ลุฟท์ฮันซ่า
| |||||||
ก่อตั้ง | 6 มกราคม ค.ศ. 1953 (71 ปี) | ||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|
เริ่มดำเนินงาน | 1 เมษายน ค.ศ. 1955 (69 ปี) | ||||||
ท่าหลัก | ท่าอากาศยานแฟรงก์เฟิร์ต ท่าอากาศยานมิวนิก[note 1] | ||||||
สะสมไมล์ | Miles & More | ||||||
พันธมิตรการบิน | สตาร์อัลไลแอนซ์ | ||||||
บริษัทลูก |
| ||||||
ขนาดฝูงบิน | 295 | ||||||
จุดหมาย | 229 | ||||||
บริษัทแม่ | เครือลุฟท์ฮันซ่า | ||||||
การซื้อขาย | |||||||
ISIN | DE0008232125 | ||||||
สำนักงานใหญ่ | โคโลญ, ประเทศเยอรมนี | ||||||
บุคลากรหลัก | คาร์สเตน สปอร์ (ประธานและซีอีโอ) | ||||||
รายได้ | 32.8 พันล้านยูโร (ค.ศ. 2022) | ||||||
รายได้จากการดำเนินงาน | 1.5 พันล้านยูโร (ค.ศ. 2022) | ||||||
รายได้สุทธิ | 791 พันล้านยูโร (ค.ศ. 2022) | ||||||
สินทรัพย์ | 43.335 พันล้านยูโร (ค.ศ. 2022) | ||||||
ส่วนของผู้ถือหุ้น | 8.5 พันล้านยูโร (ค.ศ. 2022) | ||||||
พนักงาน | 109,509 คน (ค.ศ. 2022) [2] | ||||||
เว็บไซต์ | www |
ลุฟท์ฮันซ่า (เยอรมัน: Lufthansa) หรือชื่อเต็ม บมจ.ด็อยท์เชอลุฟท์ฮันซ่า (เยอรมัน: Deutsche Lufthansa AG) เป็นสายการบินประจำชาติและสายการบินใหญ่ที่สุดของประเทศเยอรมนี และถือเป็นสายการบินใหญ่เป็นอันดับสองของยุโรปในแง่จำนวนผู้โดยสาร ชื่อลุฟท์ฮันซ่ามาจากการประสมระหว่างคำว่า ลุฟท์ ที่แปลว่า "อากาศ" กับคำว่า ฮันซา ที่หมายถึง "สันนิบาตการค้า" บริษัทลุฟท์ฮันซ่าเป็นหนึ่งในห้าสายการบินผู้ร่วมก่อตั้งสตาร์อัลไลแอนซ์ในปีค.ศ. 1997[3] ซึ่งเป็นเครือพันธมิตรสายการบินที่ใหญ่ที่สุดในโลก
นอกจากลุฟท์ฮันซ่าจะดำเนินกิจการสายการบินภายใต้แบรนด์ของตัวเองแล้ว ลุฟท์ฮันซ่ายังมีสายการบินในเครือได้แก่: ออสเตรียนแอร์ไลน์, สวิสอินเตอร์แนชนัลแอร์ไลน์, บรัสเซลแอร์ไลน์ และยูโรวิงส์ นอกจากนี้ บริษัทลุฟท์ฮันซ่ายังมีบริษัทลูกในเครือ ได้แก่ ลุฟท์ฮันซ่าเทคนิค (ฝ่ายซ่อม) และ แอลเอสจีสกายเชฟ (ฝ่ายครัวการบิน) หากรวมจำนวนเครื่องบินของสายการบินทั้งหมดในเครือลุฟท์ฮันซ่าแล้ว จะมีเครื่องบินประจำการกว่า 700 ลำ ซึ่งถือเป็นหนึ่งในกลุ่มสายการบินที่มีขนาดฝูงบินใหญ่ที่สุดในโลก[4]
ลุฟท์ฮันซ่ามีสำนักงานใหญ่ของเครือบริษัทในเมืองโคโลญ ประเทศเยอรมนี โดยมีฐานการบินหลักในท่าอากาศยานแฟรงก์เฟิร์ต[5] และมีฐานการบินรองในท่าอากาศยานมิวนิก
ประวัติ
[แก้]คริสต์ทศวรรษ 1950: ช่วงแรก
[แก้]บมจ.ด็อยท์เชอลุฟท์ฮันซ่าก่อตั้งในกรุงเบอร์ลินเมื่อค.ศ. 1926[6] และกลายเป็นสายการบินประจำชาติเยอรมันนับแต่นั้น สายการบินแห่งนี้สิ้นสภาพไปโดยปริยายพร้อมกับความพ่ายแพ้ของเยอรมนีในสงครามโลกครั้งที่สองเมื่อค.ศ. 1945[7] แต่ในเวลาต่อมา รัฐบาลเยอรมนีตะวันตกมีความพยายามฟื้นฟูสายการบินแห่งชาติขึ้นมาใหม่ มีการก่อตั้งบริษัทมหาชนที่ชื่อว่า ลุฟท์ทาค (Luftag)[8] ในนครโคโลญเมื่อปีค.ศ. 1953 พนักงานและผู้บริหารส่วนใหญ่เป็นบุคลากรที่เคยทำงานให้กับสายการบินลุฟท์ฮันซ่าที่ล้มไป[9][10] ในปีนั้น ลุฟท์ทาคสั่งซื้อเครื่องบินคอนแวร์ 340 และ ล็อกฮีด แอล-1049 อย่างละสี่เครื่องจากสหรัฐ และกำหนดท่าอากาศยานฮัมบวร์คเป็นฐานปฏิบัติการใหญ่และฐานซ่อมบำรุง[8] ทั้งนี้เนื่องจาก กรุงเบอร์ลินในขณะนั้นมีสถานะพิเศษระหว่างฝ่ายสัมพันธมิตรตะวันตกและสหภาพโซเวียต จึงไม่มีสายการบินใดได้รับอนุญาตให้บินเหนือน่านฟ้ากรุงเบอร์ลิน
สิงหาคม ค.ศ. 1954 ลุฟท์ทาคซื้อสิทธิ์ในชื่อและโลโก้จากผู้พิทักษ์ทรัพย์ของอดีตบมจ.ด็อยท์เชอลุฟท์ฮันซ่าด้วยเงินจำนวน 30,000 มาร์ค และกลายเป็นสายการบินประจำชาติเยอรมันนับแต่นั้น ลุฟท์ฮันซ่าเริ่มให้บริการเดินอากาศอีกครั้งในวันที่ 1 เมษายน ค.ศ. 1955 ในปีแรกให้บริการเที่ยวบินในประเทศระหว่างฮัมบวร์ค, ดึสเซิลดอร์ฟ, แฟรงก์เฟิร์ต, โคโลญ และมิวนิก เที่ยวบินระหว่างประเทศสู่ลอนดอน, ปารีส, มาดริด และนครนิวยอร์ก[11][12]
คริสต์ทศวรรษ 1960: การเข้ามาของอากาศยานไอพ่น
[แก้]ในปีค.ศ. 1958 ลุฟต์ฮันซ่าสั่งซื้อโบอิง 707 จำนวน 4 ลำ และเริ่มบินเครื่องบินจากแฟรงก์เฟิร์ตไปยังนครนิวยอร์กในเดือนมีนาคม ค.ศ 1960 ต่อมาได้ซื้อโบอิง 720B เพื่อทดแทนฝูงบินโบอิง 707 ในเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 1961 ลุฟท์ฮันซ่าได้ขยายเส้นทางตะวันออกถึงกรุงเทพฯ ฮ่องกง โตเกียว เลกอส และโจฮันเนสเบิร์ก
