[go: up one dir, main page]

ข้ามไปเนื้อหา

ประเทศนิวฟันด์แลนด์ในเครือจักรภพ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
นิวฟันด์แลนด์ในเครือจักรภพ

Dominion of Newfoundland[1]
ค.ศ. 1907–19491
คำขวัญQuaerite Prime Regnum Dei (ลาติน)
"จงแสวงหาอาณาจักรของพระเจ้าก่อน"
สถานะ
เมืองหลวงเซนต์จอนส์
ภาษาทั่วไป
การปกครองราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ
พระมหากษัตริย์ 
• ค.ศ. 1907–1910 (แรก)
พระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 7
• ค.ศ. 1936–1949 (สุดท้าย)
พระเจ้าจอร์จที่ 6
ผู้ว่าการ 
• ค.ศ. 1907–1909 (แรก)
วิลเลียม แมคเกรเกอร์
• ค.ศ. 1946–1949 (สุดท้าย)
กอร์ดอน แมคดอนัลด์
นายกรัฐมนตรี 
• ค.ศ. 1907–1910 (แรก)
โรเบิร์ต บอนด์
• ค.ศ. 1932–1934 (สุดท้าย)
เฟรเดอริก ซี ออลเดอร์ไดส์
สภานิติบัญญัติรัฐสภา
ยุคประวัติศาสตร์
• ประเทศกึ่งอธิปไตยในเครือจักรภพ
26 กันยายน ค.ศ. 1907
19 พฤศจิกายน ค.ศ. 1926
11 ธันวาคม ค.ศ. 1931
16 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1934
31 มีนาคม ค.ศ. 1949
สกุลเงินนิวฟันด์แลนด์ดอลลาร์
ก่อนหน้า
ถัดไป
อาณานิคมนิวฟันด์แลนด์
แคนาดา
รัฐนิวฟันด์แลนด์และแลบราดอร์
ปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของ
1 โดยพฤตินัย ในปี.ศ. 1934 นิวฟันด์แลนด์ได้ขอยกเลิกการปกครองตนเอง แต่ โดยนิตินัย ยังคงเป็นประเทศเอกราชในเครือจักรภพจนกระทั่งเข้าร่วมกับแคนาดาในปีค.ศ. 1949.
  • วันหยุดราชการที่เฉลิมฉลองกันได้แก่ "วันแห่งการค้นพบ" (Discovery Day) ทุกวันที่ 24 มิถุนายน และ "วันเครือจักรภพ" (Dominion Day) ทุกวันที่ 26 กันยายน นักบุญผู้อุปถัมป์คือยอห์นผู้ให้บัพติศมา

นิวฟันด์แลนด์ในเครือจักรภพ (อังกฤษ: Dominion of Newfoundland) เป็นประเทศในอดีตตั้งอยู่ในทวีปอเมริกาเหนือฝั่งตะวันออกตอนบน ซึ่งในปัจจุบันคือรัฐนิวฟันด์แลนด์และแลบราดอร์ของประเทศแคนาดา แรกเริ่มก่อตั้งขึ้นเมื่อ 26 กันยายน ค.ศ. 1907 และได้รับการรับรองโดยคำประกาศบัลโฟร์ ค.ศ. 1926 และธรรมนูญเวสต์มินสเตอร์ ค.ศ. 1931

นิวฟันด์แลนด์ในเครือจักรภพมีอาณาเขตบริเวณเกาะนิวฟันด์แลนด์ และแลบราดอร์บนพื้นทวีป นิวฟันด์แลนด์นั้นเป็นหนึ่งในประเทศในเครือจักรภพแต่แรกเริ่มตามการระบุไว้ในคำประกาศบัลโฟร์ และจึงได้รับสถานะทางรัฐธรรมนูญเทียบเท่ากับประเทศในเครือจักรภพอื่นๆ ในขณะนั้น

