ความสัมพันธ์ฟิลิปปินส์–รัสเซีย
ฟิลิปปินส์ |
รัสเซีย |
ความสัมพันธ์ฟิลิปปินส์–รัสเซีย (รัสเซีย: Российско-филиппинские отношения; ฟิลิปปินส์: Ugnayan ng Pilipinas at Rusya) เป็นความสัมพันธ์ทวิภาคีระหว่างประเทศรัสเซียและฟิลิปปินส์ ซึ่งทั้งสองประเทศเป็นสมาชิกเต็มรูปแบบของเอเปก
รัสเซียมีสถานทูตอยู่ที่กรุงมะนิลา ส่วนฟิลิปปินส์มีสถานทูตในกรุงมอสโก และสถานกงสุลกิตติมศักดิ์สองแห่ง (ในเซนต์ปีเตอร์สเบิร์กและวลาดีวอสตอค)
ประวัติศาสตร์
[แก้]ประวัติศาสตร์ตอนต้น
[แก้]รัสเซียมีความสนใจในการพัฒนาความสัมพันธ์กับรัฐในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ตั้งแต่ช่วงศตวรรษที่ 19 ความสนใจของจักรวรรดิรัสเซียในการสร้างความสัมพันธ์กับประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้นั้นเกิดจากความต้องการอาหารและความมั่นคงในการจัดหาวัตถุดิบในรัสเซียตะวันออกไกลเนื่องจากการติดต่อสื่อสารระหว่างทางฝั่งตะวันออกของรัสเซียและฝั่งยุโรปนั้นยากอย่างมีความหมาย[1]
กลยุทธ์ "สำรวจตะวันออกไกลผ่านอินเดียและฟิลิปปินส์เพื่อสร้างการเชื่อมโยงทางการค้า" ได้รับการเสนอถวายแด่พระเจ้าปีเตอร์มหาราชโดยเฟดอร์ ไอ. เซมิโยนอฟ ผู้ว่าราชการไซบีเรียใน ค.ศ. 1722[2]
ในปี ค.ศ. 1813 อเล็กซานเดอร์ที่ 1 แห่งรัสเซีย ทรงพระบรมราชูปถัมภ์ที่สร้างโดยปิออตร์ โดเบล เกี่ยวกับการค้าและการพัฒนาร่วมกับประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งโดเบลเป็นนักธุรกิจชาวอเมริกันที่เกิดในไอร์แลนด์ผู้อาศัยอยู่ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เขาเป็นคนแรกที่เริ่มต้นการส่งเสริมความสัมพันธ์กับรัสเซียตะวันออกไกล โดยเฉพาะอย่างยิ่งบริเวณคาบสมุทรคัมชัตคา ในที่สุดรัสเซียตัดสินใจที่จะจัดตั้งภารกิจทางการทูตแห่งแรกในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เมื่อปี ค.ศ. 1817 - โดยมีสถานกงสุลใหญ่ในกรุงมะนิลา ปิออตร์ โดเบล กลายเป็นพลเมืองแปลงสัญชาติและใช้ชื่อปิออตร์ วาซิลีวิช โดเบล รวมทั้งได้รับการแต่งตั้งให้เป็นกงสุลใหญ่ในประเทศฟิลิปปินส์[1]
การสร้างภารกิจทางการทูตอย่างเป็นทางการของรัสเซียนั้นไม่ใช่เรื่องง่ายอย่างที่หวังเพราะรัฐบาลอาณานิคมของสเปนปฏิเสธที่จะยอมรับคณะทูตรัสเซียในกรุงมะนิลา อย่างไรก็ตาม มีการประนีประนอมกับปิออตร์ วาซีลเยวิช โดเบล ที่ได้รับอนุญาตให้อยู่และดำเนินการในกรุงมะนิลาในฐานะตัวแทนอย่างไม่เป็นทางการของรัสเซียในประเทศฟิลิปปินส์[1]
