[go: up one dir, main page]

ข้ามไปเนื้อหา

Lithops

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(ต่าง) ←รุ่นเก่ากว่านี้ | รุ่นแก้ไขล่าสุด (ต่าง) | รุ่นที่ใหม่กว่า → (ต่าง)
Lithops
Lithops lesliei. สิ่งที่เจริญแทรกขึ้นมา
ระหว่างใบทั้งสองคู่ คือ ดอก
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: พืช
หมวด: พืชมีดอก
ชั้น: พืชใบเลี้ยงคู่
อันดับ: ไม้วงศ์ดอกผีเสื้อ
วงศ์: Aizoaceae
สกุล: Lithops
N.E.Br.
สปีชีส์

ดูในบทความ

ภาพ Lithops
ภาพ การงอกใบใหม่ของ Lithops

Lithops เป็นพืชชนิดหนึ่งในกลุ่มของพืชอวบน้ำ ชื่อนี้มีรากศัพท์มาจากภาษากรีก คือ คำว่า "Lithos" ซึ่งแปลว่า "หิน" และ "-ops" ซึ่งแปลว่า "เหมือน" ดังนั้นคำว่า "Lithops" จึงแปลได้ว่า "เหมือนหิน" ซึ่งตรงกับลักษณะของพืชชนิดนี้ เพราะพืชชนิดนี้มีลักษณะเด่นที่แตกต่างจากพืชชนิดอื่นอย่างชัดเจน กล่าวคือทั้งรูปร่าง ลักษณะ สีสัน คล้ายคลึงกับ ก้อนหิน ก้อนกรวด จนมีผู้เรียก Lithops ว่า "หินมีชีวิต" เป็นพืชขนาดเล็ก ขึ้นอยู่ในพื้นที่แห้งแล้ง และอากาศเย็นในเวลากลางคืน ส่วนใหญ่มีถิ่นกำเนิดอยู่ในประเทศนามิเบีย และประเทศแถบแอฟริกาใต้

รายละเอียด

[แก้]

Lithops โดยปกติจะมีใบอยู่เป็นคู่ มีลักษณะคล้ายกระเปาะ เมื่อมองจากด้านบนจะเห็นเป็นลักษณะกลม และมีร่องตรงกลางคล้ายรอยผ่าเป็น 2 ซีก บริเวณร่องตรงกลางภายใน จะเป็นส่วนของเนื้อเยื่อ ที่สามารถเจริญเติบโตได้ ดอก หรือใบใหม่ ก็จะงอกออกมาจากร่องระหว่างใบทั้งสอง ในช่วงฤดูหนาวจะเป็นช่วงเวลาที่ Lithops เริ่มสร้างใบคู่ใหม่ อยู่ภายในร่องดังกล่าว ซึ่งจะมีเพียง 1 คู่เท่านั้น แต่อาจมีกรณีที่ Lithops แตกหน่อ ที่ทำให้คล้ายกับว่ามีใบหลายคู่ แต่ที่จริงน่าจะเรียกว่ามีต้นเล็ก 2 ต้นอยู่ภายในร่องมากกว่า ใบใหม่จะค่อย ๆ เจริญออกมาให้เห็นในช่วงฤดูใบไม้ผลิ ใบใหม่ที่งอกออกมาจะมีลักษณะเป็นคู่เหมือนใบเก่า และใบเก่าที่มีอยู่จะค่อย ๆ เหี่ยวไป ซึ่งในช่วงเวลานี้ควรงดให้น้ำแก่ Lithops เพราะใบเก่าที่กำลังเสื่อมสภาพลงจะง่ายต่อการเข้าทำลายของเชื้อรา จนทำให้เกิดการเน่าของ Lithops ได้ง่าย

Lithops ส่วนใหญ่มักฝังตัวเองอยู่ในพื้นหรือวัสดุที่ใช้ปลูก และเหลือเพียงส่วนบนของใบที่โผล่ขึ้นมาเท่านั้น สำหรับบริเวณส่วนบนของใบทั้ง 2 จะมีส่วนที่ค่อนข้างโปร่งแสง เรียกกันว่า "หน้าต่าง" (window) เพื่อให้แสงสามารถส่องเข้าไปในเนื้อเยื่อภายใน ซึ่งเป็นบริเวณที่สังเคราะห์แสง

จุดที่เป็นจุดดึงดูดความสนใจ ของผู้ที่นิยมเพาะเลี้ยง Lithops ก็คือสีสันของใบ ที่ไม่ได้มีแค่สีเขียวเหมือนพืชอวบน้ำทั่วไป แต่กลับมีสีสันแตกต่างหลายหลาก เช่น สีน้ำตาล, เทา, ครีม, ม่วง และอื่น ๆ อีกมากมาย รวมทั้งรูปแบบและสีสันของลวดลายของสิ่งที่เรียกว่า "หน้าต่าง" ไม่ว่าจะเป็น ลายเส้น, ลายจุด, ลายกลม ฯลฯ

