ผลต่างระหว่างรุ่นของ "หน่วยเฉพาะกิจทหารพรานนาวิกโยธิน"
หน้าใหม่: {{Infobox Military Unit | unit_name = หน่วยเฉพาะกิจทหารพรานนาวิกโยธิน | native_name = ฉก.ทพ.นย. | image = ทหารพรานนาวิกโยธิน.jpg | caption = เครื่องหมายทหารพรานนาวิกโยธิน | start_date = {{วันเริ่มต้นและอายุ|2523|9|1}} | dissolution = | country = {{flag|Thailand... ป้ายระบุ: เพิ่มรายการยาว การแก้ไขแบบเห็นภาพ: สลับแล้ว |
(ไม่แตกต่าง)
|
รุ่นแก้ไขปัจจุบันเมื่อ 23:17, 15 ตุลาคม 2567
หน่วยเฉพาะกิจทหารพรานนาวิกโยธิน | |
---|---|
ฉก.ทพ.นย. | |
เครื่องหมายทหารพรานนาวิกโยธิน | |
ประจำการ | 1 กันยายน พ.ศ. 2523 |
ประเทศ | ไทย |
เหล่า | กองทัพเรือไทย |
รูปแบบ | หน่วยเฉพาะกิจ |
บทบาท | กำลังกึ่งทหาร การสงครามกองโจร หน่วยยามชายแดน |
กำลังรบ | 4 ชุดควบคุม 26 กองร้อย |
ขึ้นกับ | หน่วยบัญชาการนาวิกโยธิน |
กองบัญชาการ | ค่ายเทวาพิทักษ์ ตำบลโป่งน้ำร้อน อำเภอโป่งน้ำร้อน จังหวัดจันทบุรี |
คำขวัญ | ไม่มีอะไร ที่ทหารพราน ทำไม่ได้ ทำไม่ไหว ทำไม่ทัน |
เครื่องหมายสังกัด | |
ธงราชนาวี |
ค่ายเทวาพิทักษ์ | |
---|---|
ส่วนหนึ่งของกองทัพเรือไทย | |
โป่งน้ำร้อน จันทบุรี | |
พิกัด | 12°55′27″N 102°18′37″E / 12.924285°N 102.310276°E |
ประเภท | ค่ายทหารพรานนาวิกโยธิน |
ประวัติศาสตร์ | |
สร้าง | 1 กันยายน พ.ศ. 2523 |
การต่อสู้/สงคราม | การก่อการกำเริบคอมมิวนิสต์ในประเทศไทย |
ข้อมูลสถานี | |
กองทหารรักษาการณ์ | หน่วยเฉพาะกิจทหารพรานนาวิกโยธิน |
หน่วยเฉพาะกิจทหารพรานนาวิกโยธิน ย่อว่า ฉก.ทพ.นย. เป็นหน่วยเฉพาะกิจของหน่วยบัญชาการนาวิกโยธิน กองทัพเรือ ตั้งอยู่ที่ ค่ายเทวาพิทักษ์ บ้านคลองตาคง ตำบลโป่งน้ำร้อน อำเภอโป่งน้ำร้อน จังหวัดจันทบุรี
ประวัติ
[แก้]หน่วยเฉพาะกิจทหารพรานนาวิกโยธิน มีจุดเริ่มต้นมาจากการจัดตั้งโครงการทหารพราน ชื่อว่า “โครงการชุดปฏิบัติการพิเศษทหารพรานชายแดนไทย-กัมพูชา” ในวันที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2521[1] หนึ่งในนั้นมีหน่วยที่มีทหารนาวิกโยธินเป็นผู้บังคับบัญชาและผ่านการฝึกอบรมจากกองทัพบกจำนวน 2 กองร้อย ปฏิบัติงานในการปราบปรามผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์ที่เคลื่อนไหวในพื้นที่อำเภอโป่งน้ำร้อน จังหวัดจันทบุรี และอำเภอบ่อไร่ จังหวัดตราด และขึ้นการควบคุมทางยุทธการตับกองกำลังด้านจันทบุรี–ตราด กองทัพเรือ จนถึงปลายปีงบประมาณ พ.ศ. 2523[2]
