ท้าววนิดาพิจาริณี (บาง สนิทวงศ์ ณ อยุธยา)
บทความนี้ยังต้องการเพิ่มแหล่งอ้างอิงเพื่อพิสูจน์ความถูกต้อง |
คุณ ท้าววนิดาพิจาริณี (บาง สนิทวงศ์ ณ อยุธยา) | |
---|---|
เกิด | บาง บุญธร 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2429[1] |
เสียชีวิต | 2 มีนาคม พ.ศ. 2513 (84 ปี) โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ จังหวัดพระนคร |
ตำแหน่ง | ท้าววนิดาพิจาริณี (2493–2513) |
คู่สมรส | เจ้าพระยาวงษานุประพัทธ์ (หม่อมราชวงศ์สท้าน สนิทวงศ์) |
บุตร | หม่อมหลวงสงบ สนิทวงศ์ หม่อมหลวงบัว กิติยากร หม่อมหลวงจินดา สนิทวงศ์ ท่านผู้หญิงมณีรัตน์ บุนนาค |
บิดามารดา | รวย บุญธร แหว บุญธร |
ท้าววนิดาพิจาริณี มีนามเดิมว่า บาง สนิทวงศ์ ณ อยุธยา (สกุลเดิม บุญธร; 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2429 – 2 มีนาคม พ.ศ. 2513) บ้างเรียก หม่อมบาง[a] เป็นอนุภรรยาของเจ้าพระยาวงษานุประพัทธ์ (หม่อมราชวงศ์สท้าน สนิทวงศ์) เป็นพระอัยยิกาฝ่ายพระชนนีในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง และพระปัยยิกาฝ่ายพระราชชนนีในพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว
ประวัติ
[แก้]ชีวิตตอนต้น
[แก้]ท้าววนิดาพิจาริณี เกิดเมื่อวันที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2429[1] เป็นบุตรคนที่สามจากทั้งหมดห้าคนของนายรวย บุญธร กับนางแหว (สกุลเดิม ณ บางช้าง)[3] มารดาของนายรวยเป็นสตรีจากสกุลบุณยรัตพันธุ์[1] ซึ่งสกุลนี้มีบรรพชนเป็นพราหมณ์พฤฒิบาศ รับราชการกรมวังมาแต่กรุงเก่า[4] ในวัยเยาว์ นายรวยเคยสนองพระเดชพระคุณ เป็นจางวางในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นภูบดีราชหฤทัย ซึ่งมีเจ้าจอมมารดามาจากสกุลบุณยรัตพันธุ์ ทรงรับไว้เป็นบุตรบุญธรรม[1] ส่วนนางแหว เป็นราชินิกุล ณ บางช้าง เป็นบุตรีของนายทัด และเป็นหลานสาวของจางวางด้วงในกรมพระพิพิธโภคภูเบนทร โดยนายทัดเป็นน้องชายของหม่อมแย้มในกรมหลวงวงศาธิราชสนิท[5] สืบเชื้อสายจากท่านยายเจ้ามุข พี่สาวของพระชนกทอง พระราชชนกของสมเด็จพระอมรินทราบรมราชินี[6][7]
ท้าววนิดาพิจาริณีมีพี่น้องร่วมบิดามารดา ได้แก่ ไหว หวั่น เชียงเมี่ยง และม่อย[5] โดยหวั่น เศวตะทัต ผู้เป็นพี่สาว ได้สมรสกับขุนญาณอักษรนิติ (ผล เศวตะทัต) มีบุตรสาวคนหนึ่งชื่อ อุบะ ได้เข้าเป็นอนุภรรยาของเจ้าพระยาวงษานุประพัทธ์อีกคนหนึ่ง
ท้าววนิดาพิจาริณีมีอุปนิสัยสงบเสงี่ยมตามวิสัยของกุลสตรีไทยโบราณ รวมทั้งมีคุณสมบัติในการทำและปรุงอาหารได้รสชาติดี[8]
ชีวิตสมรสและครอบครัว
[แก้]ท้าววนิดาพิจาริณีเข้าเป็นภรรยาของเจ้าพระยาวงษานุประพัทธ์ (หม่อมราชวงศ์สท้าน สนิทวงศ์) ซึ่งท้าววนิดาพิจาริณีมีศักดิ์เป็นลูกผู้น้องของสามี ทั้งสองมีบุตรธิดาด้วยกันทั้งหมดสี่คน ได้แก่[9]
- หม่อมหลวงสงบ สนิทวงศ์ ถึงแก่กรรมตั้งแต่เด็ก[10]
- หม่อมหลวงบัว กิติยากร (25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2452 – 19 กันยายน พ.ศ. 2542)[11] เสกสมรสกับพระวรวงศ์เธอ กรมหมื่นจันทบุรีสุรนาถ มีพระโอรส-ธิดาหนึ่งพระองค์ กับอีกสามคน[12] หนึ่งในนั้นคือสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง
- พลโท นายแพทย์ หม่อมหลวงจินดา สนิทวงศ์ (26 สิงหาคม พ.ศ. 2459 – 24 ตุลาคม พ.ศ. 2530) สมรสกับท่านผู้หญิงเกนหลง สนิทวงศ์ ณ อยุธยา มีบุตรสามคน[13]
