[go: up one dir, main page]

ดูเพิ่ม: ยำ, ย่า, ย่ำ, ย้ำ, และ ย๊า

ภาษาไทย

แก้ไข

การออกเสียง

แก้ไข
การแบ่งพยางค์ยา
การแผลงเป็น
อักษรโรมัน
ไพบูลย์พับบลิชชิงyaa
ราชบัณฑิตยสภาya
(มาตรฐาน) สัทอักษรสากล(คำอธิบาย)/jaː˧/(สัมผัส)

รากศัพท์ 1

แก้ไข

สืบทอดจากภาษาไทดั้งเดิม *ˀjɯəᴬ; ร่วมเชื้อสายกับภาษาคำเมือง ᩀᩣ (ย̱า), ภาษาลาว ຢາ (อยา), ภาษาไทลื้อ ᦊᦱ (หฺยา), ภาษาไทดำ ꪤꪱ (หฺยา), ภาษาไทใหญ่ ယႃ (ยา), ภาษาปู้อี iel, ภาษาจ้วง ywภาษาจ้วงแบบจั่วเจียง ya(อยา)

รูปแบบอื่น

แก้ไข

คำนาม

แก้ไข

ยา

  1. สิ่งที่ใช้แก้หรือป้องกันโรค หรือบำรุงร่างกาย เรียกชื่อต่าง ๆ กัน คือ เรียกตามลักษณะก็มี เรียกตามสีก็มี เรียกตามรสหรือกลิ่นก็มี เรียกตามวิธีทำก็มี เรียกตามกิริยาที่ใช้ก็มี
    ยาผง
    ยาเม็ด
    ยาน้ำ
    ยาแดง
    ยาเขียว
    ยาเหลือง
    ยาดำ
    ยาขม
    ยาหอม
    ยาต้ม
    ยากลั่น
    ยาดอง
    ยากวาด
    ยากิน
    ยาฉีด
    ยาดม
    ยาอม
  2. (ล้าสมัย) ฝิ่น
    โรงยา
  3. (ภาษาปาก) ยาเสพติด
  4. สารเคมีสำหรับเคลือบเงินทองให้มีสีต่าง ๆ
  5. (กฎหมาย) วัตถุที่รับรองไว้ในตำรายาที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขประกาศ
  6. (กฎหมาย) วัตถุที่มุ่งหมายสำหรับใช้ในการวินิจฉัย บำบัด บรรเทา รักษา หรือป้องกันโรคหรือความเจ็บป่วยของมนุษย์หรือสัตว์
  7. (กฎหมาย) วัตถุที่เป็นเภสัชเคมีภัณฑ์หรือเภสัชเคมีภัณฑ์กึ่งสำเร็จรูป หรือวัตถุที่มุ่งหมายสำหรับให้เกิดผลแก่สุขภาพ โครงสร้างหรือการกระทำหน้าที่ใด ๆ ของร่างกายของมนุษย์หรือสัตว์

คำกริยา

แก้ไข

รากศัพท์

แก้ไข

ร่วมเชื้อสายกับ ภาษาจ้วง yaz (ยา-ปิด บัง ห่ม), ภาษาจ้วงแบบจั่วเจียง yaz (ยา-ปิด บัง ห่ม) ยา (คำอาการนาม การยา)

  1. ทำให้หายโรค, รักษาให้หาย (ในคำว่า เยียวยา)
  2. ทำให้หายรั่ว
    ยาเรือ

รากศัพท์ 2

แก้ไข

คำอนุภาค

แก้ไข

ยา

  1. ใช้ประกอบคำ พี่ น้อง ลูก
    พี่ยา
    น้องยา
    ลูกยา
  2. ใช้ในราชาศัพท์หมายความว่า เพศชาย
    พระเจ้าลูกยาเธอ