ลุฟต์ฮันซ่าเปิดตัวเครื่องบินโบอิง 727 ในปี 1964 และเดือนพฤษภาคมเริ่มเส้นทางขั้วโลกจากแฟรงก์เฟิร์ตไปยังโตเกียวผ่านแองเคอเรจ ในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2508 บริษัทได้สั่งซื้อโบอิ้ง 737 จำนวน 21 ลำที่เข้าประจำการในปี พ.ศ. 2511 ลุฟท์ฮันซาเป็นลูกค้ารายแรกของโบอิ้ง 737 และเป็นหนึ่งในสี่ของผู้ให้บริการโบอิง 737-100 (ผู้ให้ยริการรายอื่น ได้แก่นาซา มาเลเซีย-สิงคโปร์แอร์ไลน์ และอาเบียงกา) ลุฟท์ฮันซ่าเป็นลูกค้าต่างชาติรายแรกที่เปิดตัวเครื่องบินโบอิง
คริสต์ทศวรรษ 1970-1980: ลุฟท์ฮันซ่ากับอากาศยานลำตัวกว้าง
[แก้]ยุคสมัยเครื่องบินลำตัวกว้างของลุฟท์ฮันซ่าเริ่มต้นด้วยการให้บริการโบอิง 747 เมื่อวันที่ 26 เมษายน ค.ศ. 1970, ดักลาส ดีซี-10-30 ในวันที่ 12 พฤศจิกายน ค.ศ. 1973, และแอร์บัส เอ300 ในปี 1976 ลุฟท์ฮันซ่าเป็นลูกค้าเปิดตัวแอร์บัส เอ310 ในปี 1979 ร่วมกับสวิสแอร์ด้วยคำสั่งซื้อจำนวน 25 ลำ
ลุฟท์ฮันซ่าเริ่มดำเนินการโครงการปรับปรุงฝูงบินในวันที่ 29 มิถุนายน ค.ศ. 1985 โดยได้เพิ่มคำสั่งซื้อแอร์บัส เอ320 สิบห้าลำ และแอร์บัส เอ300-600 เจ็ดลำ โบอิง 737-300 สิบลำ ทั้งหมดถูกส่งมอบระหว่างปี 1987 ถึง 1992 ลุฟท์ฮันซ่ายังซื้อเครื่องบินแอร์บัส เอ321 แอร์บัส เอ340 และโบอิง 747-400
ในปี 1987 ลุฟท์ฮันซา ร่วมกับแอร์ฟรานซ์ ไอบีเรีย และสแกนดิเนเวียนแอร์ไลน์ ก่อตั้งบริษัทอมาดีอุส ซึ่งเป็นบริษัทไอที (หรือเรียกว่า GDS) ที่พัฒนาระบบสื่อกลางการขายเที่ยวบินและผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องของสายการบินต่างๆ
ลุฟท์ฮันซาออกแบบและเริ่มใช้เอกลักษณ์องค์กรใหม่ในปี 1988 โดยได้มีการปรับเปลี่ยนลวดลายอากาศยาน ห้องโดยสาร สำนักงาน และห้องรับรองในสนามบินทั้งหมด
คริสต์ทศวรรษ 1990-2000: การขยายกิจการ
[แก้]เมื่อวันที่ 28 ตุลาคม ค.ศ. 1990 หลังจากการรวมประเทศได้ 25 วัน เบอร์ลินกลายเป็นจุดหมายปลายทางของลุฟท์ฮันซาอีกครั้ง เมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม ค.ศ. 1997 ลุฟท์ฮันซ่า, แอร์แคนาดา, สแกนดิเนเวียนแอร์ไลน์ซิสเต็ม, การบินไทย และ ยูไนเต็ดแอร์ไลน์ ได้ก่อตั้งสตาร์อัลไลแอนซ์ ซึ่งเป็นพันธมิตรสายการบินแห่งแรกของโลก
ในตอนต้นของปีค.ศ. 1995 ลุฟท์ฮันซ่าได้ทำการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างบางอย่างโดยมีเป้าหมายเพื่อสร้างบริษัทที่ดำเนินงานอิสระของกลุ่มการบิน เช่น ลุฟท์ฮันซ่า เทคนิค ลุฟท์ฮันซ่า คาร์โก้ และลุฟท์ฮันซ่า ซิสเต็มส์[13] หลังเหตุการณ์วินาศกรรม 11 กันยายน ในปีค.ศ. 2001 สายการบินประสบกับการสูญเสียผลกำไรจำนวนมาก[14] แต่ยังคงสามารถรักษาฝูงบินแอร์บัส เอ380 ไว้สำหรับเที่ยวบินระยะไกลจากแฟรงก์เฟิร์ตโดยเฉพาะ ฝูงบินเอ380 จะใช้สำหรับเที่ยวบินระยะไกลจากแฟรงก์เฟิร์ตเท่านั้น ในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 2003 ลุฟต์ฮันซาเปิดอาคารผู้โดยสาร 2 ที่สท่าอากาศยานมิวนิก เพื่อบรรเทาศูนย์กลางหลักที่แฟรงก์เฟิร์ตซึ่งประสบปัญหาข้อจำกัดด้านความจุ เมื่อวันที่ 22 มีนาคม ค.ศ. 2005 สวิสอินเตอร์แนชนัลแอร์ไลน์ถูกซื้อโดยลุฟท์ฮันซ่ากรุ๊ป
ลุฟท์ฮันซ่าเป็นสายการบินในยุโรปแห่งที่สองที่ให้บริการแอร์บัส เอ380 (รองจากแอร์ฟรานซ์) เอ380 ลำแรกส่งมอบเมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม ค.ศ. 2010 ในขณะที่โบอิง 747-8 ลำแรกเข้าประจำการในปี 2012
คริสต์ทศวรรษ 2010: การแก้ไขสภาวะการเงินของลุฟท์ฮันซ่า
[แก้]ลุฟท์ฮันซ่าขาดทุน 381 ล้านยูโรในไตรมาสแรกของปี 2010 และอีก 13 ล้านยูโรในปี 2011[15] เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจถดถอยและต้นทุนการปรับโครงสร้าง ส่วนหนึ่งของแผนการปรับโครงสร้าง บริษัทได้เริ่มโอนเที่ยวบินระยะใกล้ทั้งหมดนอกศูนย์กลางในแฟรงก์เฟิร์ต มิวนิก และดึสเซลดอร์ฟ ไปยังสายการบินต้นทุนต่ำใหม่อย่างเยอรมันวิงส์[16]
เครื่องบินโบอิง 737 ลำสุดท้ายของสายการบิน (737-300) ปลดประจำการเมื่อวันที่ 29 ตุลาคม 2016 หลังจากเที่ยวบินจากมิลานไปยังแฟรงก์เฟิร์ต[17] สายการบินได้สั่งซื้อเครื่องบินโบอิง 787-9 จำนวน 20 ลำและเครื่องบินแอร์บัส เอ350-900 อีกจำนวน 20 ลำสำหรับการเปลี่ยนและขยายฝูงบินของบริษัทเองและในกลุ่ม
