[go: up one dir, main page]

ข้ามไปเนื้อหา

สมเด็จพระราชชนนีพันปีหลวง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สมเด็จพระราชินีเอลิซาเบธ พระราชชนนีในสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 แห่งสหราชอาณาจักร

สมเด็จพระราชชนนีพันปีหลวง (อังกฤษ: queen mother สำหรับพระราชินี และ empress mother สำหรับพระจักรพรรดินี) คือ ภรรยาม่ายของพระมหากษัตริย์รัชกาลก่อน และเป็นพระราชมารดาของพระมหากษัตริย์รัชกาลปัจจุบัน[1] ในภาษาอังกฤษคำว่า queen mother เริ่มใช้มาตั้งแต่ ค.ศ. 1560[2]

ในสากล "Queen Mother" มักจะหมายถึงสมเด็จพระราชินีเอลิซาเบธ พระราชชนนีในสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 แห่งสหราชอาณาจักร ที่ทรงดำรงพระอิสริยยศนี้ยาวนานกว่า 50 ปี

พระราชสถานะ

[แก้]

ในกัมพูชา

[แก้]

ในราชสำนักกัมพูชายุคหลัง มีการสถาปนาสมเด็จพระราชชนนีพันปีหลวงว่า พระวรราชินี โดยมีสถานะเป็นเจ้า มีการเพ็ดทูลด้วยคำราชาศัพท์ มีลัญจกรประจำพระองค์[3] และมีพระราชอำนาจปกครองขุนนางผู้ใหญ่ผู้ดูแลจังหวัดไพรแวง อันลงราช และมุขกำปูล[4] มีรายพระนามเจ้าฝ่ายในที่ดำรงพระราชอิสริยยศพระวรราชินี ได้แก่

ปัจจุบันราชสำนักกัมพูชามิได้ออกพระอิสริยยศแก่พระราชชนนีว่าพระวรราชินีแล้ว แต่ระบุในสร้อยพระนามเป็น พระวรราชมาดาชาติเขมร (ព្រះ​​វររាជ​មាតា​ជាតិ​ខ្មែរ) แก่เจ้าฝ่ายในพระองค์ล่าสุด คือ พระมหาวีรกษัตรีย์ นโรดม มุนีนาถ สีหนุ พระวรราชมาดาชาติเขมร

ในเกาหลี

[แก้]

ราชวงศ์โชซ็อน

[แก้]

มีรายพระนามเจ้านายฝ่ายในที่ดำรงพระราชอิสริยยศสมเด็จพระราชชนนีพันปีหลวง ได้แก่

นอกจากนี้ยังมีเจ้านายฝ่ายในที่ได้รับการสถาปนาเป็นสมเด็จพระราชชนนีพันปีหลวง โดยที่มิได้เป็นสมเด็จพระราชินีมาก่อน อาจได้รับการสถาปนาพร้อมพระราชสวามีที่สวรรคตไปก่อนหน้านั้น หรือสถาปนาหลังจากเจ้านายฝ่ายในพระองค์นั้นสวรรคตแล้ว ได้แก่

ในเดนมาร์ก

[แก้]

มีรายพระนามเจ้านายฝ่ายในที่ดำรงพระราชอิสริยยศสมเด็จพระราชชนนีพันปีหลวง ได้แก่

ในบริเตน

[แก้]

ในบริเตน ตำแหน่งสมเด็จพระราชชนนีพันปีหลวง (queen mother) เป็นพระอิสริยยศสำหรับอดีตพระราชินีในรัชกาลก่อนและเป็นพระราชมารดาในพระมหากษัตริย์รัชกาลปัจจุบัน จะต่างจากสมเด็จพระราชินีวิธวา (queen dowager) ที่เป็นพระราชินีในรัชกาลก่อน แต่มิได้เป็นพระราชมารดาของพระมหากษัตริย์รัชกาลปัจจุบัน โดยเจ้านายที่ดำรงพระราชอิสริยยศที่สมเด็จพระราชชนนีพันปีหลวง ได้แก่

