ซีบู
ซีบู Sibu | |
---|---|
เมือง | |
สถานที่ต่าง ๆ ในเมืองซีบู | |
สมญา: "เมืองหงส์" | |
พิกัด: 02°17′16″N 111°49′51″E / 2.28778°N 111.83083°E | |
ประเทศ | มาเลเซีย |
รัฐ | ซาราวัก |
เขต | ซีบ |
อำเภอ | ซีบู |
ก่อตั้งโดยเจมส์ บรูก | 1862 |
Wong Nai Siong ตั้งถิ่นฐาน | 21 มกราคม 1901 |
จัดตั้งเทศบาล | 1 พฤศจิกายน 1981 |
การปกครอง[1] | |
• ประเภท | สภาเทศบาลซีบู |
• ประธาน | Tiong Thai King |
พื้นที่[2] | |
• เทศบาล | 129.5 ตร.กม. (50.0 ตร.ไมล์) |
ความสูง[3][4] | 0 เมตร (0 ฟุต) |
ความสูงจุดสูงสุด[5] | 59 เมตร (194 ฟุต) |
ประชากร | |
• เทศบาล | 162,676 คน |
• ความหนาแน่น | 1,256 คน/ตร.กม. (3,250 คน/ตร.ไมล์) |
• รวมปริมณฑล | 240,165 คน |
เขตเวลา | UTC+8 (เวลามาตรฐานมาเลเซีย[8]) |
รหัสไปรษณีย์ | 96xxx[9] |
รหัสพื้นที่ | 084 (เฉพาะโทรศัพท์บ้าน)[10] |
ทะเบียนยานพาหนะ | QS (ยานพาหนะทั้งหมด ยกเว้นแท็กซี่) HQ (เฉพาะแท็กซี่)[11] |
เว็บไซต์ | www |
ซีบู (จีนตัวย่อ: 诗巫; จีนตัวเต็ม: 詩巫; พินอิน: Shīwū; ยฺหวิดเพ็ง: Si1 Mou4; เป่อ่วยยี: Si-bû) เป็นเมืองในแผ่นดินในรัฐซาราวัก ประเทศมาเลเซีย เมืองตั้งอยู่บนเกาะบอร์เนียว มีพื้นที่ 129.5 ตารางกิโลเมตร (50.0 ตารางไมล์)[12] ตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำราจังและแม่น้ำอีกัน[13] อยู่ห่างจากทะเลจีนใต้ราว 60 กม.[14] และอยู่ห่างจากเมืองหลวงของรัฐ เมืองกูจิงราว 191.5 กิโลเมตร (119 ไมล์) ทางทิศเหนือ-ตะวันออก[15] ประชากรส่วนใหญ่เป็นชาวจีน โดยเฉพาะชาวจีนฝูโจว มีประชากรพื้นถิ่นอย่าง เมลาเนา มลายู และอีบัน ยังคงอาศัยอยู่บริเวณนี้[16] ข้อมูลประชากรในเมืองเมื่อ ค.ศ. 2010 มีประชากร 162,676 คน[7]
เมืองซีบูก่อตั้งขึ้นโดยเจมส์ บรูก ในปี ค.ศ. 1862 โดยเขาได้สร้างป้อมในเมืองเพื่อป้องกันการโจมตีจากชาวดาจัก ต่อมาชาวจีนฮกเกี้ยนได้เข้ามาตั้งถิ่นฐานบริเวณป้อม และมีกิจกรรมการค้าในเมือง ในปี ค.ศ. 1901 หว่อง ไน เซียง (Wong Nai Siong) ได้นำผู้อพยพชาวฝูโจวจำนวน 1,118 คน จากมณฑลฝูเจี้ยนมาอาศัยอยู่ที่เมืองซีบู ทำให้เมืองซีบูขึ้นชื่อว่าเป็น "ฝูโจวแห่งใหม่" มีการสร้างตลาดและโรงพยาบาลแห่งแรกในการปกครองของบรูก โรงพยาบาลเลาคิงเฮา (Lau King Howe) และโรงเรียนเมทอดิสต์และโบสถ์หลายแห่ง สร้างขึ้นในคริสต์ทศวรรษ 1930 อย่างไรก็ตาม เกิดเหตุไฟไหม้ในเมืองซีบู 2 ครั้งในปี ค.ศ. 1889 และ 1928 และมีการก่อสร้างใหม่หลังจากนั้น ไม่มีการต่อสู้ในเมืองซีบูในช่วงที่ญี่ปุ่นเข้ามาในซาราวัก ในปี ค.ศ. 1941 ญี่ปุ่นได้เข้ามาสร้างที่พักอาศัยในซีบูในเดือนมิถุนายน ค.ศง 1942 และได้เปลี่ยนชื่อเมืองมาเป็น ซีบู-ชู (Sibu-shu) ในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 1942 หลังจากญี่ปุ่นพ่ายแพ้ในปี ค.ศ. 1945 อังกฤษได้เข้ามายึดครองซีบูในฐานะคราวน์โคโลนี นี่เป็นสาเหตุที่ทำให้ชาวเมลาเนารุ่นใหม่ในซีบูไม่พอใจ เป็นผลทำให้เจ้าหน้าที่บริหารชาวอังกฤษคนที่ 2 เซอร์ ดังคัน จอร์จ สจ๊วต ถูกลอบสังหารโดย รอสลี โดบี (Rosli Dhobi) เมื่อเขามาถึงซีบูในเดือนธันวาคม ค.ศ. 1949 ต่อมารอสลีถูกแคว้นคอตายในคุกกลางกูจิงในปี ค.ศ. 1950 ลุ่มน้ำซีบูและราจังเป็นศูนย์กลางกิจกรรมของลัทธิคอมมิวนิสต์ และคงดำเนินต่อไปแม้ซาราวักได้รับเอกราชในปี ค.ศ. 1963
ศัพทมูลวิทยา