คริสต์ทศวรรษ 2020: วิกฤตโควิด-19 และการฟื้นฟูกิจการ
[แก้]เมื่อวันที่ 19 มีนาคม ค.ศ. 2020 ลุฟท์ฮันซ่ายกเลิกเที่ยวบินทั้งหมด 95 เปอร์เซ็นต์เนื่องจากการห้ามเดินทางเนื่องจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 สายการบินขาดทุน 1 ล้านยูโรต่อชั่วโมงภายในเดือนเมษายน 2020 เมื่อวันที่ 25 มิถุนายน ผู้ถือหุ้นของ Deutsche Lufthsa AG ยอมรับเงินช่วยเหลือ 9,000,000,000 ยูโรจากกระทรวงกิจการเศรษฐกิจและพลังงานแห่งสหพันธรัฐ
ในเดือนมีนาคม ค.ศ. 2022 ลุฟต์ฮันซายืนยันว่าฝูงบินแอร์บัส เอ380 ทั้งหมดจะถูกปลดประจำการ ซึ่งถูกจัดเก็บไว้ตั้งแต่ต้นปี ค.ศ. 2020[18] ก่อนเปลี่ยนแปลงแผนการปลดในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 2022 โดยมีแผนที่จะส่งคืนเครื่องบินจำนวน 5 ลำจากที่เก็บภายในปี ค.ศ. 2023 นอกจากนี้ยังมีตัวเลือกในการนำเครื่องบิน เอ380 ที่เหลือทั้งหมดแปดลำให้กลับมาให้บริการภายในปีค.ศ. 2024[19]
ในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 2022 สกายแทรกซ์ได้ลดลำดับสายการบินที่เดิมเป็นสายการบิน 5 ดาวลงเป็นสายการบิน 4 ดาว[20]
ในปี 2023 สายการบินเกิดปัญหาระบบขัดข้อง ทำให้ผู้โดยสารถูกทิ้งไว้ทั่วโลก หน่วยงานควบคุมการจราจรทางอากาศสัญชาติเยอรมันได้กล่าวว่าได้ทำการเปลี่ยนเส้นทางของเที่ยวบินลุฟท์ฮันซ่าออกจากแฟรงก์เฟิร์ต ปัญหาดังกล่าวคาดว่าเกิดจากเกิดการตัดสายเคเบิลจากงานก่อสร้างภายในเมือง[21][22]
ในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 2023 เครือลุฟท์ฮัน่าได้รายงานข้อตกลงกับกระทรวงการคลังของอิตาลีในการเข้าถือหุ้น 41% ในสายการบินอิตาแอร์เวย์ โดยข้อตกลงนี้อนุญาตให้ลุฟต์ฮันซ่าเข้าถือหุ้นเพิ่มได้ในอนาคต[23]
กิจการองค์กร
[แก้]สำนักงานใหญ่
[แก้]สำนักงานใหญ่ของลุฟท์ฮันซ่าตั้งอยู่ในโคโลญจน์ ในปีค.ศ. 1986 ได้มีผู้ก่อการร้ายฝ่ายซ้ายได้วางระเบิดอาคาร โดยไม่มีใครได้รับบาดเจ็บ[24][25] ในปีค.ศ. 2006 ผู้สร้างได้วางศิลาฤกษ์ก้อนแรกของสำนักงานใหญ่แห่งใหม่ของลุฟท์ฮันซ่าในเมืองโคโลญจน์ ภายในสิ้นปีค.ศ. 2007 ลุฟท์ฮันซ่าวางแผนที่จะย้ายพนักงาน 800 คนไปยังอาคารใหม่[26] อย่างไรก็ตาม ในช่วงต้นปีค.ศ. 2013 ลุฟต์ฮันซาได้เปิดเผยแผนการที่จะย้ายสำนักงานใหญ่จากโคโลญไปยังแฟรงก์เฟิร์ตภายในปี ค.ศ. 2017[27]
แผนกต่างๆ ของลุฟท์ฮันซ่าไม่ได้อยู่ที่สำนักงานใหญ่ในโคโลญ แต่จะตั้งอยู่ในศูนย์การบินลุฟท์ฮันซ่าที่ท่าอากาศยานแฟรงก์เฟิร์ตแทน[28][29]
บริษัทลูก
[แก้]ลุฟท์ฮันซ่ามีบริษัทลูก ดังนี้:[30]
สายการบินลูก
[แก้]- ลุฟท์ฮันซ่ารีจีนัล - สายการบินระดับภูมิภาค
- ลุฟท์ฮันซ่าซิตีไลน์ - สายการบินระดับภูมิภาคสัญชาติเยอรมัน มีฐานที่มิวนิกและเป็นส่วนหนึ่งของลุฟท์ฮันซ่ารีจีนัล
- แอร์โดโลมิติ - สายการบินระดับภูมิภาคสัญชาติอิตาลี มีฐานที่เวโรนาและเป็นส่วนหนึ่งของลุฟท์ฮันซ่ารีจีนัล
- ซิตีแอร์ไลนส์ - สายการบินระดับภูมิภาคใหม่ของลุฟท์อันซ่า มีฐานที่มิวนิก
- ออสเตรียนแอร์ไลน์ - สายการบินแห่งชาติของประเทศออสเตรีย มีฐานที่เวียนนา
- บรัสเซลแอร์ไลน์ - สายการบินแห่งชาติของประเทศเบลเยียม มีฐานที่บรัสเซลส์[31]
- ยูโรวิงส์ - สายการบินต้นทุนต่ำสัญชาติเยอรมัน มีฐานในดึสเซิลดอร์ฟ
- ยูโรวิงส์ ยุโรป - สายการบินต้นทุนต่ำ จดทะเบียนในออสเตรีย
- ดิสคอฟเวอร์แอร์ไลน์ - สายการบินท่องเที่ยวสัญชาติเยอรมัน
- ลุฟท์ฮันซ่าคาร์โก้ - สายการบินขนส่งสินค้า
- สวิสอินเตอร์แนชนัลแอร์ไลน์ - สายการบินแห่งชาติของประเทศสวิตเซอร์แลนด์ มีฐานที่ซือริช
- เอเดลไวซ์แอร์ - สายการบินท่องเที่ยวสัญชาติสวิส
สายการบินลูกในอดีต
[แก้]- บริติชมิดแลนด์อินเตอร์เนชันแนล - (2009–2011; ถือหุ้นตั้งแต่ ค.ศ. 1999) สายการบินลูกสัญชติอังกฤษ ขายให้กับอินเตอร์เนชันแนลแอร์ไลน์กรุ๊ปและผนวกกิจการเข้ากับบริติชแอร์เวย์ในปีค.ศ. 2012
- ค็อนดอร์ฟลูคดีนส์ - (1959–2004; ถือหุ้นตั้งแต่ ค.ศ. 1955 จนถึง ค.ศ. 2006) สายการบินเช่าเหมาลำสัญชาติเยอรมัน หุ้นถูกซื้อโดยทอมัสคุกเอจีและกลายเป็นบริษัทลูกของกลุ่มทอมัสคุกในเวลาต่อมา ก่อนที่บริษัทแม่จะล้มละลายและแยกตัวออกมา
