ชมู
ชมู (อังกฤษ: shmoo; shmoon, shmoos (พหูพจน์)) เป็นตัวการ์ตูนรูปร่างคล้ายพินโบว์ลิ่งที่มีขาสั้น ๆ สร้างโดย อัล แคป (Al Capp; พ.ศ. 2452–2522) ตัวละครปรากฎครั้งแรกในการ์ตูนเรื่อง แอบเนอร์น้อย (Li'l Abner) เมื่อวันที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2491 คำว่า "shmoo" ได้กลายมาเป็นคำศัพท์ภาษาอังกฤษซึ่งมีหลายความหมายในหลายสาขาวิชาทางวิทยาศาสตร์
ลักษณะ
[แก้]ชมูมีรูปร่างคล้ายพินโบว์ลิ่งที่มีขาสั้นป้อม มีผิวเรียบ มีคิ้วและหนวดหร็อมแหร็ม ไม่มีแขน จมูก หรือหู เท้ามีลักษณะสั้นและกลมแต่คล่องตัว ชมูแสดงอารมณ์ทางสีหน้าได้หลากหลาย และมักมีรูปหัวใจขึ้นเหนือหัวเพื่อแสดงความรัก นักเขียนการ์ตูน อัล แคป บรรยายว่าชมูมีลักษณะ ดังนี้:
- ชมูสืบพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศ มีลูกดกกว่ากระต่าย และไม่ต้องการอะไรนอกจากอากาศเพื่อยังชีพ
- ตัวชมูมีรสชาติอร่อยและอยากถูกกิน หากมนุษย์มีท่าทางหิว ตัวชมูก็พร้อมจะถวายตัวเป็นอาหารโดยการกระโดดลงไปในกระทะ ชมูทอดรสชาติเหมือนไก่ หากย่างจะรสชาติเหมือนสเต็ก หากอบจะรสชาติเหมือนเนื้อหมู และหากเผาจะรสชาติเหมือนปลาดุก แบบดิบมีรสชาติเหมือนหอยนางรม
- พวกมันวางไข่ (ออกมาแบบอยู่ในหีบห่อ), ให้นม (อยู่ในขวดอย่างดี), และให้เนย (โดยไม่ต้องกวน)
- หนังของพวกมันสามารถใช้ทำรองเท้าหนังหรือเป็นไม้ซุงไว้สร้างบ้านขึ้นอยู่กับหั่นหนาแค่ไหน
- พวกมันไม่มีกระดูกเลยไม่มีส่วนไหนที่ต้องทิ้ง
- ตาของพวกมันสามารถนำมาใช้เป็นกระดุมอย่างดี และหนวดก็เหมาะนำมาใช้เป็นไม้จิ้มฟัน โดยรวมพวกมันเป็นสัตว์ที่ใช้ประโยชน์ได้ทุกส่วนเหมาะกับการเลี้ยงเพื่อการเกษตร
- พวกมันมีนิสัยนุ่มนวลและแทบไม่ต้องการการดูแล แถมยังสามารถเป็นเพื่อนเล่นของเด็ก ๆ การดูเหล่าชมูเล่นกันนั้นสนุกจนคนไม่รู้สึกอยากจะดูทีวีหรือไปดูภาพยนต์
- ชมูบางชนิดที่มีรสชาติอร่อยกว่าอาจจับยาก การล่าชมูจึงกลายเป็นกีฬาชนิดหนึ่ง อุปกรณ์ที่ใช้จับชมูได้แก่ถุงกระดาษ ไฟฉาย และแท่งไม้ ในเวลากลางคืน ไฟฉายทำให้ชมูมึนงง ส่วนแท่งไม้ก็ไว้สำหรับตีหัวพวกมันแล้วจึงใส่ถุงกระดาษ
เนื้อเรื่อง
[แก้]ในตอนที่เริ่มเมื่อปลายเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2491 แอบเนอร์น้อยพบเหล่าชมูขณะผจญภัยเข้าไปในเขตหวงห้ามที่เรียกว่า "หุบเขาแห่งเหล่าชมู" แอบเนอร์ถูกโยนจากหน้าผาลงไปสู่หุบเขาด้านล่างโดยหญิงสาวซึ่งมีหน้าที่ปกป้องหุบเขาหลังเดินตามเสียงของพวกชมูที่ทั้งไพเราะและชวนค้นหา ในหุบเขาแอบเนอร์เป็นเพื่อนกับเหล่าชมูโดยไม่สนใจคำคัดค้านของชายแก่หนวดยาวผู้ดูแลเหล่าชมู "เหล่าชมูเป็นภัยคุกคามที่น่ากลัวที่สุดสำหรับเหล่ามาาานุษชาติเท่าที่โลกเคยรู้จัก!" ชายแก่เตือน "เพราะว่าพวกมันแย่มากหรอ" แอบเนอร์ถามกลับ "เจ้าโง่ ไม่ใช่! เพราะว่าพวกมันดีมากต่างหาก" ชายแก่ตอบ
