[go: up one dir, main page]

ข้ามไปเนื้อหา

สงครามจีน–ญี่ปุ่นครั้งที่สอง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สงครามจีน-ญี่ปุ่นครั้งที่สอง
ส่วนหนึ่งของ สมัยระหว่างสงครามและแนวรบแปซิฟิกของสงครามโลกครั้งที่สอง
จากบนลงล่าง ซ้ายไปขวา: กองทัพจักรวรรดิญี่ปุ่นใช้แก๊สพิษเข้าโจมตีที่มั่นทหารจีน, ทหารญี่ปุ่นขณะใช้ปืนกลหนักไทป์ 92, กองกำลังเอ็กซ์ในอินเดียเมื่อ ค.ศ. 1942, กองศพชาวจีนที่ถูกสังหารในการสังหารหมู่นานกิง, เครื่องบินญี่ปุ่นขณะทิ้งระเบิดเมืองฉงชิ่ง, รังปืนกลของทหารจีนในยุทธการที่อู่ฮั่น
วันที่7 กรกฎาคม ค.ศ. 1937[a] – 2 กันยายน ค.ศ. 1945 (8 ปี 1 เดือน 3 สัปดาห์ และ 5 วัน)
สถานที่
ผล

จีนชนะ[b]

ดินแดน
เปลี่ยนแปลง
จีนได้รับดินแดนที่เสียไปจากการทำสนธิสัญญาชิโมะโนะเซะกิกลับคืนจากญี่ปุ่น
คู่สงคราม

 จีน

การสนับสนุนของต่างชาติ:

ญี่ปุ่น ญี่ปุ่น

ผู้บังคับบัญชาและผู้นำ

ไต้หวัน เจียงไคเช็ก
ไต้หวัน เฉิน เฉิง
ไต้หวัน หยาน สีซาน
ไต้หวัน หลี่ จงเหริน
ไต้หวัน ซื่อ หยู
ไต้หวัน ไป้ ช่งฉี่
ไต้หวัน ตัน เอนโบ
เหมา เจ๋อตง
จู เต๋อ
เผิง เต๋อหวย
หลิน เปียว
สหรัฐ โจเซฟ สติลเวลล์
สหรัฐ แคลร์ ลี เชนนลต์
สหรัฐ อัลเบิร์ต เวดเมเยอร์

สหภาพโซเวียต วาซีลี ชุยคอฟ

จักรวรรดิญี่ปุ่น จักรพรรดิฮิโรฮิโต
จักรวรรดิญี่ปุ่น ฮิเดะกิ โทโจ
จักรวรรดิญี่ปุ่น ฟุมิมะโระ โคะโนะเอะ
จักรวรรดิญี่ปุ่น คังอิน โคะโตะฮิโตะ
จักรวรรดิญี่ปุ่น มัตสึอิ อิวะเนะ
จักรวรรดิญี่ปุ่น ฮะจิเมะ ซุงิยะมะ
จักรวรรดิญี่ปุ่น ชุนโรกุ ฮะตะ
จักรวรรดิญี่ปุ่น โทะชิโซะ นิชิโอะ
จักรวรรดิญี่ปุ่น ยะสุจิ โอคามูระ
จักรวรรดิญี่ปุ่น อุเมะซุ โยะชิจิโระ
ประเทศแมนจูกัว จักรพรรดิปูยี

วาง จิงเว่ย์
กำลัง
ทหารจีน 5,600,000 นาย
เครื่องบินสหรัฐ 900+ ลำ[1]
ที่ปรึกษาและนักบินโซเวียต 3600+ นาย
ทหารญี่ปุ่น 3,900,000 นาย[2] ,
ทหารไส้ศึกจีน 900,000 นาย [3]
ความสูญเสีย

ทหารจีน (รวมที่บาดเจ็บ, เชลย, และสูญหาย) 3,220,000 นาย, พลเมือง 17,530,000 คน[4]

ทหารโซเวียต 227 นาย[5]
ทหารญี่ปุ่น (รวมที่บาดเจ็บ, เชลย, และสูญหาย) 1,100,000 นาย
1 ในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2485 กองบินฟลายอิ้งไทเกอร์ได้รับการยกระดับเป็นกองทัพอากาศสหรัฐกองบินที่ 14
2 สหภาพโซเวียตได้ให้ความข่วยเหลือทางทหารแก่จีนระหว่างปี พ.ศ. 2480 ถึง พ.ศ. 2484
3 ทหารส่วนใหญ่มาจากประเทศแมนจูกัว ซึ่งเป็นรัฐบาลหุ่นภายใต้การควบคุมของญี่ปุ่น


สงครามจีน-ญี่ปุ่นครั้งที่สอง (อังกฤษ: Second Sino-Japanese War ; จีน: 中國抗日戰爭 ; ญี่ปุ่น: 日中戦争) เป็นความขัดแย้งทางทหารที่เป็นการสู้รบหลักระหว่างสาธารณรัฐจีนและจักรวรรดิญี่ปุ่น ตั้งแต่วันที่ 7 กรกฎาคม ค.ศ. 1937 ถึงวันที่ 2 กันยายน ค.ศ. 1945 จุดเริ่มด้วยเหตุการณ์ ณ สะพานมาร์โค โปโลในปี ค.ศ. 1937 ซึ่งกลายเป็นข้อพิพาทระหว่างกองกำลังทหารจีนและญี่ปุ่นที่บานปลายจนต้องสู้รบกัน แหล่งข้อมูลบางแห่งในสาธารณรัฐประชาชนจีนยุคปัจจุบันได้มีการถือจุดเริ่มต้นของสงครามคือญี่ปุ่นบุกครองแมนจูเรียในปี ค.ศ. 1931[6]