- เยอรมันคาร์โก้ - (1977-1993) - สายการบินขนส่งสินค้า ได้มีการจัดระเบียบองค์กรและเปลี่ยนชื่อเป็นลุฟท์ฮันซ่าคาร์โก้
- ลุฟท์ฟาร์ทเกเซลชาฟ์ท วอล์เตอร์ - สายการบินต้นทุนต่ำสัญชาติเยอรมัน ถูกรวมกิจการเข้ากับยูโรวิงส์ในปีค.ศ. 2011 ขายให้กับไซต์แฟรกในปีค.ศ. 2018
- ลุฟท์ฮันซ่า อิตาเลีย - (2009-2011) สายการบินลูกสัญชาติอิตาลีของลุท์ฮันซ่า ใช้รหัส ICAO และ IATA เดียวกับสายการบินแม่
- ซันเอกซ์เพรส ด็อยท์เชอลันด์ - (2011–2020) สายการบินลูกสัญชาติเยอรมันของซันเอกซ์เพรส
บริษัทลูกอื่นๆ
[แก้]- แอลเอสจีสกายเชฟ
- ลุฟท์ฮันซ่า คอนเซาท์ติ้ง
- ลุฟท์ฮันซ่า ไฟลท์ เทรนนิ่ง
- ลุฟท์ฮันซ่า อินดัสตรี้ โซลูชั้น
- ลุฟท์ฮันซ่าซิสเต็ม
- ลุฟท์ฮันซ่าเทคนิค
- โกลบอลโหลดคอนโทรล
อัตลักษณ์องค์กร
[แก้]โลโก้
[แก้]ลักษณะของโลโก้ลุฟท์ฮันซ่าจะเป็นรูปนกกระเรียนขณะบิน โดยถูกสร้างขึ้นครั้งแรกในปี ค.ศ. 1918 โดยออตโต เฟิร์ล โลโก้นี้เป็นส่วนหนึ่งของลวดลายเครื่องบินของ Deutsche Luft-Reederei (ตัวย่อ DLR) สายการบินเยอรมันแห่งแรก ซึ่งเริ่มให้บริการทางอากาศเมื่อวันที่ 5 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1919 ในปีค.ศ. 1926 สายการบินด็อยท์เชอ ลุฟท์ ฮันซาได้นำสัญลักษณ์นี้มาใช้ และลุฟท์ฮันซ่าก็ได้นำโลโก้นี้ไปใช้ในปีค.ศ.1963
นักออกแบบชาวเยอรมัน Otl Aicher ได้สร้างโลโก้ลวดลายสำหรับสายการบินในปีค.ศ. 1967 คือโลโก้นกกระเรียนแสดงในวงกลม
ลวดลายอากาศยาน
[แก้]หลังสงครามโลกครั้งที่สอง ลุฟท์ฮันซ่ายังคงใช้สีน้ำเงินและสีเหลืองเป็นสีหลักและโลโก้นกกระเรียน ตั้งแต่ต้นทศวรรษ 1960 เป็นต้นมา ลุฟท์ฮันซ่าใช้แบบอักษรเฮลเวติกาบนชื่อของสายการบิน ลวดลายของปี 1970 มีจุดเด่นที่ครึ่งบนของลำตัวที่ทาด้วยสีขาวล้วนที่ด้านบน และลำตัวด้านล่าง (ครึ่งล่าง รวมถึงเครื่องยนต์) เป็นอะลูมิเนียมสีเทา/เงิน ด้านล่างแถบหน้าต่างสีน้ำเงินและจมูกที่ทาสีดำ โลโก้เครนถูกทาสีฟ้าบนเครื่องยนต์ ที่ครึ่งล่างของลำตัวด้านล่างหน้าต่างห้องนักบิน และวงกลมสีเหลืองในแถบสีน้ำเงินที่ส่วนหาง
ในปีค.ศ. 1967 นักออกแบบชาวเยอรมัน ออตล์ ไอเชอร์ ได้ออกแบบลวดลายให้ลุฟท์ฮันซ่า โดยลวดลายนี้จะเป็นสีเหลืองบนครีบหางสีน้ำเงิน เฮลเวติกาถูกใช้เป็นแบบอักษรหลักสำหรับทั้งการตกแต่งและสิ่งพิมพ์ แถบสีน้ำเงินและโครงร่างสีทั่วไปของเครื่องบินยังคงอยู่จากการตกแต่งก่อนหน้า แนวคิดของไอเชอร์ยังคงอยู่ในลวดลายปี 1988 แต่แถบหน้าต่างถูกนำออกและทาลำตัวด้วยสีเทาด้านล่าง
ในปีค.ศ. 2018 ลุฟท์ฮันซ่าเปลี่ยนลวดลายใหม่ โดยมีโลโก้นกกระเรียนเดิม แต่พื้นหลังเป็นสีน้ำเงินเข้ม แพนหางดิ่งและลำตัวด้านหลังทาด้วยสีน้ำเงินเข้ม และโคนหางยังคงเป็นสีขาว ลำตัวเครื่องบินหลักถูกทาด้วยสีขาวทั้งหมด และมีการทาสีชื่อแบรนด์ "ลุฟท์ฮันซ่า" เหนือหน้าต่างด้วยสีน้ำเงินเข้มเช่นกัน
-
โบอิง 747-230บี ในลวดลายปีค.ศ. 1967
-
โบอิง 747-400 ในลวดลายเก่า เริ่มใช้ในปีค.ศ. 1988
-
โบอิง 747-8ไอ ในลวดลายใหม่ เริ่มใช้ตั้งแต่ปีค.ศ. 2018
การสนับสนุน
[แก้]ลุฟต์ฮันซาเป็นผู้สนับสนุนสโมสรไอน์ทรัคท์ฟรังค์ฟวร์ท ในรายการบุนเดิสลีกา[32] ลุฟท์ฮันซ่ากรุ๊ปยังสนับสนุนมูลนิธิช่วยเหลือด้านกีฬาของเยอรมันเพื่อส่งเสริมเป้าหมายทางสังคมการเมืองและนักกีฬาที่องค์กรให้การสนับสนุน[33]
จุดหมายปลายทาง
[แก้]ข้อตกลงการทำการบินร่วม
[แก้]ณ เดือนพฤษภาคม ค.ศ. 2023 ลุฟท์ฮันซ่าได้มีข้อตกลงการบินร่วมกับสายการบินดังต่อไปนี้:[34][35]
- อีเจียนแอร์ไลน์
- แอร์อัสตานา[36]
- แอร์บอลติก[37]
- แอร์แคนาดา
- แอร์ไชนา
- แอร์โดโลมิติ LH
- แอร์อินเดีย
- แอร์ลิงก์
- แอร์นิวซีแลนด์
- ออล นิปปอน แอร์เวย์[38]
- เอเชียน่าแอร์ไลน์
- ออสเตรียนแอร์ไลน์ LH
- อาเบียงกา
- บรัสเซลส์แอร์ไลน์ LH
- คาเธ่ย์แปซิฟิค[39]
- โคปาแอร์ไลน์
- โครเอเชียแอร์ไลน์
- อียิปต์แอร์
- เอธิโอเปียนแอร์ไลน์
- สายการบินเอทิฮัด[40]
- ยูโรวิงส์ LH
- อิหร่านแอร์
- อิตาแอร์เวย์
- เคเอ็มมอลตาแอร์ไลน์
- ลาตัมแอร์ไลน์
- ลอตโปลิชแอร์ไลน์
- ลักซ์แอร์
- สแกนดิเนเวียนแอร์ไลน์
- เชินเจิ้นแอร์ไลน์
- สิงคโปร์แอร์ไลน์
- เซาท์แอฟริกันแอร์เวย์
- ซันเอกซ์เพรส LH
- สวิสอินเตอร์แนชนัลแอร์ไลน์ LH
- ตัปปูร์ตูกัล
- การบินไทย
- เตอร์กิชแอร์ไลน์
- ยูไนเต็ดแอร์ไลน์[41]
- วิสตารา[42]