ส่วนเจ้าหญิงวิกตอเรียแห่งซัคเซิน-โคบวร์ค-ซาลเฟลด์ เป็นพระราชชนนีของสมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรียนั้น ไม่นับว่าเป็นสมเด็จพระราชชนนีพันปีหลวง (queen mother) เพราะมีพระสวามีเป็นดยุกและมิได้เป็นพระมหากษัตริย์

ในไทย

[แก้]

กรุงสุโขทัย

[แก้]

จารึกวัดบูรพารามและจารึกวัดตาเถรขึงหนังเรียกตำแหน่งสมเด็จพระราชชนนีพันปีหลวงในราชวงศ์พระร่วงว่า พระกันโลง เช่น

กรุงศรีอยุธยาและธนบุรี

[แก้]

ตำแหน่งสมเด็จพระราชชนนีพันปีหลวงในราชสำนักอยุธยาตอนปลายเรียกว่า กรมพระเทพามาตย์ ซึ่งตกทอดมาจนถึงรัชสมัยสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี[6] เจ้านายฝ่ายในที่ดำรงพระอิสริยยศที่กรมพระเทพามาตย์ เท่าที่ปรากฏพระนาม ได้แก่

กรุงรัตนโกสินทร์

[แก้]
สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง เป็นพระราชชนนีของพระมหากษัตริย์ไทยถึงสองพระองค์
สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง เป็นพระราชชนนีของพระมหากษัตริย์ไทยพระองค์ล่าสุด

ในช่วงรัตนโกสินทร์ ยังคงยึดบรรทัดฐานมาแต่ยุคกรุงศรีอยุธยาเป็นหลัก และใช้ตั้งพระนามสมเด็จพระราชชนนีพันปีหลวง ได้แก่ สมเด็จกรมพระอมรินทรามาตย์ (หรือ สมเด็จพระอมรินทรามาตย์)[8], สมเด็จกรมพระศรีสุริเยนทรามาตย์ และกรมสมเด็จพระเทพศิรินทรามาตย์ เป็นต้น เมื่อจะออกพระนามก็จะเรียกว่า "สมเด็จพระพันปีหลวงกรมพระเทพามาตย์" ต่อมาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย มีการเปลี่ยนชื่อเจ้ากรม โดยเติมคำว่า "สมเด็จ" นำหน้าพระนามพระราชชนนี เป็น "สมเด็จกรมพระอมรินทรามาตย์" คือ "สมเด็จ (ของ) กรมพระอมรินทรามาตย์"[9] ล่วงมาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระราชบัญญัติพระนามใหม่ให้มีกรมนำหน้าสมเด็จ จึงออกพระนามเป็น "กรมสมเด็จพระศรีสุริเยนทรามาตย์" แล้วไม่พบความแตกต่างกับกรมสมเด็จพระองค์อื่น ๆ จึงเติมลำดับศักดิ์ต่อท้ายเป็น "กรมสมเด็จพระศรีสุริเยนทรามาตย์ สมเด็จพระบรมราชชนนี"[10] ครั้นรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระราชวินิจฉัยที่จะออกพระนามสมเด็จพระพันปีหลวงเป็น "สมเด็จพระบรมราชชนนี กรมพระเทพศิรินธรามาตย์" หรือเรียกอย่างย่อว่า "สมเด็จกรมพระเทพศิรินธรามาตย์" ส่วนพระนามของสมเด็จพระพันปีหลวงพระองค์อื่น มีคำนำหน้าพระนามแตกต่างกันตามลำดับเครือญาติ ได้แก่ สมเด็จพระบรมราชไปยิกา กรมพระอมรินทรามาตย์, สมเด็จพระบรมราชไอยิกา กรมพระศรีสุริเยนทรามาตย์ และสมเด็จพระราชมหาไปยิกา กรมพระศรีสุลาไลย และเรียกพระนามอย่างย่อรูปแบบเดียวกันแต่ต่างที่พระนามของแต่ละพระองค์[11]