จีนได้ต่อสู้รบกับญี่ปุ่นด้วยความช่วยเหลือจากสหภาพโซเวียตและสหรัฐอเมริกา ภายหลังญี่ปุ่นเข้าโจมตีเพิร์ลฮาร์เบอร์ในปี ค.ศ. 1941 สงครามได้รวมไปถึงความขัดแย้งที่อื่น ๆ ในสงครามโลกครั้งที่สอง ในฐานะที่เป็นเขตของแนวรบที่สำคัญที่ถูกเรียกว่า เขตสงครามจีน พม่า อินเดีย นักวิชาการบางคนได้ถือว่าจุดเริ่มต้นของสงครามจีน-ญี่ปุ่นครั้งที่สองอย่างเต็มรูปแบบในปี ค.ศ. 1937 คือจุดเริ่มต้นของสงครามโลกครั้งที่สอง[7][8] สงครามจีน-ญี่ปุ่นครั้งที่สองเป็นสงครามขนาดใหญ่ในภูมิภาคเอเชียในศตวรรษที่ 20[9] มันได้มีการถือว่าเป็นสาเหตุของการบาดเจ็บล้มตายของพลเรือนและทหารส่วนใหญ่ในสงครามแปซิฟิก กับระหว่างพลเรือนชาวจีนจำนวน 10 และ 25 ล้านคนและบุคลากรทหารชาวจีนและญี่ปุ่นที่กำลังใกล้ตายกว่า 4 ล้านนายจากความรุนแรงที่เกี่ยวข้องในสงคราม ความอดอยาก และสาเหตุอื่น ๆ

สงครามเป็นผลพวงจากนโยบายจักรวรรดินิยมของญี่ปุ่นที่มีมายาวนานหลายทศวรรษเพื่อขยายอิทธิพลทางการเมืองและทางทหารเพื่อความปลอดภัยในการเข้าถึงแหล่งแร่วัตถุดิบ อาหาร และแรงงาน ในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง นำมาซึ่งการเพิ่มความตึงเครียดให้กับการปกครองของญี่ปุ่น นักการเมืองฝ่ายซ้ายต้องการที่จะมีสิทธิในการออกเสียงการเลือกตั้งทั่วไปและสิทธิประโยชน์ที่มากขึ้นสำหรับแรงงาน การเพิ่มผลผลิตสิ่งทอจากโรงทอผ้าจีนเป็นการส่งผลกระทบต่อการผลิตของญี่ปุ่น ด้วยภาวะเศรษฐกิจตกต่ำครั้งใหญ่ทำให้การส่งออกสินค้าชะลอตัวลงอย่างมาก เหตุการณ์ทั้งหมดนี้ได้สนับสนุนแก่ฝ่ายทหารชาตินิยม ซึ่งท้ายที่สุดด้วยการก้าวขึ้นสู่อำนาจของกลุ่มทหารนิยมลัทธิฟาสซิสต์ กลุ่มนี้อยู่ภายใต้การนำโดยฮิเดกิ โทโจ คณะรัฐมนตรีของสมาคมให้ความช่วยเหลือการปกครองจักรวรรดิ (Imperial Rule Assistance Association) ภายใต้พระบรมราชโองการของสมเด็จพระจักรพรรดิฮิโระฮิโตะ ในปี ค.ศ. 1931 อุบัติการณ์มุกเดนได้ช่วยจุดชนวนด้วยการบุกครองแมนจูเรียของญี่ปุ่น ฝ่ายจีนต้องพบความปราชัยและญี่ปุ่นได้ก่อตั้งรัฐหุ่นเชิดขึ้นมาใหม่, หมั่นโจวกั๋ว นักประวัติศาสตร์หลายคนได้กล่าวอ้างว่า ปี ค.ศ. 1931 เป็นจุดเริ่มต้นของสงคราม[10][11][12] มุมมองเหล่านี้ได้รับการรับรองโดยรัฐบาลสาธารณรัฐประชาชนจีน ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1931 ถึง ค.ศ. 1937 จีนและญี่ปุ่นยังคงต่อสู้รบกันอย่างต่อเนื่องในการรบที่จำกัดวง ที่ถูกเรียกว่า "เหตุการณ์"

ในช่วงแรก ญี่ปุ่นได้รับชัยชนะครั้งใหญ่, ได้เข้ายึดครองทั้งเมืองเซี่ยงไฮ้และเมืองหลวงของจีนคือนานกิงในปี ค.ศ. 1937 ภายหลังจากความล้มเหลวในการหยุดยั้งญี่ปุ่นในยุทธการที่อู่ฮั่น รัฐบาลกลางของจีนได้ย้ายไปยังฉงชิ่ง (จุงกิง) ในส่วนภายในของประเทศจีน ในปี ค.ศ. 1939 ภายหลังจากจีนได้รับชัยชนะในฉางชาและกวางสี และด้วยเส้นสายการสื่อสารของญี่ปุ่นที่ขยายลึกเข้าไปในส่วนภายในประเทศจีน สงครามได้ทำให้เกิดจนมุม ญี่ปุ่นยังไม่สามารถเอาชนะกองทัพคอมมิวนิสต์จีนได้ในมณฑลฉ่านซี ซึ่งได้ดำเนินการทัพด้วยการก่อวินาศกรรมและรบแบบกองโจรเข้าปะทะกับผู้รุกราน ในขณะที่ญี่ปุ่นได้ปกครองเมืองขนาดใหญ่ พวกเขามีกำลังพลไม่เพียงพอที่จะควบคุมชนบทอันกว้างใหญ่ของแผ่นดินจีนได้ ในช่วงเวลานั้น, กองกำลังคอมมิวนิสต์จีนได้เปิดฉากการรุกตอบโต้กลับในภาคกลางของจีน ในขณะที่กองกำลังชาตินิยมจีนได้เปิดฉากการรุกขนาดใหญ่ในช่วงฤดูหนาว

เมื่อวันที่ 7 ธันวาคม ค.ศ. 1941 ญี่ปุ่นได้โจมตีเพิร์ลฮาร์เบอร์ และวันต่อมาสหรัฐอเมริกาได้ประกาศสงครามกับญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกาได้ให้ความช่วยเหลือแก่จีนโดยการขนส่งวัสดุผ่านทางอากาศเหนือเทือกเขาหิมาลัย หลังจากฝ่ายสัมพันธมิตรได้พ่ายแพ้ในพม่า เมื่อถนนเส้นสายพม่าถูกปิดกั้น ในปี ค.ศ. 1944 ญี่ปุ่นได้เปิดฉากปฏิบัติการอิชิโก คือการพิชิตเหอหนานและฉางชา อย่างไรก็ตาม, ด้วยความล้มเหลวครั้งนี้ได้นำไปสู่การยอมจำนนต่อกองทัพจีน ในปี ค.ศ. 1945 กองกำลังรบนอกประเทศจีนได้เริ่มต้นด้วยการเข้ารุกในพม่า และเชื่อมโยงกับถนนเลโด (Ledo Road) จากจีนถึงอินเดียได้สำเร็จ ในเวลาเดียวกัน, จีนได้เปิดฉากการรุกตอบโต้กลับขนาดใหญ่ในจีนตอนใต้และยึดเหอหนานตะวันตกและกวางสีคืน