จากนั้นกองบัญชาการทหารสูงสุดได้มีคำสั่งให้กองทัพบกโอนหน่วยทหารพรานในพื้นที่ของ กองกำลังด้านจันทบุรี–ตราด ในเวลานั้น จำนวน 6 กองร้อยให้กับกองทัพเรือเป็นผู้ดูแลให้เสร็จสิ้นภายในวันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2523 และกองทัพเรือได้มีคำสั่งให้หน่วยทหารพรานที่ได้รับมอบให้ขึ้นกับกรมนาวิกโยธิน และขึ้นการควบคุมทางยุทธการกับกองบัญชาการป้องกันชายแดนจันทบุรีและตราด (กปช.จต.) ทำให้หน่วยเฉพาะกิจทหารพรานนาวิกโยธินถือเอาวันที่ 1 กันยายนในทุกปีเป็นวันคล้ายวันสถาปนาหน่วย[2][3]
โครงสร้าง
[แก้]หน่วยเฉพาะกิจทหารพรานนาวิกโยธิน เป็นหน่วยขึ้นตรงต่อหน่วยบัญชาการนาวิกโยธิน และเป็นหน่วยขึ้นตรงทางยุทธการกับกองบัญชาการป้องกันชายแดนจันทบุรีและตราด (กปช.จต.) [2]
ส่วนบัญชาการ
[แก้]- กองบังคับการ หน่วยเฉพาะกิจทหารพรานนาวิกโยธิน
- ส่วนการฝึกและศึกษา – ดำเนินการฝึกเจ้าหน้าที่เดิม ฝึกเพื่อทดแทน และฝึกทบทวน
- กองร้อยฟื้นฟูที่ 1–4
- ส่วนยิงสนับสนุน – ยิงสนับสนุนชุดควบคุมต่าง ๆ
- ส่วนบริการ (เพื่อพลาง) – ส่งกำลังบำรุงและสนับสนุนการส่งกลับสายแพทย์
- ตอนสูทกรรม
- ตอนยานยนต์
- ตอนเครื่องช่วยฝึก
- ตอนพยาบาล
- ตอนสื่อสาร
- ชุดควบคุมทหารพรานนาวิกโยธิน 1–4
หน่วยขึ้นตรง
[แก้]หน่วยเฉพาะกิจทหารพรานนาวิกโยธิน ประกอบด้วยหน่วยขึ้นตรง จำนวน 4 ชุดควบคุม 26 กองร้อย[3] ได้แก่
ชุดควบคุม
[แก้]- ชุดควบคุมทหารพรานนาวิกโยธินที่ 1 (ชค.ทพ.นย.1) – 6 กองร้อย ขึ้นควบคุมทางยุทธการกับหน่วยเฉพาะกิจนาวิกโยธินตราด (ฉก.นย.ตราด) ตั้งอยู่ที่อำเภอบ่อไร่ จังหวัดตราด
- ชุดควบคุมทหารพรานนาวิกโยธินที่ 2 (ชค.ทพ.นย.2) – 6 กองร้อย ขึ้นควบคุมทางยุทธการกับหน่วยเฉพาะกิจนาวิกโยธินจันทบุรี (ฉก.นย.จันทบุรี) ตั้งอยู่ที่อำเภอสอยดาว จังหวัดจันทบุรี[4]
- ชุดควบคุมทหารพรานนาวิกโยธินที่ 3 (ชค.ทพ.นย.3) – 7 กองร้อย ขึ้นควบคุมทางยุทธการกับหน่วยเฉพาะกิจนาวิกโยธินตราด (ฉก.นย.ตราด) ตั้งอยู่ที่เขาล้าน อำเภอคลองใหญ่ จังหวัดตราด
- ชุดควบคุมทหารพรานนาวิกโยธินที่ 4 (ชค.ทพ.นย.4) – 7 กองร้อย ขึ้นควบคุมทางยุทธการกับหน่วยเฉพาะกิจนาวิกโยธินจันทบุรี (ฉก.นย.จันทบุรี) ตั้งอยู่ที่อำเภอโป่งน้ำร้อน จังหวัดจันทบุรี
โดยสรุปแล้ว หากแบ่งตามการขึ้นควบคุมทางยุทธการกับหน่วยเฉพาะกิจนาวิกโยธินตราดและจันทบุรี ขึ้นตรงต่อกองบัญชาการป้องกันชายแดนจันทบุรีและตราด จะแบ่งอัตรากำลังได้ ดังนี้
- หน่วยเฉพาะกิจนาวิกโยธินตราด (ฉก.นย.ตราด) – ประกอบด้วยกำลัง 2 ชุดควบคุมทหารพรานนาวิกโยธิน คือ 1 กับ 3 มีกำลัง 11 กองร้อย มีพื้นที่ดูและตลอดแนวชายแดนอำเภอบ่อไร่ถึงอำเภอคลองใหญ่ประมาณ 130 กิโลเมตร ตลอดแนวชายแดนจังหวัดตราด ต่อเนื่องกันกับ หน่วยเฉพาะกิจนาวิกโยธินที่ 182 (ฉก.นย.182) และกองร้อยเฉพาะกิจตำรวจตระเวนชายแดน (ร้อย.ฉก.ตชด.)