สถานกงสุลใหญ่เริ่มเปิดดำเนินการเมื่อปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 แต่มันก็ไม่ได้ดำเนินการโดยรัสเซีย หากแต่โดยพ่อค้าฝรั่งเศสเป็นส่วนใหญ่ซึ่งยังเป็นที่รู้จักกันในนาม "กงสุลอิสระ" สถานกงสุลลักษณะนี้ยังคงดำเนินต่อไปจนกระทั่งปี ค.ศ. 1917[1]
ยุคสงครามเย็น
[แก้]จักรวรรดิรัสเซียกลายเป็นสหภาพโซเวียตหลังการปฏิวัติเดือนตุลาคม และการติดต่อระหว่างโซเวียตรัสเซียกับฟิลิปปินส์ได้รับการดูแลผ่านองค์การคอมมิวนิสต์สากล, สหภาพแรงงานนานาชาติแดง และพรรคคอมมิวนิสต์สหรัฐ (ตั้งแต่ฟิลิปปินส์เป็นอาณานิคมของสหรัฐ) แต่เนื่องจากนโยบายที่เข้มงวดของการบริหารอาณานิคมอเมริกันของฟิลิปปินส์ต่อต้านคอมมิวนิสต์ ความสัมพันธ์ระหว่างฟิลิปปินส์กับสหภาพโซเวียตจึงค่อย ๆ จางหายไป[1]
ความสัมพันธ์ทางการทูตของฟิลิปปินส์และสหภาพโซเวียตได้รับการริเริ่มใหม่โดยเลขานุการฝ่ายบริหาร อาเลฆันโดร เมลชอร์ จูเนียร์ ของประธานาธิบดี เฟอร์ดินานด์ มาร์กอส และเสนาธิการของเขาในขณะนั้นคือ พันตรี โฆเซ เต. อัลมอนเต ด้วยความช่วยเหลือของศาสตราจารย์ อชีต สิห์ ราอี จากสถาบันเอเชียศึกษาในมหาวิทยาลัยฟิลิปปินส์[3]
โดยศาสตราจารย์ราอี ที่เลขานุการเมลชอร์ และพันตรีอัลมอนเต สามารถปูทางไปสู่การรับรองอินทิรา คานธี ในการเจรจากับมอสโกได้ ในเวลานั้นฟิลิปปินส์ถือเป็นพันธมิตรที่แข็งแกร่งที่สุดของสหรัฐในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และเป็นพันธมิตรที่เชื่อถือได้ในช่วงสงครามเย็น อย่างไรก็ตาม ฝ่ายบริหารของมาร์กอสเชื่อว่าสหรัฐกำลังจะแพ้สงครามเวียดนาม จึงเห็นความจำเป็นในการสร้างความสัมพันธ์กับ "ศัตรู"[3]
เมื่อไปเยือนนิวเดลีครั้งหนึ่งในปี ค.ศ. 1975 พันตรีอัลมอนเตได้พบกับเอกอัครราชทูตโซเวียต ซึ่งจากนั้นนำไปสู่เที่ยวบินโดยเลขานุการเมลชอร์และพันตรีอัลมอนเตสู่เครมลินที่พวกเขาได้รับในฐานะแขกของรัฐ[3] การประชุมครั้งนี้นำไปสู่การสร้างความสัมพันธ์อย่างเป็นทางการระหว่างฟิลิปปินส์และสหภาพสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตในปี ค.ศ. 1976
ในปี ค.ศ. 1980 ประธานาธิบดี เฟอร์ดินานด์ มาร์กอส กับภรรยาของเขา อีเมลดา มาร์กอส ได้พบกับวาซีลี คุซเนตซอฟ ผู้รักษาการประธานคณะผู้บริหารสูงสุดแห่งสหภาพโซเวียตของยูรี อันโดรปอฟ ระหว่างการประชุมที่มอสโก
หลังจากการล่มสลายของสหภาพโซเวียต
[แก้]เมื่อการล่มสลายของสหภาพโซเวียตมีขึ้นอย่างเป็นทางการในวันที่ 26 ธันวาคม ค.ศ. 1991 ฟิลิปปินส์ก็ได้ยอมรับอย่างเป็นทางการว่าสหพันธรัฐรัสเซียเป็นผู้สืบทอดรัฐของโซเวียต เมื่อวันที่ 28 ธันวาคม ค.ศ. 1991[1]
การบริหารของดูแตร์เต
