[go: up one dir, main page]

ข้ามไปเนื้อหา

พักฟ้าซื้อ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก Pha̍k-fa-sṳ)
พักฟ้าซื้อ
白話字
พันธสัญญาใหม่ฉบับภาษาฮากกาที่เขียนด้วยพักฟ้าซื้อ ตีพิมพ์ปี 1924
ชนิด
ผู้ประดิษฐ์Donald MacIver
ช่วงยุค
1905
ภาษาพูดภาษาฮากกา
 บทความนี้ประกอบด้วยสัญกรณ์การออกเสียงในสัทอักษรสากล (IPA) สำหรับคำแนะนำเบื้องต้นเกี่ยวกับสัญลักษณ์ IPA โปรดดู วิธีใช้:สัทอักษรสากล สำหรับความแตกต่างระหว่าง [ ], / / และ ⟨ ⟩ ดูที่ สัทอักษรสากล § วงเล็บเหลี่ยมและทับ

พักฟ้าซื้อ (pha̍k-fa-sṳ; IPA: /pʰak̚⁵ fa⁵⁵ sɨ⁵⁵/; จีนตัวย่อ: 白话字; จีนตัวเต็ม: 白話字) เป็นระบบถอดเสียงอ่านภาษาฮากกาด้วยอักษรละติน มีจุดเริ่มต้นจากศาสนจักรเพรสไบทีเรียนที่เข้ามาเผยแพร่ศาสนาในจีนตั้งแต่ช่วงศตวรรษที่ 19 ต่อมาทางไต้หวันได้นำมาใช้เพื่อแสดงเสียงอ่านของภาษาฮากกาไต้หวันด้วย ในปี 2012 มีการตีพิมพ์คัมภีร์ไบเบิลฉบับภาษาฮากกาโดยยึดเอาสำเนียงเหมียวลี่เป็นหลัก และสำเนียงซินจู๋บางส่วน[1]

ระบบการเขียน

[แก้]

อักษรที่ใช้

[แก้]

ตัวอักษรในระบบพักฟ้าซื้อใช้อักษรละตินพื้นฐาน 17 ตัว ได้แก่ A, C, E, F, H, I, K, L, M, N, O, P, S, T, U, V, Y และยังเพิ่ม Ṳ เข้ามาด้วย และมีการใช้อักษรพยัญชนะ 2 ตัวเพื่อแทนเสียงพยัญชนะเดียวได้แก่ Ch, Kh, Ng, Ph, Th และอักษร 3 ตัว คือ Chh

สำหรับอักษรละตินพื้นฐานที่เหลืออีก 10 ตัวได้แก่ B, D, G, J, Q, R, W, X, Z จะไม่มีการใช้เพื่อแทนเสียงในภาษาฮากกา แต่จะใช้เมื่อเขียนพวกคำยืมภาษาต่างประเทศเท่านั้น

พยัญชนะต้น

[แก้]

เสียงพยัญชนะต้นของภาษาฮากกาแสดงดังตารางนี้

ริมฝีปาก ปุ่มเหงือก หลังปุ่มเหงือก เพดานแข็งปุ่มเหงือก เพดานแข็ง เพดานอ่อน เส้นเสียง
ไม่ก้อง ก้อง ไม่ก้อง ก้อง ไม่ก้อง ไม่ก้อง ก้อง ไม่ก้อง ก้อง ไม่ก้อง
นาสิก m [m] n [n] ngi [ɲ] ng [ŋ]
หยุด ไม่พ่นลม p [p] t [t] k[k]
พ่นลม ph [pʰ] th [tʰ] kh[kʰ]
กักเสียดแทรก ไม่พ่นลม ch [ʦ] ch [ʧ] chi [ʨ]
พ่นลม chh [ʦʰ] chh [ʧʰ] chhi [ʨʰ]
เสียดแทรก f [f] v [v] s [s] s [ʃ] si [ɕ] h [h]
เปิด y [j][2]
ข้างลิ้น l [l]

สระ

[แก้]

เสียงสระในภาษาฮากกาแสดงด้วยอักษรดังต่อไปนี้[3]

สระหน้า สระกลาง สระหลัง
สระปิด i [i] [ɨ] u [u]
สระกลาง e [e] er [ə] o [o]
สระเปิด a [a]

ตัวสะกด

[แก้]

ภาษาฮากกามีเสียงตัวสะกดทั้งหมด 6 เสียง แสดงดังในตารางต่อไปนี้

ริมฝีปาก ปุ่มเหงือก เพดานอ่อน
ตัวสะกดนาสิก -m [m] -n [n] -ng [ŋ]
ตัวสะกดหยุด -p [p̚] -t [t̚] -k [k̚]

วรรณยุกต์

[แก้]

เสียงวรรณยุกต์แสดงโดยเครื่องหมายเสริมสัทอักษร โดยระดับเสียงของวรรณยุกต์ในภาษาฮากกาไต้หวันแสดงดังในตารางนี้[4]

เขียน ระดับเสียง
สำเนียงซื่อเซี่ยน
ระดับเสียง
สำเนียงไห่ลู่
ตัวอย่างคำศัพท์
◌̂ 24 53 夫 fû
◌̀ 11 55 扶 fù
◌́ 31 24 府 fú
ไม่เขียน 55 11 富 fu
◌̊ 33 護 fů
ไม่เขียน 2 5 福 fuk
◌̍ 5 2 服 fu̍k

อ้างอิง

[แก้]
  1. "《客語聖經 : 現代台灣客語譯本》序言". 賴永祥長老史料庫. 台灣聖經公會. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-08-14. สืบค้นเมื่อ 2019-08-28.
  2. 台灣的北四縣腔為[i̯];南四縣腔為[j](或[ji̯][i̯]);海陸腔為[ʒ]
  3. er[ə]用于海陆、饶平二腔,读音又作[ɤ]
  4. 客家語拼音聲調表。收錄於客家委員會。(2019)。客語能力認證基本詞彙-初級四縣腔(頁24)。