- หน่วยเฉพาะกิจนาวิกโยธินจันทบุรี (ฉก.นย.จันทบุรี) – ประกอบด้วยกำลัง 2 ชุดควบคุมทหารพรานนาวิกโยธิน คือ 2 กับ 4 มีกำลัง 10 กองร้อย มีพื้นที่ดูและตลอดแนวชายแดนอำเภอสอยดาวและอำเภอโป่งน้ำร้อนประมาณ 65 กิโลเมตร ตลอดแนวชายแดนจังหวัดจันทบุรี ต่อเนื่องกันกับ กองร้อยเฉพาะกิจตำรวจตระเวนชายแดน (ร้อย.ฉก.ตชด.) และติดต่อกับกองกำลังบูรพาที่จังหวัดสระแก้ว นอกจากนี้ยังมีการวางกำลัง 1 กองร้อย คือ
- กองร้อยทหารพรานนาวิกโยธินบ้านดงจิก (ร้อย.ทพ.นย.บ้านดงจิก; กองร้อยทหารพรานนาวิกโยธินที่ 544) เพื่อดูแลพื้นที่สนามฝึกหมายเลข 12 บ้านพังงอน ในการป้องกันการบุกรุกพื้นที่ ซึ่งกองทัพเรือได้ขอใช้พื้นที่ดังกล่าวเพื่อเป็นสนามยิงปืนกองทัพเรือ และตรวจการณ์เพื่อการอนุรักษ์ป่ารอยต่อ 5 จังหวัดในพื้นที่ของเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาสอยดาว ครอบคลุมอำเภอโป่งน้ำร้อนและสอยดาว
กองร้อย
[แก้]กองร้อยภายในชุดควบคุมทั้ง 4 ชุด จำนวน 26 กองร้อย ประกอบไปด้วย[5]
- ชุดควบคุมทหารพรานนาวิกโยธินที่ 1 (6 กองร้อย)
- กองร้อยทหารพรานนาวิกโยธินที่ 511 – ฐานคลองห้วยแร้ง บ้านเขาพลู อำเภอเมืองตราด จังหวัดตราด[6]
- กองร้อยทหารพรานนาวิกโยธินที่ 512 – บ้านมะม่วง อำเภอบ่อไร่ จังหวัดตราด[7]
- กองร้อยทหารพรานนาวิกโยธินที่ 513 – บ้านสะพานหิน อำเภอเมืองตราด จังหวัดตราด[8]
- กองร้อยทหารพรานนาวิกโยธินที่ 514 – ฐานเนิน 400 บ้านมะม่วง อำเภอเมืองตราด จังหวัดตราด[6]
- กองร้อยทหารพรานนาวิกโยธินที่ 515 – อำเภอบ่อไร่ จังหวัดตราด[9]
- กองร้อยทหารพรานนาวิกโยธินที่ 516 – ฐานทับทิมสยาม บ้านกระดูกช้าง อำเภอบ่อไร่ จังหวัดตราด[10]
- ชุดควบคุมทหารพรานนาวิกโยธินที่ 2 (6 กองร้อย)
- กองร้อยทหารพรานนาวิกโยธินที่ 521 – ฐานบ้านแหลม อำเภอโป่งน้ำร้อน จังหวัดจันทบุรี[11]
- กองร้อยทหารพรานนาวิกโยธินที่ 522 – ฐานบ้านซับตารี อำเภอสอยดาว จังหวัดจันทบุรี[12]
- กองร้อยทหารพรานนาวิกโยธินที่ 523
- กองร้อยทหารพรานนาวิกโยธินที่ 524
- ฐานคลองตาดำ อำเภอโป่งน้ำร้อน จังหวัดจันทบุรี[15]
- บ้านบึงชนังล่าง อำเภอโป่งน้ำร้อน จังหวัดจันทบุรี
- กองร้อยทหารพรานนาวิกโยธินที่ 525 – บ้านซับตารี อำเภอสอยดาว จังหวัดจันทบุรี[16]
- กองร้อยทหารพรานนาวิกโยธินที่ 526
- ชุดควบคุมทหารพรานนาวิกโยธินที่ 3 (7 กองร้อย) – บ้านเขาล้าน อำเภอคลองใหญ่ จังหวัดตราด[18]
- กองร้อยทหารพรานนาวิกโยธินที่ 531 – บ้านชำราก อำเภอเมืองตราด จังหวัดตราด[18]
- กองร้อยทหารพรานนาวิกโยธินที่ 532 – ฐานบ้านสะพานหิน อำเภอเมืองตราด จังหวัดตราด[19]
- กองร้อยทหารพรานนาวิกโยธินที่ 533
- กองร้อยทหารพรานนาวิกโยธินที่ 534 – บ้านหนองม่วง[23]
- กองร้อยทหารพรานนาวิกโยธินที่ 535
- กองร้อยทหารพรานนาวิกโยธินที่ 536 – บ้านชำราก อำเภอเมืองตราด จังหวัดตราด