แม้ว่าจะยังคงครอบครองส่วนหนึ่งของแผ่นดินจีนอยู่ ญี่ปุ่นได้ยอมจำนนในที่สุด เมื่อวันที่ 2 กันยายน ค.ศ. 1945 ต่อกองทัพฝ่ายสัมพันธมิตร ภายหลังจากการทิ้งระเบิดปรมณูที่เมืองฮิโรชิม่าและนางาซากิและโซเวียตบุกครองแมนจูเรียที่ญี่ปุ่นปกครองอยู่ กองกำลังยึดครองของญี่ปุ่นที่เหลืออยู่ (ยกเว้นแมนจูเรีย) ได้ยอมจำนนอย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่ 9 กันยายน ค.ศ. 1945 ภายหลังจากนั้นต่อมา, ศาลทหารระหว่างประเทศสำหรับตะวันออกไกลได้รวมตัวกัน เมื่อวันที่ 29 เมษายน ค.ศ. 1946 จากการประชุมที่กรุงไคโร เมื่อวันที่ 22-26 พฤศจิกายน ค.ศ. 1943 ฝ่ายสัมพันธมิตรในสงครามโลกครั้งที่สองได้ตัดสินใจที่จะหยุดยั้งและลงโทษต่อการรุกรานของญี่ปุ่น โดยการส่งคืนดินแดนทั้งหมดที่ญี่ปุ่นยึดครองไปจากจีน รวมถึงแมนจูเรีย เกาะไต้หวัน/ฟอร์โมซา และเกาะเปสกาโดเรส (เผิงหู) แก่จีน และขับไล่ญี่ปุ่นออกจากคาบสมุทรเกาหลี ประเทศจีนได้รับการยอมรับว่าเป็นหนึ่งในสี่ผู้ยิ่งใหญ่ของฝ่ายสัมพันธมิตรในช่วงสงครามและกลายเป็นหนึ่งในห้าสมาชิกถาวรของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ[13][14][15]

ภูมิหลัง

[แก้]
เจียงไคเช็ค ผู้บัญชาการทหารสูงสุดของจีนเป็นผู้วางแนวรบป้องกันการรุกรานของญี่ปุ่น

สงครามจีน-ญี่ปุ่นครั้งที่หนึ่ง

[แก้]

ความเป็นมาของสงครามจีน–ญี่ปุ่นครั้งที่สอง สามารถมองย้อนหลังกลับไปเมื่อครั้งสมัย สงครามจีน-ญี่ปุ่นครั้งที่หนึ่ง ระหว่างปี ค.ศ.1894 - ค.ศ.1895

ซึ่งประเทศจีนในสมัยนั้น ปกครองโดยราชวงศ์ชิงซึ่งในขณะนั้นถือเป็นช่วงที่ราชวงศ์ชิงตกอยู่ในสภาวะตกต่ำอ่อนแอยิ่งเนื่องจากประสบปัญหาต่อเนื่องจากผลพวงของสงครามฝิ่นกับอังกฤษ ทำให้ผู้คนในประเทศอ่อนแอทั้งจากเหตุการณ์จลาจลภายในประเทศทำให้จีนไม่สามารถพัฒนาประเทศให้เจริญเท่ากับชาติตะวันตกได้เท่าที่ควรทำให้เกิดความล้าหลังทางเศรษฐกิจและการทหารอีกทั้งยังถูกรุมเร้ากับภัยจากลัทธิจักรวรรดินิยมภายนอกประเทศ จนประเทศจีนถูกขนานนามว่าเป็น ขี้โรคแห่งเอเชีย อย่างดูถูกในขณะนั้น

ขณะเดียวกันในประเทศญี่ปุ่นมีการปฏิรูปเมจิ โดยจักรพรรดิเมจิ ทำให้สามารถรวบรวมอำนาจภายในประเทศให้เป็นปึกแผ่น อันเป็นผลทำให้ญี่ปุ่นสามารถปฏิรูปประเทศให้ทันสมัยทางด้านเศรษฐกิจและการทหารแบบตะวันตกและมีประสิทธิภาพ เมื่อญี่ปุ่นเจริญขึ้นจึงหันมาใช้นโยบายขยายอิทธิพลแบบจักรวรรดินิยมและลัทธิล่าอาณานิคม จึงหันมายึดครองเกาหลีและเข้ารุกรานประเทศจีน เป็นการเปิดฉากสงครามจีน-ญี่ปุ่นครั้งที่หนึ่ง ประเทศจีนนำโดยราชวงศ์ชิงต้องพ่ายแพ้สงครามแก่ประเทศญี่ปุ่น จึงจำต้องทำสนธิสัญญาชิโมะโนะเซะกิ อันเป็นสนธิสัญญาไม่เป็นธรรม ซึ่งมีผลบังคับให้จีนต้องยกดินแดนเผิงหูและคาบสมุทรเหลียวตงให้แก่ญี่ปุ่น และต้องรับรองเอกราชแก่เกาหลี จากเหตุการณ์นี้ทำให้ราชวงศ์ชิงต้องตกอยู่ในสถานการณ์ที่ตกต่ำอย่างยิ่ง[16]

สาธารณรัฐจีน

[แก้]