LH เป็นส่วนหนึ่งของลุฟท์ฮันซ่ากรุ๊ป
ฝูงบิน
[แก้]ณ เดือนมีนาคม ค.ศ. 2024 ลุฟท์ฮันซ่ามีเครื่องบินประจำการในฝูงบินดังนี้:[43][44][45]
เครื่องบิน | ประจำการ | คำสั่งซื้อ | ผู้โดยสาร | หมายเหตุ | |||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
F | C | W | Y | รวม | อ้างอิง | ||||
แอร์บัส เอ319-100 | 23 | — | — | 24 | — | 102 | 138 | [46] | |
แอร์บัส เอ320-200 | 52 | — | — | 28 | — | 140 | 168 | [47] | |
แอร์บัส เอ320นีโอ | 35 | 38[48] | — | 28 | — | 152 | 180 | [49] | ลูกค้าเปิดตัว[50] คำสั่งซื้อบางส่วนจะโอนย้ายให้กับสายการบินในเครือ[51] |
แอร์บัส เอ321-100 | 20 | — | — | 26 | — | 174 | 200 | [52] | ลูกค้าเปิดตัว[53] |
แอร์บัส เอ321-200 | 37 | — | — | 26 | — | 174 | 200 | [52] | |
แอร์บัส เอ321นีโอ | 17 | 22[48] | — | 28 | — | 187 | 215 | [54][55] | |
แอร์บัส เอ330-300 | 10 | — | — | 42 | 28 | 185 | 255 | [56] | |
แอร์บัส เอ340-300 | 17 | — | — | 30 | 28 | 221 | 279 | [57] | ผู้ให้บริการรายใหญ่ที่สุดของรุ่น[58] จะทดแทนด้วยแอร์บัส เอ350-900[59] |
แอร์บัส เอ340-600 | 10 | — | 8 | 56 | 28 | 189 | 281 | [60] | นำกลับมาให้บริการหลังการจัดเก็บในปี 2022[61] จะทดแทนด้วยแอร์บัส เอ350-1000[62] |
แอร์บัส เอ350-900 | 23 | 32[48] | 4 | 38 | 24 | 201 | 267 | เริ่มส่งมอบในต้นปี 2024 ด้วยห้องโดยสารลุฟท์ฮันซ่าอัลเลกริส | |
— | 48 | 21 | 224 | 293 | [63][64] | ส่งมอบตั้งแต่ปี 2016[65][66] | |||
30 | 26 | 262 | 318 | [63] | |||||
30 | — | 309 | 339 | เช่าสองลำ - ใช้ผังที่นั่งเดิมจากเซาท์แอฟริกันแอร์เวส์ | |||||
เช่าสี่ลำ - ใช้ผังที่นั่งเดิมจากลาตัม บราซิล[67] | |||||||||
แอร์บัส เอ350-1000 | — | 10 | รอประกาศ | ทดแทนแอร์บัส เอ340-600[64] | |||||
แอร์บัส เอ380-800 | 8 | — | 8 | 78 | 52 | 371 | 509 | [68] | สี่ลำนำกลับมาให้บริการหลังการจัดเก็บ[69][70][71] อีกสี่ลำจะนำกลับมาให้บริการในปี 2024. |
โบอิง 747-400 | 8 | — | — | 67 | 32 | 272 | 371 | [72] | จะทดแทนด้วยโบอิง 777-9[73] |
โบอิง 747-8ไอ | 19 | — | 8 | 80 | 32 | 244 | 364 | [74] | ผู้ให้บริการรายใหญ่ที่สุดของรุ่น[75] รวม D-ABYP โบอิง 747 ลำที่ 1,500[76] |
โบอิง 777-9 | — | 20 | รอประกาศ | เริ่มส่งมอบในปี 2025[77] ทดแทนโบอิง 747-400 และแอร์บัส เอ380-800 หกลำ[78] | |||||
โบอิง 787-9 | 5 | 34[79] | — | 28 | 28 | 231 | 287 | เริ่มส่งมอบในปี 2024 ด้วยห้องโดยสารลุฟท์ฮันซ่าอัลเลกริส | |
26 | 21 | 247 | 294 | [64] | เริ่มส่งมอบตั้งแต่สิงหาคม ค.ศ. 2022[80][81][82] ห้าคำสั่งซื้อโอนย้ายมาจากไห่หนานแอร์ไลน์โดยใช้ผังที่นั่งเดิม[83] ห้าลำจะโอนย้ายไปยังออสเตรียนแอร์ไลน์[84] | ||||
รวม | 295 | 156 |
ลุฟท์ฮันซ่ามีอายุฝูงบินเฉลี่ย 13.7 ปี
บริการ
[แก้]โปรแกรมสะสมไมล์
[แก้]โปรแกรมสะสมไมล์ Miles & More ของลุฟท์ฮันซ่าจะใช้ร่วมกันระหว่างสายการบินในยุโรปหลายแห่ง ได้แก่ สายการบินในเครือทั้งหมดของลุฟท์ฮันซ่า (ไม่รวมกิจการร่วมค้าของซันเอกซ์เพรส), ค็อนดอร์ (เดิมเป็นของลุฟท์ฮันซ่า), โครเอเชียแอร์ไลน์, ล็อตโปแลนด์, และลักซ์แอร์ (เดิมเป็นส่วนหนึ่งของลุฟท์ฮันซ่า)[85] สมาชิก Miles & More จะได้รับไมล์สะสมจากเที่ยวบินของลุฟท์ฮันซ่าและเที่ยวบินพันธมิตรของสตาร์อัลไลแอนซ์ ตลอดจนผ่านบัตรเครดิตของลุฟท์ฮันซ่าและการซื้อสินค้าผ่านร้านค้าของสายการบิน สถานะภายใน Miles & More จะพิจารณาจากไมล์ที่บินระหว่างหนึ่งปีปฏิทินกับพันธมิตรเฉพาะราย ระดับสมาชิกประกอบด้วย: สมาชิก Miles & More (ไม่มีเกณฑ์ขั้นต่ำ), ผู้เดินทางบ่อย (ระดับเงิน 35,000 ไมล์ (56,000 กม.) หรือ 30 เที่ยวบินส่วนบุคคล), วุฒิสมาชิก (ระดับทอง 100,000 ไมล์ (160,000 กม.)), และ HON Circle (สีดำ 600,000 ไมล์ (970,000 กม.) เกณฑ์ในสองปีปฏิทิน) ระดับสถานะของ Miles & More ทั้งหมดที่สูงกว่าสมาชิก Miles & More มอบสิทธิ์การเข้าใช้ห้องรับรองและไมล์โบนัส โดยระดับที่สูงขึ้นจะมอบสิทธิประโยชน์พิเศษมากกว่า[86]
ห้องโดยสาร
[แก้]ชั้นหนึ่ง
