ติเย
บทความนี้ต้องการการจัดหน้า จัดหมวดหมู่ ใส่ลิงก์ภายใน หรือเก็บกวาดเนื้อหา ให้มีคุณภาพดีขึ้น คุณสามารถปรับปรุงแก้ไขบทความนี้ได้ และนำป้ายออก พิจารณาใช้ป้ายข้อความอื่นเพื่อชี้ชัดข้อบกพร่อง |
ติเย | |||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|
รูปสลักหินของพระนางติเย, ปัจจุบันอยู่ในพิพิธภัณฑ์ ณ กรุงเบอร์ลิน, เยอรมัน | |||||||
สมเด็จพระราชินีแห่งอียิปต์โบราณ | |||||||
ดำรงตำแหน่ง | 1390 – 1353 ปีก่อนคริสตกาล (37 ปี) | ||||||
ประสูติ | 1398 ปีก่อนคริสตกาล อัคมิม, อียิปต์บน | ||||||
สวรรคต | 1338 ปีก่อนคริสตกาล (อายุ 60 พรรษา) | ||||||
ฝังพระศพ | เควี 35, หุบเขากษัตริย์ | ||||||
คู่อภิเษก | อเมนโฮเทปที่สาม | ||||||
พระราชบุตร | ซิทอามุน ไอซิส เฮนุททาเนบ เนเบตา ทุตโมส อาเคนาเตน สเมงห์คาเร (อาจจะ) "สตรีผู้อ่อนเยาว์" เบเคตอาเตน | ||||||
พระนาม |
| ||||||
ราชวงศ์ | ราชวงศ์ที่ 18 | ||||||
พระราชบิดา | ยูยา | ||||||
พระราชมารดา | ทจูยู | ||||||
ศาสนา | ศาสนาอียิปต์โบราณ |
ติเย (มีพระชนม์ชีพระหว่าง 1398 – 1338 ปีก่อนคริสตกาล, หรืออาจะเรียกว่า เทีย, ติย์ และ ติยิ) เป็นธิดาของข้าราชสำนักนามว่า ยูยา กับภริยานามว่า ทจูยู พระองค์ได้รับตำแหน่งเป็นพระมเหสีในฟาโรห์อเมนโฮเทปที่ 3 พระองค์เป็นพระราชมารดาของฟาโรห์อาเคนาเตน และเป็นพระอัยยิกาของฟาโรห์ทุตอังค์อามุน มัมมี่ของพระองค์ได้รับฉายาว่า "สตรีผู้สูงวัย" ซึ่งค้นพบในหลุมฝังพระศพของฟาโรห์อเมนโฮเทปที่ 2 (KV35) ในปีค.ศ. 2010
ครอบครัวและพระชนม์ชีพในวัยเยาว์
[แก้]บิดาของพระองค์ มิได้เป็นเชื้อพระวงศ์ แต่เป็นผู้ครอบครองที่ดินอันมั่งคั่งในเมืองอัคมิมที่อียิปต์บน[1] ที่ซึ่งทำหน้าที่เป็นนักบวช ผู็ควบคุมดูแลฝูงวัว หรือผู้บัญชาการรถม้าศึก[2] มารดาของพระองค์มีส่วนร่วมทางด้านศาสนา โดยมีหน้าที่เป็นผู้ขับร้องเพลงแห่งเทพีฮาธอร์ ผู้นำแห่งความบันเทิงแห่งเทพอามุนและมิน..[3] ซึ่งแสดงให้เห็นว่าพระมารดาของพระองค์นั้นเป็นสมาชิกเชื้อพระวงศ์
นักไอยคุปต์วิทยา ได้สันนิษฐานว่า บิดาของพระองค์นั้นเป็นคนต่างชาติ ซึ่งดูจากคุณสมบัติของมัมมี่และการเรียกชื่อที่แตกต่างจากชาวอียิปต์ทั่วไป[4] และบางส่วนก็สันนิษฐานว่า การเมืองและความเชื่อทางศาสนาที่ผิดแปลกไปของพระองค์ อาจจะมีสาเหตุจากไม่ใช่แค่เพียงมีตำแหน่งที่มั่นคงแล้ว แต่อาจะมีเชื้อสายต่างชาติด้วย[3]
