[go: up one dir, main page]

ข้ามไปเนื้อหา

โดตา 2

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
โดตา 2
โลโก้ โดตา 2
ผู้พัฒนาวาล์วคอร์ปอเรชัน
ผู้จัดจำหน่ายวาล์วคอร์ปอเรชัน
กำกับอีริก จอห์นสัน
ออกแบบไอซ์ฟร็อก
แต่งเพลงJason Hayes
Tim Larkin[1]
เอนจินซอร์ส 2
เครื่องเล่นลินุกซ์, ไมโครซอฟท์ วินโดวส์, แมคโอเอสเทน
วางจำหน่าย
  • วินโดวส์
  • 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2556
  • ลินุกซ์, แมคโอเอสเทน
  • 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2556
แนวโมบา
รูปแบบผู้เล่นหลายคน

โดตา 2 (อังกฤษ: Dota 2) เป็นวิดีโอเกมแนวโมบา ที่พัฒนาโดยวาล์วคอร์ปอเรชัน เป็นภาคต่อที่ไม่ขึ้นกับแผนที่วอร์คราฟต์ 3 ที่ได้รับความนิยม คือ ดีเฟนส์ออฟดิแอนเชียนส์ ชื่อเกมมีการประกาศอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2553 ผ่านเว็บไซต์เกมอินฟอร์เมอร์[2] ปัจจุบันตัวเกมมีแผนจะเปิดรุ่นทดลองในช่วงปลายปี พ.ศ. 2554 ซึ่งจะทำให้เป็นเกมที่สองของวาล์วในปีนี้ ตามหลังพอร์ทอล 2[3] ผู้นำออกแบบเกมคือ ผู้พัฒนาคนที่ทำหน้าที่นานที่สุดและคนปัจจุบันของดีเฟนส์ออฟดิแอนเชียนส์ ที่รู้จักกันในชื่อ "ไอซ์ฟร็อก" ผู้ซึ่งยังปิดบังชื่อต่อสาธารณะ ขณะที่เป็นผู้นำทีมพัฒนาที่วาล์ว[2] ตัวเกมจะเปิดตัวทั้งผ่านการค้าปลีกและสตีม สำหรับไมโครซอฟท์ วินโดวส์ และแมคโอเอสเทน โดตา 2[2] เป็นเกมแฟนตาซีเกมแรกของวาล์ว เช่นเดียวกับเกมแนวโมบา

การเล่น

[แก้]

คล้ายกับเกมดีเฟนส์ออฟดิแอนเชียนส์เดิม โดตา 2 รวมเอารูปแบบวางแผนเรียลไทม์และรวมเอาระบบการเพิ่มเลเวลและไอเท็มของเกมสวมบทบาท ผู้เล่นจะสวมบทบาทเป็นยูนิตที่ถูกจัดให้เป็น "ฮีโร" ที่ได้รับเลเวลเพิ่มขึ้นจากการต่อสู้ โดยมีเลเวลสูงสุดที่ 30 ฉากหลักพื้นฐานของ โดตา 2 เป็นที่มั่นสองฝั่งที่มี "Ancient" อยู่ที่ปลายสุดทั้งสองฝั่งของแผนที่ที่สมดุล โดยมีส่วนเชื่อมต่อกันหลายจุดที่ถูกเรียกว่า "เลน" ซึ่งยูนิตฝ่ายตรงข้ามเดินตัดผ่าน ขณะที่ต่อสู้กับหอคอยป้องกันอันทรงพลังไปตลอดทาง ผู้เล่นถูกแบ่งออกเป็นสองทีม ซึ่งตามหลักการแล้วจะเป็นรูปแบบห้าต่อห้า ชิงชัยกันโดยเป็นผู้ป้องกันหลักของแอนเชียนของทีมตน

เป้าหมายจากการโจมตีได้หากหอคอยที่อยู่ชั้นนอกยังไม่ถูกทำลาย กลุ่มยูนิตที่อ่อนแอกว่าที่เรียกกว่า "ครีป" จะถูกปล่อยมาเป็นช่วง ๆ ซึ่งจะเคลื่อนที่ไปตามเลนของพวกตนจนกระทั่งไปถึงยูนิตหรือสิ่งก่อสร้างของศัตรู แล้วครีปเหล่านี้จะโจมตี

