[go: up one dir, main page]

ข้ามไปเนื้อหา

กัลฟ์ เอ็นเนอร์จี ดีเวลลอปเมนท์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
บริษัท กัลฟ์ เอ็นเนอร์จี ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด (มหาชน)
ประเภทบริษัทมหาชนจำกัด
การซื้อขาย
SET:GULF
อุตสาหกรรมทรัพยากร พลังงานและสาธารณูปโภค
ก่อตั้ง19 สิงหาคม พ.ศ. 2554; 13 ปีก่อน (2554-08-19)
สำนักงานใหญ่87 อาคาร เอ็มไทย ทาวเวอร์ ออลซีซั่น เพลส ชั้น 11 ถนนวิทยุ แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 10330
บุคลากรหลัก
เว็บไซต์www.gulf.co.th

บริษัท กัลฟ์ เอ็นเนอร์จี ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด (มหาชน) ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2554 เป็นบริษัทมหาชนที่ประกอบธุรกิจโดยการถือหุ้นในบริษัทอื่น โดยผลิตและจำหน่ายไฟฟ้า ไอน้ำ และน้ำเย็น และธุรกิจอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง มีบริษัท กัลฟ์ วีทีพี จำกัด (GVTP) เป็นบริษัทแกน[1] มีบริษัทย่อยเช่น บริษัท กัลฟ์ เอ็มพี จำกัด (GMP), บริษัท อินดิเพนเดนท์ พาวเวอร์ ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด (IPP) และ บริษัท กัลฟ์ โซล่าร์ จำกัด (Gulf Solar) เป็นต้น นอกจากนั้นยังมีบริษัทร่วมทุนญี่ปุ่น ในนาม บริษัท กัลฟ์ เจพี จำกัด (GJP)[2] หากรวมโรงงานจากทุกบริษัทย่อยแล้ว มีโรงไฟฟ้า 28 โครงการ และมีกำลังการผลิตไฟฟ้าติดตั้งรวม 11,125.6 เมกะวัตต์ นับเป็นผู้ผลิตพลังงานไฟฟ้ารายใหญ่อันดับ 3 ของประเทศ (ข้อมูลปี พ.ศ. 2561)[2]

กัลฟ์เคยสนับสนุนสโมสรฟุตบอลมากกว่า 6 ทีม เช่น อยุธยา เอฟซี, ปลวกแดง, ระยอง พังงา จามจุรียูไนเต็ดและทีมฟุตบอลกัลฟ์สระบุรี รวมไปถึงได้ซื้อสิทธิ์การถ่ายทอดสดฟุตบอลโลก 2018 ที่รัสเซีย มาออกอากาศในประเทศไทย จำนวน 200 ล้านบาท

พ.ศ. 2562 กัลฟ์ขยายอาณาจักรสู่ธุรกิจโครงสร้างพื้นฐานและสาธารณูปโภคทั่วประเทศ ได้แก่ โครงการพัฒนาท่าเรืออุตสาหกรรมมาบตาพุด เฟส 3, การพัฒนาท่าเรือแหลมฉบัง เฟส 3 (ท่าเทียบเรือ F), โครงการทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองหมายเลข 6 สายบางปะอิน-นครราชสีมา (M6), โครงการทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองหมายเลข 81 บางใหญ่-กาญจนบุรี (M81) มีโครงการร่วมทุนเพื่อลงทุนและดำเนินงานระบบจำหน่ายไฟฟ้าและระบบทำความเย็นสำหรับโครงการวัน แบงค็อก

พ.ศ. 2564 กัลฟ์ตัดสินใจเทกโอเวอร์บริษัท อินทัช โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน) ขึ้นเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ ปลายปี 2564 กัลฟ์ได้จัดตั้งบริษัท กัลฟ์ อินโนวา จำกัด และช่วงเมษายนปีเดียวกัน กัลฟ์ อินโนวา ร่วมลงทุนแพลตฟอร์มซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัล ไบแนนซ์ (Binance) ด้วยการจัดตั้งบริษัท กัลฟ์ ไบแนนซ์ จำกัด (Gulf Binance) เพื่อร่วมลงทุนในศูนย์ซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัล[3]

ในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2567 คณะกรรมการ บมจ.อินทัชฯ และ บมจ. กัลฟ์ฯ ประกาศควบรวมกิจการทั้งสองบริษัท โดยจะมีการจัดตั้งบริษัทใหม่ในไตรมาส 2 พ.ศ. 2567[4]

ธุรกิจ

[แก้]