ดอกของ Lithops ส่วนใหญ่มีสีเหลืองหรือสีขาว มีเพียงบางพันธุ์ที่มีดอกสีชมพูหรือบานเย็น Lithops ดอกมักออกในช่วงปลายปี ประมาณช่วงฤดูใบไม้ร่วงถึงฤดูหนาว ตำแหน่งดอกของ Lithops จะงอกแทรกออกมาตรงกลางระหว่างใบทั้ง 2 ของมัน ช่วงเวลาที่ดอกบานมักจะเป็นเวลาหลังเที่ยงและหุบลงในเวลาเย็น Lithops เป็นพืชที่ต้องการการผสมเกสรข้ามต้นจึงจะติดเมล็ด

ฝักหรือผลของ Lithops เป็นส่วนของฐานดอกที่หลังจากกลีบดอกโรยไปแล้ว และฝักหรือผลของ Lithops ไม่ได้เจริญเติบโตขึ้นเป็นผลให้เห็นชัดเจนเหมือนไม้อวบน้ำสายพันธุ์อื่น แต่มีลักษณะเป็นกระเปาะฐานดอกที่มีปลายแห้ง ๆ และในธรรมชาติกระเปาะดังกล่าวจะเปิดออกเมื่อโดนน้ำ พร้อมกับการดีดเมล็ดที่มีขนาดเล็กมากขนาดเท่าเม็ดทรายออกมาเพื่อขยายพันธุ์

การเพาะเลี้ยง

[แก้]

ในต่างประเทศ Lithops เป็นที่นิยมปลูกกันอย่างแพร่หลาย รวมทั้งยังมีผู้เชี่ยวชาญที่พัฒนาสายพันธุ์แปลก ๆ ขึ้นมาอย่างมากมาย เพื่อให้ได้มาซึ่งลวดลายและสีสันของใบที่สวยแปลกตา เรามักพบว่าเมล็ดและต้นก็มีการซื้อขายกันอย่างกว้างขวางใน Internet และจัดว่าเป็นไม้ที่เพาะเลี้ยงได้ง่าย ราคาไม่แพง สกุลหนึ่งเลยทีเดียว

แต่สำหรับในประเทศไทยนั้น Lithops เป็นพืชอวบน้ำที่ค่อนข้างเลี้ยงยากสกุลหนึ่ง อันเนื่องมาจากลักษณะดินฟ้าอากาศของประเทศไทย ที่เป็นแบบร้อนชื้น ไม่ค่อยเหมาะสมกับการเจริญเติบโตของ Lithops เท่าไหร่นัก มักเน่าตายเป็นส่วนใหญ่ เพราะ Lithops มีถิ่นกำเนิดอยู่ในบริเวณที่แห้งแล้ง ปริมาณน้ำฝนในช่วงหน้าฝนรวมกันไม่ถึง 2 นิ้วต่อเดือน และอยู่ท่ามกลางโขดหินซึ่งกักเก็บความชื้นไว้ได้น้อย อากาศหนาวเย็นในเวลากลางคืน

การเพาะเลี้ยง Lithops ในโรงเรือนสำหรับประเทศไทยนั้น เพื่อให้สามารถควบคุมเรื่องปริมาณน้ำและความชื้นซึ่งเป็นปัญหาหลักในการปลูกได้ดี ควรมีโรงเรือนแบบเปิดหลังคาพลาสติกใส ที่สามารถป้องกันฝนสาดใส่ Lithops ให้แสงแดดในช่วงเช้า (ตั้งแต่อาทิตย์ขึ้นถึงราว 11 โมง) และแสงในช่วงเย็น (ตั้งแต่ 4 โมงเย็นถึงอาทิตย์ตกดิน) ส่องตรงถึง Lithops ได้ ทำการพรางแสงในช่วงเที่ยงวันสัก 50% เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดอาการไหม้จากแสงแดดที่แรงจนเกินไป ซึ่งอาจทำได้โดยการติดซาแลน เฉพาะส่วนใต้หลังคาโรงเรือนเท่านั้น (ไม่ต้องติดคลุมทั้งโรงเรือน)