ความคับแค้นไม่พอใจต่อราชวงศ์ชิงทำให้ชาวจีนจำนวนมากต้องการกอบกู้ศักดิ์ศรีของประเทศและลุกฮือขึ้นเปลี่ยนแปลงการปกครองจนทำให้เกิดขบวนการถงเหมิงฮุ่ย มี ดร.ซุน ยัตเซ็น เป็นผู้นำการเคลื่อนไหวเกิดเหตุการณ์การปฏิวัติซินไฮ่ อันเป็นการล้มล้างราชวงศ์ชิง ทำให้ประเทศจีนได้เปลี่ยนแปลงการปกครองสู่ระบอบประชาธิปไตยแบบสาธารณรัฐ และได้สถาปนาสาธารณรัฐจีนขึ้น อย่างไรก็ตามสาธารณรัฐใหม่ก็ยังคงมีความอ่อนแอกว่าสมัยก่อน ทั้งปัญหาการแย่งชิงอำนาจของขุนศึกท้องถิ่นผู้มีอำนาจ ทำให้การพยายามที่จะรวบรวมประเทศให้เป็นปึกแผ่น การขับไล่ลัทธิจักรจรรดินิยมออกไปจากจีนเป็นเรื่องที่ยากลำบาก[17] ทำให้ขุนศึกบางคนต้องใช้นโยบายใกล้ชิดกับต่างชาติ ตัวอย่างเช่น ขุนศึก จาง จัวหลิน แห่งแมนจูเรีย ได้ร่วมมือกับญี่ปุ่น ในเรื่องความช่วยเหลือทางเศรษฐกิจ และทางทหาร[18]

การคุกคามประเทศจีนของญี่ปุ่น

[แก้]

ความต้องการ 21 ประการ

[แก้]

ในปี พ.ศ. 2458 ญี่ปุ่นได้ประกาศความต้องการ 21 ประการ ในการรีดบังคับทั้งในเรื่องการเมืองและสิทธิประโยชน์ทางการค้าจากจีน ภายหลังสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง ญี่ปุ่นได้เข้ายึดดินแดนเขตอิทธิพลของจักรวรรดิเยอรมันในเขตมณฑลชานตง[19] ทำให้เกิดกระแสการต่อต้านญี่ปุ่นขึ้นในแผ่นดินจีน แต่กระนั้นรัฐบาลจีนในขณะนั้น ยังคงแตกความร่วมมือกันอยู่ จึงทำให้ไม่สามารถต้านทานการบุกรุกล้ำดินแดนของญี่ปุ่นได้ เพื่อเป็นการรวบรวมจีนและกำจัดเหล่าขุนศึกตามท้องถิ่นให้หมดสิ้นไป พรรคก๊กมินตั๋งซึ่งมีฐานอยู่ที่เมืองกวางโจว ได้ก่อตั้งกองทัพปฏิวัติแห่งชาติ ออกเดินทางไกลขึ้นเหนือ[20]

วิกฤตการณ์จี๋หนาน

[แก้]

ในปี พ.ศ. 2469 – พ.ศ. 2471 พรรคก๊กมินตั๋งและกองทัพปฏิวัติแห่งชาติ ได้ปราบปรามขยายขอบเขตอิทธิพลกระทั่งประชิดดินแดนชานตง ซึ่งเป็นเขตอิทธิพลของขุนนศึก จาง จงชาน ผู้ได้รับการช่วยเหลือจากญี่ปุ่น กองทัพปฏิวัติแห่งชาติถูกต่อต้านอย่างหนักจากกองทัพของจาง จงชาน ที่เมืองจี๋หนาน ในปี พ.ศ. 2471 เหตุการณ์นี้ถูกเรียกว่า “วิกฤตการณ์จี๋หนาน” สุดท้ายพรรคก๊กมินตั๋งและกองทัพปฏิวัติแห่งชาติต้องล่าถอยออกมาจากจี๋หนาน[21]

ในปีเดียวกัน จาง จัวหลิน ถูกลอบสังหารหลังได้รับการช่วยเหลือจากญี่ปุ่นไม่นาน[22] จากนั้นบุตรชายของเขา จาง เฉวเหลียง ได้เข้าครอบครองดินแดนแมนจูเรียต่อจากบิดาทันที ประกาศยกเลิกการขอรับความช่วยเหลือจากญี่ปุ่น และประกาศยอมเข้าสวามิภักดิ์ต่อพรรคก๊กมินตั๋ง ซึ่งในขณะนั้นนำโดย เจียง ไคเชก อันเป็นผลทำให้พรรคก๊กมินตั๋งสามารถรวบรวมดินแดนประเทศจีนได้สำเร็จในปี พ.ศ. 2481[23]

อย่างไรก็ตาม ในปี พ.ศ. 2473 ได้เกิดเหตุการณ์จลาจลระหว่างขุนศึกผู้ที่เคยร่วมมือกับพรรคก๊กมินตั๋งในระหว่างการเดินทางไกลขึ้นเหนือ กับรัฐบาลกลางของเจียง ไคเช็ก ยกตัวอย่างเช่น พรรคคอมมิวนิสต์จีน (CCP) ได้ก่อการจลาจลต่อรัฐบาลกลาง ภายหลังเหตุการณ์การสังหารหมู่ที่เมืองเซี่ยงไฮ้ ในปี พ.ศ. 2470 ดังนั้นรัฐบาลกลาง จึงได้พยายามเบี่ยงเบนความสนใจในเรื่องความไม่สงบภายในประเทศ โดยได้ประกาศ “นโยบายสงบภายในก่อนที่จะต้านทานภายนอก”

มูลเหตุของสงคราม

[แก้]

ญี่ปุ่นเริ่มการรุกรานแมนจูเรียและการแทรกแซงในจีน

[แก้]
กองทัพคันโตขณะเดินทางเข้ายึดเมืองเฉิ่นหยางในเหตุการณ์กรณีมุกเดน

สถานการณ์ความวุ่นวายภายในของจีนเป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้ญี่ปุ่นสามารถดำเนินนโยบายรุกรานแมนจูเรียได้โดยสะดวก ญี่ปุ่นเล็งเห็นผลประโยชน์ในดินแดนแมนจูเรียหลายประการ เช่น ดินแดนแมนจูเรียมีทรัพยากรทางธรรมชาติและวัตถุดิบทางอุตสาหกรรมมหาศาล และสามารถเป็นแหล่งกระจายสินค้าของญี่ปุ่น อีกทั้งยังเป็นรัฐกันชนระหว่างญี่ปุ่นกับดินแดนไซบีเรียของสหภาพโซเวียต