[แก้]ที่นั่งชั้นหนึ่งของลุฟท์ฮันซ่าจะมีให้บริการบนเครื่องบินระยะไกลส่วนใหญ่ (แอร์บัส เอ340-600 ทุกลำ ส่วนหน้าของชั้นบนของแอร์บัส เอ380 ทุกลำ และส่วนจมูกของดาดฟ้าหลักของโบอิง 747-8 ทุกลำ) แต่ละที่นั่งปรับเป็นเตียงขนาด 2 เมตร (6 ฟุต 7 นิ้ว) พร้อมปลั๊กไฟสำหรับอุปกรณ์ตั้งโต๊ะ และสิ่งอำนวยความสะดวกเพื่อความบันเทิง มีบริการอาหารตามความต้องการ ลุฟท์ฮันซามีเคาน์เตอร์เช็คอินสำหรับผู้โดยสารชั้นหนึ่งโดยเฉพาะในสนามบินส่วนใหญ่ และมีห้องรับรองชั้นหนึ่งโดยเฉพาะในแฟรงก์เฟิร์ตและมิวนิก รวมถึงอาคารผู้โดยสารชั้นหนึ่งโดยเฉพาะในแฟรงก์เฟิร์ต ผู้โดยสารขาเข้ามีตัวเลือกในการใช้สิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับผู้โดยสารขาเข้าชั้นหนึ่งของลุฟท์ฮันซ่า
ชั้นธุรกิจ
[แก้]ที่นั่งชั้นธุรกิจจะมีให้ให้บริการบนเครื่องบินระยะไกลทุกลำ ที่นั่งแปลงเป็นเตียงนอนราบขนาด 2 เมตร (6 ฟุต 7 นิ้ว) และมีปลั๊กไฟสำหรับแล็ปท็อปและเครื่องอำนวยความสะดวกเพื่อความบันเทิง[87] ลุฟท์ฮันซ่ามีเคาน์เตอร์เช็คอินสำหรับชั้นธุรกิจโดยเฉพาะที่สนามบินทุกแห่ง รวมถึงห้องรับรองสำหรับชั้นธุรกิจโดยเฉพาะที่สนามบินส่วนใหญ่ หรือห้องรับรองพิเศษที่สนามบินอื่นๆ รวมถึงห้องรับรองต้อนรับของลุฟท์ฮันซ่าเมื่อเดินทางมาถึงแฟรงก์เฟิร์ต ในปีค.ศ. 2014 ชั้นธุรกิจของเครื่องบินลำตัวกว้างทุกลำมีที่นั่งแบบปรับนอนราบได้[88]
ชั้นประหยัดพรีเมียม
[แก้]เปิดตัวใน ค.ศ. 2014 ที่นั่งชั้นประหยัดพรีเมียมของลุฟท์ฮันซาจะมีให้บริการบนเครื่องบินระยะไกลทุกลำ โดยเริ่มด้วยโบอิง 747-8I การออกแบบที่นั่งจะคล้ายกับห้องโดยสารชั้นประหยัดพรีเมียมของแอร์แคนาดา หรือชั้นโดยสารเวิลด์เทรเวลเลอร์พลัส ของบริติชแอร์เวย์ ชั้นประหยัดพรีเมียมมีระยะห่าง 38 นิ้ว (970 มม.) และความกว้างมากกว่าชั้นประหยัดสูงสุด 3 นิ้ว (76 มม.) ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับเครื่องบิน เบาะนั่งยังมีจอความบันเทิงด้านหลังเบาะนั่งส่วนตัวขนาด 11 หรือ 12 นิ้ว (280 หรือ 300 มม.) และที่วางแขนแยกที่นั่งขนาดใหญ่ขึ้น
ชั้นประหยัด
[แก้]ที่นั่งชั้นประหยัดของลุฟท์ฮันซ่าที่ให้บริการบนเครื่องบินระยะไกล จะมีระยะห่างระหว่างที่นั่ง 31 นิ้ว (790 มม.) ยกเว้นบนแอร์บัส เอ380 ที่จะมีระยะห่างระหว่างที่นั่ง 33 นิ้ว (840 มม.) ผู้โดยสารจะได้รับอาหารและเครื่องดื่มฟรี ทุกที่นั่งจะมีหน้าจอระบบความบันเทิง (Audio-Video-On-Demand; AVOD) ให้บริการ
ห้องรับรองและอาคารผู้โดยสาร
[แก้]ลุฟท์ฮันซ่าให้บริการห้องรับรองสี่ประเภทภายในเครือข่าย: ชั้นหนึ่ง, วุฒิสมาชิก, ธุรกิจ และห้องรับรองต้อนรับ ห้องรับรองผู้โดยสารขาออกแต่ละแห่งสามารถเข้าถึงได้ทั้งผ่านชั้นโดยสาร หรือสถานะ Miles and More/Star Alliance; ห้องรับรองถูกจำกัดไว้สำหรับผู้โดยสารระดับพรีเมียมขาเข้าของลุฟท์ฮันซ่ากรุ๊ปและยูไนเต็ดแอร์ไลน์[89]
ลุฟท์ฮันซ่ายังให้บริการอาคารผู้โดยสารชั้นหนึ่งโดยเฉพาะที่ท่าอากาศยานแฟรงก์เฟิร์ต อาคารผู้โดยสารแห่งนี้มีจำกัดเฉพาะผู้โดยสารชั้นหนึ่ง, ชั้นหนึ่งของลุฟท์ฮันซ่ากรุ๊ป และสมาชิก HON Circle ในอาคารผู้โดยสารจะมีร้านอาหารบริการเต็มรูปแบบ บาร์เต็มรูปแบบ ห้องรับรองซิการ์ ห้องพักผ่อน และสำนักงาน รวมทั้งห้องอาบน้ำ ผู้เข้าพักจะถูกขับตรงไปยังเที่ยวบินที่ออกเดินทางโดยรถเมอร์เซเดส เอส-คลาสหรือ วี-คลาส หรือรถพอร์เชอ คาเยนน์ หรือ พานาเมร่า
บริการรถขนส่ง
[แก้]ลุฟท์ฮันซ่าให้บริการรถบัสจากท่าอากาศยานนูเรมเบิร์กไปยังท่าอากาศยานมิวนิก ซึ่งได้กลับมาให้บริการในค.ศ. 2021 เพื่อแทนที่เที่ยวบินระยะสั้นระหว่างทั้งสองเมือง[90] ลุฟท์ฮันซาเคยให้บริการรถโดยสารจากนูเรมเบิร์กไปยังมิวนิกในปลายทศวรรษ 1990[91]
หมายเหตุ
[แก้]- ↑ ลุฟท์ฮันซ่ายังรวม ท่าอากาศยานเบอร์ลินบรันเดินบวร์ค, ท่าอากาศยานดึสเซิลดอร์ฟ, ท่าอากาศยานนานาชาติเวียนนา และ ท่าอากาศยานซือริชเป็นฐานการบิน[1] ฐานการบินเหล่านี้ไม่ได้มีการระบุไว้ เพราะเป็นฐานการบินของ ยูโรวิงส์, ออสเตรียนแอร์ไลน์, และ สวิสอินเตอร์แนชนัลแอร์ไลน์ตามลำดับ ซึ่งเป็นสายการบินในเครือของลุฟท์ฮันซ่ากรุ๊ป. ด้วยเหตุผลเดียวกัน จึงไม่มีการระบุฐานการบินของยูโรวิงส์อื่นๆ รวมอยู่ด้วย
ดูเพิ่ม
[แก้]อ้างอิง
[แก้]- ↑ "Airport information". Lufthansa. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2 December 2021. สืบค้นเมื่อ 15 February 2022.