การกำจัดยูนิตฝ่ายตรงข้ามจะทำให้ทีมผู้เล่นได้รับเงินจำนวนหนึ่ง โดยผู้เล่นที่โจมตีฝ่ายตรงข้ามเป็นครั้งสุดท้ายจะได้รับส่วนแบ่งมากที่สุด ขณะที่ได้รับเงินนั้น ผู้เล่นจะได้รับค่าประสบการณ์ด้วย โดยเมื่อสะสมค่าประสบการณ์ไประดับหนึ่งจะทำให้เลเวลขึ้น เงินและค่าประสบการณ์ที่มากที่สุดได้จากการกำจัดฮีโรหรือหอคอยฝั่งตรงข้าม

โดตา 2 จะใช้ประโยชน์จากซอฟต์แวร์สตีมของวาล์วเพื่อจัดเตรียมฟังก์ชันสังคมและชุมชนของเกม บัญชีสตีมจะบันทึกไฟล์และการตั้งค่าส่วนตัวบนบัญชีออนไลน์โดยใช้สตีมคลาวด์ โดตา 2 ยังจะมีคุณลักษณะผู้ชมสดมุมกล้องเสรี ซึ่งเป็นลักษณะของวาล์ว แม่ข่ายเกมจะมีตัวเลือกเปิดช่องผู้เล่นด้วยบอตปัญญาประดิษฐ์ ส่วนอีกตัวเลือกหนึ่งจะให้แม่ข่ายพิจารณาว่าจะให้บอตปัญญาประดิษฐ์หรือผู้เล่นมนุษย์คนอื่นเข้าแทนที่ผู้เล่นที่ขาดการเชื่อมต่อออกไป วาล์วยังมีระบบฝึกสอนซึ่งเปิดให้ผู้เล่นที่มีประสบการณ์มากกว่าฝึกสอนผู้เล่นใหม่ ตัวเกมยังจะมีคุณสมบัติช่วงฝึกเล่นเพื่อช่วยเหลือผู้เล่นก่อนที่จะเล่นแบบแข่งขันกัน[2]

โดตา 2 จะยังคงมาจากรากฐานกิจกรรมหลายผู้เล่นอย่างต่อเนื่องอย่างสมบูรณ์ โดยตัวเกมจะไม่มีโหมดผู้เล่นคนเดียว แต่จะยังมีเรื่องราวที่ผูกขึ้นเข้าไปเกี่ยวข้องกับเกมการเล่นด้วย รวมทั้งภูมิหลังของฮีโรแต่ละตัวและการสื่อสารที่ใช้เสียงในเกม[4]

ทุกวันนี้เกมส์โดต้า 2 ได้รับความนิยมอย่างมากทั่วโลกจนเป็นหนึ่งในการแข่งขัน E-sport ที่มีเงินรางวัลสูงที่สุดในโลกอีกด้วย

การพัฒนา

[แก้]