แอบเนอร์นำเหล่าชมูออกนอกหุบเขาหลังพบว่าพวกมันมีค่าแค่ไหน เหล่าชมูได้รับความสนใจเป็นอย่างมากในเมืองด็อกแพตช์และโด่งดังไปทั่วโลกในเวลาต่อมา ผู้นำแห่งอุตสาหกรรมอย่าง J. Roaringham Fatback หรือ "ราชาเนื้อหมู" เริ่มตื่นตัวเพราะยอดขายที่ตกลง ต่อมา Fatback ติดสินบนให้ผู้ทำลายล้างออกคำสั่ง "กลุ่มสังหารชมู" ให้ออกไปฆ่าเหล่าชมูทั้งหมดด้วยอาวุธปืนอย่างโหดร้าย
หลังเหล่าชมูถูกกำจัด ภาพถูกตัดไปที่ Soft-Hearted John คนขายของชำซึ่งขายของราคาแพงเกินจริงในเมืองด็อกแพตช์ซึ่งหัวเราะเสียงสูงขณะกำลังจัดสินค้าแสดงสินค้าของเขาที่ประกอบด้วยเนื้อและของเน่า ๆ และยังกล่าวว่า "ตอนนี้พวกหนูที่กำลังอดตายก็ต้องคลานมาหาฉันถ้ายังไม่อยากตาย! พวกมันเคยบ่นว่าฉันขายแพง รอให้พวกมันเห็นราคาใหม่ก่อนเถอะ!!"
อย่างไรก็ตาม ต่อมาได้มีการเปิดเผยว่าแอบเนอร์ซ่อนชมูไว้สองตัวเพศหญิงและเพศชาย
ตอนที่จบก่อนเทศกาลคริสต์มาสของพ.ศ. 2491 ได้รับความนิยมอย่างมาก ด้วยความที่เนื้อเรื่องบ่งบอกถึงสถานะของสังคมและอุปมานิทัศน์โบราณเกี่ยวกับความโลภและการทุจริตซึ่งทำลายล้างสิ่งดีและสิ่งบริสุทธิ์ทุกอย่างบนโลก
ในวิทยาศาสตร์
[แก้]คำว่า "ชมู" (shmoo) ได้กลายมาเป็นคำศัพท์ภาษาอังกฤษที่ให้ความหมายแนวคิดเทคนิคที่แตกต่างกันในอย่างน้อย 4 สาขาทางวิทยาศาสตร์:
- "แผนชมู" (shmoo plot) เป็นศัพท์เทคนิคเกี่ยวกับการแสดงเชิงกราฟของผลการทดลองในวิศวกรรมไฟฟ้า พบว่าเริ่มใช้ตั้งแต่พ.ศ. 2509[1] ชื่อน่าจะถูกตั้งตามรูปร่างของกราฟทีมักออกมาคล้ายชมู คำยังสามารถใช้เป็นคำกริยา เช่น ชมูอาจแปลว่าเริ่มทดสอบ
- ในจุลชีววิทยา รูปร่างของชมูที่คล้ายกับ Saccharomyces cerevisiae ประกอบกับประโยชน์ที่หลากหลาย ทำให้เรียกได้ว่าชมูกลายมาเป็นเสมือนตัวนำโชคสำหรับนักวิทยาศาสตร์ที่ใช้ยีสต์เป็นสิ่งมีชีวิตตัวแบบเพื่อศึกษาพันธุศาสตร์และชีววิทยาของเซลล์ นอกจากนี้ส่วนที่ยื่นออกมาจากยีสต์ขณะตอบโต้ฟีโรโมนจากยีสต์ที่มีลักษณะสืบพันธุ์ตรงข้ามยังถูกเรียกว่าชมู เพราะเซลที่กำลังจะผสมพันธุ์มีรูปร่างคล้ายตัวชมู[2] ชมูนับเป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้ หากไม่มีชมูพวกเราก็จะไม่มีทั้งขนมปังและเบียร์
- ชมูถูกใช้ในการอภิปรายทางสังคมและเศรษฐกิจ ตัวอย่างเช่น ในเศรษฐศาสตร์ วิจิท (widget) คือสินค้าที่ต้องใช้แรงงานในการผลิตจากทรัพยากรจำกัด และตรงข้ามกับ ชมู ที่เป็นสินค้าที่แพร่พันธุ์ด้วยตัวเองและถูกจับหรือเลี้ยงเพื่อเป็นกิจกรรมทางเศรษฐกิจ[3]
- นักชีววิทยาที่ศึกษาอิคีเนอเดอร์เมอเทอใช้คำว่าชมูเพื่อหมายถึงหนอนที่พบในเม่นทะเลบางชนิด (ตัวอย่างเช่น Wray 1996[4]).