กระทั่งในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงได้รับอิทธิพลจากชาติตะวันตก จึงโปรดให้เฉลิมพระปรมาภิไธยแก่สมเด็จพระบรมราชชนนีว่า "สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนี"[12] ภายหลังเพิ่มเติมอีกครั้งว่า "สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพระพันปีหลวง"[13] ตามลำดับ และทรงแก้ไขพระนามพระบรมอัฐิของสมเด็จพระอัครมเหสีและพระราชชนนีในรัชกาลก่อนทั้งสิ้น โดยทรงตัดคำว่า "มาตย์" อันเป็นชื่อขุนนางเจ้ากรมออก แล้วเพิ่มคำว่า "พระบรมราชินี" ลงไป[14] อันเป็นแบบแผนในการปรับใช้มาจนถึงปัจจุบัน มีพระนามดังต่อไปนี้[15]

  1. สมเด็จพระอมรินทราบรมราชินี (พ.ศ. 2280–2369) เป็นพระอรรคชายาเดิมในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช และเป็นสมเด็จพระบรมราชชนนีพันปีหลวงในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย
  2. สมเด็จพระศรีสุริเยนทราบรมราชินี (พ.ศ. 2310–2379) เป็นสมเด็จพระพันวษาในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย และเป็นสมเด็จพระบรมราชชนนีพันปีหลวงในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (สถาปนาหลังเสด็จสวรรคต)
  3. สมเด็จพระศรีสุลาลัย (พ.ศ. 2314–2380) เป็นพระสนมเอกในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย และเป็นสมเด็จพระบรมราชชนนีพันปีหลวง[ก]ในพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว
  4. สมเด็จพระเทพศิรินทราบรมราชินี (พ.ศ. 2377–2404) เป็นพระราชเทวีในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และเป็นสมเด็จพระบรมราชชนนีพันปีหลวงในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (สถาปนาหลังเสด็จสวรรคต)
  5. สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง (พ.ศ. 2407–2462) เป็นสมเด็จพระบรมราชินีนาถในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และเป็นสมเด็จพระบรมราชชนนีพันปีหลวงในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวและพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว
  6. สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง (พ.ศ. 2475–ปัจจุบัน) เป็นสมเด็จพระบรมราชินีนาถในพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร และเป็นสมเด็จพระบรมราชชนนีพันปีหลวงในพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว

ส่วนสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีไม่นับว่าเป็นสมเด็จพระบรมราชชนนีพันปีหลวง เพราะพระสวามีมิใช่พระมหากษัตริย์ จึงจัดเป็นเจ้าหญิงพระราชชนนี (princess mother) ส่วนสมเด็จพระนางเจ้าอินทรศักดิศจี พระบรมราชินีในรัชกาลที่ 6 มิได้ประสูติการพระราชโอรสและยังถูกลดพระยศเป็นสมเด็จพระวรราชชายา จึงนับเป็นเจ้าหญิงพระวรราชชายา (Her Royal Highness Princess Woraracha Chaya) และสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินีในรัชกาลที่ 7 นั้นไม่มีพระราชโอรสสืบราชสมบัติจึงมิได้สถาปนาเป็นสมเด็จพระบรมราชชนนีพันปีหลวง แต่เป็นสมเด็จพระราชินีวิธวา (queen dowager)

ล้านนา

[แก้]

ตำแหน่งสมเด็จพระราชชนนีพันปีหลวงในราชวงศ์มังรายแห่งอาณาจักรล้านนาจะเรียกว่า มหาเทวี[16][ข] ซึ่งตำแหน่งมหาเทวีนี้ครอบคลุมไปถึงพระราชชนนีของรัชกาลปัจจุบันที่มิได้เป็นพระมเหสีในพระมหากษัตริย์รัชกาลก่อน ดังพระราชชนนีในพญายอดเชียงราย[17] มหาเทวีหลายพระองค์ล้วนมีพระราชอำนาจสูงในราชสำนักแม้ว่าพระราชสวามีจะถูกถอดถอนหรือปลงพระชนม์ แต่พระมหาเทวีก็ยังคงมีอำนาจอยู่เบื้องหลังราชสำนัก[18] และยังมีบทบาทในการปกครองอาณาจักรร่วมกับพระราชโอรส โดยในหลักฐานมีการเรียกมหาเทวีและกษัตริย์ว่า "พระเป็นเจ้าสองพระองค์" และ "พระเป็นเจ้าแม่ลูกทั้งสอง"[19][20][21][22] นอกจากนี้บางพระองค์ได้แหวกจารีตขึ้นมามีบทบาทครองอำนาจในฐานะพระมหากษัตริย์ก็มี[18] เท่าที่ปรากฏพระนามได้แก่