การเอ่ยถึงการพัฒนา โดตา 2 ต่อสาธารณะเริ่มต้นด้วยการประกาศอย่างไม่เป็นทางการโดยผู้พัฒนา โดตาไอซ์ฟร็อก ผู้กล่าวว่าเขาจะนำทีมพัฒนาที่วาล์ว[5] เขาว่า ความร่วมมือระหว่างเขากับวาล์วนั้นเริ่มต้นขึ้นจากจดหมายที่ทางสตูดิโอส่งมา และถามว่าเขาต้องการเยี่ยมชมสถานที่ทำงานของพวกเขาหรือไม่[6] ผู้จัดการโครงการของวาล์วและผู้อำนวยการ โดตา 2 อีริก จอห์นสัน ต่อมาได้ยืนยันที่ไอซ์ฟร็อกว่า และอ้างว่าได้ "ว่าจ้าง [ไอซ์ฟร็อก] ตรงนั้นเลย"[4] มีข่าวไม่เป็นทางการอีกหลายข่าว รวมทั้งโพสต์ทวิตเตอร์จากนักแสดงพากษ์เสียงนุก ดูเคม จอน เซนต์จอห์น เกี่ยวกับการมีส่วนร่วมในโครงการดังกล่าวว่า[7] ไม่นานหลังจากไอซ์ฟร็อกบรรยายว่าเขาถูกว่าจ้างโดยวาล์ว บริษัทได้ทำการอ้างสิทธิ์จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าในวันที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2553[8] และไม่มีการแถลงอย่างเป็นทางการจนกระทั่งเปิดเผยในวันที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2553 เมื่อเกมอินฟอร์เมอร์ประกาศรายละเอียดเฉพาะเกี่ยวกับเกมและการพัฒนา ซึ่งทำให้การเข้าชมเว็บไซต์เพิ่มขึ้นจนเกือบจะทำให้เซิร์ฟเวอร์ล่ม[9] ในวันเดียวกัน วาล์วได้ออกข่าวแจกอย่างเป็นทางการเกี่ยวกับตัวเกม[10] อีริก จอห์นสันพูดถึงความสับสนเกี่ยวกับรูปแบบการเขียนของเครื่องหมายการค้า โดยกล่าวถึงมันอย่างชัดเจนว่า "โดตา" (Dota) มิใช่ "ดอตเอ" (DotA) เนื่องจากบริบทที่เพิ่มขึ้นในแง่ของคำ มากกว่าที่เป็นตัวย่อของ "ดีเฟนส์ออฟดิแอนเชียนส์"[4]

เนื่องจากเป็นภาคต่อของดีเฟนส์ออฟดิแอนเชียนส์ วัฏจักรการพัฒนาของ โดตา 2 โดยพื้นฐานแล้วจึงมุ่งเน้นไปยังการส่งต่อลักษณะของ DotA ไปยังซอร์สเอนจิน เช่นเดียวกับการพัฒนารูปแบบการเล่นหลัก ในหน้าถาม-ตอบเปิดตัว ไอซ์ฟร็อกว่า Dota 2 จะเป็นการต่อเนื่องระยะยาวของเกม โดยเป็นการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการเล่นดั้งเดิมที่ไม่มีการเปลี่ยนรูปแบบการเล่นหลักมากนัก ซึ่งอาจเปลี่ยนประสบการณ์ทั้งหมดที่ได้รับจากเกม[4] ไอซ์ฟร็อกว่า เพื่อที่จะเน้นย้ำหลักฐานที่ว่า โดตา 2 เป็นเกมต่อเนื่องจาก DotA การร่วมมือจะยังคงสอดคล้องกับแหล่งที่มานอกทีมพัฒนาหลัก[11] เพื่อปรับให้เข้ากับ โดตา 2 วาล์วได้ทำงานเพื่ออัปเกรดซอร์สเอนจินเพื่อให้รวมไปถึงการจำลองเสื้อผ้าอย่างดี เช่นเดียวกับการปรับปรุงระบบแสง และการพัฒนาสตีมวอร์กส ซึ่งรวมไปถึงการต่อขยายอรรถประโยชน์ให้กว้างขวางขึ้น อย่างเช่น ระบบแนะนำผู้เล่นและระบบฝึกสอน[2]

ประเด็นเครื่องหมายการค้า

[แก้]