- กองร้อยทหารพรานนาวิกโยธินที่ 537
- บ้านหนองม่วง อำเภอคลองใหญ่ จังหวัดตราด
- บ้านท่าเส้น อำเภอเมืองตราด จังหวัดตราด[21]
- ชุดควบคุมทหารพรานนาวิกโยธินที่ 4 (7 กองร้อย)
- กองร้อยทหารพรานนาวิกโยธินที่ 541 – ฐานบ้านผักกาด อำเภอโป่งน้ำร้อน จังหวัดจันทบุรี[25]
- กองร้อยทหารพรานนาวิกโยธินที่ 542 – ฐานคลองโป่งน้ำร้อน อำเภอโป่งน้ำร้อน จังหวัดจันทบุรี[26]
- กองร้อยทหารพรานนาวิกโยธินที่ 543 (อินทรีพิฆาต) – ฐานสันติพัฒนา อำเภอโป่งน้ำร้อน จังหวัดจันทบุรี
- กองร้อยทหารพรานนาวิกโยธินที่ 544 – ฐานดงจิก อำเภอโป่งน้ำร้อน จังหวัดจันทบุรี[27]
- กองร้อยทหารพรานนาวิกโยธินที่ 545 – ฐานบ้านป่าวิไล อำเภอโป่งน้ำร้อน จังหวัดจันทบุรี[28]
- กองร้อยทหารพรานนาวิกโยธินที่ 546 – ฐานคลองโป่งน้ำร้อน อำเภอโป่งน้ำร้อน จังหวัดจันทบุรี[29]
- กองร้อยทหารพรานนาวิกโยธินที่ 547 – บ้านผักกาด อำเภอโป่งน้ำร้อน จังหวัดจันทบุรี[30]
กำลังพล
[แก้]กำลังพลของหน่วยเฉพาะกิจทหารพรานนาวิกโยธิน[2] ประกอบไปด้วย
- กำลังพลประจำการ ประกอบด้วย นายทหารชั้นสัญญาบัตรและชั้นประทวนจากหน่วยบัญชาการนาวิกโยธินเกือบทั้งหมด โดยมีส่วนสนับสนุนมาจากกรมแพทย์ทหารเรือ และกรมการเงินทหารเรือ
- กำลังพลอาสาสมัคร (อส.ทพ.) คือ การรับสมัครพลเรือนหรือประชาชนทั่วไปสมัครเข้ามาตามคุณสมบัติที่หน่วยกำหนด ซึ่งมีทั้งเพศชายและเพศหญิง[31] มีคุณสมบัติ ดังนี้
- เพศชาย[32]
- มีสัญชาติไทย และบิดา มารดา มีสัญชาติไทยตั้งแต่เกิด
- ไม่เคยมีคดีอาญา ที่ศาลได้พิจารณาคดีถึงที่สุดแล้วว่ามีความผิด ยกเว้น ในคดีลหุโทษหรือคดีที่ทำโดยประมาท
- ไม่อยู่ในระหว่างการเป็นจำเลยในคดีอาญาต่าง ๆ
- มีความประพฤติที่ดี ไม่เสื่อมเสียตามศีลธรรมอันดี
- ไม่เสพยาเสพติดหรือสิ่งเสพติดผิดกฎหมายหรือเป็นอันตรายต่อสุขภาพ
- ร่างกายแข็งแรงสมบูรณ์ สามารถปฏิบัติหน้าที่ในสนามได้
- จบการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนต้น หรือเทียบเท่าขึ้นไป
- ไม่มีรอยสักนอกร่มผ้าที่สามารถมองเห็นได้ (กรณีแต่งชุดกีฬาแขนสั้นและกางเกงขาสั้น)
- ไม่เป็นอาสาสมัครทหารพรานนาวิกโยธินมาก่อน (เว้นแต่ผู้ที่ลาออกไปรับราชการ ทหารกองประจำการ)
- สามารถโอนย้ายทะเบียนบ้าน เข้ามาอยู่ในทะเบียนบ้านของหน่วยเฉพาะกิจทหารพรานนาวิกโยธินได้
- ไม่เป็นโรคที่เป็นที่รังเกียจของสังคม ปัญหาสุขภาพจิต หรือการติดยาเสพติด
- สัญชาติไทย มีอายุไม่ต่ำกว่า 18 ปีบริบูรณ์ และไม่เกิน 30 ปีบริบูรณ์
- กรณีอายุต่ำกว่า 20 ปีบริบูรณ์ต้องได้รับความยินยอมจากบิดามารดา หรือผู้ปกครอง หากผ่านการคัดเลือก
- สูงต้องไม่ต่ำกว่า 160 เซนติเมตร และมีน้ำหนัก 45 กิโลกรัม ขึ้นไป
- ไม่รับสมัครผู้ที่ต้องไปคัดเลือกการเกณฑ์ทหารในปีที่รับสมัคร และยังไม่ได้ดำเนินการผ่อนผันให้เรียบร้อย (ต้องมีเอกสารการผ่อนผันมายืนยัน)