การแผ่ขยายดินแดนของจักรวรรดิญี่ปุ่น
*เกาะญี่ปุ่นและดินแดนยึดครองอื่น ๆ   (สีแดงส้ม)
*ดินแดนแมนจูเรีย   (สีเขียว)
*สาธารณรัฐจีน   (สีเหลืองครีม)
ดินแดนยึดครองของญี่ปุ่นช่วงต้นสงคราม แสดงดินแดนแมนจูเรีย (ซึ่งต่อมาได้กลายมาเป็นแมนจูกัว)และเกาหลีภายใต้การปกครองของญี่ปุ่น   (สีชมพู)

ญี่ปุ่นจึงเริ่มรุกรานดินแดนแมนจูเรียอย่างเปิดเผยภายหลังกรณีมุกเดน ในเดือนกันยายน พ.ศ. 2474 หลังจากการประทะกันนาน 5 เดือน ญี่ปุ่นได้จัดตั้งรัฐหุ่นเชิดแมนจูกัวขึ้น โดยอัญเชิญจักรพรรดิปูยี อดีตจักรพรรดิองค์สุดท้ายแห่งราชวงศ์ชิง เป็นผู้สำเร็จราชการแผ่นดินและจักรพรรดิแต่เพียงในนาม แต่รัฐบาลจีนไม่ให้การยอมรับรับรองดินแดนหุ่นเชิดดังกล่าว เมื่อไม่สามารถตอบโต้ทางทหารได้ จีนจึงร้องเรียนขอความช่วยเหลือไปยังสันนิบาตชาติให้เข้ามาช่วยแก้ปัญหาความขัดแย้ง

สันนิบาตชาติดำเนินการสอบสวนเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นและออกแถลงการณ์ลิตตัน เพื่อประณามการกระทำของญี่ปุ่นในการรุกรานแมนจูเรีย แต่ญี่ปุ่นกลับไม่รับผิดชอบต่อการรุกรานทางทหารต่อแมนจูเรียและกลับขอถอนตัวออกจากสันนิบาตชาติโดยสิ้นเชิง แต่ก็ยังไม่มีชาติใดกล้าดำเนินนโนบายตอบโต้ทางทหารอย่างชัดเจนกับญี่ปุ่น

แผนที่แสดงเขตการยึดครองประเทศจีนของจักรวรรดิญี่ปุ่นในปี ค.ศ. 1940 ดินแดนที่ถูกยึดครองโดยกองทัพญี่ปุ่นแสดงอาณาเขต   (สีแดงชมพู)
ส่วนบริเวณที่เหลือคือเขตที่อยู่ภายใต้การป้องกันของสาธารณรัฐจีน แสดงอาณาเขต   (สีขาว)

ภายหลังจากกรณีมุกเดน เกิดการประทะกันอย่างต่อเนื่องในปี พ.ศ. 2475 กำลังทหารของจีนและญี่ปุ่นได้เปิดการประทะกันในกรณี 28 มกราคม ผลจากการประทะกันครั้งนี้ได้เกิดการจัดตั้งเขตปลอดทหารเซี่ยงไฮ้ขึ้น ทำให้ทางกองทัพจีนไม่สามารถคงกำลังทหารไว้ในเมืองเซี่ยงไฮ้ของตนเองได้ ทางด้านแมนจูกัวญี่ปุ่นพยายามดำเนินตามนโยบายของตนในการทำลายกองกำลังอาสาสมัครต่อต้านญี่ปุ่นที่เกิดขึ้นและกระจายเป็นวงกว้าง

ในปี พ.ศ. 2476 ญี่ปุ่นเข้าโจมตีบริเวณกำแพงเมืองจีน หลังจากนั้นได้มีการเจรจาพักรบตางกู ให้อำนาจญี่ปุ่นมีเหนือดินแดนเร่อเหอ อีกทั้งยังจัดตั้งเขตปลอดทหารบริเวณกำแพงเมืองจีนกับเมืองปักกิ่ง - เทียนจิน ในจุดนี้ญี่ปุ่นพยายามจะจัดตั้งรัฐหุ่นเชิดขึ้นอีกหนึ่งแห่งระหว่างดินแดนแมนจูกัวกับดินแดนของคณะรัฐบาลแห่งชาติจีนที่มีฐานบัญชาการอยู่ที่นานกิง

ญี่ปุ่นพยายามยุยงให้มีความแตกแยกภายในกันเองของจีน เพื่อเป็นการบั่นทอนกำลังทหารของจีนให้อ่อนแอลง ซึ่งญี่ปุ่นทราบจุดอ่อนของรัฐบาลจีนคณะชาติดีว่า ภายหลังการเดินการขึ้นเหนือของคณะรัฐบาลแห่งชาติจีน อำนาจการปกครองประเทศของรัฐบาลแห่งชาตินั้นจำกัดอยู่เฉพาะในดินแดนบริเวณลุ่มแม่น้ำแยงซีเท่านั้น หากแต่ดินแดนในส่วนอื่นนั้นยังตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของเหล่าขุนศึกท้องถิ่นอยู่ ญี่ปุ่นจึงพยายามผูกไมตรีและให้ความช่วยเหลือแก่เหล่าขุนศึกท้องถิ่นในการจัดตั้งรัฐอิสระขึ้นโดยให้เป็นไมตรีกับญี่ปุ่น ดินแดนเหล่านี้ได้แก่ ฉาเห่ย์ สุยหย่วน เหอเป่ย์ ซานซี และซานตง

