายวัน การที่อินทรีฮาสต์ล่าเหยื่อขนาดใหญ่อย่างนกโมอายักษ์ ก็เพราะว่าในนิวซีแลนด์ มันเป็นนักล่าที่ใหญ่ที่สุดของดินแดนแห่งนี้[9] ตามปกติสัตว์จำพวกเหยี่ยวและนกอินทรีจะล่าเหยื่อที่มีขนาดเล็กกว่าพวกมันเพื่อให้ง่ายต่อการนำขึ้นไปกินบนกิ่งไม้สูงทั้งนี้ เพื่อไม่ให้ถูกสัตว์นักล่าบนพื้นดินชนิดอื่นที่แข็งแรงกว่ามาแย่งเหยื่อไป แต่ในนิวซีแลนด์ไม่มีสัตว์นักล่าบนพื้นดิน ที่แข็งแกร่งกว่าอินทรีฮาสท์ ทำให้พวกมันสามารถกินเหยื่อบนพื้นดินได้โดยไม่ต้องกลัวถูกแย่งไป ไม่เคยมีชาวผิวขาวคนใดได้เห็น นกอินทรีฮาสท์ คงมีเพียงชาวมาวรีเท่านั้นที่เคยเห็นมัน
กระดูกของอินทรียักษ์ ถูกค้นพบครั้งแรกในปี 1871[10] ระหว่างการขุดค้นกระดูกนกโมอาที่บึงเกลมมาร์ก (Glemmark) ในแคนเทอร์บรี (Canterbury) จากนั้นได้มีการศึกษา และตั้งชื่อในปีต่อมา กระดูกของอินทรีฮาสท์ไม่ได้พบทั่วไป แต่มีอยู่เฉพาะในเกาะใต้ และทางตอนใต้ของเกาะเหนือของประเทศนิวซีแลนด์เท่านั้น[11]
นักวิทยาศาสตร์เชื่อว่านกอินทรีฮาสท์เป็นนกนักล่าที่น่ากลัวที่สุดของนิวซีแลนด์[12] พวกมันสามารถล่าเหยื่อขนาดใหญ่อย่างนกโมอาที่หนักกว่า 250 กิโลกรัมได้ โดยนกอินทรีฮาสท์จะใช้วิธีพุ่งเข้าชนเหยื่อ แรงปะทะของมันจะทำให้นกโมอาเสียหลักล้มลง จากนั้นมันจึงเล่นงานด้วยกรงเล็บ นอกจากนี้พวกมันก็อาจเล่นงานชาวพื้นเมืองเหมือนดังในตำนานก็ได้[13]
สูญพันธุ์
[แก้]งานวิจัยหนึ่งประมาณการจำนวนประชากรอินทรีฮาสท์ไว้ที่ 3,000 ถึง 4,500 คู่[14] มนุษย์ที่ตั้งถิ่นฐานยุคแรกในนิวซีแลนด์ (บรรพบุรุษของชาวมาวรีเดินทางมาเมื่อประมาณ ค.ศ. 1280) ล่านกขนาดใหญ่ที่บินไม่ได้ ซึ่งรวมถึงโมอาทุกชนิด เป็นจำนวนมาก และทำให้พวกมันสูญพันธุ์เมื่อประมาณ ค.ศ. 1400[5] ทั้งอินทรีและชาวมาวรีน่าจะแข่งขันเพื่อหาอาหารชนิดเดียวกัน[15] อินทรีชนิดนี้พึงพานกที่บินไม่ได้ขนาดปานกลางและขนาดใหญ่อย่างมาก ซึ่งต่างจากมนุษย์ การสูญเสียเหยื่อหลักทำให้อินทรีฮาสท์สูญพันธุ์เมื่อช่วงเดียวกันโดยประมาณ[15]
ความสัมพันธ์กับมนุษย์
[แก้]มีบางคนเชื่อว่านกชนิดนี้ปรากฏในตำนานของชาวมาวรีหลายแห่งภายใต้ชื่อ โปวาไก, hokioi หรือ ฮากาไว[16] ข้อมูลที่เซอร์ จอร์จ เกรย์ ผู้ว่าการนิวซีแลนด์ยุคต้น ได้รับมา รายงานว่า Hokioi เป็นนกขนาดใหญ่สีดำ-ขาว ที่มีหน้าอกสีแดงและปลายปีกสีเหลือง-เขียว ในตำนานของชาวมาวรีบางเรื่อง Pouakai ฆ่ามนุษย์ ซึ่งนักวิทยาศาสตร์หลายคนเชื่อว่าอาจมีความเป็นไปได้หากชื่อนี้เกี่ยวข้องกับนกอินทรี เนื่องด้วยขนาดและความแข็งแกร่งที่ใหญ่โตของนก[16] อย่างไรก็ตาม มีผู้โต้แย้งว่าตำนาน "hakawai" และ "hokioi" สื่อถึงนกปากซ่อม Coenocorypha นกชนิดหนึ่งที่สูญพันธุ์ในเกาะใต้[17]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "Aquila moorei. NZTCS". nztcs.org.nz. สืบค้นเมื่อ 21 July 2023.