ภาชนะสำหรับปลูก Lithops ต้องระบายน้ำได้ดี ในกรณีที่ปลูกเป็นจำนวนมาก สามารถนำตะกร้าที่มีช่องรู ประมาณ 0.5x0.5 ซม. มีความสูงสักประมาณ 3-4นิ้ว ซึ่งระบายน้ำได้ดี และประหยัดภาชนะที่ใช้ปลูกไปด้วย เพราะใบหนึ่งสามารถปลูกได้หลายต้น รองพื้นตะกร้าด้วยและรอบ ๆ ตะกร้าด้วยหินภูเขาไฟเบอร์ 1 เพื่อป้องกันไม่ให้วัสดุปลูกที่มีขนาดเล็กกว่าไหลออกไปตามรูของตะกร้า

การเตรียมวัสดุปลูก Lithops ซึ่งมีมากมายหลายสูตร เช่น ใช้หินภูเขาไฟเบอร์ 00 เพียงอย่างเดียว, หินภูเขาไฟเบอร์ 00 ผสม เวอร์มิคูไลท์, หินภูเขาไฟเบอร์ 00 2 ส่วน ผสมดินปลูกแคสตัส 1 ส่วน แต่โดยหลักการของวัสดุปลูกก็คือระบายน้ำได้ดีและแห้งได้เร็ว โดยเมื่อหลังจากรดน้ำแล้วทิ้งไว้สัก 1 วัน สังเกตที่หินภูเขาไฟจะเหลือแค่ร่องรอยของความชื้นเท่านั้น (สีเข้มว่าปกติเล็กน้อย) เอาไม้แหลมจิ้มลงไปในวัสดุปลูกไม่ควรมีอะไรติดขึ้นมาหรือติดขึ้นมาเพียงเล็กน้อย เหตุที่ต้องให้แห้งได้เร็วแบบนี้ ก็เพื่อเผื่อในกรณีช่วงฤดูฝนที่ฝนตกติดต่อกันทุกวัน อากาศมีความชื้นสูง ทำให้วัสดุปลูกแห้งช้าลง

การให้น้ำสำหรับ Lithops หลักเกณฑ์พื้นฐานก็คือ "ให้อดจนแสดงอาการ จึงให้กิน" กล่าวคือเราจะไม่รดน้ำจนกว่า Lithops แสดงอาการว่าขาดน้ำ โดยอาการที่ว่าก็คือเกิดรอยย่นขึ้นบริเวณโคนต้น และตัววัสดุปลูกแห้งสนิท จึงจะรดน้ำให้ ในการปลูกจำนวนหลายต้นในภาชนะเดียวกัน เป็นไปได้ว่ามีบางต้นแสดงอาการ บางต้นไม่แสดงอาการ เพราะความต้องการน้ำของ Lithops แต่ละต้นย่อมแตกต่างกัน ไปตามสายพันธุ์ ขนาดต้น ฯลฯ ดังนั้นเราสามารถให้น้ำตรงบริเวณโคนต้นเฉพาะต้นที่แสดงอาการ หรืออาจรอให้ส่วนใหญ่เกือบทั้งหมดเริ่มแสดงอาการ จึงค่อยรดพร้อมกันทีเดียวก็ได้

ในการขยายพันธุ์ของ Lithops มี 2 วิธีที่นิยมกัน คือการเพาะเมล็ด และการแยกหน่อ ในการเพาะเมล็ดนั้นสามารถทำได้โดยการเก็บฝักของ Lithops มาแกะด้วยความระมัดระวัง เนื่องจากเมล็ดของ Lithops มีขนาดเล็กมาก

ประวัติ

[แก้]

รายละเอียดการศึกษา Lithops ในเชิงวิทยาศาสตร์ครั้งแรก บันทึกไว้ว่าเกิดขึ้นในปี ค.ศ.1811 โดย William John Burchell จากการเดินทางไปสำรวจที่แอฟริกาใต้ เขาได้ตั้งชื่อให้กับสิ่งที่เขาพบว่า Mesembryanthemum turbiniforme การค้นพบของเขานั้นเกิดขึ้นจากความบังเอิญ จากการที่เขาคิดว่ามันเป็นก้อนกรวดรูปร่างสีสันที่แปลกประหลาดและลองหยิบมันขึ้นมาดูจากพื้นดิน แต่เป็นที่น่าเสียดายว่า เขาไม่ได้บันทึกรายละเอียดของสิ่งที่เขาพบไว้มากพอที่จะใช้ระบุว่า Lithops ที่เขาพบเป็นสายพันธุ์ใด และคำว่า Lithops turbiniformis ก็ไม่ได้มีการถูกพูดถึงอีก จนกระทั่งหลายปีต่อมา คำว่า Lithops ก็ปรากฏขึ้นอีกครั้งในการใช้เรียก ไม้สายพันธุ์หนึ่งซึ่งเป็นที่รู้จักกันในเวลาต่อมาว่า Lithops hookeri

