[go: up one dir, main page]

ข้ามไปเนื้อหา

ราชินีมุตเนดจ์เมต (ราชวงศ์ที่ 21)

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ราชินีมุตเนดจ์เมต
พระอัครมเหสีใหญ่
พระราชธิดาทั้งร่างกาย
พระกนิษฐา
สตรีแห่งสองแผ่นดิน
ผู้พยากรณ์คนที่สองแห่งอามุนในทานิส
พระอัครมเหสีใหญ่
ฝังพระศพNRT III ทานิส (สุสานถูกใช้ซ้ำโดยฟาโรห์อเมนเอมโอเป)
คู่อภิเษกฟาโรห์ซูเซนเนสที่ 1
พระราชบุตรอเมนเอมโอเป (?)
พระนามภาษาอียิปต์
tmwtnDmM
Y1
t
[1]
ราชวงศ์ราชวงศ์ที่ 21
พระราชบิดาพิเนดเจมที่ 1
พระราชมารดาดูอัตฮาธอร์-เฮนุตทาวี
ศาสนาศาสนาอียิปต์โบราณ

ราชินีมุตเนดจ์เมต เป็นพระอัครมเหสีชาวอียิปต์โบราณ แห่งราชวงศ์ที่ 21 ทรงเป็นพระอัครมเหสีใหญ่ และพระกนิษฐาในฟาโรห์ซูเซนเนสที่ 1

พระราชประวัติ

[แก้]

สันนิษฐานว่าพระนางเป็นพระราชมารดาของ ฟาโรห์อเมนเนมโอเป แต่เนื่องจากไม่ปรากฎหลักฐานเกี่ยวกับพระราชพงศาวลี จึงใช้อ้างอิงจากที่ฟาโรห์อเมนเอมโอเปครองราชถัดไป [2] และพระนางยังเป็นพระราชมารดาของมกุฎราชกุมาร รามเมสเสส-อังค์เอฟเอนมุต [3] [4] ซึงสันนิฐานนี้มีการโต้แย้งและไม่น่าเป็นไปได้ในปัจจุบัน [5] พระนางเป็นพระราชธิดาของนักบวชสูงสุดแห่งอามุนพิเนดเจมที่ 1 ซึ่งเป็นผู้ปกครองทางพฤตินัยของอียิปต์ตอนบนตั้งแต่ปี 1070 ก่อนค.ศ จากนั้นจึงประกาศพระองค์เป็นฟาโรห์ในปี 1054 ก่อนค.ศ. และพระราชมารดาคือ ดูอัตฮาธอร์-เฮนุตทาวี พระราชธิดาใน รามเมสเสสที่ 11 ฟาโรห์พระองค์สุดท้ายแห่งราชวงศ์ที่ 20 พระเชษฐาพระอนุชาทั้งสามพระองค์ของพระนางสืบตำแหน่งในฐานะนักบวชสูงสุดแห่งอามุน และพระกนิษฐาของพระนางคือ มาอัตคาเร มุตเอมฮัต ดำรงตำแหน่งเป็นภรรยาแห่งพระเจ้าอามุน [6]

สุสาน

[แก้]
ภาพของสุสานเมืองทานิส ห้องพระบรมศพของพระนางคือห้อง NRT III ในตำแหน่งทางซ้ายบน แต่ถูกฟาโรห์อเมนเอมโอเปใช้ซ้ำเป็นสุสานพระองค์แทน

พระบรมศพของพระนางถูกฝังในสุสานที่เมืองทานิส เคียงคู่พระสวามี แต่ในเวลาต่อมาห้องฝังพระบรมศพของพระนางถูกฟาโรห์อเมนเอมโอเปใช้ซ้ำ แต่พระนามหรือหลักฐานในสุสานบางส่วนของพระนางยังคงปรากฎอยู่ ส่วนใหญ่หลักฐานปรากฎอยู่ที่ด้านข้างหีบพระบรมศพซึ่งหันไปทางกำแพง [7] ปิแอร์ มอนเตส สันนิฐานว่าพระบรมสาทิสลักษณ์สลักของราชินีมุตเนดจ์เมตบนผนังห้องฝังพระบรมศพ อาจถูกเปลี่ยนแปลงใหม่เป็นภาพเทพธิดาหลังถูกเปลี่ยนฉากเป็นภาพของฟาโรห์อเมนเอมโอเป[8] พระบรมศพของพระนางยังคงไม่ทราบที่อยู่ปัจจุบัน แต่เมื่อราวปีพ.ศ. 2523 พบชับติทองแดงของพระนางปรากฎขึ้นมาในตลาดโบราณวัตถุ ซึ่งบ่งชี้ว่าอาจมีการค้นพบสุสานฝังพระบรมศพของพระนางหรือสิ่งของงานศพ [9] ขณะนี้มีสิ่งของงานศพของพระนางหลายรายการอยู่ใน พิพิธภัณฑ์อียิปต์ ใน กรุงไคโร [10]

บรรณานุกรม

[แก้]
  • GT Martin, On some Shabtis of Mutnodjmet, wife of Psusennes I, ใน: BSEG 7 (1982), 73-77.
  • P. Montet, La Nécropole Royale de Tanis à la Fin de 1945, ใน: ASAE 46 (1947), 311-322.
  • P. Montet, Les Constructions et le Tombeau de Psousennès à Tanis, Paris 1951. La Nécropole de Tanis II.

อ้างอิง

[แก้]
  1. Grajetzki, Wolfram. Ancient Egyptian Queens: A Hieroglyphic Dictionary. London: Golden House Publications. ISBN 0-9547218-9-6 (2005), p.80
  2. K. Kitchen, The Third Intermediate Period in Egypt (1100–650 BC). 1972. 2nd ed. 1996. 3rd ed.
  3. Dodson, Aidan และ Hilton, Dyan (2004). The Complete Royal Families of Ancient Egypt. London: Thames & Hudson. ISBN 0-500-05128-3.
  4. K. Kitchen, The Third Intermediate Period in Egypt (1100–650 BC). 1972. 2nd ed. 1996. 3rd ed.
  5. Jansen-Winkeln, K., Der Majordomus des Amun Anchefenmut, in: Discussions in Egyptology 38 (1997), 29-36.
  6. Dodson & Hilton, p.206
  7. P. Montet, La Nécropole Royale de Tanis à la Fin de 1945, in: ASAE 46 (1947), 312.
  8. P. Montet, Les Constructions et le Tombeau de Psousennès à Tanis, Paris 1951.
  9. G.T. Martin, On some Shabtis of Mutnodjmet, wife of Psusennes I, in: BSEG 7 (1982), 73-77.
  10. Dodson, Aidan และ Hilton, Dyan (2004). The Complete Royal Families of Ancient Egypt. London: Thames & Hudson. ISBN 0-500-05128-3.