มีความไม่เห็นด้วยมากพอสมควรจากอดีตผู้พัฒนา DotA เช่นเดียวกับลูกจ้างของบลิซซาร์ด เอ็นเตอร์เทนเมนต์ ผู้จัดเตรียมผู้พัฒนาด้วยโปรแกรมวอร์คราฟต์ 3 เวิลด์เอดิเตอร์ ซึ่งอำนวยความสะดวกแก่การพัฒนาม็อด สตีฟ "กึนโซ" ฟีก ผู้พัฒนาคนแรกของ DotA Allstars และสตีฟ "เพนดรากอน" เมสคอน ผู้สร้าง dota-allstars.com และผู้อำนวยการชุมชนสัมพันธ์ของไรเอิตเกม แสดงความกังวลออกมาว่า วาล์วไม่ควรกำหนดชื่อ DotA เป็นเครื่องหมายการค้า เพราะพวกเขามองว่ามันเป็นสมบัติของชุมชน[12] ในวันที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2553 เมสคอนจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า "DOTA" ในนามของ DotA-Allstars, LLC เพื่อป้องกันวาล์วจากการดำเนินการกับแบรนด์ DotA และได้รับสิทธิ์ความเป็นเจ้าของฉากวอร์คราฟต์ 3 จากไอซ์ฟร็อก[13] ร็อบ พาร์โด รองประธานฝ่ายบริหารของบลิซซาร์ด เอ็นเตอร์เทนเมนต์ ได้แสดงความกังวลแบบเดียวกัน โดยอธิบายว่าชื่อ DotA ควรจะคงอยู่ภายในชุมชนวอร์คราฟต์ 3[14] ขณะที่ไม่นานหลังจากนั้น คริส ซิกาตี ผู้นำผู้ผลิตสตาร์คราฟต์ 2 กล่าวว่าข้อพิพาทด้านเครื่องหมายการค้าไม่ใช่ประเด็น โดยพิจารณาถึงความสัมพันธ์ฉันท์มิตรระหว่างบลิซซาร์ดและวาล์ว[15]

อ้างอิง

[แก้]
  1. Napolitano, Jayson (2011-08-23). "Composer Jason Hayes joins audio team at Valve". Destructoid. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-07-10. สืบค้นเมื่อ 2011-12-04.
  2. 2.0 2.1 2.2 2.3 2.4 Biessener, Adam (2010-10-13). "Valve's New Game Announced, Detailed: Dota 2". Game Informer. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-08-19. สืบค้นเมื่อ 2010-10-13.
  3. de Matos, Xav (2010-11-18). "Portal 2 Delayed to 'The Week of April 18'". Shacknews. สืบค้นเมื่อ 2010-11-18.
  4. 4.0 4.1 4.2 4.3 Onyett, Charles (2011-01-08). "Valve's Next Game". IGN. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-01-10. สืบค้นเมื่อ 2011-01-07.
  5. IceFrog (2009-10-05). "Great News For DotA Fans". PlayDotA.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-05-03. สืบค้นเมื่อ 2010-07-26.
  6. "Q&A Session #4". PlayDotA.com. April 30, 2010. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-01-29. สืบค้นเมื่อ October 13, 2010.
  7. Wong, Terrence. "The voice of DotA 2". GosuGamers.net. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-07-23. สืบค้นเมื่อ October 13, 2010.
  8. "Latest Status Info". United States Patent and Trademark Office. 2010-08-06. สืบค้นเมื่อ 2010-08-13.
  9. "Game Informer Show 43: Dota 2, Medal of Honor". Game Informer. October 14, 2010. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-10-21. สืบค้นเมื่อ February 25, 2011.
  10. "Valve Announces Dota 2". Valve Corporation. October 13, 2010. สืบค้นเมื่อ October 13, 2010.
  11. IceFrog (2010-11-01). "Dota 2 Q&A". Dota2.com. สืบค้นเมื่อ 2011-04-18.
  12. Sliwinski, Alexander (2010-08-16). "DotA developers voice concern over Valve's 'DOTA' trademark". Joystiq.com. สืบค้นเมื่อ 2010-10-26.
  13. "Latest Status Info". United States Patent and Trademark Office. 2010-08-09. สืบค้นเมื่อ 2010-08-19.
  14. Welsh, Oli (2010-10-23). "Valve shouldn't trademark DOTA - Blizzard". Eurogamer.net. สืบค้นเมื่อ 2010-10-26.
  15. Leahy, Brian (2010-10-25). "StarCraft 2 BlizzCon 2010 Interview: Lead Producer Chris Sigaty". ShackNews.com. สืบค้นเมื่อ 2011-10-01.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]