โครงสร้างธุรกิจของบริษัทแบ่งออกเป็น 3 ธุรกิจคือ ธุรกิจโรงไฟฟ้าพลังงานแก๊สธรรมชาติ ธุรกิจโรงงานไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียน และธุรกิจอื่น จากข้อมูลการถือหุ้นในรายงานประจำปี พ.ศ. 2560 มีดังนี้[5]

ธุรกิจโรงไฟฟ้าพลังงานแก๊สธรรมชาติ
  • บริษัท กัลฟ์ เจพี จำกัด (GJP) ถือหุ้นร้อยละ 40.0 ดำเนินการโรงไฟฟ้า 9 โครงการ
  • บริษัท กัลฟ์ เอ็มพี จำกัด (GMP) ถือหุ้นร้อยละ 70.0 ดำเนินการโรงไฟฟ้าผู้ผลิตไฟฟ้ารายเล็ก (SPP) 12 โครงการ
  • บริษัท อินดิเพนเดนท์ เพาเวอร์ ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด (IPD) ถือหุ้นร้อยละ 70.0 ดำเนินการโรงไฟฟ้าเอกชนรายใหญ่ (IPP) แก๊สธรรมชาติ 2 โครงการ
ธุรกิจโรงงานไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียน
  • โครงการโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ที่ติดตั้งบนหลังคา ถือหุ้นผ่านบริษัท Gulf Solar ร้อยละ 75.0 ดำเนินการโครงการโรงไฟฟ้าผู้ผลิตไฟฟ้าขนาดเล็กมาก (VSPP) พลังงานแสงอาทิตย์ที่ติดตั้งบนหลังคา 4 โครงการ
  • โครงการโรงไฟฟ้าพลังงานชีวมวล ถือหุ้นร้อยละ 100.00 ดำเนินการโครงการโรงไฟฟ้าผู้ผลิตไฟฟ้ารายเล็ก (SPP) ชีวมวล 1 โครงการ
ธุรกิจอื่น
  • บริษัท กัลฟ์ เอ็นเนอร์จี อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด ถือหุ้นร้อยละ 99.99 ให้บริการด้านบริหาร ด้านเทคนิค และการให้บริการสนับสนุน มีบริษัทย่อยคือ Gulf International Holding Pte. Ltd. (สิงคโปร์), Gulf Energy Mauritius Company Limited (มอริเชียส) และ Gulf Energy (Vietnam) Limited Liability Company (เวียดนาม)
  • ธุรกิจจัดจำหน่ายแก๊สธรรมชาติทางท่อ โดยจำหน่ายแก๊สธรรมชาติทางท่อในนิคมอุตสาหกรรมเหมราชอีสเทิร์นซีบอร์ด 2 และนิคมอุตสาหกรรมเหมราช ซีบอร์ด 4
  • ธุรกิจให้บริการบริหารจัดการโครงการโรงไฟฟ้า ตั้งแต่กระบวนการพัฒนาและก่อสร้างโครงการ จนถึงบริหารจัดการโครงการ

ผู้ถือหุ้นรายใหญ่

[แก้]
  • ข้อมูล ณ วันที่ 29 กุมภาพันธ์ 2567
ลำดับที่ รายชื่อผู้ถือหุ้น จำนวนหุ้นสามัญ สัดส่วนการถือหุ้น
1 นาย สารัชถ์ รัตนาวะดี 4,202,177,897 35.81%
2 UBS AG SINGAPORE BRANCH 1,467,508,577 12.51%
3 GULF CAPITAL HOLDINGS LIMITED 1,160,431,363 9.89%
4 บริษัท กัลฟ์ โฮลดิ้ง (ประเทศไทย) จำกัด 551,729,877 4.70%
5 บริษัท ไทยเอ็นวีดีอาร์ จำกัด 405,946,978 3.46%

อ้างอิง

[แก้]
  1. สรุปข้อสนเทศบริษัทจดทะเบียนบริษัท กัลฟ์ เอ็นเนอร์จี ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด (มหาชน)
  2. 2.0 2.1 "รู้จัก 'สารัชถ์ รัตนาวะดี' เจ้าของ 'GULF' เศรษฐีหน้าใหม่อันดับ 7 ในทำเนียบคนรวยที่สุดของไทย". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-05-09. สืบค้นเมื่อ 2019-03-14.
  3. "ผ่าแนวคิด 'สารัชถ์ รัตนาวะดี' ลุยดิจิทัลเต็มรูปแบบ". ฐานเศรษฐกิจ.
  4. GULF และ INTUCH ประกาศควบรวมกิจการ
  5. รายงานประจำปี 2560 บริษัท กัลฟ์ เอ็นเนอร์จี ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด (มหาชน)