- ↑ Annual Report 2021 (PDF) (Report). Lufthansa Group. 19 March 2022.
{{cite report}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "Lufthansa". Star Alliance. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2 July 2014. สืบค้นเมื่อ 5 July 2014.
The airlines engaged in the passenger transportation business are Lufthansa German Airlines...
- ↑ "10 Lufthansa Facts You Should Know". Go Travel Your Way. 12 February 2016. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-08-03. สืบค้นเมื่อ 20 February 2017.
- ↑ "We hereby invite our shareholders to attend the 51st Annual General Meeting" (PDF). investor-relations.lufthansa.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 14 July 2011. สืบค้นเมื่อ 25 August 2009.
- ↑ "As Time Flies By". Lufthansa. สืบค้นเมื่อ 19 April 2013.
- ↑ Starzmann, Maria Theresia (September 2015). "The Materiality of Forced Labor: An Archaeological Exploration of Punishment in Nazi Germany". International Journal of Historical Archaeology. 19 (3): 647–663 – โดยทาง JStor.
- ↑ 8.0 8.1 "We Call on Luftag". Flight International (5 February 1954): 165. สืบค้นเมื่อ 19 April 2013.
- ↑ Welle (www.dw.com), Deutsche. "Why Lufthansa reduces its Nazi past to a sidenote | DW | 14.03.2016". DW.COM (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). สืบค้นเมื่อ 2020-12-25.
- ↑ Rieger, Tobias (2020-04-13). "Kurt Knipfer". Beamte nationalsozialistischer Reichsministerien (ภาษาเยอรมัน). สืบค้นเมื่อ 2020-12-25.
- ↑ "A German Airline Again". Flight. 15 April 1955. pp. 472–473. สืบค้นเมื่อ 9 July 2013.
- ↑ "Die Tabellen-Piloten". Der Spiegel (22/1955): 32–40. 25 May 1955. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 26 October 2011. สืบค้นเมื่อ 19 April 2013.
- ↑ Chronik, Lufthansa Group-. "Chronicle". Lufthansa Group - Chronik (ภาษาอังกฤษ).
- ↑ Bamber, Greg (2009). Up in the air : how airlines can improve performance by engaging their employees. Internet Archive. Ithaca : ILR Press/Cornell University Press. ISBN 978-0-8014-4747-1.
- ↑ "Lufthansa to Scrap 3,500 Administrative Jobs as Losses Widen". Bloomberg.com (ภาษาอังกฤษ). 2012-05-03. สืบค้นเมื่อ 2022-12-07.
- ↑ "Lufthansa on course with its SCORE programme - News & Releases - Lufthansa Group". web.archive.org. 2013-10-12. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-10-12. สืบค้นเมื่อ 2022-12-07.
{{cite web}}
: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์) - ↑ "Lufthansa phases out last Boeing 737 after nearly 50 years | Airframes content from ATWOnline". web.archive.org. 2016-10-29. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-10-29. สืบค้นเมื่อ 2022-12-07.
{{cite web}}
: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์) - ↑ "Lufthansa löst A380-Flotte komplett auf". aero.de (ภาษาเยอรมัน). 2022-04-01.
- ↑ Eiselin, Stefan (2022-06-30). "Lufthansa prüft, noch mehr Airbus A380 zurückzubringen". aeroTELEGRAPH (ภาษาเยอรมันสูง (สวิส)).
- ↑ Eiselin, Stefan (2022-06-24). "Lufthansa muss den fünften Stern wieder abgeben". aeroTELEGRAPH (ภาษาเยอรมันสูง (สวิส)).
- ↑ "All flights diverted from Frankfurt amid Lufthansa IT glitch". AP News (ภาษาอังกฤษ). 2023-02-15.
- ↑ "Lufthansa: Flights cancelled and delayed after major IT failure". euronews (ภาษาอังกฤษ). 2023-02-15.
- ↑ "Lufthansa Group reaches agreement on the acquisition of 41 per cent stake in ITA Airways". breakingtravelnews.com. 2023-05-29. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 30 May 2023. สืบค้นเมื่อ 2023-05-30.
- ↑ Facebook; Twitter; options, Show more sharing; Facebook; Twitter; LinkedIn; Email; URLCopied!, Copy Link; Print (1986-10-28). "Terrorists Shoot Berlin Official, Bomb Airline". Los Angeles Times (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน).
{{cite web}}
:|last=
มีชื่อเรียกทั่วไป (help) - ↑ Ap (1986-10-29). "AROUND THE WORLD; Bomb Rips Offices Of Lufthansa in Cologne". The New York Times (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). ISSN 0362-4331. สืบค้นเมื่อ 2022-12-06.
- ↑ maineditor (2014-02-01). "Grundsteinlegung für Lufthansa Verwaltung in Köln". Kfz.net (ภาษาเยอรมัน).
- ↑ "Lufthansa deepens cuts; to close head office in Cologne | Operations content from ATWOnline". web.archive.org. 2013-05-28. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-09-27. สืบค้นเมื่อ 2022-12-06.
{{cite web}}
: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์) - ↑ Group, Lufthansa. "Contact person". Lufthansa Group (ภาษาอังกฤษ).
- ↑ Relations, Lufthansa Group Investor. "Contact person". Lufthansa Group Investor Relations (ภาษาอังกฤษ).
- ↑ Annual Report 2020 (PDF) (Report). Lufthansa Group. 4 March 2021. Archived (PDF) from the original on 27 November 2021.
- ↑ "Brussels Airlines sans Eurowings". Site-Trends-FR (ภาษาฝรั่งเศส). 2019-06-26.
- ↑ Long, Michael (2011-11-01). "German giants sign Samsung extension". SportsPro (ภาษาอังกฤษแบบบริติช).
- ↑ "Sports sponsorship - Corporate Citizenship - Lufthansa Group". web.archive.org. 2015-04-16. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-04-16. สืบค้นเมื่อ 2022-12-06.
- ↑ "Lufthansa codeshare partners" เก็บถาวร 2022-12-06 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. Cologne: Lufthansa Group. Retrieved 1 June 2020.
- ↑ "Lufthansa Group and Star Alliance partners" เก็บถาวร 2023-03-23 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. Cologne: Lufthansa Group. Retrieved 1 June 2020.
- ↑ "Air Astana and Lufthansa Sign Codeshare Agreement". AviationPros.com. 15 March 2017. สืบค้นเมื่อ 16 March 2017.
- ↑ Casey, David (17 February 2021). "Lufthansa and airBaltic begin codeshare relationship". Routes. Informa. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 23 April 2021. สืบค้นเมื่อ 15 February 2022.
- ↑ Liu, Jim (20 March 2018). "ANA extends Lufthansa codeshares to the Baltics in S18". Routesonline. สืบค้นเมื่อ 20 March 2018.
- ↑ "Cathay Pacific extend codeshare partnership". businesstraveller.com. 15 Jul 2019. สืบค้นเมื่อ 1 June 2020.
- ↑ "Etihad and Lufthansa strike code-share deal - The National". 16 December 2016.