[แก้]ในระหว่างการบริหารของประธานาธิบดีฟิลิปปินส์ โรดรีโก ดูแตร์เต ความสัมพันธ์รัสเซีย–ฟิลิปปินส์ ได้ก้าวหน้าไปอย่างมาก ตามรายงานของเอกอัครราชทูตรัสเซียประจำฟิลิปปินส์ อีกอร์ โควาเอฟ "ในช่วงสองปีที่ผ่านมา ทั้งสองประเทศของเราได้สรุปเอกสารเกี่ยวกับความร่วมมือทวิภาคีในสาขาต่าง ๆ มากกว่า 40 ปีก่อนหน้านี้"[4]
ความสัมพันธ์ทวิภาคี
[แก้]ความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจ
[แก้]การย้ายถิ่นของชาวฟิลิปปินส์สู่รัสเซีย
[แก้]แรงงานข้ามชาติชาวฟิลิปปินส์เริ่มแห่กันไปรัสเซียในช่วงต้นคริสต์ทศวรรษ 2000 ในปี ค.ศ. 2004 ชาวฟิลิปปินส์ 2,010 คนได้รับการจดทะเบียนให้พำนักอยู่ในรัสเซีย ส่วนในปี ค.ศ. 2013 จำนวนดังกล่าวเพิ่มขึ้นเป็น 4,335 คนตามสถิติของคณะกรรมาธิการชาวฟิลิปปินส์โพ้นทะเล (CFO) อย่างไรก็ตาม จำนวนทั้งหมดโดยประมาณจะกลายเป็นชาวฟิลิปปินส์ในรัสเซียประมาณ 8,000 คนเมื่อมีการพิจารณาถึงผู้อพยพแบบผิดกฎหมาย โดยชาวฟิลิปปินส์ในรัสเซียประมาณ 93 เปอร์เซ็นต์อยู่ในมอสโก คนงานชาวฟิลิปปินส์โพ้นทะเลจำนวนมากในรัสเซียได้รับการฝึกอบรมวิชาชีพ แต่ส่วนใหญ่ทำงานในภาคบริการในครัวเรือนในฐานะคนทำความสะอาด, คนครัว, คนขับรถ และพี่เลี้ยงเด็ก[5] กระทรวงการต่างประเทศฟิลิปปินส์ได้นับ "ชาวฟิลิปปินส์ราว 6,000 คนที่อาศัยและทำงานในรัสเซีย ณ เดือนมิถุนายน ค.ศ. 2017"[6]
เนื่องจากจำนวนชาวฟิลิปปินส์ที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วถูกขอให้ทำงานในบ้านส่วนตัวทั่วรัสเซีย รัฐบาลฟิลิปปินส์เห็นว่าจำเป็นต้องกำหนดข้อกำหนดใหม่เกี่ยวกับการจ้างแม่บ้านและพี่เลี้ยงเด็กชาวฟิลิปปินส์ในรัสเซียโดยตรงเพื่อรักษาความเป็นอยู่ที่ดีผ่านการจัดตำแหน่งในครัวเรือนที่มีคุณสมบัติเหมาะสม รวมทั้งรับรองการมีส่วนร่วมของพนักงานที่มีความสามารถเท่านั้น[7]
การจัดซื้อยานพาหนะจากประเทศรัสเซีย
[แก้]การเจรจากำลังดำเนินการเพื่อให้รถบรรทุกแบรนด์คามาซของรัสเซียวางจำหน่ายในประเทศฟิลิปปินส์ผ่านบริษัทไลฟ์ทรักอินเตอร์เนชันแนล อิงก์. ซึ่งบันทึกความเข้าใจที่ลงนามดังกล่าวคาดว่าจะมีการจัดหารถบรรทุกอย่างน้อย 1,000 คันก่อนสิ้น ค.ศ. 2020 "คู่สัญญาทั้งสองฝ่ายได้เจรจากันชั่วคราวในการจัดหารถบรรทุกเทท้าย, รถบรรทุกระยะไกล และรถบรรทุกแพลตฟอร์มในขั้นตอนล่าสุด" แต่พวกเขา "จะตกลงเพิ่มเติมเกี่ยวกับกำหนดการเฉพาะของการดำเนินโครงการ รุ่นต่าง ๆ ของรถบรรทุกคามาซสำหรับตลาดฟิลิปปินส์ และกิจกรรมที่ตามมา" บริษัทไลฟ์ทรัก "จะสนับสนุนการโปรโมตรถบรรทุกของรัสเซียในคราวต่อไป ข้อตกลงนี้ยังพิจารณาการจัดตั้งและการพัฒนาเครือข่ายตัวแทนจำหน่าย ตลอดจนศูนย์บริการของคามาซทั่วประเทศฟิลิปปินส์"[8] ซึ่งบริษัทไลฟ์ทรักมีชื่ออยู่ในเว็บไซต์ของคามาซในฐานะตัวแทนจำหน่าย, ผู้จัดจำหน่าย และศูนย์บริการในฟิลิปปินส์แต่เพียงผู้เดียว[9] หากคามาซเติบโตโดยมีประธานาธิบดีดูแตร์เตครอบคลุมในฉากหลัง ซึ่งคือโครงการสร้าง, สร้าง, สร้าง! ทั่วประเทศ ความสำเร็จของคามาซอาจกระตุ้นให้บริษัทยานยนต์รัสเซียรายอื่นเข้าสู่ตลาดฟิลิปปินส์