[แก้]ก่อน ค.ศ.1873 ซีบูเคยมีชื่อเรียกว่า "มาลิง" (Maling) ซึ่งมาจากส่วนโค้งของแม่น้ำราจังที่มีชื่อว่า "ตันจุงมาลิง" (Tanjung Maling) ที่อยู่ตรงข้ามกับที่ตั้งของเมืองซีบูในปัจจุบัน[17]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "Clarence Ting's appointment as SMC chairman hailed by many". The Borneo Post. The Borneo Post. 23 August 2019. สืบค้นเมื่อ 25 September 2019.
- ↑ "History Of Sibu Municipal Council (SMC)". Sibu Municipal Council. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-08-12. สืบค้นเมื่อ 14 February 2015.
- ↑ "Malaysia Elevation Map (Elevation of Sibu)". Flood Map : Water Level Elevation Map. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 22 August 2015. สืบค้นเมื่อ 22 August 2015.
- ↑ "Sibu, Malaysia Weather History and Climate Data". WorldClimate. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 29 December 2004. สืบค้นเมื่อ 14 February 2015.
- ↑ "Bukit Aup Jubilee Park". Sarawak Tourism Board. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 11 March 2015. สืบค้นเมื่อ 11 March 2015.
- ↑ "State statistics: Malays edge past Chinese in Sarawak". The Borneo Post. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 15 April 2016. สืบค้นเมื่อ 15 April 2016.
- ↑ "Current local time in Sibu, Malaysia". worldtimezone.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 8 July 2015. สืบค้นเมื่อ 8 July 2015.
- ↑ "Datasets Malaysia - Sibu". geopostcodes.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 10 September 2014. สืบค้นเมื่อ 8 July 2015.
- ↑ "Page 58 Sarawak Visitors Guide 2014 - Sibu & Central Sarawak". sarawak.gov.my. Sarawak State Government. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 8 July 2015. สืบค้นเมื่อ 8 July 2015.
- ↑ Soon, Teh Wei (23 March 2015). "Some Little Known Facts On Malaysian Vehicle Registration Plates". Malaysian Digest. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 8 July 2015. สืบค้นเมื่อ 8 July 2015.
- ↑ Shelley, Sii (10 April 2006). "About Sibu - Today's Sibu Town". Collaborative Resource Development - Universiti Malaya. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 5 February 2015. สืบค้นเมื่อ 5 February 2015.
- ↑ "Sibu". Encyclopædia Britannica. สืบค้นเมื่อ 5 February 2015.
- ↑ "Introducing Sibu". Lonely Planet. สืบค้นเมื่อ 5 February 2015.
- ↑ "Cheap flights from Sibu to Kuching". Trip Advisor. สืบค้นเมื่อ 5 February 2015.
- ↑ "Total population by ethnic group, sub-district and state, Malaysia, 2010 (page 376)" (PDF). Department of Statistics, Malaysia. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 5 February 2015. สืบค้นเมื่อ 5 January 2015.
- ↑ Chua, Andy (21 September 2010). "BORNEO BEATS: Sibu's big fuss". The Star (Malaysia). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 8 July 2015. สืบค้นเมื่อ 8 July 2015.
According to historical facts, Sibu was known as Maling before June 1, 1873. It was named after the winding portion of a river in Tanjung Maling located at the other side of Rejang River. Maling was a small village with a few small and simple shophouses.