ในตุรกี

[แก้]
ภายในห้องส่วนพระองค์ในพระตำหนักวาลีเดซุลตัน ภายในพระราชฐานชั้นในพระราชวังโทพคาปึ

ในยุคจักรวรรดิออตโตมัน แต่เดิมใช้ธรรมเนียมเรียกสมเด็จพระราชชนนีพันปีหลวงอย่างเปอร์เซียว่า มะฮ์ด-อี อิวล์ยา (ตุรกี: mehd-i ülya; เปอร์เซีย: مهد علیا)[32] ซึ่งภายหลังได้เรียกตำแหน่งสำหรับสมเด็จพระราชชนนีพันปีหลวงว่า วาลีเดซุลตาน (ตุรกี: Valide sultan, ตุรกีออตโตมัน: والده سلطان แปลตรงตัวว่า "พระชนนีของสุลต่าน") สำหรับสุลต่านหญิง (Sultana) ผู้เป็นพระชายาในสุลต่านรัชกาลก่อน และเป็นพระราชชนนีของสุลต่านรัชกาลปัจจุบัน[32] วาลีเดซุลตันพระองค์แรกคือฮัฟซา ซุลตาน (Hafsa Sultan, حفصه سلطان) พระชายาในสุลต่านเซลิมที่ 1 และเป็นพระราชชนนีของสุลต่านสุลัยมานผู้เกรียงไกร

ตำแหน่งวาลีเดซุลตันนี้เป็นพระอิสริยยศและพระราชอำนาจรองจากสุลต่าน ตามธรรมเนียมอิสลามคือ "สิทธิของบุพการีคือสิทธิของพระผู้เป็นเจ้า"[33] วาลีเดซุลตันทรงมีพระราชอำนาจยิ่งในพระราชสำนัก, มีห้องส่วนพระองค์ (ที่มักอยู่ติดกับห้องของพระราชโอรสผู้เป็นสุลต่าน) และมีพระราชอำนาจเหนือบรรดาข้าราชการ[32] ในคริสต์ศตวรรษที่ 17 ช่วงเวลานั้นวาลีเดซุลตันทรงมีพระราชอำนาจเหนือสุลต่านวัยเยาว์ จึงถูกเรียกว่า "รัฐสุลต่านของฝ่ายใน"[34]

ในสวีเดน

[แก้]

มีรายพระนามเจ้านายฝ่ายในที่ดำรงพระราชอิสริยยศสมเด็จพระราชชนนีพันปีหลวง ได้แก่

อ้างอิง

[แก้]
หมายเหตุ

ใน พระพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ 3 ระบุว่าสมเด็จพระศรีสุลาลัยเป็นสมเด็จพระพันปีหลวง[35] มหาเทวี มีความหมายกว้าง ๆ อาจหมายถึง "พระราชเทวี หรือนางกษัตริย์ ส่วนใหญ่หมายถึงพระบรมราชชนนีของพระมหากษัตริย์"[36]

