[go: up one dir, main page]

ในเทวตำนานนอร์ส รักนาร็อก (นอร์สเก่า: Ragnarǫk) หรือ แร็กนาร็อก (อังกฤษ: Ragnarok) เป็นชุดเหตุการณ์ในอนาคต ประกอบด้วยสงครามครั้งใหญ่ตามคำทำนายซึ่งนำไปสู่การสิ้นชีพของทวยเทพที่สำคัญ บังเกิดภัยพิบัติทางธรรมชาติ แผ่นดินจมลงใต้สมุทร ต่อจากนั้น แผ่นดินจะผุดขึ้นจากทะเลอีกครั้งและกลับมาอุดมสมบูรณ์ ทวยเทพที่รอดชีวิตและทวยเทพผู้กลับมาจากความตายจะมาพบกันอีกครั้ง มนุษย์สองคนที่เหลือรอดจะให้กำเนิดพลเมืองมนุษย์ รักนาร็อกเป็นเหตุการณ์สำคัญในทางความเชื่อและศาสนาของชาวนอร์ส และเป็นหัวข้อของวจนิพนธ์ทางวิชาการและทฤษฎี

ไฟบรรลัยกัลป์ล้างโลกในเหตุการณ์รักนาร็อก
กำเนิดยุคใหม่หลังเหตุการณ์รักนาร็อก

เหตุการณ์นี้ปรากฏครั้งแรกใน เอ็ดดาร้อยกรอง (Poetic Edda) ซึ่งแปลในคริสต์ศตวรรษที่ 13 จากบันทึกโบราณ และ เอ็ดดาร้อยแก้ว (Prose Edda) ซึ่งเขียนขึ้นในคริสต์ศตวรรษที่ 13 ในเอกสารทั้งสองฉบับเรียกเหตุการณ์นี้เป็นภาษานอร์สเก่าว่า Ragnarök หรือ Ragnarøkkr มีความหมายว่า "ชะตาเทพ" หรือ "เทวาอัสดง" ตามลำดับ ริชชาร์ท วากเนอร์ คีตกวีชาวเยอรมัน แปลคำนี้เป็นภาษาเยอรมันว่า เกิทเทอร์เด็มเมอรุง ซึ่งเป็นภาคสุดท้ายของในอุปรากร แหวนของนีเบอลุง

ศัพทมูลวิทยา

แก้

คำว่า Ragnarök ในภาษานอร์สเก่าเป็นคำผสมจากคำสองคำ คำแรกคือ ragna คำแสดงความเป็นเจ้าของในรูปพหูพจน์ของคำ regin (แปลว่า "เทพเจ้า" หรือ "พลังอำนาจ" คำที่สอง rök มีหลายความหมาย เช่น "การพัฒนา, แหล่งกำเนิด, สาเหตุ, ความสัมพันธ์, ชะตากรรม, สิ้นสุด" การตีความแบบเดิมก่อนควบรวม /ǫ/ และ /ø/ ในภาษาไอซ์แลนด์ (ประมาณ ค.ศ. 1200) คำ rök มีรากคำมาจากคำในภาษาเจอร์แมนิกดั้งเดิม *rakō[1]

คำว่า ragnarök เมื่อรวมคำแล้วมักตีความเป็น "ชะตาเทพ"[2] ใน ค.ศ. 2007 Haraldur Bernharðsson เสนอว่าต้นกำเนิดของคำที่สองในคำผสมเป็น røk นำไปสู่การสร้างคำขึ้นใหม่ในภาษาเจอร์แมนิกดั้งเดิม *rekwa และเปิดไปสู่ความไปได้ในความหมายอื่นๆ[3]

อ้างอิง

แก้
  1. See e.g. Bjordvand and Lindemann (2007:856–857).
  2. Simek (2000:259).
  3. Haraldur Bernharðsson (2007:30–32).

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้
  •   วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ Ragnarök