[go: up one dir, main page]

ข้ามไปเนื้อหา

ภาษาอาหรับฮิญาซ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ภาษาอาหรับฮิญาซ
ภาษาอาหรับอาระเบียตะวันตก
حجازي Ḥijāzi
ออกเสียง/ħɪˈdʒaːzi/, /ħe̞ˈdʒaːzi/
ประเทศที่มีการพูดแคว้นฮิญาซ ประเทศซาอุดีอาระเบีย
จำนวนผู้พูด14.5 ล้านคน  (2011)[1]
ตระกูลภาษา
รูปแบบก่อนหน้า
ฮิญาซเก่า
  • ภาษาอาหรับฮิญาซ
ระบบการเขียนชุดตัวอักษรอาหรับ
รหัสภาษา
ISO 639-3acw
บทความนี้มีสัญลักษณ์สัทอักษรสากล หากระบบของคุณไม่รองรับการแสดงผลที่ถูกต้อง คุณอาจเห็นปรัศนี กล่อง หรือสัญลักษณ์อย่างอื่นแทนที่อักขระยูนิโคด

ภาษาอาหรับฮิญาซ (Hejazi Arabic หรือ Hijazi Arabic; อาหรับ: حجازي) เป็นภาษาอาหรับที่ใช้พูดในบริเวณภาคตะวันตกของซาอุดีอาระเบีย โดยเฉพาะสำเนียงที่ใช้พูดในฮิญาซคือสำเนียงของชาวเบดูอิน และสำเนียงของประชาชนในเมือง สำเนียงในเมืองจะพูดในตัวเมือง เช่น ญิดดะฮ์ มักกะฮ์ และอัลมะดีนะฮ์ เป็นสำเนียงที่มีผู้เข้าใจแพร่หลายในคาบสมุทรอาหรับ และมีความใกล้เคียงกับภาษาอาหรับสำเนียงที่พูดในซูดานภาคเหนือ

สำเนียงในเมืองมีลักษณะอนุรักษ์น้อยกว่าสำเนียงเบดูอิน มีสระเสียงสั้นมากกว่าสำเนียงที่พูดในบริเวณใกล้เคียง ตำศัพท์มีคำยืมจากสำเนียงของชาวอียิปต์ ซีเรีย และเยเมน การที่เคยอยู่ภายใต้การปกครองของตุรกีมากว่า 500 ปี ทำให้ได้รับอิทธิพลจากภาษาตุรกีด้วย

สำเนียงของชาวเบดูอินแต่ละเผ่าจะเข้าใจกันได้ สำเนียงของเผ่าทางตอนเหนือจะมีลักษณะใกล้เคียงกับสำเนียงในจอร์แดนและคาบสมุทรไซนาย

อ้างอิง

[แก้]
  1. "Arabic, Hijazi Spoken". Ethnologue (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2018-08-08.

บรรณานุกรม

[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]