[go: up one dir, main page]

ข้ามไปเนื้อหา

การผูกขาดโดยผู้ขายน้อยราย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

การผูกขาดโดยผู้ขายน้อยราย (อังกฤษ: oligopoly) คือตลาดที่การควบคุมอุตสาหกรรมอยู่ในมือของผู้ขายรายใหญ่เพียงไม่กี่รายที่เป็นเจ้าของส่วนแบ่งตลาดอย่างเด่นชัด ตลาดผู้ขายน้อยรายมีสินค้าที่เหมือนกัน มีผู้เข้าร่วมตลาดน้อยรายและมีอุปสงค์ยืดหยุ่นน้อยสำหรับผลิตภัณฑ์ในอุตสาหกรรมเหล่านั้น[1] ผลจากอำนาจทางการตลาดที่สำคัญ บริษัทในตลาดผู้ขายน้อยรายสามารถมีอิทธิพลต่อราคาผ่านการควบคุมฟังก์ชันอุปทาน บริษัทในการผูกขาดโดยผู้ขายน้อยรายยังพึ่งพาซึ่งกันและกัน เนื่องจากการกระทำใด ๆ ของบริษัทหนึ่งคาดว่าจะส่งผลกระทบต่อบริษัทอื่น ๆ ในตลาด และทำให้เกิดปฏิกิริยาหรือการกระทำที่ตามมา[2] เป็นผลให้บริษัทในตลาดผู้ขายน้อยรายมักจะหันไปใช้การสมรู้ร่วมคิดเพื่อเพิ่มผลกำไรสูงสุด

เขตอำนาจหลายแห่งถือว่าการสมรู้ร่วมคิดนั้นผิดกฎหมายเนื่องจากเป็นการฝ่าฝืนกฎหมายการแข่งขันและถือเป็นพฤติกรรมต่อต้านการแข่งขัน กฎหมายการแข่งขันของสหภาพยุโรป ในยุโรปห้ามมิให้กระทำการต่อต้านการแข่งขัน เช่น การกำหนดราคา และผู้แข่งขันจัดการตลาดที่ส่งผลต่ออุปทานและการค้าของตลาด ในสหรัฐ แผนกต่อต้านการผูกขาดของกระทรวงยุติธรรมของสหรัฐและคณะกรรมาธิการการค้าของรัฐบาลกลางมีหน้าที่ระงับการผูกขาด ในประเทศออสเตรเลีย พระราชบัญญัติการแข่งขันและผู้บริโภคของรัฐบาลกลางปี 2010 มีรายละเอียดเกี่ยวกับการห้ามและกฎระเบียบของข้อตกลงและแนวปฏิบัติต่อต้านการแข่งขัน แม้ว่ากฎหมายเหล่านี้จะดูแข็งกร้าว แต่โดยทั่วไปแล้วกฎหมายเหล่านี้จะใช้เฉพาะเมื่อบริษัทมีส่วนร่วมในการสมรู้ร่วมคิดอย่างเป็นทางการ เช่น กลุ่มผู้ผูกขาดเพื่อครอบงำตลาด บริษัทต่าง ๆ จึงมักจะหลีกเลี่ยงผลทางกฎหมายโดยใช้กลยุทธที่มีเลศนัย (tacit collusion) เนื่องจากการสมรู้ร่วมคิดสามารถพิสูจน์ได้ผ่านการสื่อสารโดยตรงระหว่างบริษัทเท่านั้น

ภายในเศรษฐกิจหลังสังคมนิยม การผูกขาดโดยผู้ขายน้อยรายอาจเด่นชัดเป็นพิเศษ ตัวอย่างเช่น ในอาร์เมเนียที่ซึ่งชนชั้นสูงทางธุรกิจมีส่วนร่วมในการผูกขาด โดยร้อยละ 19 ของเศรษฐกิจทั้งหมดถูกผูกขาด ทำให้เป็นประเทศที่ถูกผูกขาดมากที่สุดในภูมิภาค[3]

มีหลายอุตสาหกรรมที่กล่าวได้ว่าเป็นการผูกขาดโดยผู้ขายน้อยราย เช่น อุตสาหกรรมการบินพลเรือน ผู้ให้บริการไฟฟ้า โทรคมนาคม การขนส่งทางรถไฟ การแปรรูปอาหาร บริการงานศพ การกลั่นน้ำตาล การทำเบียร์ การทำเยื่อกระดาษและกระดาษ และการผลิตรถยนต์

อ้างอิง

[แก้]
  1. "Archived copy". homework.study.com. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 24 April 2023. สืบค้นเมื่อ 2023-04-24.{{cite web}}: CS1 maint: archived copy as title (ลิงก์)
  2. "Archived copy". homework.study.com. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 24 April 2023. สืบค้นเมื่อ 2023-04-24.{{cite web}}: CS1 maint: archived copy as title (ลิงก์)
  3. Mikaelian, Hrant (2015). "Informal Economy of Armenia Reconsiered". Caucasus Analytical Digest (75): 2–6. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 7 March 2023. สืบค้นเมื่อ 9 December 2022 – โดยทาง Academia.edu.