[go: up one dir, main page]

ข้ามไปเนื้อหา

Ш

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
Sha
อักษรซีริลลิก
А Б В Г Ґ Ѓ Д
Ђ Е Ѐ Ё Є Ж З
Ѕ И Ѝ І Ї Й Ј
К Л Љ М Н Њ О
П Р С Т Ћ Ќ У
Ў Ф Х Ц Ч Џ Ш
Щ Ъ Ы Ь Э Ю Я
ไม่ใช่กลุ่มภาษาสลาฟ
Ӑ Ӓ Ә Ӛ Ӕ Ғ Ҕ
Ӻ Ӷ Ԁ Ԃ Ӗ Ӂ Җ
Ӝ Ԅ Ҙ Ӟ Ԑ Ӡ Ԇ
Ӣ Ҋ Ӥ Қ Ӄ Ҡ Ҟ
Ҝ Ԟ Ԛ Ӆ Ԓ Ԡ Ԉ
Ԕ Ӎ Ӊ Ң Ӈ Ҥ Ԣ
Ԋ Ӧ Ө Ӫ Ҩ Ҧ Ҏ
Ԗ Ҫ Ԍ Ҭ Ԏ Ӯ Ӱ
Ӳ Ү Ұ Ҳ Ӽ Ӿ Һ
Ҵ Ҷ Ӵ Ӌ Ҹ Ҽ Ҿ
Ӹ Ҍ Ӭ Ԙ Ԝ Ӏ  
อักษรซีริลลิกโบราณ
Ҁ Ѻ Ѹ Ѡ Ѿ Ѣ
Ѥ Ѧ Ѫ Ѩ Ѭ Ѯ
Ѱ Ѳ Ѵ Ѷ    

Sha (Ш, ш) เป็นอักษรตัวหนึ่งในอักษรซีริลลิก ใช้แทนเสียงพยัญชนะ /ʃ/ หรือ /ʂ/ ซึ่งออกเสียงคล้ายกับ sh ในภาษาอังกฤษ ch ในภาษาฝรั่งเศส sch ในภาษาเยอรมัน ş ในภาษาตุรกี หรือ sz ในภาษาโปแลนด์ ส่วนกลุ่มภาษาสลาวิกที่ใช้อักษรละตินจะเขียนอักษร š แทนเสียงดังกล่าว ซึ่งนักภาษาศาสตร์ก็ใช้อักษร š สำหรับถ่ายอักษร Ш ไปเป็นอักษรละตินเช่นกัน

ลักษณะตัวพิมพ์ของอักษรนี้มีรูปร่างคล้ายอักษรละติน W หรือเหมือนยิ่งกว่าโดยนำอักษร E มาวางตะแคง อักษร Ш ถูกใช้ในทางที่หลากหลาย อย่างในทางคณิตศาสตร์ Tate-Shafarevich group จะใช้สัญลักษณ์เป็น Ш ซึ่งแนะนำให้ใช้เป็นครั้งแรกโดย เจ. ดับบลิว. เอส. แคสเซลส์ (ก่อนหน้านั้นใช้สัญลักษณ์ TS ซึ่งไม่ได้มีความหมายอะไรพิเศษ) และในอีกทางหนึ่ง รูปแบบของกราฟที่คล้ายอักษร Ш และได้ชื่อว่า Shah function ก็เป็นส่วนหนึ่งของฟังก์ชัน Dirac comb

สัทอักษร /ʃ/ เป็นการอธิบายเสียงเสียดแทรกหลังปุ่มเหงือกแบบไม่ก้อง เนื่องจากเสียงประเภทนี้เป็นสาเหตุหลักที่อักษรกลาโกลิตและอักษรซีริลลิกต้องประดิษฐ์ขึ้น เพราะเสียงเหล่านี้ไม่สามารถเขียนให้อยู่ในรูปของอักษรละตินหรืออักษรกรีก โดยที่ไม่ใช้เครื่องหมายเสริมอักษรหรือทวิอักษรได้ ภาษาในกลุ่มสลาวิกจึงมีอักษรแทนเสียงเสียดแทรกและเสียงกึ่งเสียดแทรกมากมาย และอักษร Sha เองก็เป็นหนึ่งในนั้น

ตำแหน่งอักขระ

[แก้]
ชุดอักขระ อักษร ฐานสิบ ฐานสิบหก
ยูนิโคด ตัวใหญ่ 1064 U+0428
ตัวเล็ก 1096 U+0448
ISO 8859-5 ตัวใหญ่ 200 0xC8
ตัวเล็ก 232 0xE8
KOI8 ตัวใหญ่ 251 0xFB
ตัวเล็ก 219 0xDB
Windows-1251 ตัวใหญ่ 216 0xD8
ตัวเล็ก 248 0xF8

อ้างอิง

[แก้]