[go: up one dir, main page]

ข้ามไปเนื้อหา

โอมะ

พิกัด: 41°31′36.3″N 140°54′26.4″E / 41.526750°N 140.907333°E / 41.526750; 140.907333
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
โอมะ

大間町
ดวงอาทิตย์ขึ้นที่โอมะ
ดวงอาทิตย์ขึ้นที่โอมะ
ธงของโอมะ
ธง
ตราอย่างเป็นทางการของโอมะ
ตรา
ที่ตั้งของโอมะ (เน้นสีเหลือง) ในจังหวัดอาโอโมริ
ที่ตั้งของโอมะ (เน้นสีเหลือง) ในจังหวัดอาโอโมริ
แผนที่
โอมะตั้งอยู่ในประเทศญี่ปุ่น
โอมะ
โอมะ
ที่ตั้งในประเทศญี่ปุ่น
พิกัด: 41°31′36.3″N 140°54′26.4″E / 41.526750°N 140.907333°E / 41.526750; 140.907333
ประเทศธงของประเทศญี่ปุ่น ญี่ปุ่น
ภูมิภาคโทโฮกุ
จังหวัด อาโอโมริ
อำเภอชิโมกิตะ
พื้นที่
 • ทั้งหมด52.09 ตร.กม. (20.11 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (1 เมษายน ค.ศ. 2024)[1]
 • ทั้งหมด4,258 คน
 • ความหนาแน่น82 คน/ตร.กม. (210 คน/ตร.ไมล์)
เขตเวลาUTC+9 (เวลามาตรฐานญี่ปุ่น)
โทรศัพท์0175-37-2111
ที่อยู่ศาลาว่าการ104 Ōma, Ōma-machi, Shimokita-gun, Aomori-ken 039-4692
รหัสท้องถิ่น02423-6
เว็บไซต์www.town.ooma.lg.jp
สัญลักษณ์
สัตว์ปีกนกนางนวลปากเหลือง
ดอกไม้กุหลาบญี่ปุ่น
ต้นไม้สนดำญี่ปุ่น

โอมะ (ญี่ปุ่น: 大間町โรมาจิŌma-machi) เป็นเมืองในอำเภอชิโมกิตะ จังหวัดอาโอโมริ ประเทศญี่ปุ่น ตั้งอยู่ทางเหนือสุดของเกาะฮนชู เมืองนี้มีจำนวนประชากรเมื่อวันที่ 1 เมษายน ค.ศ. 2024 ประมาณ 4,258 คน[1] ความหนาแน่นของประชากร 81.7 ต่อตารางกิโลเมตร (212 ต่อตารางไมล์)[2] มีขนาดพื้นที่ทั้งสิ้น 52.09 ตารางกิโลเมตร (20.11 ตารางไมล์)[3]

ภูมิศาสตร์

[แก้]
อนุสาวรีย์ที่จุดเหนือสุดของเกาะฮนชู (โอมาซากิ)
ทิวทัศน์เมืองโอมะ โดยสามารถมองเห็นช่องแคบสึงารุ และเกาะฮกไกโด

โอมะครอบคลุมพื้นที่แนวชายฝั่งตะวันตกเฉียงเหนือของคาบสมุทรชิโมกิตะ ติดกับช่องแคบสึงารุ แหลมโอมะหรือโอมาซากิ (ญี่ปุ่น: 大間崎โรมาจิŌmazaki) เป็นจุดเหนือสุดบนเกาะฮนชู พื้นที่ส่วนใหญ่ของเมืองอยู่ภายในอาณาเขตของกึ่งอุทยานแห่งชาติชิโมกิตะฮันโต ใน ค.ศ. 2002 กระทรวงสิ่งแวดล้อมได้จัดให้พื้นที่ราบลุ่มที่น้ำขึ้นถึงบางแห่งตามแนวชายฝั่งโอมะเป็นหนึ่งใน 500 พื้นที่ชุ่มน้ำที่สำคัญในญี่ปุ่น ในด้านความหลากหลายทางชีวภาพของพืชทะเล โดยเฉพาะอย่างยิ่งสาหร่ายทะเลหลากหลายสายพันธุ์[4]

เทศบาลข้างเคียง

[แก้]