เชิงอรรถ
  1. A queen mother is defined as "A Queen dowager who is the mother of the reigning sovereign" by both the Oxford English Dictionary and Webster's Third New International Dictionary.
  2. Oxford English Dictionary
  3. เรืองเดชอนันต์ (ทองดี ธนรัชต์), พันตรี หลวง. ราชพงษาวดารกรุงกัมพูชา. กรุงเทพฯ : ไทยควอลิตี้บุ๊คส์ (2006), 2563, หน้า 267
  4. เรืองเดชอนันต์ (ทองดี ธนรัชต์), พันตรี หลวง. ราชพงษาวดารกรุงกัมพูชา. กรุงเทพฯ : ไทยควอลิตี้บุ๊คส์ (2006), 2563, หน้า 277
  5. กรมพระดำรงราชานุภาพ, พระเจ้าบรมวงศเธอ. ลัทธิธรรมเนียมต่าง ๆ ภาคที่ 21 เรื่องพิธีราชาภิเษกสมเด็จพระมณีวงศ พระเจ้ากรุงกัมพูชา สมเด็จพระเจ้าบรมวงศเธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ ทรงแปลถอดจากภาษาเขมร. พระนคร : โสภณพิพรรฒนากร, 2472, หน้า 1
  6. David K. Wyatt. Thailand: A Short History. Yale University Press. p. 140.
  7. เล็ก พงษ์สมัครไทย. เฉลิมพระยศ เจ้านายฝ่ายในในรัชกาลที่ ๑-๙. กรุงเทพฯ : ฐานบุ๊คส์, 2552, หน้า 16
  8. ทิพากรวงศมหาโกษาธิบดี (ขำ บุนนาค), เจ้าพระยา. พระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ 3. กรุงเทพฯ : ไทยควอลิตี้บุ๊คส์ (2006), 2560, หน้า 67, 97
  9. จุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว, พระบาทสมเด็จพระ. พระราชวิจารณ์ ใน พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เรื่องจดหมายความทรงจำของพระเจ้าไปยิกาเธอ กรมหลวงนรินทรเทวี (เจ้าครอกวัดโพธิ์) ตั้งแต่ จ.ศ. 1129 ถึง 1182 เป็นเวลา 53 ปี. กรุงเทพฯ : ศรีปัญญา, 2552, หน้า 194
  10. จุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว, พระบาทสมเด็จพระ. พระราชวิจารณ์ ใน พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เรื่องจดหมายความทรงจำของพระเจ้าไปยิกาเธอ กรมหลวงนรินทรเทวี (เจ้าครอกวัดโพธิ์) ตั้งแต่ จ.ศ. 1129 ถึง 1182 เป็นเวลา 53 ปี. กรุงเทพฯ : ศรีปัญญา, 2552, หน้า 195-196
  11. จุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว, พระบาทสมเด็จพระ. พระราชวิจารณ์ ใน พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เรื่องจดหมายความทรงจำของพระเจ้าไปยิกาเธอ กรมหลวงนรินทรเทวี (เจ้าครอกวัดโพธิ์) ตั้งแต่ จ.ศ. 1129 ถึง 1182 เป็นเวลา 53 ปี. กรุงเทพฯ : ศรีปัญญา, 2552, หน้า 201
  12. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศเฉลิมพระปรมาภิไธย, เล่ม ๒๗, ตอน ๐ง, ๔ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๕๓, หน้า ๒๐๒๒
  13. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชพิธี คำถวายชัยมงคลของข้าทูลละอองธุลีพระบาท แด่สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนารถ พระบรมราชชนนีพระพันปีหลวง, เล่ม ๓๒, ตอน ง, ๙ มกราคม พ.ศ. ๒๔๕๘, หน้า ๒๓๙๒
  14. ดารณี ศรีหทัย. สมเด็จรีเยนต์. กรุงเทพฯ : มติชน, 2554, หน้า 81-82
  15. "พระราชหัตถ์เลขาส่วนพระองค์ สมเด็จพระรามาธิบดี ศรีสินทรมหาจุฬาลงกรณ์ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชทานแด่ สมเด็จพระศรีพัชรินทรา บรมราชินีนารถ พระบรมราชชนนี ในเวลาที่ทรงสำเร็จราชการแผ่นดินต่างพระองค์ เมื่อเสด็จพระราชดำเนินประพาศยุโรป พ.ศ. ๒๔๔๐ พระราชประวัติสังเขป". วชิรญาณ. สืบค้นเมื่อ 6 พฤษภาคม 2563. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  16. สรัสวดี อ๋องสกุล, ศาสตราจารย์. ประวัติศาสตร์ล้านนา. พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพฯ:อมรินทร์, 2552. หน้า 272