- สามารถว่ายน้ำได้ (ดำเนินการทดสอบผู้ที่ผ่านการคัดเลือกแล้วในวันรายงานตัวเข้ารับการฝึก โดยต้องเตรียมกางเกงสำหรับว่ายน้ำมาด้วย)
- เพศหญิง[32]
- มีสถานภาพโสด
- มีสัญชาติไทย และบิดา มารดา มีสัญชาติไทยตั้งแต่เกิด
- ไม่เคยมีคดีอาญา ที่ศาลได้พิจารณาคดีถึงที่สุดแล้วว่ามีความผิด ยกเว้น ในคดีลหุโทษหรือคดีที่ทำโดยประมาท
- ไม่อยู่ในระหว่างการเป็นจำเลยในคดีอาญาต่าง ๆ
- มีความประพฤติที่ดี ไม่เสื่อมเสียตามศีลธรรมอันดี
- ไม่เป็นโรคที่เป็นที่รังเกียจของสังคม ปัญหาสุขภาพจิต หรือการติดยาเสพติด
- ร่างกายแข็งแรงสมบูรณ์ สามารถปฏิบัติหน้าที่ในสนามได้
- ไม่มีรอยสักนอกร่มผ้าที่สามารถมองเห็นได้ (กรณีแต่งชุดกีฬาแขนสั้นและกางเกงขาสั้น)
- ไม่เป็นอาสาสมัครทหารพรานนาวิกโยธินมาก่อน
- สามารถโอนย้ายทะเบียนบ้าน เข้ามาอยู่ในทะเบียนบ้านของหน่วยเฉพาะกิจทหารพรานนาวิกโยธินได้
- สัญชาติไทย มีอายุไม่ต่ำกว่า 18 ปีบริบูรณ์ และไม่เกิน 30 ปีบริบูรณ์
- จบการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนต้น หรือเทียบเท่าขึ้นไป
- สูงต้องไม่ต่ำกว่า 155 เซนติเมตร และมีน้ำหนัก 40 กิโลกรัม ขึ้นไป
- สามารถว่ายน้ำได้ (ดำเนินการทดสอบผู้ที่ผ่านการคัดเลือกแล้วในวันรายงานตัวเข้ารับการฝึก โดยต้องเตรียมกางเกงสำหรับว่ายน้ำมาด้วย)
- เพศชาย[32]
ภารกิจ
[แก้]มีพื้นที่รับผิดชอบตามแนวชายแดนกัมพูชาในจังหวัดจันทบุรีและจังหวัดตราด[33] แบ่งออกเป็น 4 ชุดควบคุมในการดูแลพื้นที่จังหวัดจันทบุรีและจังหวัดตราด ดำเนินการฝึกกำลังพลในหน่วยขึ้นตรงให้ดำรงขีดความสามารถในการป้องกันประเทศ การรักษาความมั่นคงภายใน และสนับสนุนด้านยุทธการและการส่งกำลังบำรุงให้กับชุดควบคุมทั้ง 4 หน่วยที่ปฏิบัติงานในพื้นที่[3]
การฝึก
[แก้]หน่วยเฉพาะกิจทหารพรานนาวิกโยธิน มีภารกิจหลักในการฝึกกำลังพลของทหารพรานนาวิกโยธิน ทั้งในพื้นที่กองบัญชาการป้องกันชายแดนจันทบุรีและตราด และกำลังพลที่ไปปฏิบัติการในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้[31] ดำเนินการโดย ส่วนการฝึกและศึกษา ได้แก่
- หลักสูตรการฝึกเจ้าหน้าที่โครง[3]
- หลักสูตรการฝึกอาสาสมัครทหารพรานทดแทน[3]
- หลักสูตรการฝึกฟื้นฟูกองร้อยทหารพรานนาวิกโยธิน[3]
- หลักสูตรการฝึกฟื้นฟูหมวดอาวุธสนับสนุน[3]
สิ่งอำนวยความสะดวก
[แก้]หน่วยเฉพาะกิจทหารพรานนาวิกโยธิน มีค่ายเทวาพิทักษ์เป็นฐานปฏิบัติการหลัก ประกอบด้วยสิ่งอำนวยการสะดวกสำหรับการฝึกต่าง ๆ เช่น
- หอสูง 34 ฟุต[35]
- สนามส่วนการฝึกและศึกษาฯ (ลานเกียรติศักดิ์พราน)
ยุทโธปกรณ์
[แก้]อาวุธและยุทโธปกรณ์ของหน่วยเฉพาะกิจทหารพรานนาวิกโยธิน จะใช้รูปแบบเดียวกันกับกรมทหารพรานนาวิกโยธิน กองทัพเรือ มีเพียงบางส่วนที่มีการจัดหามาใช้งานเฉพาะหน่วย
ยานพาหนะภาคพื้นดิน
[แก้]รุ่น | ภาพ | ประเภท | ที่มา | หมายเหตุ |
---|---|---|---|---|