ภูมิอากาศ

[แก้]

เมืองนี้มีสภาพภูมิอากาศที่มีลักษณะเป็นฤดูร้อนที่เย็นสบายเป็นระยะเวลาสั้น และฤดูหนาวที่หนาวเย็นยาวนานและมีลมแรง (การแบ่งเขตภูมิอากาศแบบเคิพเพิน Cfb) อุณหภูมิเฉลี่ยทั้งปีในโอมะอยู่ที่ 10.2 °C (50.4 °F) ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยต่อปีอยู่ที่ 1,158.2 มิลลิเมตร (45.60 นิ้ว) โดยเดือนสิงหาคมเป็นเดือนที่มีฝนตกชุกที่สุด อุณหภูมิจะสูงสุดโดยเฉลี่ยในเดือนสิงหาคม อยู่ที่ประมาณ 21.7 °C (71.1 °F) และต่ำสุดในเดือนมกราคม อยู่ที่ประมาณ 0.0 °C (32.0 °F)[5]

ข้อมูลภูมิอากาศของโอมะ (1991−2020 สภาวะปกติ, สภาวะสุดขั้ว 1976−ปัจจุบัน)
เดือน ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย. ต.ค. พ.ย. ธ.ค. ทั้งปี
อุณหภูมิสูงสุดที่เคยบันทึก °C (°F) 12.0
(53.6)
14.9
(58.8)
17.3
(63.1)
21.1
(70)
25.8
(78.4)
26.8
(80.2)
32.5
(90.5)
32.9
(91.2)
32.6
(90.7)
25.2
(77.4)
22.0
(71.6)
15.6
(60.1)
32.6
(90.7)
อุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ย °C (°F) 2.2
(36)
2.7
(36.9)
6.2
(43.2)
11.0
(51.8)
15.0
(59)
18.4
(65.1)
22.3
(72.1)
24.8
(76.6)
22.8
(73)
17.4
(63.3)
11.0
(51.8)
4.8
(40.6)
13.22
(55.79)
อุณหภูมิเฉลี่ยแต่ละวัน °C (°F) 0.0
(32)
0.2
(32.4)
3.1
(37.6)
7.6
(45.7)
11.5
(52.7)
15.1
(59.2)
19.3
(66.7)
21.7
(71.1)
19.5
(67.1)
14.0
(57.2)
8.0
(46.4)
2.2
(36)
10.18
(50.33)
อุณหภูมิต่ำสุดเฉลี่ย °C (°F) -2.4
(27.7)
-2.3
(27.9)
0.0
(32)
4.1
(39.4)
8.5
(47.3)
12.4
(54.3)
16.9
(62.4)
19.1
(66.4)
16.0
(60.8)
10.3
(50.5)
4.8
(40.6)
-0.3
(31.5)
7.26
(45.07)
อุณหภูมิต่ำสุดที่เคยบันทึก °C (°F) -10.2
(13.6)
-10.7
(12.7)
-8.2
(17.2)
-5.3
(22.5)
0.0
(32)
3.6
(38.5)
8.5
(47.3)
10.0
(50)
6.7
(44.1)
0.4
(32.7)
-5.4
(22.3)
-10.0
(14)
−10.7
(12.7)
หยาดน้ำฟ้า มม (นิ้ว) 60.1
(2.366)
52.6
(2.071)
62.3
(2.453)
74.1
(2.917)
89.3
(3.516)
80.6
(3.173)
128.7
(5.067)
173.8
(6.843)
149.0
(5.866)
111.2
(4.378)
96.7
(3.807)
79.8
(3.142)
1,158.2
(45.598)
ปริมาณหิมะ ซม (นิ้ว) 65
(25.6)
76
(29.9)
36
(14.2)
1
(0.4)
0
(0)
0
(0)
0
(0)
0
(0)
0
(0)
0
(0)
1
(0.4)
29
(11.4)
208
(81.9)
วันที่มีฝนตกโดยเฉลี่ย (≥ 1.0 mm) 11.1 9.8 10.6 10.0 10.1 8.6 10.1 9.9 11.0 11.8 13.2 12.6 128.8
วันที่มีหิมะตกโดยเฉลี่ย (≥ 3 cm) 9.2 10.1 4.8 0.1 0 0 0 0 0 0 0.1 4.2 28.5
จำนวนชั่วโมงที่มีแดด 71.7 100.2 165.6 203.8 202.5 175.9 155.0 168.8 179.2 166.1 100.2 69.9 1,758.8
แหล่งที่มา: สำนักงานอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่น[5][6]