  17. "จารึกวัดพวกชอด". ฐานข้อมูลจารึกในประเทศไทย ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์มหาชน). สืบค้นเมื่อ 12 พฤศจิกายน 2559. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)[ลิงก์เสีย]
  18. 18.0 18.1 18.2 สุเนตร ชุตินธรานนท์. ดร. พม่ารบไทย. พิมพ์ครั้งที่ 10. กรุงเทพฯ : มติชน, 2554. หน้า 287-290
  19. ประชุมศิลาจารึก ภาคที่ 3. คณะกรรมการจัดการพิมพ์เอกสารทางประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม และโบราณคดี สำนักนายกรัฐมนตรี, 2508, หน้า 195
  20. ประชุมศิลาจารึก ภาคที่ 3. คณะกรรมการจัดการพิมพ์เอกสารทางประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม และโบราณคดี สำนักนายกรัฐมนตรี, 2508, หน้า 198
  21. ประชุมศิลาจารึก ภาคที่ 4. คณะกรรมการจัดการพิมพ์เอกสารทางประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม และโบราณคดี สำนักนายกรัฐมนตรี, 2508, หน้า 112
  22. สุจิตต์ วงษ์เทศ (บรรณาธิการ). ประชุมศิลาจารึกเมืองพะเยา. กรุงเทพฯ : มติชน, หน้า 263
  23. เฉลิมวุฒิ ต๊ะคำมี. ความสัมพันธ์ระหว่างชนชั้นปกครองของล้านนาและสุโขทัย : ข้อคิดใหม่และข้อสังเกตบางประการ. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2559, หน้า 6
  24. เฉลิมวุฒิ ต๊ะคำมี. ความสัมพันธ์ระหว่างชนชั้นปกครองของล้านนาและสุโขทัย : ข้อคิดใหม่และข้อสังเกตบางประการ. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2559, หน้า 48
  25. สรัสวดี อ๋องสกุล. ประวัติศาสตร์ล้านนา. พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพฯ : อมรินทร์, 2552, หน้า 228
  26. เฉลิมวุฒิ ต๊ะคำมี. ความสัมพันธ์ระหว่างชนชั้นปกครองของล้านนาและสุโขทัย : ข้อคิดใหม่และข้อสังเกตบางประการ. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2559, หน้า 48
  27. พิเศษ เจียจันทร์พงษ์. การเมืองในประวัติศาสตร์ ยุคสุโขทัย-อยุธยา พระมหาธรรมราชา กษัตราธิราช. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : มติชน, 2553, หน้า 48
  28. เพ็ญสุภา สุขคตะ ใจอินทร์. (27 กรกฎาคม 2555). "ใครคือ “มหาเทวีแม่ลูกสอง” ผู้มิใช่ “มหาเทวีสองแม่ลูก”". มติชนสุดสัปดาห์. 32:1667, หน้า 76
  29. สรัสวดี อ๋องสกุล. ประวัติศาสตร์ล้านนา. พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพฯ : อมรินทร์, 2552, หน้า 168
  30. สุเนตร ชุตินธรานนท์. ดร. พม่ารบไทย. พิมพ์ครั้งที่ 10. กรุงเทพฯ : มติชน, 2554. หน้า 293
  31. สรัสวดี อ๋องสกุล. ประวัติศาสตร์ล้านนา. พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพฯ : อมรินทร์, 2552, หน้า 273
  32. 32.0 32.1 32.2 Davis, Fanny (1986). "The Valide". The Ottoman Lady: A Social History from 1718 to 1918. ISBN 0-313-24811-7.
  33. "Can Muslims Celebrate Mother's Day?". Belief.net. สืบค้นเมื่อ August 22, 2016.
  34. Peirce, Leslie P., The Imperial Harem: Women and Sovereignty in the Ottoman Empire, Oxford University Press, 1993, ISBN 0-19-508677-5 (paperback)
  35. ทิพากรวงศมหาโกษาธิบดี (ขำ บุนนาค), เจ้าพระยา. พระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ 3. กรุงเทพฯ : ไทยควอลิตี้บุ๊คส์ (2006), 2560, หน้า191
  36. เหมันต สีหศักกพงศ์ สุนทร, นาวาตรี. "ปราสาทนกหัสดีลิงค์แห่งแผ่นดินล้านนา". งานพระเมรุ: ศิลปสถาปัตยกรรม ประวัติศาสตร์ และวัฒนธรรมเกี่ยวเนื่อง. กรุงเทพฯ : มติชน, 2560, หน้า 55

ดูเพิ่ม

[แก้]