- ↑ Liu, Jim (20 January 2020). "United resumes Lufthansa codeshare to Russia from Feb 2020". Routesonline. สืบค้นเมื่อ 20 January 2020.
- ↑ "LUFTHANSA / VISTARA BEGINS CODESHARE PARTNERSHIP FROM AUG 2022". Aeroroutes. 23 August 2022.
- ↑ "Lufthansa Fleet" เก็บถาวร 2022-12-05 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. Lufthansa. Retrieved 6 December 2022.
- ↑ Group, Lufthansa. "Lufthansa and Regional Partners". Lufthansa Group (ภาษาอังกฤษ).
- ↑ "Lufthansa Fleet Details and History". www.planespotters.net.
- ↑ "Seat map Airbus A319-100". Lufthansa. สืบค้นเมื่อ 16 November 2023.
- ↑ "Seat map Airbus A320-200". Lufthansa. สืบค้นเมื่อ 16 November 2023.
- ↑ 48.0 48.1 48.2 Airbus Orders and Deliveries (XLS), monthly updated, accessed via "Orders & deliveries". Airbus. Airbus SAS. สืบค้นเมื่อ 18 December 2022.
- ↑ "Seat map Airbus A320neo". Lufthansa. สืบค้นเมื่อ 16 November 2023.
- ↑ airbus.com - Lufthansa takes delivery of the world's first Airbus A320neo as launching customer 12 February 2016
- ↑ aerotelegraph.com - "Brussels allowed to expand with additional A320neos, Austrian not" (German) 16 December 2022
- ↑ 52.0 52.1 "Seat map of the Airbus A321-100/200". Lufthansa. สืบค้นเมื่อ 16 November 2023.
- ↑ stern.de (German) 9 March 2018
- ↑ "Seat map Airbus A321neo". Lufthansa. สืบค้นเมื่อ 16 November 2023.
- ↑ Wenzel, Nick (4 May 2019). "Lufthansa adds first A321neo to its fleet". International Flight Network (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). สืบค้นเมื่อ 2019-09-05.
- ↑ "Seat maps Airbus A330-300". Lufthansa. สืบค้นเมื่อ 16 November 2023.
- ↑ "Seat maps Airbus A340-300". Lufthansa. สืบค้นเมื่อ 16 November 2023.
- ↑ airbus.com - Orders and deliveries retrieved 5 May 2022
- ↑ aerotelegraph.com - "Airbus A340-300 is Lufthansa's 787 backup solution" (German) 4 November 2022
- ↑ "Seat maps Airbus A340-600". Lufthansa. สืบค้นเมื่อ 16 November 2023.
- ↑ "Lufthansa to bring back all stored Airbus A340-600s". Aerotime Hub. สืบค้นเมื่อ 5 January 2022.
- ↑ aerotelegraph.com - "Lufthansa brings back more A340-600s" (German) 4 January 2022
- ↑ 63.0 63.1 "Seat map of the Airbus A350-900". Lufthansa. สืบค้นเมื่อ 16 November 2023.
- ↑ 64.0 64.1 64.2 "Lufthansa Group orders 22 latest-generation long-haul aircraft – total list price of 7.5 billion US dollars". Lufthansa (Press release). สืบค้นเมื่อ 2 March 2023.
- ↑ "Lufthansa takes delivery of its first A350 aircraft". Airbus.com. สืบค้นเมื่อ 21 December 2016.
- ↑ "Lufthansa Group orders 40 state-of-the-art Boeing 787-9 and Airbus A350-900 long-haul aircraft" (Press release). Lufthansa Group. 19 September 2013. สืบค้นเมื่อ 13 March 2019.
- ↑ "Lufthansa Group signs contract for four additional Airbus A350-900s". Lufthansa Group (ภาษาอังกฤษ). 23 May 2023. สืบค้นเมื่อ 23 May 2023.
- ↑ "Seat maps Airbus A380-800". Lufthansa. สืบค้นเมื่อ 16 November 2023.
- ↑ Flightradar24. "Live Flight Tracker - Real-Time Flight Tracker Map". Flightradar24 (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2023-07-07.
- ↑ Flightradar24. "Live Flight Tracker - Real-Time Flight Tracker Map". Flightradar24 (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2023-07-07.
- ↑ Flightradar24. "Live Flight Tracker - Real-Time Flight Tracker Map". Flightradar24 (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2023-07-07.
- ↑ "Seat maps Boeing 747-400". Lufthansa. สืบค้นเมื่อ 16 November 2023.
- ↑ "Lufthansa seeks to boost Boeing fleet size to 35% | DUBAI AIRSHOW 2017". www.dubaiairshow.aero (ภาษาอังกฤษ). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-09-14. สืบค้นเมื่อ 2017-09-14. แม่แบบ:Dl
- ↑ "Seat maps Boeing 747-8". Lufthansa. สืบค้นเมื่อ 16 November 2023.
- ↑ "747 Model Orders and Deliveries summary" เก็บถาวร 2018-09-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. Boeing, December 2019. Retrieved January 27, 2020.
- ↑ Cha, Frances (30 June 2014). "Aviation milestone as Boeing delivers 747 number 1,500". CNN (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2020-06-16.
- ↑ Nowack, Timo (5 May 2022). "777X-Verspätung ist Hoffnungsschimmer für Lufthansas A380". aeroTELEGRAPH (ภาษาเยอรมันสูง (สวิส)). สืบค้นเมื่อ 13 September 2023.
- ↑ "Lufthansa neemt vervroegd afscheid van deel A380-, A340- en 747-vloot". 7 April 2020.
- ↑ "Lufthansa Group Selects New 777-8 Freighter, Orders Additional 787s". Boeing Media Room. 9 May 2022.
- ↑ "Lufthansa takes delivery of its first B787-9". Ch-Aviation. 31 August 2022.
- ↑ "Lufthansa orders 40 Boeing 787-9 and Airbus A350-900 long-haul planes". Reuters. 13 March 2019.
- ↑ "Das Rätselraten um die Boeing 787 der Lufthansa-Gruppe" [The guesswork surrounding the Lufthansa Group's Boeing 787]. aerotelegraph.com (ภาษาเยอรมัน). 6 July 2021.
- ↑ aero.de - "Lufthansa takes over 787 cabins from Hainan Airlines" (German) 23 August 2022
- ↑ aerotelegraph.com - "Austrian Airlines to receive 10 Boeing 787-9" (German) 19 April 2023
- ↑ "All partners at a glance". Miles & More. Retrieved 29 July 2019.
- ↑ "Benefits for frequent flyers compared". Miles & More. Retrieved 29 July 2019.
- ↑ Nast, Condé (2012-12-11). "Photos: Inside Lufthansa's New Business Class". Condé Nast Traveler (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน).
- ↑ "Lufthansa unveils new fully-flat business class seat – Business Traveller". web.archive.org. 2020-12-05. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-12-05. สืบค้นเมื่อ 2022-12-06.
{{cite web}}
: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์) - ↑ "Lounges" เก็บถาวร 2022-02-16 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. Lufthansa. Retrieved 16 February 2022.
- ↑ "Neuer Service für Lufthansa-Expressbus Nürnberg-München". airliners.de (ภาษาเยอรมัน).
- ↑ "Lufthansa - Aktuell". web.archive.org. 1996-11-09. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 1996-11-09. สืบค้นเมื่อ 2022-12-06.