สถิติประชากร

[แก้]

จากข้อมูลการสำรวจสำมะโนประชากรของญี่ปุ่น[7] ประชากรของโอมะลดลงมาตั้งแต่ ค.ศ. 1960

ประวัติจำนวนประชากร
ปีประชากร±% p.a.
1920 4,077—    
1930 5,396+2.84%
1940 6,054+1.16%
1950 7,217+1.77%
1960 7,983+1.01%
1970 7,673−0.40%
ปีประชากร±% p.a.
1980 7,624−0.06%
1990 7,125−0.67%
2000 6,566−0.81%
2010 6,340−0.35%
2020 4,718−2.91%

ประวัติศาสตร์

[แก้]

พื้นที่บริเวณเมืองโอมะเป็นที่อยู่อาศัยของชาวเอมิชิมาจนถึงยุคประวัติศาสตร์ ต่อมาในยุคเอโดะ พื้นที่แห่งนี้ควบคุมโดยตระกูลนัมบุในแคว้นศักดินาโมริโอกะ

ในช่วงที่ประกาศใช้ระบบเทศบาลหลังการฟื้นฟูเมจิเมื่อวันที่ 1 เมษายน ค.ศ. 1889 ได้มีการจัดตั้ง "หมู่บ้านโอโอกุ" (ญี่ปุ่น: 大奥村โรมาจิŌoku-mura) จากการควบรวมหมู่บ้านโอมะกับหมู่บ้านโอกูโดะที่อยู่ใกล้เคียง ต่อมาได้รับยกฐานะเป็นเมือง และเปลี่ยนชื่อเป็น "เมืองโอมะ" เมื่อวันที่ 3 พฤศจิกายน ค.ศ. 1942

ในวัฒนธรรมร่วมสมัย

[แก้]

โอมะเป็นสถานที่ยอดนิยมในการถ่ายทำภาพยนตร์และละครโทรทัศน์ โดยเป็นสถานที่ถ่ายทำในภาพยนตร์เรื่อง เกียวเอโนะมูเระ (ญี่ปุ่น: 魚影の群れโรมาจิGyōei no mure) ที่ออกฉายเมื่อ ค.ศ. 1983 ที่นำแสดงโดยเค็ง โองาตะ ใน ค.ศ. 2000 โอมะเป็นสถานที่ถ่ายทำในซีรีส์ทางโทรทัศน์ของเอ็นเอชเคเรื่อง วาตาชิโนะอาโออิซาระ (ญี่ปุ่น: 私の青空โรมาจิWatashi no Aoi Sora) ที่นำแสดงโดยทาบาตะ โทโมโกะ ตามมาด้วยซีรีส์เรื่อง มางูโระ (ญี่ปุ่น: マグロโรมาจิMaguro) ทางทีวีอาซาฮิ นำแสดงโดยเท็ตสึยะ วาตาริ ใน ค.ศ. 2007

การเมืองการปกครอง

[แก้]
ศาลาว่าการเมืองโอมะ

โอมะมีการปกครองรูปแบบนายกเทศมนตรี–สภา โดยมีนายกเทศมนตรีที่มาจากการเลือกตั้งโดยตรง และสภาเมืองที่เป็นสภาเดียว มีสมาชิกจำนวน 10 คน เมืองโอมะเป็นส่วนหนึ่งของอำเภอชิโมกิตะ ซึ่งเมื่อรวมนครมุตสึจะเป็นพื้นที่เขตเลือกตั้งที่ให้สมาชิกสภาจังหวัดอาโอโมริจำนวน 3 ที่นั่ง ในแง่ของการเมืองระดับชาติ เมืองโอมะเป็นส่วนหนึ่งของเขตเลือกตั้งจังหวัดอาโอโมริที่ 1 ในการเลือกตั้งสภาผู้แทนราษฎรในรัฐสภาญี่ปุ่น