นโยบายของญี่ปุ่นประสบความสำเร็จเป็นอย่างดีในดินแดนที่ปัจจุบันคือบริเวณมองโกเลียในและมณฑลเหอเป่ย์ ในปี พ.ศ. 2478 ญี่ปุ่นกดดันให้รัฐบาลจีนยอมลงนามในข้อตกลงเหอ-อุเมะซุ ซึ่งมีเนื้อหาห้ามมิให้รัฐบาลก็กมินตั๋งเข้าไปมีอำนาจปกครองในมณฑลเหอเป่ย์ ในปีเดียวกันจีนจำต้องลงนามในข้อตกลงชิน-โดะอิฮะระอีกฉบับหนึ่ง เป็นการกำจัดอำนาจของรัฐบาลก็กมินตั๋งออกจากฉาเห่ย์ ด้วยเหตุนี้ นับตั้งแต่ปลายปี พ.ศ. 2478 เป็นต้นมา รัฐบาลแห่งชาติจีนจึงไม่มีอำนาจปกครองเหนือดินแดนดังกล่าวอีกต่อไป ญี่ปุ่นได้สนับสนุนให้มีการจัดตั้งสภาปกครองตนเองเหอเป่ย์ตะวันออกขึ้น ซึ่งต่อมาทางการญี่ปุ่นได้เปลี่ยนสถานะการปกครองใหม่และเปลี่ยนชื่อเป็นเหม่งเจียงเป็นรัฐหุ่นเชิดแห่งที่สองโดยได้ส่งเจ้าชายมองโกลเดมชูงดอมรอปช์ไปปกครองและให้การสนับสนุนด้านการทหารและเศรษฐกิจ ทางด้านจีนได้มีการจัดตั้งกองอาสาสมัครต่อต้านญี่ปุ่นขึ้น ญี่ปุ่นจึงเริ่มเข้ารุกรานแมนจูเรียและในฉาเห่ย์ สุยหย่วน

การรุกรานจีนอย่างเต็มตัว

[แก้]
ประชาชนจีนจำนวนมากในนานกิงเสียชีวิตจากการโจมตีของญี่ปุ่น
เจียงไคเช็กปราศรัยโจมตีคว่ำบาตรสินค้าญี่ปุ่นและอ่านคำประกาศสงครามต่อญี่ปุ่นหลังจากเหตุการณ์ ณ สะพานมาร์โค โปโล

หลักฐานทางประวัติศาสตร์ส่วนมากได้ระบุจุดเริ่มต้นของสงครามจีนญี่ปุ่นครั้งที่สองเมื่อวันที่ 7 กรกฎาคม 1937 ตั้งแต่เหตุการณ์สะพานมาร์โคโปโล เมื่อสงครามรุนแรงเกิดขึ้นเมื่อเมืองปักกิ่งถูกโจมตีโดยกองทัพจักรวรรดิญี่ปุ่นเนื่องจากกองทัพภาคตะวันตกเฉียงเหนือของจีนที่มีการรับมือแบบไม่มีประสิทธิภาพทำให้ญี่ปุ่นเข้ายึดเมืองเป่ยผิงและเทียนจินอย่างง่ายดาย

ศูนย์กองบัญชาการกองทัพจักรวรรดิญี่ปุ่นในโตเกียวได้เริ่มลังเลถึงการขยายความขัดแย้งที่เข้าสู่สงครามเต็มตัวเป็นความเห็นด้วยที่มีชัยชนะเกิดขึ้นได้ในภาคเหนือของจีนต่อไปนี้เหตุการณ์สะพานมาร์โคโปโล อย่างไรก็ตามรัฐบาลกลางจีนได้กำหนดว่า "จุดแตกหัก" ของการรุกรานของญี่ปุ่นได้รับถึงและ เจียงไคเชกได้ระดมกองทัพอย่างรวดเร็วของรัฐบาลกลางและได้เริ่มการพัฒนากองทัพอากาศจีนคณะชาติภายใต้คำสั่งโดยตรงของเขาในการโจมตีกองทัพเรือจักรวรรดิญี่ปุ่นในเซี่ยงไฮ้เมื่อ 13 สิงหาคม 1937 ซึ่งนำไปสู่การยุทธการเมืองเซี่ยงไฮ้กองทัพจักรวรรดิญี่ปุ่นที่มีการระดมกำลังทหารกว่า 200,000 ควบคู่กับกองเรือและเครื่องบินจำนวนมากในการยึดเซี่ยงไฮ้หลังจากเกินสามเดือนของการต่อสู้ที่รุนแรงกับความสูญเสียที่ไกลเกินความคาดหวังตั้งแต่เริ่มต้นทำให้สร้างความยากลำบากในการที่จะยึดเซี่ยงไฮ้.[24] กองทัพจักรวรรดิญี่ปุ่นได้เข้ายึดเมืองนานกิงเมืองหลวงของรัฐบาลกลางจีนและฉ่านซีตอนเหนือโดยปลายปี ค.ศ. 1937 ในสงครามที่เกี่ยวข้องกับทหารจำนวน 350,000 คนของญี่ปุ่นซึ่งส่วนใหญ่เป็นทหารของแมนจูกัว

นักประวัติศาสตร์ได้ประมาณการชาวจีนถึง 300,000 คนที่ถูกสังหารหมู่ในการสังหารหมู่นานกิงซึ่งเกิดขึ้นหลังจากการล่มสลายของเมืองนานกิง ในวันที่ 13 ธันวาคม ค.ศ. 1937 ในขณะที่นักประวัติศาสตร์ญี่ปุ่นบางคนได้แก้ไขปรับปรุงประวัติศาสตร์ซึ่งได้ปฏิเสธการสังหารหมู่ของญี่ปุ่น

กองกำลังเปรียบเทียบ

[แก้]

กองทัพปฏิวัติชาติ

[แก้]
ธงของกองทัพปฏิวัติจีนคณะชาติ
ทหารของกองทัพปฏิวัติจีนคณะชาติ

กองทัพปฏิวัติชาติมีเจียงไคเช็กเป็นผู้บัญชาการสูงสุด กองทัพปฏิวัติชาติเป็นที่รับรู้ว่าเป็นกองกำลังติดอาวุธแบบครบวงจรของจีนในช่วงสงคราม กองทัพปฏิวัติชาติประกอบด้วยทหารประมาณ 4,300,000 นาย มี 370 กองพล (จีนตัวย่อ: 正式师; จีนตัวเต็ม: 正式師), 46 กองพลใหม่ (จีนตัวย่อ: 新编师; จีนตัวเต็ม: 新編師), 12 กองพลทหารม้า (จีนตัวย่อ: 骑兵师; จีนตัวเต็ม: 騎兵師), 8 กองพลทหารม้าใหม่ (จีนตัวย่อ: 新编骑兵师; จีนตัวเต็ม: 新編騎兵師), 66 กองพลชั่วคราว (จีนตัวย่อ: 暂编师; จีนตัวเต็ม: 暫編師), และ 13 กองพลสำรอง (จีนตัวย่อ: 预备师; จีนตัวเต็ม: 預備師), รวมทั้งสิ้น 515 หน่วย