พระองค์อาจจะมีพระอนุชาหรือพระเชษฐานามว่า อาเนน ผู้นำศาสนาแห่งอามุน[5], ไอย์ ผู้ขึ้นครองราชย์ต่อจากฟาโรห์ทุตอังค์อามุน ซึ่งเหมือนฟาโรห์หลังจาการสิ้นพระชนม์ของทุตอังค์อามุน ที่เชื่อว่าอาจจะเป็นพระอนุชาหรือพระเชษฐาของพระองค์อีกด้วย แม้ว่าจะไม่มีวันที่ชัดเจนและหลักฐานที่จะเชื่อมโยงระทั้งสองได้ โดยนักไอยคุปต์วิทยาสันนิษฐาว่า ไอย์มีต้นกำเนิดมาจากอัคมิม เพราะจากการสร้างวิหารเพื่อุทิศแด่เทพมิน ซึ่งเป็นเทพประจำท้องถิ่น และการรับตำแหน่งส่วนใหญ๋ของยูยา บิดาของพระองค์[3][6]
พระนางติเยได้อภิเษกสมรสกับฟาโรห์อเมนโฮเทปที่ 3 ในปีที่ 2 แห่งการครองราชย์ ซึ่งฟาโรห์อเมนโฮเทปที่ 3 ประสูติพระมเหสีแต่รองของพระราชบิดาฟาโรห์ทุตโมสที่ 4 และต้องการที่จะผูกสัมพันธ์ระหว่างเชื้อพระวงศ์ให้แน่นแฟ้นมากยิ่งขึ้น[4] และดูเหมือนว่าพระองค์ได้ขึ้นครองราชย์เมื่อมีพระชนม์น้อยอยู่อาจจะประมาณ 6 ถึง 12 ปี ซึ่งทั้งสองพระองค์มีพระราชโอรสและพระราชธิดาอย่างน้อย 7 พระองค์ หรือมากกว่า ดังนี้
- ซิทอามุน – พระราชธิดาพระองค์โต ผู้ซึ่งได้รับแต่งตั้งให้เป็นพระมเหสีในปีที่ 30 แห่งการครองราชย์ของพระราชบิดาของพระองค์[7]
- ไอเซท – อาจจะได้รับแต่งตั้งให้เป็นพระมเหสีในพระราชบิดาของพระองค์[7]
- เฮนุตทาเนบ – ไม่ทราบถึงการแต่งตั้งให้เป็นพระมเหสี แม้ว่าพระนามของพระองค์จะปรากฏในคาร์ทูธเพียงอย่างเดียว
- เนเบตา – บางครั้งคิดว่าพระองค์ทรงเปลี่ยนพระนามเป็น บาเคตอาเตน ในรัชสมัยของฟาโรห์อาเคนาเตน พระอนุชาของพระองค์
- ทุตโมส – มกุฎราชกุมารและนักบวชชั้นสูงแห่งเทพพทาห์ ซึ่งสิ้นพระชนม์ในรัชสมัยของพระราชบิดา
- อเมนโฮเทปที่ 4/อาเคนาเตน – ผู้ขึ้นครองราชย์ต่อจากพระราชบิดา เป็นพระสวามีของพระนางเนเฟอร์ติติและพระราชบิดาของเจ้าหญิงอังค์เซนอามุน ผู้ซึ่งอภิเษกสมรสกับฟาโรห์ทุตอังค์อามุน[8]
- สเมงค์คาเร – ตามประเพณีที่เห็นว่าเป็นหนึ่งในผู้ขึ้นครองราชย์ต่อจากฟาโรห์อาเคนาเตน
- สตรีผู้อ่อนเยาว์ จาก เควี 35 – เป็นพระราชธิดาของฟาโรห์อเมนโฮเทปที่ 3 กับพระนางติเย ซึ่งเป็นพระราชมารดาของฟาโหร์ทุตอังค์อามุน
- เบเคตอาเตน – บางส่วนคิดว่าเป็นพระราชธิดาของพระนางติเย[1]
อ้างอิง
[แก้]
- ↑ 1.0 1.1 Tyldesley 2006, p. 115.
- ↑ "Bart, Anneke. "Ancient Egypt." http://euler.slu.edu/~bart/egyptianhtml/kings%20and%20Queens/amenhotepiii.htm เก็บถาวร 2016-09-24 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- ↑ 3.0 3.1 3.2 Tyldesley 2006, p. 116.
- ↑ 4.0 4.1 O'Connor & Cline 1998, p. 5.
- ↑ O'Connor & Cline 1998, p. 5-6.
- ↑ Shaw, Ian. The Oxford history of Ancient Egypt. Oxford University Press: London, 2003. p.253
- ↑ 7.0 7.1 Tyldesley 2006, p. 121.
- ↑ Aidan Dodson, "Amarna Sunset: Nefertiti, Tutankhamun, Ay, Horemhab and the Egyptian Counter-reformation" (Cairo: AUC Press, 2010), pp.27-29