ฮัมวี | รถเกราะขนาดเล็ก/รถอเนกประสงค์ขนาดเล็ก | สหรัฐ | ||
นิสสัน นาวารา (หุ้มเกราะ) | – | รถเกราะ | ญี่ปุ่น | รถกระบะดัดแปลง |
โตโยต้า ไฮลักซ์ (หุ้มเกราะ) | – | รถกระบะ | ญี่ปุ่น | รถกระบะหุ้มเกราะ[36] |
ไม่ทราบ | – | จักรยานยนต์วิบาก | ญี่ปุ่น | จักรยานยนต์วิบากสีดำ |
อากาศยาน
[แก้]รุ่น | ภาพ | ประเภท | ที่มา | หมายเหตุ |
---|---|---|---|---|
เบลล์ 212 | เฮลิคอปเตอร์อเนกประสงค์ | สหรัฐ | อนุมัติการใช้โดยกองทัพเรือไทย |
ปืนเล็กยาว
[แก้]ชื่อ | ภาพ | ประเภท | ขนาดลำกล้อง | ที่มา | หมายเหตุ |
---|---|---|---|---|---|
เอเค 201 | ปืนเล็กยาว | 5.56x45 มม. | รัสเซีย | มีอยู่ที่หน่วยเฉพาะกิจทหารพรานนาวิกโยธิน ค่ายเทวาพิทักษ์[37] | |
เอ็ม 16 เอ 1 | ปืนเล็กยาวจู่โจม | 5.56×45 มม. นาโต | สหรัฐ | ||
เอชเค 33 เอ 2 | ปืนเล็กยาวจู่โจม | 5.56×45 มม. นาโต | เยอรมนี | กระทรวงมหาดไทยแจกจ่ายให้กองอาสารักษาดินแดนเช่นกัน[38][39] | |
ซิก ซาวเออร์ เอสไอจี 516 | ปืนเล็กยาวจู่โจม | 5.56×45 มม. นาโต | สวิตเซอร์แลนด์ | ||
ไอเอ็มไอ ทาวอร์ ทาร์ 21 | บุลพัป | 5.56×45 มม. นาโต | อิสราเอล | มีใช้ในกองทัพบกไทยเช่นกัน | |
เรมิงตัน 1100 | ปืนลูกซองกึ่งอัตโนมัติ | ลูกซองขนาด 12 | สหรัฐ | ||
ปืนกลเอ็ม 60 | ปืนกลเอนกประสงค์ | 7.62×51 มม. นาโต | สหรัฐ | [3] | |
ปืนกลเบาเอ็ม 249 | ปืนกลเบา | 5.56×45 มม. นาโต | สหรัฐ | ||
เอ็ม 79 | เครื่องยิงลูกระเบิด | ลูกระเบิดขนาด 40×46 มม. | สหรัฐ |
ปืนใหญ่สนาม
[แก้]รุ่น | ภาพ | ประเภท | ที่มา | หมายเหตุ |
---|---|---|---|---|
ปืนครกเอ็ม 120 | ปืนครก 120 มม. | อิสราเอล | มีอยู่ที่หน่วยเฉพาะกิจทหารพรานนาวิกโยธิน ค่ายเทวาพิทักษ์ | |
ปืนครก 60 มม. | [3] | |||
ปืนครก 81 มม. | [3] |
สถานที่สำคัญ
[แก้]หน่วยเฉพาะกิจทหารพรานนาวิกโยธิน มีสถานที่สำคัญในค่ายเทวาพิทักษ์ ได้แก่
พระอนุสาวรีย์ พลเรือเอก พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอาภากรเกียรติวงศ์ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์
[แก้]พระอนุสาวรีย์ พลเรือเอก พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอาภากรเกียรติวงศ์ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ ประดิษฐานอยู่ที่ยอดเขาของที่ตั้งหน่วยเฉพาะกิจทหารพรานนาวิกโยธิน เพื่อเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจและดูแลรักษาเจ้าหน้าที่ในสังกัดและผู้ที่เข้ามาในพื้นที่ค่ายเทวาพิทักษ์ให้ปลอดภัย[40]
ลักษณะเป็นอนุสาวรีย์กลางแจ้ง ฐานเป็นรูปสี่เหลี่ยม พระรูปมีลักษณะทรงยืน ไม่สวมหมวก ความสูง 1.69 เมตร[40]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "จาก "เสือป่าพรานหลวง" สมัย ร.๖ มาเป็น "ทหารพราน"! นักรบชุดดำผู้ไว้ทุกข์ให้ตัวเอง!!". mgronline.com. 2022-07-18.