แต่หลายกองพลเกิดจากการรวมกันของสองกองพลหรือมากกว่า จำนวนทหารในแต่ละกองพลมีประมาณ 4,000-5,000 นาย กำลังพลของกองทัพจีนคณะชาติถ้าเทียบกับกองพลญี่ปุ่นแล้วมีจำนวนใกล้เคียงกัน แต่เนื่องจากกองทัพจีนคณะชาตินั้นขาดแคลนด้านปืนใหญ่, อาวุธหนัก, และยานยนต์ที่ใช้ขนส่งกำลังพล ทำให้ 4 กองพลของจีนคณะชาติมีอำนาจในการรบเท่ากับ 1 กองพลของกองทัพญี่ปุ่น นอกจากนี้ยังมีปัญหาในการบริหารและควบคุมกองทัพอีกด้วย เนื่องจากอำนาจในการควบคุมไม่เป็นระบบ สื่อข่าวกรอง, การส่งกำลังบำรุงในการทหาร, การสื่อสาร, และการพยาบาลนั้นถือว่าย่ำแย่ อำนาจควบคุมกองทัพจีนคณะชาตินั้นแบ่งออกเป็นสองกลุ่ม กลุ่มแรกคือ กองทัพกลาง ซึ่งเป็นการรวมตัวของกองพลที่ฝึกในโรงเรียนทหาร ฮ่วมปั่ว ซึ่งเป็นกองพลที่จงรักภักดีต่อเจียงไคเช็ค กลุ่มที่สองคือ กองทัพรวม เป็นการรวมตัวของกองพลที่บัญชาการโดยแม่ทัพของมณฑลต่าง ๆ

หลังจากบทเรียนความพ่ายแพ้ของจีนในการรุกรานแมนจูเรียของญี่ปุ่น ทำให้พรรคก๊กมินตั๋งไม่นิ่งนอนใจต่อการคุกคามของญี่ปุ่นอีกต่อไป กองทัพปฏิวัติชาติได้พยายามก่อตั้งกองทัพขนาดใหญ่โดยซื้ออาวุธจากเยอรมันและทำการฝึกทหารใหม่ จัดซื้ออาวุธใหม่ ๆ เข้าประจำในกองทัพ กองทัพปฏิวัติชาติขยายกำลังพลอย่างรวดเร็ว ในช่วงเวลาไม่กี่ปีก็มีจำนวนทหารส่วนใหญ่ได้รับการฝึกแบบกองทัพเยอรมัน มีการแลกเปลี่ยนผู้เชี่ยวชาญหรือนักการทหารกับเยอรมันอย่างต่อเนื่อง

กองทัพจักรวรรดิญี่ปุ่น

[แก้]
ธงของกองทัพจักรวรรดิญี่ปุ่น
ทหารของกองทัพจักรวรรดิญี่ปุ่น

กองทัพจักรวรรดิญี่ปุ่นมีกำลังพลประมาณ 3,200,000 นาย ส่วนใหญ่ประจำการอยู่ที่ประเทศจีนมากกว่าที่สมรภูมิแปซิฟิค จำนวนทหารในแต่ละกองพลมีประมาณ 20,000 นาย มี 51 กองพล ซึ่ง 35 กองพลประจำการอยู่ที่จีน และ 39 กองพลน้อย คิดเป็น 80% ของกำลังพลทั้งหมดของกองทัพจักรวรรดิญี่ปุ่น อีกทั้งยังมีหน่วยพิเศษด้านปืนใหญ่, ทหารม้า, ต่อต้านอากาศยาน, และยานเกราะ เมื่อเทียบกับกองทัพจีนคณะชาติ ทหารกองทัพจักรวรรดิญี่ปุ่นมียุทโธปกรณ์ที่เหนือกว่า ทหารมีประสบการณ์ในการรบมากกว่า และมีแผนการรบที่เหนือกว่าในช่วงต้นของสงคราม

ในช่วงเริ่มต้นของสงครามโลกครั้งที่สอง ทหารญี่ปุ่นส่วนใหญ่ประจำการอยู่ที่จีน แต่ในปี ค.ศ. 1942 ได้เริ่มส่งทหารไปประจำการที่ฮ่องกง, ฟิลิปปินส์, ไทย, พม่า, หมู่เกาะอินเดียตะวันออกของดัตช์, และ มาลายา เพื่อขยายอิทธิพลยึดครองภูมิภาคเอเซียแปซิฟิกแต่ละประเทศที่บุกยึดได้ก็จะ ต้องคอยส่งเสบียง และ ช่วยในการผลิตอาวุธ รวมถึงการเกณฑ์ผู้คนและเชลยศึกไปเป็นแรงงานในการสร้างค่ายทหาร,สร้าง ถนน,สร้างทางรถไฟ เพื่อสะดวกในการขนเสบียงและอาวุธยุทโธปกรณ์ต่าง ๆ ไปแนวหน้า ส่วนพวกผู้หญิงก็จะถูกจับตัวไปเป็นนางบำเรอของทหารญี่ปุ่น.

การยุทธครั้งสำคัญในสงครามจีน-ญี่ปุ่นครั้งที่สอง

[แก้]

รายการต่อไปนี้แสดงถึงการยุทธครั้งสำคัญในสงครามจีน-ญี่ปุ่นครั้งที่สอง ภาพธงที่แสดงด้านหน้าหมายถึงฝ่ายที่ได้รับชัยชนะ

วัฒนธรรมสมัยนิยม

[แก้]