เศรษฐกิจ

[แก้]
ท่าเรือประมงโอมาซากิ

เศรษฐกิจของโอมะอาศัยการประมงเชิงพาณิชย์เป็นหลัก เมืองนี้มีชื่อเสียงในด้านปลาทูน่า ซึ่งรู้จักกันดีในชื่อ "เพชรสีดำ" วิธีการตกปลาทูน่าโอมะจะใช้วิธีดั้งเดิมคือการตกปลาด้วยมือโดยใช้เบ็ดเส้นเดียว และจำหน่ายภายใต้แบรนด์จดทะเบียน "โอมะ" ปลาทูน่าโอมะหนึ่งตัวขายได้ราคาสูงเป็นประวัติการณ์ที่ 333.6 ล้านเยนในเดือนมกราคม ค.ศ. 2019[8] ผลิตภัณฑ์อาหารทะเลอื่น ๆ ได้แก่ ไข่หอยเม่น สาหร่ายคมบุ และปลาหมึก[9]

เมืองนี้เป็นที่ตั้งของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ชื่อว่า โรงไฟฟ้านิวเคลียร์โอมะ ซึ่งจะมีความพิเศษคือจะใช้เชื้อเพลิงออกไซด์ผสม หรือ MOX[10]

การศึกษา

[แก้]

โอมะมีโรงเรียนที่สังกัดเทศบาลเมือง ได้แก่ โรงเรียนประถม 2 แห่ง และโรงเรียนมัธยมต้น 1 แห่ง โรงเรียนที่สังกัดคณะกรรมการการศึกษาจังหวัดอาโอโมริ ได้แก่ โรงเรียนมัธยมปลาย 1 แห่ง

การขนส่ง

[แก้]

รถไฟ

[แก้]

เมืองนี้ไม่มีรถไฟโดยสารให้บริการ สถานีที่ใกล้ที่สุดคือ สถานีรถไฟโอมินาโตะ บนสายโอมินาโตะของบริษัทรถไฟญี่ปุ่นตะวันออกในนครมุตสึ

ทางหลวง

[แก้]

สถานที่ที่น่าสนใจในท้องถิ่น

[แก้]

เมืองพี่น้อง

[แก้]

ในประเทศญี่ปุ่น

[แก้]

ต่างประเทศ

[แก้]

บุคคลที่มีชื่อเสียง

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 "統計一覧" [ตารางสถิติ]. จังหวัดอาโอโมริ (ภาษาญี่ปุ่น). สืบค้นเมื่อ 8 พฤษภาคม 2024.
  2. "Ōma Town official statistics" (ภาษาญี่ปุ่น). Japan. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-09-02. สืบค้นเมื่อ 2024-05-08.
  3. 詳細データ 青森県大間町. 市町村の姿 グラフと統計でみる農林水産業 (ภาษาญี่ปุ่น). Ministry of Agriculture, Forestry and Fisheries. 2016. สืบค้นเมื่อ 13 July 2017.
  4. "500 Important Wetlands in Japan". No. 62 Nearshore Waters of Oma-zaki in Shimokita-hanto. The Ministry of the Environment, Japan. 2002. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-01-06. สืบค้นเมื่อ 4 March 2017.
  5. 5.0 5.1 気象庁 / 平年値(年・月ごとの値). JMA. สืบค้นเมื่อ February 19, 2022.
  6. 観測史上1~10位の値(年間を通じての値). JMA. สืบค้นเมื่อ February 19, 2022.
  7. สถิติประชากรโอมะ
  8. "Bluefin tuna sells for record $3.1 million at Tokyo fish market, but scarcity clouds celebration". Washington Post. 5 January 2019. สืบค้นเมื่อ 7 February 2019.
  9. Fackler, Martin (September 19, 2009). "Tuna Town in Japan Sees Falloff of Its Fish". New York Times. สืบค้นเมื่อ 22 November 2015.
  10. Watanabe, Chisaki, and Stuart Biggs, Bloomberg L.P., "Rejecting ¥160 million, nuke holdout left with reactor view", Japan Times, 15 July 2011, p. 3.
  11. "International Exchange". List of Affiliation Partners within Prefectures. Council of Local Authorities for International Relations. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 10 February 2017. สืบค้นเมื่อ 21 November 2015.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]