[go: up one dir, main page]

ข้ามไปเนื้อหา

ยุทธการที่ป้อมเอเบิน-เอมาเอล

พิกัด: 50°47′50″N 5°40′51″E / 50.79722°N 5.68083°E / 50.79722; 5.68083
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ยุทธการที่ป้อมเอเบิน-เอมาเอล
ส่วนหนึ่งของ ยุทธการที่เบลเยียม ใน สงครามโลกครั้งที่สอง
Map of the area between Belgium and the Netherlands near Fort Eben-Emael
วันที่10–11 พฤษภาคม พ.ศ. 1940
สถานที่
ป้อมเอเบิน-เอมาเอล, บนชายแดนระหว่างเนเธอร์แลนด์-เบลเยียม, ใกล้กับเมืองมาสทริชท์ของเนเธอร์แลนด์.
50°47′50″N 5°40′51″E / 50.79722°N 5.68083°E / 50.79722; 5.68083
ผล

เยอรมันได้รับชัยชนะ

  • ป้อมปราการถูกยึด
  • หัวสะพานในการเข้าสู่เบลเยียมปลอดภัย
คู่สงคราม
 ไรช์เยอรมัน  เบลเยียม
ผู้บังคับบัญชาและผู้นำ
นาซีเยอรมนี Walter Koch เบลเยียม Jean Jottrand (เชลย)
กำลัง
493[1] 1,200+ (โดยประมาณ)
ความสูญเสีย
เสียชีวิต 44 นาย
บาดเจ็บ 99 นาย
[2][3]
เสียชีวิต 60 นาย
ถูกจับเป็นเชลย 1,000+ นาย[Notes 1]
แม่แบบ:Campaignbox Western Front (World War II)

ยุทธการที่ป้อมเอเบิน-เอมาเอลเป็นการสู้รบกันระหว่างกองกำลังเบลเยียมและเยอรมันซึ่งเกิดขึ้นในระหว่างวันที่ 10 พฤษภาคม และ 11 พฤษภาคม ค.ศ. 1940 เป็นส่วนหนึ่งของยุทธการที่เบลเยียมและกรณีสีเหลือง,เยอรมันได้บุกเข้ายึดครองกลุ่มประเทศแผ่นดินต่ำและฝรั่งเศส กองกำลังในการจู่โจมของพลทหารโดดร่มเยอรมัน ฟัลเชียร์มเยเกอร์(Fallschirmjäger)ได้รับภารกิจในการจู่โจมและเข้ายึดป้อมปราการเอเบิน-เอมาเอลซึ่งเป็นป้อมปราการสำคัญทางยุทธศาสตร์ของเบลเยียมและจุดที่ตั้งของปืนใหญ่ที่แข็งแกร่งได้คลอบคลุมสะพานสำคัญหลายแห่งที่คลองอัลเบิรต์(Albert Canal) ถนนสายตะวันออกจะนำไปสู่ใจกลางของเบลเยียมและส่วนเหลือของกลุ่มประเทศแผ่นดินต่ำ ถนนสายนี้เป็นสิ่งที่กองทัพเยอรมันได้มุ่งหมายที่ใช้เส้นทางนี้ในการบุกเข้าไปในเบลเยียม ในขณะที่กองกำลังทหารโดดร่มได้เข้าจู่โจมและเข้ายึดป้อมปราการและจัดการทหารรักษาการณ์และชิ้นส่วนของปืนใหญ่ที่อยู่ภายใน พร้อมกับเข้ายึดสะพานสามแห่งในการข้ามคลอง ภายหลังจากได้เข้ายึดครองป้อมปราการแล้ว กองกำลังทหารโดดร่มเยอรมันได้รับคำสั่งให้ทำการปกป้องสะพานจากการโจมตีโต้กลับของเบลเยียมจนกระทั่งกองกำลังภาคพื้นดินของกองทัพที่ 18 แห่งเยอรมันได้เข้ามาสมทบ

การรบครั้งนี้เป็นชัยชนะทางยุทธศาสตร์ของกองกำลังเยอรมัน โดยกองกำลังทหารโดดร่มได้ทำการลงจอดจากบนป้อมปราการด้วยการใช้เครื่องร่อนและได้ใช้ระเบิดและปืนพ่นไฟ(Flamethrower)ในการจัดการกับการป้องกันด้านนอกของป้อมปราการ จากนั้นฟัลเชียร์มเยเกอร์ได้เข้าไปข้างในป้อมปราการ ได้ฆ่าทหารฝ่ายป้องกันไปจำนวนมากและส่วนที่เหลือในส่วนล่างของป้อมปราการ ในเวลาเดียวกัน ส่วนที่เหลือของกองกำลังจู่โจมเยอรมันได้ทำการลงจอดใกล้สะพานข้ามคลองสามแห่ง ได้เข้าทำลายป้อมปืนกลและตำแหน่งการป้องกันไปจำนวนมากและกองกำลังเบลเยียมที่มีหน้าที่ในการปกป้องสะพานต้องพบความพ่ายแพ้ พวกเขาได้ถูกจับกุมและอยู่ภายใต้การควบคุมของเยอรมัน กองกำลังทหารโดดร่มได้มีผู้ได้รับบาดเจ็บในระหว่างปฏิบัติการ แต่ได้ประสบความสำเร็จในการยึดสะพานจนกระทั่งกองทัพภาคพื้นดินของเยอรมันได้เข้ามาสมทบ ซึ่งได้เข้าช่วยเหลือแก่กองกำลังทหารโดดร่มในการเข้าจู่โจมป้อมปราการครั้งที่สองและได้บังคับให้ทหารรักษาการณ์ที่เหลืออยู่ในป้อมปราการยอมแพ้ กองทัพเยอรมันได้ใช้สะพานในการข้ามคลองสองแห่งในการอ้อมจากตำแหน่งป้องกันจำนวนมากของเบลเยียมและเคลื่อนทัพเข้าสู่เบลเยียมในการช่วยเหลือในการเข้ายึดครองประเทศ สะพานที่ Kanne ได้ถูกทำลายลง ทหารช่างวิศวกรเยอรมันได้ถูกสั่งให้ทำการสร้างสะพานใหม่

อ้างอิง

[แก้]
  1. Lucas, p. 22
  2. Kuhn, pp. 31–32
  3. Harclerode, p. 55
  4. Harclerode, p. 55.


อ้างอิงผิดพลาด: มีป้ายระบุ <ref> สำหรับกลุ่มชื่อ "Notes" แต่ไม่พบป้ายระบุ <references group="Notes"/> ที่สอดคล้องกัน