ในประเทศจีน

[แก้]
  • ภาพยนตร์เรื่อง บนภูเขาไท่หาง (จีน: 太行山上), (อังกฤษ: On the Mountain of Tai Hang) เป็นภาพยนตร์สงครามที่สร้างในปี ค.ศ. 2005 เกี่ยวกับสงครามระหว่างจีนและญี่ปุ่นซึ่งในระหว่างที่กองทัพจักรวรรดิญี่ปุ่นรุกรานประเทศจีนในช่วงแรกนั้นรัฐบางสาธารณรัฐจีนที่ปกครองโดยพรรคก๊กมินตั๋ง (จีนคณะชาติ) ได้ทำการต่อต้านรับมือการรุกรานของญี่ปุ่นแต่ประสบความล้มเหลว จนฝ่ายพรรคคอมมิวนิสต์จีน กองทัพที่แปดของนายพลจูเต๋อได้ไปตั้งหลักที่ภูเขาไท่หางและทำสงครามกองโจรกับญี่ปุ่นจนได้รับชัยชนะในที่สุด

ภาพยนตร์ตีแผ่เกี่ยวกับอาชญากรสงครามของญี่ปุ่น

  • ภาพยนตร์เรื่อง Black Sun: The Nanking Massacre สะท้อนถึงเหตุการณ์ของการสังหารหมู่นานกิงโดยกองทัพญี่ปุ่น
  • ภาพยนตร์เรื่อง Don't Cry, Nanking หรือ สงครามอำมหิตปิดตาโลก เป็นภาพยนตร์ปี ค.ศ. 1995 บอกเล่าเรื่องราวความอำมหิตของกองทัพญี่ปุ่นที่กระทำต่อชาวนานกิงในช่วงปี ค.ศ. 1937 จนกลายเป็นหนึ่งในโศกนาฎกรรมของโลก โดยเล่าผ่านชีวิตครอบครัวของแพทย์ชาวจีนกับภรรยาตั้งครรภ์ชาวญี่ปุ่นพร้อมลูกสาวที่เดินทางกลับมายังเมืองนานกิง ก่อนจะพบว่าบ้านเมืองได้ถูกยึดครองทำลายและฆ่าล้างอย่างโหดร้ายโดยกองทัพญี่ปุ่น
  • ภาพยนตร์เรื่อง จับคนมาทำเชื้อโรค หรือ Men Behind the Sun ภาพยนตร์อิงประวัติศาสตร์ปี ค.ศ. 1988 เกี่ยวกับค่ายทดลองมนุษย์หน่วย 731 ของจักรวรรดิญี่ปุ่น บริเวณดินแดนแมนจูกัวโดยอาศัยชาวจีนที่เคราะห์ร้ายมาทำการทดลองมนุษย์เพื่อวิจัยอาวุธอย่างโหดร้าย

ในประเทศญี่ปุ่น

[แก้]
  • ภาพยนตร์เรื่อง เซ็นโซโตะนิงเง็น (戦争と人間) เป็นภาพยนตร์ที่ญี่ปุ่นได้จัดทำขึ้นมาเอง เนื้อเรื่องสะท้อนเหตุการณ์ของสงครามจากมุมมองฝ่ายญี่ปุ่นถึงความโหดร้ายของการกองทัพญี่ปุ่นที่เข้าไปรุกรานประเทศจีนและได้ก่ออาชญากรรมสงครามขึ้น

ประเทศอื่น ๆ

[แก้]
  • นวนิยายไทยเรื่อง ลอดลายมังกร ว่าด้วยเรื่องราวของชาวจีนโพ้นทะเลที่อพยพหนีภัยสงครามในแผ่นดินจีนที่รุกรานโดยกองทัพญี่ปุ่นมาตั้งถิ่นฐานในประเทศไทย

เชิงอรรถ

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. Taylor, Jay, The Generalissimo, p.645.
  2. Chung Wu Taipei "History of the Sino-Japanese war (1937-1945)" 1972 pp 535
  3. Jowett, Phillip, Rays of the Rising Sun, หน้า 72.
  4. Clodfelter, Michael "Warfare and Armed Conflicts: A Statistical Reference", Vol. 2, pp. 956.
  5. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-03-13. สืบค้นเมื่อ 2008-11-02.
  6. Huang, Zheping; Huang, Zheping. "China is rewriting textbooks so its "eight-year war of resistance" against Japan is now six years longer". Quartz (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2019-04-08.
  7. Ferris, John; Mawdsley, Evan (2015). The Cambridge History of the Second World War, Volume I: Fighting the War (ภาษาอังกฤษ). Cambridge: Cambridge University Press.
  8. Förster & Gessler 2005, p. 64.
  9. Bix, Herbert P. (1992), "The Showa Emperor's 'Monologue' and the Problem of War Responsibility", Journal of Japanese Studies, 18 (2): 295–363, doi:10.2307/132824
  10. Hotta, E. (25 December 2007). Pan-Asianism and Japan's War 1931-1945. Palgrave Macmillan US. p. 40. ISBN 978-0-230-60992-1.
  11. Paine, S. C. M. (20 August 2012). The Wars for Asia, 1911–1949. Cambridge University Press. p. 123. ISBN 978-1-139-56087-0.
  12. A Joint Study of the Sino-Japanese War 1931-1945. Harvard University Asia Center.
  13. Mitter, Rana (2014). Forgotten Ally: China's World War II, 1937–1945. Mariner Books. ISBN 978-0-544-33450-2.
  14. Brinkley, Douglas. The New York Times Living History: World War II, 1942–1945: The Allied Counteroffensive. สืบค้นเมื่อ 1 September 2015.
  15. The UN Security Council, คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 20 มิถุนายน 2012, สืบค้นเมื่อ 1 กันยายน 2015
  16. Wilson, Dick, When Tigers Fight: The story of the Sino-Japanese War, 1937-1945, p.5
  17. Wilson, Dick, p.4
  18. "Foreign News: Revenge?". Time magazine. 13 August 1923. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-12-22. สืบค้นเมื่อ 2010-09-15.
  19. Palmer and Colton, A History of Modern World, p.725
  20. Taylor, Jay, p.57
  21. Taylor, Jay, p.79, p.82
  22. Boorman, Biographical Dictionary, vol.1, p.121
  23. Taylor, Jay, p.83
  24. Fu Jing-hui, An Introduction of Chinese and Foreign History of War, 2003, p.109–111

บรรณานุกรม

[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]


อ้างอิงผิดพลาด: มีป้ายระบุ <ref> สำหรับกลุ่มชื่อ "lower-alpha" แต่ไม่พบป้ายระบุ <references group="lower-alpha"/> ที่สอดคล้องกัน