Lithops หลากหลายชนิดถูกตีพิมพ์ออกมาภายใต้ชื่อตระกูล (genus) ว่า Mesembryanthemum จนกระทั่งในปี ค.ศ. 1922 N E Brown ได้เริ่มทำการแบ่งแยกตระกูล (genus) ดังกล่าวที่เริ่มมีขนาดใหญ่เกินไปออก และตระกูล Lithops จึงได้ถือกำเนิดขึ้นพร้อม ๆ กับไม้อื่น ๆ อีกหลายตระกูล โดยหลักเกณฑ์ในการแบ่งแยกตระกูลครั้งนั้น Brown, Gustav Schwantes, Kurt Dinter, Gert Nel, และ Louisa Bolus ได้ทำการสานต่อบันทึกและเอกสารต่างๆเกี่ยวกับ Lithops จากการศึกษาทั่วแอฟริกาใต้ แต่ก็ยังมีมติเป็นทางการเกี่ยวกับความสัมพันธ์และการกำหนดสายพันธุ์ (species) ที่ชัดเจน จนกระทั่งปีค.ศ. 1950

ในปี ค.ศ. 1950 Desmond และ Naureen Cole เริ่มทำการศึกษา Lithops โดยศึกษาไม้จากแหล่งกำเนิดต่าง ๆ กว่า 400 ตัวอย่างทั่วโลก แล้วจำแนก Lithops ลงรายละเอียดแยกตามสายพันธุ์, แหล่งกำเนิด, รูปแบบลวดลายหน้าต่าง (เช่น C042 และ C043 ก็เป็นสายพันธุ์ Lithops bromfieldii v. insularis เดียวกัน แต่มีลวดลายหน้าต่างแตกต่างกัน) โดยการกำหนด Cole Number หรือที่เรียกว่า C Number เพื่อให้ง่ายในการอ้างอิงและศึกษา จนในปัจจุบันก็ยังมีการอ้างอิงชื่อสายพันธุ์กับ Cole Number อยู่ สามารถศึกษาเพิ่มเติมได้จาก รายการชื่อ Lithops ตาม Cole Number (อังกฤษ)

สายพันธุ์

[แก้]

Lithops aucampiae

[แก้]
Lithops aucampiae ssp. aucampiae 'Jackson´s Jade'
:* C395 (อังกฤษ)
Lithops aucampiae ssp. aucampiae v. aucampiae
:* C002 (อังกฤษ)
:* C003 (อังกฤษ)
:* C004 (อังกฤษ)
:* C046 (อังกฤษ)
:* C061 (อังกฤษ)
:* C117 (อังกฤษ)
:* C172 (อังกฤษ)
:* C255 (อังกฤษ)
:* C257 (อังกฤษ)
:* C298 (อังกฤษ)
:* C333 (อังกฤษ)
:* C334 (อังกฤษ)
:* C366 (อังกฤษ)
Lithops aucampiae ssp. aucampiae v. aucampiae (Kuruman form)
:* C011 (อังกฤษ)
:* C012 (อังกฤษ)
:* C173 (อังกฤษ)
:* C325 (อังกฤษ)
:* C332 (อังกฤษ)
Lithops aucampiae ssp. aucampiae v. aucampiae 'Betty´s Beryl'
:* C389 (อังกฤษ)
Lithops aucampiae ssp. aucampiae v. aucampiae 'Storms´s Snowcap'
:* C392 (อังกฤษ)
Lithops aucampiae ssp. aucampiae v. koelemanii
:* C016 (อังกฤษ)
:* C256 (อังกฤษ)
Lithops aucampiae ssp. euniceae v. euniceae
:* C048 (อังกฤษ)
Lithops aucampiae ssp. euniceae v. fluminalis
:* C054 (อังกฤษ)

Lithops bromfieldii

[แก้]
Lithops bromfieldii v. bromfieldii
:* C040 (อังกฤษ)
:* C041 (อังกฤษ)
:* C279 (อังกฤษ)
:* C348 (อังกฤษ)
:* C368 (อังกฤษ)
Lithops bromfieldii v. glaudinae
:* C116 (อังกฤษ)
:* C382 (อังกฤษ)
:* C393 (อังกฤษ)
Lithops bromfieldii v. insularis
:* C042 (อังกฤษ)
:* C043 (อังกฤษ)
:* C057 (อังกฤษ)
Lithops bromfieldii v. insularis 'Sulphurea'
:* C362 (อังกฤษ)
Lithops bromfieldii v. mennellii
:* C044 (อังกฤษ)
:* C283 (อังกฤษ)

Lithops coleorum

[แก้]
Lithops coleorum
:* C396 (อังกฤษ)

Lithops comptonii

[แก้]
Lithops comptonii
:* C125 (อังกฤษ)
:* C126 (อังกฤษ)
:* C347 (อังกฤษ)
:* C377 (อังกฤษ)

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]