- ↑ 2.0 2.1 2.2 2.3 "ผู้บัญชาการทหารเรือตรวจเยี่ยมหน่วยเฉพาะกิจทหารพรานนาวิกโยธินค่ายเทวาพิทักษ์". www.navy.mi.th (ภาษาอังกฤษ).
- ↑ 3.00 3.01 3.02 3.03 3.04 3.05 3.06 3.07 3.08 3.09 วีดีทัศน์นำเสนอ. ทหารพรานนักรบประชาชน เฟซบุ๊ก หน่วยเฉพาะกิจทหารพรานนาวิกโยธิน ค่ายเทวาพิทักษ์
- ↑ "ชุดควบคุมทหารพรานนาวิกโยธินที่ ๒ ตรวจยึดอาวุธสงคราม". news.ch7.com. สืบค้นเมื่อ 2024-10-15.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "รายชื่อหน่วยแพทย์ สังกัดกองทัพเรือ ปีงบประมาณ 2566" (PDF). www.nmd.go.th. สืบค้นเมื่อ 2024-10-15.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ 6.0 6.1 "ตราด-/ผู้บังคับหน่วยเฉพาะกิจนาวิกโยธินตราด เยี่ยมบำรุงขวัญกำลังพลทหารพรานนาวิกโยธินบ่อไร่". trattoday.com.
- ↑ "บก.ทท.ลงดูพื้นที่จุดผ่านแดนถาวร หวังเสริมการค้ากัมพูชา". mgronline.com. 2014-04-30.
- ↑ "พบ 'ไอซ์' ลอยติดหาดทรายงาม 4 จุด 3 กก. ย้ำใครเก็บได้แจ้ง ตร.ด่วน". www.thairath.co.th. 2021-03-16.
- ↑ "เจ้าหน้าที่หน่วยป้องกันรักษาป่าที่ ตร.4 (ด่านชุมพล) เจ้าหน้าที่ชุดควบคุมทหารพรานนาวิกโยธินที่ 1 เจ้าหน้าที่กองร้อย ตชด.116 เจ้าหน้าที่กองร้อยทหารพรานนาวิกโยธินที่ 515 และผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ 3 ตำบลดด่านชุมพล อำเภอบ่อไร่ จังหวัดตราด ได้ร่วมกันออกตรวจปราบปรามการกระทำผิดกฎหมายว่าด้วยป่าไม้ บริเวณป่าเขาเอ็ด หมู่ที่ 3 ตำบลด่านชุมพล อำเภอบ่อไร่ จังหวัดตราด พบพื้นที่ถูกบุกรุกปลูกมะม่วงหิมพานต์ – สำนักจัดการทรัพยากรป่าไม้ที่ 9 (ชลบุรี)".
- ↑ "ทหารพรานตราดเหยียบกับระเบิดแนวชายแดนไทย-กัมพูชา โชคดีได้คอมแบตช่วยชีวิต". mgronline.com. 2021-03-03.
- ↑ "ทหารพรานเมืองจันท์รวบ 5 เขมรขนยานรกผ่านด่านตรวจสกัด". mgronline.com. 2017-01-24.
- ↑ "กัมพูชาจับ 3 ทหารนาวิกฯลอบนำดอลลาร์ปลอมเข้า ปท". www.thairath.co.th. 2014-09-20.
- ↑ "เปิดปากแรงงานกัมพูชาลอบข้ามแดนจันทบุรี แฉนายจ้างไทยติดต่อกลับเข้ามาทำงาน จ่ายคนนำทางหัวละ 3,500". mgronline.com. 2021-01-20.
- ↑ 14.0 14.1 "ผงะ! พบอาวุธสงครามพร้อมเครื่องกระสุน ห่อด้วยถุงปุ๋ย ชายป่าข้างสวนลำไย จ.จันทบุรี". www.matichon.co.th. สืบค้นเมื่อ 2024-10-15.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "ตม.ขยายผลจับโชเฟอร์รถตู้ ลอบขนแรงงานเขมรเข้าไทย". www.naewna.com.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "หมอเดินเท้า เข้าบ้านและมอบของอุปโภคและบริโภค". innosoftbiz.com.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "แรงงานเขมรทะลักหลังสงกรานต์ โวยมีเอกสารถูกต้อง แต่เข้าไทยไม่ได้". www.thairath.co.th. 2022-04-26.
- ↑ 18.0 18.1 "ตราด-/ผบ.ฉก.นย.ตราด ตรวจเยี่ยมกองร้อยทหารพรานบ้านชำราก เพื่อดูความพร้อมด้านกำลังพลและแผนการปฏิบัติงาน". trattoday.com.