- ↑ Giant eagle (Aquila moorei), Haast's eagle, or Pouakai. Museum of New Zealand: Te Papa Tongarewa. Retrieved 27 October 2010.
- ↑ Knapp, Michael; Thomas, Jessica E.; Haile, James; Prost, Stefan; Ho, Simon Y.W.; Dussex, Nicolas; Cameron-Christie, Sophia; Kardailsky, Olga; Barnett, Ross; Bunce, Michael; Gilbert, M. Thomas P. (May 2019). "Mitogenomic evidence of close relationships between New Zealand's extinct giant raptors and small-sized Australian sister-taxa". Molecular Phylogenetics and Evolution (ภาษาอังกฤษ). 134: 122–128. doi:10.1016/j.ympev.2019.01.026. PMID 30753886. S2CID 73420145.
- ↑ Davies, S.J.J.F. (2003)
- ↑ 5.0 5.1 Perry, George L.W.; Wheeler, Andrew B.; Wood, Jamie R.; Wilmshurst, Janet M. (2014-12-01). "A high-precision chronology for the rapid extinction of New Zealand moa (Aves, Dinornithiformes)". Quaternary Science Reviews. 105: 126–135. Bibcode:2014QSRv..105..126P. doi:10.1016/j.quascirev.2014.09.025.
- ↑ Lerner, H. R., & Mindell, D. P. (2005). Phylogeny of eagles, Old World vultures, and other Accipitridae based on nuclear and mitochondrial DNA. Molecular phylogenetics and evolution, 37(2), 327-346.
- ↑ Ladyguin, Alexander (2000). The morphology of the bill apparatus in the Steller’s Sea Eagle. First Symposium on Steller’s and White-tailed Sea Eagles in East Asia pp. 1–10; Ueta, M. & McGrady, M.J. (eds.) Wild Bird Society of Japan
- ↑ Blas R. Tabaranza Jr. "Haribon – Ha ring mga Ibon, King of Birds". Haring Ibon’s Flight…. สืบค้นเมื่อ 2013.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ Lerner, H. R., & Mindell, D. P. (2005). Phylogeny of eagles, Old World vultures, and other Accipitridae based on nuclear and mitochondrial DNA. Molecular phylogenetics and evolution, 37(2), 327-346.
- ↑ Lerner, H. R., & Mindell, D. P. (2005). Phylogeny of eagles, Old World vultures, and other Accipitridae based on nuclear and mitochondrial DNA. Molecular phylogenetics and evolution, 37(2), 327-346.
- ↑ Bunce, M. (2005). "Ancient DNA Provides New Insights into the Evolutionary History of New Zealand's Extinct Giant Eagle". PLoS Biology. 3 (1): e9. doi:10.1371/journal.pbio.0030009. PMC 539324. PMID 15660162.
{{cite journal}}
: ไม่รู้จักพารามิเตอร์|coauthors=
ถูกละเว้น แนะนำ (|author=
) (help) - ↑ Brathwaite, D. H. (December 1992). "Notes on the weight, flying ability, habitat, and prey of Haast's Eagle (Harpagornis moorei)" (PDF). Notornis. 39 (4): 239–247. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-01-19. สืบค้นเมื่อ 2013-09-07.
Ornithology of the Southern Pacific
- ↑ Braithwaite, D.H. "NOTES ON THE WEIGHT, FLYING ABILITY, HABITAT, AND PREY OF HAAST'S EAGLE (Harpagornis moorei)" (PDF). Notornis, journal of the Ornithological Society of New Zealand (Inc.). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-01-19. สืบค้นเมื่อ 2013-03-28.
- ↑ Evans, Kate (November 2018). "Return of the Lost Birds". New Zealand Geographic (ภาษาอังกฤษ) (154): 30. ISSN 0113-9967.
- ↑ 15.0 15.1 Tennyson, A.; Martinson, P. (2006). Extinct Birds of New Zealand. Wellington, New Zealand: Te Papa Press. ISBN 978-0-909010-21-8.
- ↑ 16.0 16.1 Rodgers, Paul (14 September 2009). "Maori legend of man-eating bird is true". The Independent. สืบค้นเมื่อ 14 September 2009.
- ↑ Miskelly, C. M. (1987). "The identity of the hakawai" (PDF). Notornis. 34 (2): 95–116. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-10-09.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- Martinson, Paul (2006). "Haast's Eagle. Harpagornis moorei". Wellington: Te Papa Press. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 17 October 2012. สืบค้นเมื่อ 6 May 2022.
Artwork produced for the book Extinct Birds of New Zealand by Alan Tennyson
- Wingspan Birds of Prey Trust
- "Haast Eagle". New Zealand Birds Limited.
- "New Zealand Eagle". NZ Conservation Trust. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 27 September 2007.
Charles Douglas' reputed sighting
- "Harpagornis Moorei". Te Papa Tongarewa: Museum of New Zealand.
- Haast's Eagle on BBC