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 1.2 1.3 1.4 1.5 "Russian-Philippines Relations". Embassy of the Russian Federation to the Republic of the Philippines. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-09-15. สืบค้นเมื่อ 2018-12-16.
- ↑ F. Landa Jocano (1988). Philippines-USSR Relations: (a Study in Foreign Policy Development). NDCP Foundation. p. 5.
- ↑ 3.0 3.1 3.2 "The unseen Indian hand in Manila's Moscow diplomacy". nerve.in. 21 August 2006. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-04-07.
- ↑ "Big progress in Russia-PH ties under PRRD: envoy". Philippine News Agency. 29 March 2019. สืบค้นเมื่อ 30 March 2018.
- ↑ Hartog, Eva (13 November 2015). "Moscow's Filipino Domestic Staff: No Longer An Expat Preserve". The Moscow Times. สืบค้นเมื่อ 14 November 2015.
- ↑ "Stronger PH Ties with Russia Seen as Cayetano Visits Moscow". Department of Foreign Affairs (Philippines). 16 May 2018. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-11-03. สืบค้นเมื่อ 24 September 2018.
- ↑ Notice To Prospective Employers Of Filipino Household Workers, Embassy of the Philippines in the Russian federation, คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ March 23, 2008, สืบค้นเมื่อ 2008-10-25
- ↑ "Kamaz to supply at least 1,000 trucks to Philippines by 2020". TASS. 29 May 2017. สืบค้นเมื่อ 26 September 2018.
- ↑ "Dealers & Distributors". Kamaz. สืบค้นเมื่อ 26 September 2018.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- Documents on the Philippines–Russia relationship at the Russian Ministry of Foreign Affairs (รัสเซีย)
ภารกิจทางการทูต
[แก้]- Embassy of Russia in Manila เก็บถาวร 2009-12-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน (อังกฤษ รัสเซีย)
- Embassy of the Philippines in Moscow เก็บถาวร 2020-10-14 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน (อังกฤษ รัสเซีย)