- ท่านผู้หญิงมณีรัตน์ บุนนาค (23 มิถุนายน พ.ศ. 2465 – 23 เมษายน พ.ศ. 2543) สมรสกับสุรเทิน บุนนาค มีบุตรสองคน[14]
ท้าววนิดาพิจาริณีและเจ้าพระยาวงษานุประพัทธ์เป็นผู้เลี้ยงดูสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ที่มีชันษา 3 เดือน ในระหว่าง พ.ศ. 2475-2477 เมื่อหม่อมหลวงบัว กิติยากร ธิดา ต้องติดตามหม่อมเจ้านักขัตรมงคล กิติยากร ผู้สามี ไปปฏิบัติราชการตำแหน่งเลขานุการเอก ณ สถานเอกอัครราชทูตไทยประจำกรุงวอชิงตัน สหรัฐอเมริกา[15] หลังเจ้าพระยาวงษานุประพัทธ์ถึงแก่อสัญกรรมแล้ว ท้าววนิดาพิจาริณียังอาศัยอยู่ที่บ้านถนนพระราม 6 กระทั่งช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง จึงย้ายไปอาศัยกับหม่อมหลวงบัวที่วังเทเวศร์ ก่อนย้ายไปอาศัยกับหม่อมหลวงจินดาที่ตำบลบางซ่อน หลังบ้านที่บางซ่อนถูกระเบิดจากภัยสงคราม จึงได้ย้ายกลับมารวมกันที่วังเทเวศร์อีกครั้ง[16] กระทั่งในช่วงบั้นปลายชีวิตจึงได้ไปอาศัยร่วมกับครอบครัวของท่านผู้หญิงมณีรัตน์ที่บ้านนอกเมือง ตำบลหลักสี่ อำเภอบางเขน จังหวัดพระนคร[17]
ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานบรรดาศักดิ์ให้เป็น "ท้าววนิดาพิจาริณี" เมื่อวันที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2493[18] อันถือเป็นการสถาปนายศบรรดาศักดิ์ชั้นท้าวนาง สำหรับข้าราชสำนักฝ่ายใน ตามโบราณราชประเพณีเป็นครั้งสุดท้าย
ถึงแก่อนิจกรรม
[แก้]ท้าววนิดาพิจาริณี (บาง สนิทวงศ์ ณ อยุธยา) เข้ารักษาตัวด้วยอาการปอดบวมและหัวใจวายตั้งแต่วันที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2513 กระทั่งถึงแก่อนิจกรรมเมื่อเวลา 01.19 น. ของวันที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2513 ณ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์[19] พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง และสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินี เสด็จพระราชดำเนินไปพระราชทานน้ำอาบศพ การนี้พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร โปรดเกล้าฯ พระราชทานโกศไม้สิบสองประกอบศพ พร้อมเครื่องประกอบอิสริยยศ ตั้งศพ ณ ศาลาบัณณรศภาค วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนารามราชวรวิหาร[20] และพระราชทานเพลิงศพเมื่อวันที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2513 ณ เมรุหลวงหน้าพลับพลาอิศริยาภรณ์ วัดเทพศิรินทราวาส[21]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]- พ.ศ. 2493 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นที่ 2 ทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษ (ท.จ.ว.) (ฝ่ายใน)[22]
- พ.ศ. 2496 – เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 9 ชั้นที่ 3 (ภ.ป.ร.3)[23]
ลำดับสาแหรก
[แก้]ลำดับสาแหรกของท้าววนิดาพิจาริณี (บาง สนิทวงศ์ ณ อยุธยา) | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
|
อ้างอิง
[แก้]- หมายเหตุ
- ↑ "หม่อม" เป็นคำนำหน้าสตรีที่เป็นอนุภรรยาของขุนนางชั้นเจ้าพระยาและพระยาชั้นผู้ใหญ่ ครั้นพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวตราพระราชกฤษฎีกาคำนำหน้าสตรี พ.ศ. 2460 คำว่าหม่อมสำหรับภรรยาขุนนางเป็นอันยกเลิกไป[2]
- เชิงอรรถ
- ↑ 1.0 1.1 1.2 1.3 พุทธานุวัตร, หน้า 1
- ↑ เล็ก พงษ์สมัครไทย. "คำว่า หม่อม ใช้มาตั้งแต่เมื่อใด? หม่อมแต่ละประเภทต่างกันอย่างไร?". ศิลปวัฒนธรรม. สืบค้นเมื่อ 28 Jul 2022.