ต่อมาในปีค.ศ. 1934 นิวฟันด์แลนด์เป็นประเทศในเครือจักรภพแห่งแรกที่ขอยกเลิกสถานะในการปกครองตนเองหลังจากที่ได้รับสิทธินี้มายาวนานกว่า 79 ปี โดยมีมูลเหตุสำคัญด้านวิกฤตหนี้สาธารณะตั้งแต่ปีค.ศ. 1932 เนื่องจากการสร้างหนี้จากการกู้เงินมาลงทุนด้านการรถไฟข้ามระหว่างเกาะซึ่งเสร็จสิ้นในช่วงปีค.ศ. 1890 และการจัดตั้งกองทัพของตัวเองในสงครามโลกครั้งที่ 1 ต่อมาในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 1932 รัฐบาลได้เตือนไปยังสหราชอาณาจักรว่านิวฟันด์แลนด์ไม่สามารถจะชำระหนี้สาธารณะได้ตามกำหนด รัฐบาลสหราชอาณาจักรจึงได้จัดตั้งคณะกรรมาธิการนิวฟันด์แลนด์ขึ้นเพื่อสืบหาสาเหตุข้อเท็จจริงและจัดเตรียมรายงานเกี่ยวกับเรื่องนี้ โดยในรายงานซึ่งตีพิมพ์เมื่อเดือนตุลาคม ค.ศ. 1933 ได้เสนอแนะให้นิวฟันด์แลนด์ยุติการปกครองตนเองเป็นการชั่วคราวและยอมให้สหราชอาณาจักรเข้ามากำกับดูแลกิจการประเทศโดยคณะกรรมาธิการที่มาจากการแต่งตั้ง

รัฐสภานิวฟันด์แลนด์ได้ตกลงยินยอมในข้อเสนอแนะและยื่นถวายฎีกาต่อพระเจ้าจอร์จที่ 5 เพื่อให้ทรงระงับรัฐธรรมนูญและทรงแต่งตั้งคณะกรรมาธิการเพื่อกำกับดูแลแทนรัฐบาลจนกว่าประเทศจะสามารถกลับมาปกครองตัวเองได้ โดยตามคำร้องขอรัฐสภาสหราชอาณาจักรจึงได้ผ่านพระราชบัญญัตินิวฟันด์แลนด์ ค.ศ. 1933 ขึ้นเพื่อบังคับใช้ได้ตามกฎหมาย ต่อมาในวันที่ 16 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1934 รัฐบาลสหราชอาณาจักรได้แต่งตั้งคณะกรรมาธิการซึ่งประกอบด้วยสมาชิกจำนวน 6 คน โดย 3 คนจากนิวฟันด์แลนด์ และอีก 3 คนจากสหราชอาณาจักร โดยมีผู้ว่าการเป็นประธาน โดยการปกครองด้วยคณะกรรมาธิการรัฐบาลนั้นคงอยู่จนกระทั่งนิวฟันด์แลนด์ตกลงเข้าร่วมกับประเทศแคนาดาในปีค.ศ. 1949 เพื่อเป็นรัฐที่สิบของแคนาดา

อ้างอิง

[แก้]

บรรณานุกรม

[แก้]
  • Earle, Karl McNeil. "Cousins of a Kind: The Newfoundland and Labrador Relationship with the United States" American Review of Canadian Studies, Vol. 28, 1998 online edition เก็บถาวร 2011-06-05 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  • Fay, C. R. Life and Labour in Newfoundland University of Toronto Press, 1956
  • Keith, Arthur Berriedale. Responsible Government in the Dominions Clarendon Press, 1912
  • Keith, Arthur Berriedale (1934). "The Report of the Newfoundland Royal Commission". Journal of Comparative Legislation and International Law. 16 (1): 25–39. JSTOR 753977.
  • MacKay; R. A. Newfoundland; Economic, Diplomatic, and Strategic Studies (Oxford University Press, 1946) online เก็บถาวร 2017-08-11 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  • Neary, Peter. Newfoundland in the North Atlantic World, 1929–1949 (McGill-Queen's Press 1988)

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]
  • Atlantic Crossroads, a 1945 Allied propaganda film on Newfoundland's role in the Second World War