- ↑ "เก็บขยะริมชายหาด - กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง Department of Marine and Coastal Resources, Thailand". กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม.
- ↑ "คนไทยถูกทหารกัมพูชาจับขณะเข้าป่าล่าสัตว์บนเขาบรรทัด". www.sanook.com/news. 2010-05-05.
- ↑ 21.0 21.1 21.2 "ตราด-/เปิดปฏิบัติการ "คลีนนิ่งทะเลตราด ลาดตระเวน 3 มิติ กวาดล้างยาเสพติด" ผนึกกำลังทุกหน่วยงานความมั่นคงทางทะเล ค้นหาทุกซอกมุมทะเลตราด". trattoday.com.
- ↑ "นอภ.เมืองตราด เดินข้ามเขาบรรทัด พบปชช.2 ฝั่งร่วมแก้ปัญหาไฟป่า". สยามรัฐ. 2024-02-04.
- ↑ "รวบ อส.ทพ.นย.ตราด ยักยอกไอซ์ลอยทะเลนำฝังดินนาน 3 เดือน ก่อนขุดแบ่งขาย". mgronline.com. 2020-06-21.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "ทหารพรานร้อย 535 ชค.3 ตรวจยึดไม้พะยูง". mgronline.com. 2014-11-12.
- ↑ "สกัดจับแรงงานหลบหนีเข้าไทย 48 คน สารพภาพแอบเข้ามารับจ้างเก็บลำไย". www.naewna.com.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "ทหารพราน นย.ใช้โดรนบินตรวจจับคลื่น ความร้อนรวบ 9 แรงงานหลบหนีเข้าเมือง (ชมคลิป) | TOPNEWS" (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 2022-04-11.
- ↑ "'ทหารพรานฯ544' เปิดยุทธการทวงคืนผืนป่าจันทบุรี-ตราด". bangkokbiznews. 2015-04-19.
- ↑ "ทหารพราน นย. สกัดจับลักลอบขนแรงงานต่างด้าวหลบหนีเข้าเมือง (ชมคลิป)" (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 2022-03-13.
- ↑ "จนท.ชุดลาดตระเวนตรวจยึดรถขณะคนร้ายลักลอบส่งข้ามแดนที่จันท์". mgronline.com. 2011-07-29.
- ↑ "รวบสาวลูกครึ่งไทย-อเมริกัน ซุกยาบ้าใต้ส้นรองเท้าส้นสูง". mgronline.com. 2008-04-08.
- ↑ 31.0 31.1 31.2 31.3 ""ดอกประดู่เหล็ก หญิงแกร่งแห่งราชนาวีไทย" ปฏิบัติหน้าที่ 3 จังหวัดชายแดนใต้ ต.ค.นี้". Thai PBS.
- ↑ 32.0 32.1 admin (2023-12-09). "หน่วยบัญชาการนาวิกโยธิน รับสมัครบุคคลพลเรือนเข้าเป็นอาสาสมัครทหารพรานนาวิกโยธิน 32 อัตรา". JobGov1.
- ↑ "ค่ายเทวาพิทักษ์จัดพิธีรับน้อง ทหารพรานนาวิกโยธิน | TOPNEWS" (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 2024-01-04.
- ↑ "ผู้บัญชาการป้องกันชายแดนจันบุรีและตราดตรวจเยี่ยมการฝึกหลักสูตรเบื้องต้นอาสาสมัครทหารพรานนาวิกโยธิน ประจำปีงบประมาณ ๒๕๖๑". www.navy.mi.th (ภาษาอังกฤษ).
- ↑ "ภาพกิจกรรม". www.marketing.rbru.ac.th.
- ↑ ระทึกโจรใต้ ลอบวางระเบิด ทหารพรานเจ็บ 3 นาย แน่นหน้าอก หูอื้อ - ไทยรัฐ
- ↑ ฝ่ายวิเคราะห์เทคโนโลยีป้องกันประเทศ, Tta (2563-06-11). "สรุปข่าว กองทัพเรือไทยจะจัดหาปืนเล็กยาว AK-201 สำหรับทหารพรานนาวิกโยธินจากรัสเซีย".
{{cite journal}}
: Cite journal ต้องการ|journal=
(help) - ↑ รัฐทุ่มพันล้านตั้งกรมทหารพราน ส่ง'ปืนยาว'ให้อส.หวังดับไฟใต้ - กรุงเทพธุรกิจ
- ↑ คปต. เห็นชอบจัดหาปืนเอชเค 2,700 กระบอกแจก อส.ชายแดนใต้ - ประชาไท
- ↑ 40.0 40.1 "ประวัติ พระอนุสาวรีย์ พระตำหนัก ศาลพระรูป ของ พลเรือเอก พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอาภากร เกียรติวงค์ กรมหลวงชุมพร เขตอุดมศักดิ์". online.anyflip.com.