- ↑ สมภพ ภิรมย์, ศาสตราจารย์ น.อ.. "สาแหรกครอบครัว (Family Tree) ลำดับพระมหากษัตริย์ในพระบรมราชจักรีวงศ์เฉพาะสายที่สืบราชสมบัติ". พระเมรุมาศ พระเมรุ และเมรุ สมัยกรุงรัตนโกสินทร์. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : อมรินทร์การพิมพ์. 2528
- ↑ สาส์นสมเด็จ ลายพระหัตถ์สมเด็จเจ้าฟ้า กรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ และสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ภาค 3, หน้า 131
- ↑ 5.0 5.1 พุทธานุวัตร, หน้า 2
- ↑ ทรงวิทย์ แก้วศรี. เกียรติคุณหม่อมหลวงพวงร้อย อภัยวงศ์. กรุงเทพฯ : อมรินทร์การพิมพ์, มมป., หน้า 15
- ↑ พุทธานุวัตร, หน้า 17
- ↑ พุทธานุวัตร, หน้า 6
- ↑ พุทธานุวัตร, หน้า 3
- ↑ เสด็จฯ ดอย จดหมายเหตุรายวันคราประทับภูพิงคราชนิเวศน์ เชียงใหม่ พ.ศ. 2513. ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พิมพ์พระราชทานในการพระราชทานเพลิงศพท้าววนิดาพิจาริณี (บาง สนิทวงศ์ ณ อยุธยา) ท.จ.ว., หน้า 14
- ↑ ราชินีทรงบำเพ็ญพระราชกุศล เนื่องในโอกาสวันคล้ายวันถึงแก่พิราลัยหม่อมหลวงบัว กิติยากร[ลิงก์เสีย]
- ↑ "ประวัติ หม่อมหลวงบัว กิติยากร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-11-29. สืบค้นเมื่อ 2012-04-22.
- ↑ "อนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ พลโทนายแพทย์ มล. จินดา สนิทวงศ์". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-05. สืบค้นเมื่อ 2012-04-22.
- ↑ "ชมรมสายสกุลบุนนาค". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-04-07. สืบค้นเมื่อ 2012-04-22.
- ↑ สำนักงานเสริมสร้างเอกลักษณ์ของชาติ. รัตนราชินีศรีประเทศ. กรุงเทพฯ : อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง, หน้า 14-15
- ↑ พุทธานุวัตร, หน้า 5-6
- ↑ พุทธานุวัตร, หน้า 8
- ↑ "เรื่องพระราชทานบรรดาศักดิ์ฝ่ายใน" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 67 (25ง): 1703–1704. 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2493.
{{cite journal}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|date=
(help) - ↑ พุทธานุวัตร, หน้า 9
- ↑ พุทธานุวัตร, หน้า 11
- ↑ เสด็จฯ ดอย จดหมายเหตุรายวันคราประทับภูพิงคราชนิเวศน์ เชียงใหม่ พ.ศ. 2513. ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พิมพ์พระราชทานในการพระราชทานเพลิงศพท้าววนิดาพิจาริณี (บาง สนิทวงศ์ ณ อยุธยา) ท.จ.ว., หน้าปก
- ↑ "แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ฝ่ายหน้าและฝ่ายใน ประจำปี 2493" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 1805 (25): 1807. 2 พฤษภาคม 2493.
- ↑ "แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 70 (29 ง): 2049. 12 พฤษภาคม 2496. สืบค้นเมื่อ 16 เมษายน 2563.
{{cite journal}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ 24.0 24.1 ลำดับราชินิกูลบางช้าง. พระนคร: ห้างหุ้นส่วนจำกัด ศิวพร. 2501. p. 73.
- บรรณานุกรม
- พุทธานุวัตร. พระนคร : พระจันทร์, 2513. 388 หน้า.
- กรมศิลปากร. สาส์นสมเด็จ ลายพระหัตถ์สมเด็จเจ้าฟ้า กรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ และสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ภาค 3. พระนคร : พระจันทร์, 2493.