- ในสาขาฟิสิกส์ของอนุภาค คำว่าชมูหมายถึงเครื่องมือตรวจสอบรังสีคอสมิกพลังงานสูงที่ถูกใช้ ณ Los Alamos National Laboratory สำหรับ Cygnus X-3 Sky Survey ซึ่งทำที่ LAMPF (Los Alamos Meson Physics Facility)[5]
- ชมูถุกเสนอให้เป็นตัวอย่างสมมุติเพื่อการพิสูจน์ว่าการคัดเลือกโดยธรรมชาติไม่ใช่กลไกหลักที่ทำให้เกิดวิวัฒนาการ[6]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ The Sensitivity Function in Variability Analysis, Charles Belove, IEEE Transactions on Reliability, Volume R-15, Issue 2, August 1966.
- ↑ "The Hooded Utilitarian looks at comics' contributions to colloquial English, 18 December 2010". Tcj.com. 2012-02-07. สืบค้นเมื่อ 2012-12-10.
- ↑ Wright, Erik Olin, Class Counts: Comparative Studies in Class Analysis, 1997 Cambridge University Press. Books.google.com. 1996-11-28. สืบค้นเมื่อ 2012-12-10.
- ↑ Gregory A. Wray. "Parallel Evolution of Nonfeeding Larvae in Echinoids". Sysbio.oxfordjournals.org. สืบค้นเมื่อ 2012-12-10.
- ↑ Higgins, William S. "Shmoos of the Tevatron by Wm. S. Higgins (Symmetry, June 2012)". Symmetrymagazine.org. สืบค้นเมื่อ 2012-12-10.
- ↑ Steven Pinker (1994). "The Big Bang". The Language Instinct. New York: William Morrow. p. 358. ISBN 0-688-12141-1. Daniel Dennett (1995). "Controversies Contained". Darwin's Dangerous Idea:Evolution and the Meanings of Life. New York: Simon & Schuster. p. 330. ISBN 978-0-684-82471-0.
อ่านเพิ่ม
[แก้]- Capp, Al, The Life and Times of the Shmoo (1948) Simon & Schuster
- Capp, Al, "There Is a Real Shmoo" (The Nation, 21 March 1949)
- Capp, Al, "I Don't Like Shmoos" (Cosmopolitan, June 1949)
- Al Capp Studios, Al Capp's Shmoo Comics (1949–1950) 5 issues (Toby Press)
- Al Capp Studios, Al Capp's Shmoo in Washable Jones' Travels (1950) (Oxydol premium)
- Al Capp Studios, Washable Jones and the Shmoo (1953) (Toby Press)
- Capp, Al, Al Capp's Bald Iggle: The Life It Ruins May Be Your Own (1956) Simon & Schuster
- Capp, Al, The Return of the Shmoo (1959) Simon & Schuster
- Capp, Al, Charlie Mensuel #2 (March 1969) (A French monthly periodical devoted to comics)
- Capp, Al, The Best of Li'l Abner (1978) Holt, Rinehart & Winston ISBN 0-03-045516-20-03-045516-2
- Capp, Al, Li'l Abner: Reuben Award Winner Series Book 1 (1985) Blackthorne
- Capp, Al, Li'l Abner Dailies: 1948 Vol. 14 (1992) Kitchen Sink Press ISBN 0-87816-116-30-87816-116-3
- Capp, Al, Li'l Abner Dailies: 1949 Vol. 15 (1992) Kitchen Sink ISBN 0-87816-127-90-87816-127-9
- Capp, Al, Li'l Abner Dailies: 1956 Vol. 22 (1995) Kitchen Sink ISBN 0-87816-271-20-87816-271-2
- Capp, Al, Li'l Abner Dailies: 1959 Vol. 25 (1997) Kitchen Sink ISBN 0-87816-278-X0-87816-278-X
- Capp, Al, The Short Life and Happy Times of the Shmoo (2002) Overlook Press ISBN 1-58567-462-11-58567-462-1
- Capp, Al, Al Capp's Li'l Abner: The Frazetta Years - 4 volumes (2003, 2004) Dark Horse Comics
- Al Capp Studios, Al Capp's Complete Shmoo: The Comic Books (2008) Dark Horse ISBN 1-59307-901-X1-59307-901-X
- Capp, Al, Al Capp's Complete Shmoo Vol. 2: The Newspaper Strips (2011) Dark Horse ISBN 1-59582-720-X1-59582-720-X