[go: up one dir, main page]

ข้ามไปเนื้อหา

หมู่เกาะรีวกีว

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
หมู่เกาะรีวกีว
ภูมิศาสตร์
ที่ตั้งทะเลจีนตะวันออก
พิกัด26°19′58″N 127°44′56″E / 26.33278°N 127.74889°E / 26.33278; 127.74889
การปกครอง
ประเทศญี่ปุ่น
ประชากรศาสตร์
เดมะนิมRyukyuans

หมู่เกาะรีวกีว (ญี่ปุ่น: 琉球列島โรมาจิRyūkyū-shotō; โอกินาวะ: ルーチュー รูชู) หรือ หมู่เกาะนันเซ (ญี่ปุ่น: 南西諸島โรมาจิNansei-shotōทับศัพท์: แปลตามตัวอักษรคือ หมู่เกาะตะวันตกเฉียงใต้) [1] เป็นหมู่เกาะยาวรูปโซ่ในแปซิฟิกตะวันตก อยู่สุดขอบทางตะวันออกของทะเลจีนตะวันออก และอยู่ทางตะวันตกเฉียงใต้ของเกาะคีวชูในประเทศญี่ปุ่น จากประมาณปี ค.ศ. 1829 จนถึงกลางคริสต์ศตวรรษที่ 20 หมู่เกาะรีวกีวมีชื่อเรียกอื่นอีกในภาษาอังกฤษคือ Luchu Loochoo หรือ Lewchew ซึ่งภาษาจีนกลางออกเสียงว่า หลิวฉิว (จีน: 琉球; พินอิน: Liúqiú) หมู่เกาะวางทอดตัวยาวไปทางตะวันตกเฉียงใต้จากเกาะคีวชูของญี่ปุ่นไปถึงเกาะไต้หวัน

หมู่เกาะแบ่งการปกครองออกเป็นหมู่เกาะซัตสึนัง (Satsunan Islands) ที่อยู่ทางเหนือเป็นของจังหวัดคาโงชิมะ และรีวกีวโชโต (Ryūkyū Shotō) ที่อยู่ทางใต้เป็นของจังหวัดโอกินาวะของประเทศญี่ปุ่น เกาะโยรง (Yoron) เป็นเกาะใต้สุดของหมู่เกาะซัตสึนัง และโยนางูนิ (Yonaguni) เป็นเกาะใต้สุดของหมู่เกาะรีวกีว เกาะขนาดใหญ่ที่สุดคือเกาะโอกินาวะ (ญี่ปุ่น: 沖縄本島โรมาจิOkinawa-hontō)

สภาพภูมิอากาศของหมู่เกาะรีวกีวมีความหลากหลายตามตำแหน่งที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ โดยเมื่อจำแนกตามลักษณะการแบ่งเขตภูมิอากาศแบบเคิพเพิน หมู่เกาะตอนบนมีลักษณะภูมิอากาศแบบอบอุ่นชื้น (Cfa) ในขณะที่หมู่เกาะตอนล่างมีลักษณะภูมิอากาศแบบป่าดิบชื้น (Af) นอกจากนี้ หมู่เกาะรีวกีวมีอัตราหยาดน้ำฟ้าในปริมาณสูงมาก โดยเป็นผลมาจากปัจจัยแวดล้อม ได้แก่ ฤดูฝนและไต้ฝุ่น

มีภาษาท้องถิ่นคือภาษารีวกีว ซึ่งแตกต่างจากเกาะอื่น ๆ และภาษาอื่น

อ้างอิง

[แก้]
  1. Tsuneyoshi, Ukita (1993). Nihon-dai-chizuchō (Grand Atlas Japan). Heibonsha. ISBN 4-582-43402-9.

บรรณานุกรม

[แก้]
  • This article incorporates text from the 1878 edition of the Globe Encyclopaedia of Universal Information, a work in the public domain

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]